เมนู

มหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ 13


ว่าด้วยทิฏฐิ


[601] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สมณพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง มีความอยู่รอบในทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้
แหละจริง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว ย่อม
ถูกนินทา หรือย่อมได้สรรเสริญ ในเพราะทิฏฐินั้น.

[602] คำว่า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในคำว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งนี้ มีความอยู่รอบในทิฏฐิ
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง
ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เหล่า
ใดเหล่าหนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิ
ความว่า มีสมณพราหมณ์เหล่าหนึ่งผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ 62 อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ เปรียบ
เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่าย่อมอยู่ในเรือน พวกบรรพชิต
ผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส
ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้มีความ
อยู่รอบในทิฏฐิ.
[603] คำว่า ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง ความว่า ย่อมกล่าว
บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อม
กล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายไป ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่ง
อื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง.
[604] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูก
นินทา
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูกความนินทา
ติเตียน ไม่สรรเสริญเลย คือเป็นผู้ถูกชนทั้งหลายนินทาติเตียนไม่สรรเสริญ
ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อม
ถูกนินทา.
[605] คำว่า หรือย่อมได้สรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น ความว่า
หรือว่าย่อมได้ ได้เฉพาะ ประจวบ ประสบ ซึ่งความสรรเสริญ ความ
ยกย่อง ความชมเชย เกียรติคุณ ในเพราะทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ
ลัทธิของตนนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือย่อมได้สรรเสริญในเพราะ
ทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ มีความอยู่รอบใน
ทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สมณพราหมณ์เหล่า-
นั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูกนินทา หรือย่อมได้สรรเสริญ
ในเพราะทิฏฐินั้น.

[606] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็ควรสรรเสริญ
นั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ข้าพระองค์ย่อม
กล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น 2 อย่าง บุคคลเห็นโทษแม้
นั้นแล้ว เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรมชาติ
เกษม ไม่พึงวิวาท.

[607] คำว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ในคำว่า ก็ความ
สรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส
ความว่า ความสรรเสริญ
นั้นเป็นส่วนน้อย ต่ำช้า นิดหน่อย ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย. คำว่า ไม่พอเพื่อสงบกิเลส
ความว่า ไม่พอเพื่อยังราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ
ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด
ความกระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ
มัวเมา กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ
เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ให้สงบ
เข้าไปสงบ ดับ สละคืน ระงับไปทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ให้
สงบ เข้าไปสงบ ดับ สละคืน ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความ
สรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส.

ว่าด้วยผลแห่งความวิวาท 2 อย่าง


[608] คำว่า ย่อมกล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น 2 อย่าง ความว่า
ความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่ง
กันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกัน เพราะทิฏฐิ ความทุ่มเถียงกันเพราะทิฏฐิ
มีผล 2 อย่าง คือความชนะและแพ้ ความมีลาภและความเสื่อมลาภ ความ
มียศและความเสื่อมยศ ความนินทาและความสรรเสริญ สุขและทุกข์
โสมนัสและโทมนัส อารมณ์ที่น่าปรารถนา และอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา
ความชอบและความชัง ความฟูขึ้นและความฟุบลง ความยินดีและความ
ยินร้าย อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์ย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง