เมนู

ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งทิฏฐิมาก โดยทิฏฐิมาก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก.
[586] คำว่า เพราะพวกเดียรถีย์นั้น เป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความ
กำหนัด เพราะทิฏฐิของตน
ความว่า เดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผู้ยินดี
ยินดียิ่ง ด้วยความกำหนัดเพราะทิฏฐิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะ
พวกเดียรถีย์ยินดียิ่ง ด้วยความกำหนัด เพราะทิฏฐิของตน เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชน
เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดหางแห่งความหมดจด เป็นผู้
ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก
เพราะพวกเดียรถีย์นั้น เป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความกำหนัด
เพราะทิฏฐิของตน.

[587] พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้
เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น
พวกเดียรถีย์ตั้งนั่นแม้อย่างนี้ โดยทิฏฐิมาก เป็นผู้กล่าว
ยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น.


ว่าด้วยทิฏฐิของพวกเดียรถีย์


[588] คำว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีใน
ธรรมนี้เท่านั้น
ความว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง
ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น

ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ในธรรมนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง
สิ่งอื่นเปล่า . . . โลกไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมเป็น
อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้
เท่านั้น.
[589] คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น
ความว่า พวกเดียรถีย์นั้น ย่อมคัดค้าน โต้เถียงวาทะของคนอื่นทั้งหมด
เว้นแต่ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว หมู่คณะทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน
คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นไม่ใช่สัพพัญญู
ธรรมนั้นไม่ใช่สวากขาตธรรม หมู่คณะนั้นมิใช่ผู้ปฏิบัติดี ทิฏฐินั้นมิใช่
ทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทานั้นมิใช่บัญญัติดี มรรคนั้นไม่เป็นมรรคนำให้พ้น
ทุกข์ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น
ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ มิได้มีในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อม
ไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ ไม่พ้น
รอบ ในเพราะธรรมนั้น แต่เป็นผู้เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก
ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษ ในธรรมทั้ง
หลายอื่น.
[590] คำว่า พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก ความ
ว่า ทิฏฐิเรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิเรียกว่า พวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ตั้งมั่น
ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปในทิฏฐิมาก โดยทิฏฐิมาก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก.

[591] คำว่า เป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของ
ตนนั้น
ความว่า ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง
ดำเนินของตน เป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งแรง กล่าวเที่ยง
แท้ ในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้
กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้
เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอัน
พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก เป็นผู้กล่าว
ยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น.

[592] อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง
ของตน พึงเห็นใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น
เจ้าทิฏฐินั้น กล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความไม่หมดจด
เป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง.

[593] คำว่า อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง
ดำเนินของตน
ความว่า ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรม
เป็นทางดำเนินของตน เป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งแรง
กล่าวเที่ยงแท้ ในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้ยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตน.
[594] คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ในคำว่า พึงเห็นใครอื่นว่า
เป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น
ความว่า พึงเห็น ดู แลดู ตรวจดู พินิจ

พิจารณา ซึ่งใครอื่นโดยความเป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก
ต่ำต้อย ในเพราะทิฏฐิ คือความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเห็นใครอื่นว่าเป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น.
[595] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความ
ไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง
ความว่า เจ้าทิฏฐิ
นั้นว่า กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า บุคคลอื่นเป็นพาล
เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีความไม่หมดจด ไม่หมดจด-
วิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่ขาว เป็นธรรมดา พึงนำมา นำมาพร้อม
ถือมา ถือมาพร้อม ชักมา ชักมาพร้อม ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความ
ทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วย
ตนเองแท้ ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล
มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความทุ่มเถียงเอง.
อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง
ดำเนินของตน พึงเห็นใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะ
ทิฏฐินั้น เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่า เป็นพาล มีความ
ไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความทุ่มเถียงเอง.

[596] เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว
ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่
ตกลงใจทั้งปวง ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก.

[597] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ความว่า
ทิฏฐิ 62 ประการ เรียกว่าทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าทิฏฐิ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ

ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิที่คนตัดสินแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้ง
อยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ. คำว่า นับถือเองแล้ว ความว่า นับถือ ตรวจเอง
แล้วว่า ศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู ธรรมนี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว
หมู่คณะนี้ปฏิบัติแล้ว ทิฏฐินี้เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทานี้อันศาสดาบัญญัติ
ดีแล้ว มรรคนี้เป็นมรรดนำให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ใน
ทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว.
[598] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก
ความว่า อนาคต เรียกว่า ข้างหน้า เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งวาทะของตนใน
ข้างหน้า ย่อมถึง เข้าถึง เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความทะเลาะ
ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วยตนเอง
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้า
ในโลก อีกอย่างหนึ่ง เจ้าทิฏฐินั้น ย่อมทำความทะเลาะ ความหมายมั่น
ความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความทุ่มเถียง กับบุคคลอื่นผู้กล่าวใน
ข้างหน้าว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้อง
วาทะ ถ้าท่านสามารถ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมถึงความ
วิวาทในข้างหน้าในโลก.
[599] คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ความว่า ทิฏฐิ 62
ประการ เรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ ชันตุชน ละ สละ ทิ้ง ปลดปล่อย
บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้วทั้งปวง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละทิฏฐิตกลงใจทั้งปวงแล้ว.
[600] คำว่า ชันตุชน . . . ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก
ความว่า ชันตุชนย่อมไม่ทำความทะเลาะ ไม่ทำความหมายมั่น ไม่ทำ

ความแก่งแย่ง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความทุ่มเถียง สมจริงตามที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ภิกษุมีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้
ย่อมไม่โต้เถียง ไม่วิวาทกับใคร ๆ สิ่งใดที่เขากล่าวกันในโลก ก็กล่าว
ตามสิ่งนั้น มิได้ถือมั่น. ชื่อว่าชันตุชน คือสัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล
ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ในโลก คือในอบาย-
โลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน . . .ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว
ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่
ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก
ดังนี้.

จบจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ 12

อรรถกถาจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ 12


พึงทราบวินิจฉัยในจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ 12 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สกํ สกํ ทิฏฺฐิปรินิพฺพาสนา สมณพราหมณ์บางพวกมี
ความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ. ในมหาสมัยนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสพระสูตรแม้นี้ เพื่อจะทรงประกาศความนั้นแก่เทวดาทั้งหลายบางพวก
ผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิเหล่านี้ทั้งหมดถือว่า เราเป็นผู้ดี