เมนู

[705] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาป
ธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่าง
หนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่ง
ตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.


ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า


[706] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัด
บาปธรรมทั้งปวง
คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า
และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้านั่นแหละ ชื่อว่า
ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ
ตัณหาและส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.
รากเหง้าของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหาเป็นไฉน อวิชชา อโย-
นิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้า
แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา.

รากเหง้าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิเป็นไฉน อวิชชา อโย-
นิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้า
แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.

คำว่า ภควา เป็นพระนามเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่าง
หนึ่ง คำว่า ภควา ความว่า ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ
ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม
ทำลายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกพิเศษ ทรง

จำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้ง-
หลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิต
อันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ ป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจาก
เสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์
สมควรแก่วิเวก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เพราฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปสมาบัติ 4
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง
วิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8 (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์)
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 (รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 สัญญาเวทยิตนิโรธ 1)
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง
สัญญาภาวหา 10 กสิณสมาบัติ 10 อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน 4 สัมมัป-
ปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรค
มีองค์ 8 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมี
ส่วนแห่งตถาคตพละ 10 เวสารัชชธรรม 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6
พุทธธรรม 6 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้

พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตรอำมาตย์ พระญาติ-
สาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้
เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนานมีในอรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมัค) เป็น
สัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่ง
โพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว .
คำว่า พึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง... อัสมิมานะ ด้วยปัญญา
ความว่า ปัญญา เรียกว่า มันตา ได้แก่ความรู้ ความรู้ชัด ฯ ล ฯ ความ
ไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. คำว่า อัสมิมานะ คือ
อัสมิมานะ อัสมิฉันทะ อัสมิอนุสัย ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง
คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ

ด้วยปัญญา ความว่า ภิกษุพึงกำจัด สกัด ดับ สงบ ปราบปราม ระงับ
ซึ่งบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า
และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่ง
ส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา.
[707] คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่าง
หนึ่งที่มี ณ ภายใน
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดย
ประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า อย่างใด
อย่างหนึ่ง
นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหาคือ รูปตัณหา ฯ ล ฯ
ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า มี ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่

จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน (กับผัสสะเป็นต้น ) ตัณหานั้น
สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับ
ร่วมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใด
อย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.

ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ 4


[708] คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา
เพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ
ความว่า ในกาลทุกเมื่อ ใน
กาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน
ตลอดกาลนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาล
เป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบ
เนื่อง ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในกาลก่อนภัต ใน
กาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้าง
ขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง
ในตอนวัยหลัง.
คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ 4 อย่าง คือเมื่อเจริญ
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนา-
สติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนา-
สติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานใน
ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ 4.