เมนู

ว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และความหมดจด
แห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เข้าถึงภพ
และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด.

[521] ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต บุคคลนั้น
พลาดกรรมแล้วย่อมหวั่นไหว ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา
ถึงความหมดจด เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทัน
พวกฉะนั้น.


ว่าด้วยเหตุให้เคลื่อนจากศีลและพรต


[622] คำว่า ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต ความว่า
บุคคลย่อมเคลื่อนจากศีลและพรตเพราะเหตุ 2 ประการ คือย่อมเคลื่อน
เพราะความชี้ขาดของผู้อื่น 1 ไม่บรรลุจึงเคลื่อน 1.
บุคคลย่อมเคลื่อนเพราะความ ขาดของผู้อื่นอย่างไร ผู้อื่นย่อม
ชี้ขาดว่า ศาสดานั้นไม่ใช่เป็นสัพพัญญู ธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไม่ดี
หมู่คณะไม่ปฏิบัติดี ทิฏฐิไม่เจริญ ปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติไม่ดี มรรค
ที่เป็นมรรคนำออกจากทุกข์ ความหมดจดก็ดี ความหมดจดวิเศษก็ดี
ความหมดจดรอบก็ดี ความพ้นก็ดี ความพ้นวิเศษก็ดี ความพ้นรอบก็ดี
ไม่มีในธรรมนั้น ชนทั้งหลายไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ
ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ ไม่พ้นรอบ ในธรรมนั้น คือเป็นผู้เลว ทราม ต่ำ-
ช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ผู้อื่นย่อมชี้ขาดอย่างนี้ บุคคลเมื่อผู้อื่นขี้ขาด
อย่างนี้ ย่อมเคลื่อนจากศาสดา เคลื่อนจากธรรมที่ศาสดากล่าว เคลื่อน

จากหมู่คณะ เคลื่อนจากทิฏฐิ เคลื่อนจากปฏิปทา เคลื่อนจากมรรค
บุคคลย่อมเคลื่อนเพราะความชี้ขาดของผู้อื่นอย่างนี้.
บุคคลไม่บรรลุย่อมเคลื่อนอย่างไร บุคคลไม่บรรลุศีล ย่อมเคลื่อน
จากศีล ไม่บรรลุพรต ย่อมเคลื่อนจากพรต ไม่บรรลุศีลและพรต ย่อม
เคลื่อนจากศีลและพรต บุคคลไม่บรรลุย่อมเคลื่อนอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต.
[623] คำว่า บุคคลนั้น... ย่อมหวั่นไหว ในคำว่า บุคคล
นั้นพลาดกรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว
ความว่า หวั่นไหวสะทกสะท้านอยู่
ว่า ศีลก็ดี พรตก็ดี ศีลและพรตก็ดี เราผิดพลาดคลาดไปแล้ว เราพลั้ง
พลาดไปจากอรหัตผล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้น ... ย่อมหวั่นไหว.
คำว่า พลาดกรรม คือบุคคลนั้นย่อมหวั่นไหวสะทกสะท้านอยู่ว่า ปุญญาภิ-
สังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อเนญชาภิสังขารก็ดี เราผิดพลั้งพลาด
คลาดไปแล้ว เราพลั้งพลาดจากอรหัตผล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล
นั้นพลาดกรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว.
[624] คำว่า ย่อมเพ้อถึง ในคำว่า ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา
ถึงความหมดจด
ความว่า ย่อมเพ้อถึง รำพันถึง ใฝ่ฝันถึงศีลบ้าง
พรตบ้าง ศีลและพรตบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเพ้อถึง. คำว่า
และปรารถนาถึงความหมดจด ความว่า ปรารถนา ชอบใจ ใฝ่ฝันถึง
ความหมดจดเพราะศีลบ้าง ความหมดจดเพราะพรตบ้าง ความหมดจด
เพราะศีลและพรตบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา
ถึงความหมดจด.

[625] คำว่า เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทันพวก
ฉะนั้น
ความว่า บุรุษผู้ออกจากเรือน อยู่กับพวก ย่อมติดตามพวกนั้น
ไป หรือว่าย่อมกลับมาเรือนของตน ฉันใด บุคคลนั้น ผู้ดำเนินไปโดย
ทิฏฐิ ย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งศาสดานั้น หรือศาสดาอื่น ธรรมที่
ศาสดาบอกนั้น หรือธรรมที่ศาสดาบอกอื่น หมู่คณะนั้น หรือหมู่คณะ
อื่น ทิฏฐินั้น หรือทิฏฐิอื่น ปฏิปทานั้น หรือปฏิปทาอื่น มรรคนั้น
หรือมรรคอื่น ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือน
ตามไปไม่ทันพวกฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ถ้าบุคคลผู้เคลื่อนจากศีลหรือพรต บุคคลนั้นพลาด
กรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว ย่อมเพ้อถึงและปรารถนาถึง
ความหมดจด เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทัน
พวกฉะนั้น.

[626] อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง ละกรรมนั้นอันเป็น
สาวัชชกรรม และอนวัชชกรรม ไม่ปรารถนาความ
หมดจด และความไม่หมดจด เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึดถือ
ทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป.

[627] คำว่า ละศีลและพรตทั้งปวง ความว่า ละ เว้น บรรเทา
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความหมดจดเพราะศีลทั้งหมด ความ
หมดจดเพราะพรตทั้งหมด ความหมดจดเพราะศีลและพรตทั้งหมด เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ละศีลและพรตทั้งปวง.

ว่าด้วยสาวัชชกรรม อนวัชชกรรม


[628] คำว่า ละกรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชช-
กรรม
ความว่า กรรมคำมีผลดำ เรียกว่า สาวัชชกรรม กรรมขาวมี
ผลขาว เรียกว่า อนวัชชกรรม ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีซึ่งสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละ
กรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม.
[629] คำว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด
ความว่า พวกปุถุชนย่อมปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศล-
ธรรม ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาเบญจกามคุณ ย่อม
ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรมและเบญจกามคุณ
ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาทิฏฐิ 62 ย่อมปรารถนาความ
ไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณและทิฏฐิ 62 ย่อม
ปรารถนาความหมดจด คือปรารถนากุศลธรรมอันทีในไตรธาตุ ย่อม
ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณ ทิฏฐิ
62 และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณปุถุชนย่อมปรารถนา
ความหมดจด คือปรารถนาความย่างเข้าสู่อริยมรรค พระเสขะย่อม
ปรารถนาอรหัตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วพระ-
อรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนาเบญจกามคุณ ไม่
ปรารถนาทิฏฐิ 62 ไม่ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ไม่ปรารถนา
ความย่างเข้าสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนาอรหัตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระ-
อรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนาแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อม
เสียแล้ว ท่านอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้