เมนู

เอาเอง อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว บอก พูด แสดง
แถลง ซึ่งสัจจะที่คนรวบรวมมาด้วยความตรึก ที่ตนคิดกันด้วยความ
พิจารณาที่ตนรู้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัส
ถามว่า
เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะ
ไปต่าง ๆ คือ เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ยืนยันสัจจะ
หลายอย่าง ก็สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็น
สัจจะหลายอย่างต่าง ๆ กัน หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่า
นั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง.

[560] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) สัจจะมากอย่าง
ต่าง ๆ กัน มิได้มีเลย เว้นแต่สัจจะที่แน่นอน ด้วยสัญญา
ในโลก พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย
แล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น 2 อย่างว่า คำของเราจริง คำ
ของท่านเท็จ.


ว่าด้วยความจริงไม่ต่างกัน


[561] คำว่า สัจจะมากอย่างต่าง ๆ กันมิได้มีเลย ความว่า
สัจจะมากอย่าง ต่าง ๆ กัน หลายอย่าง อื่น ๆ เป็นอันมากมิได้มีเลย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะมากอย่างต่าง ๆ กันมิได้มีเลย.

[562] คำว่า เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก ความ
ว่า เว้นจากสัจจะที่ถือว่าเที่ยงด้วยสัญญา กล่าวว่า สัจจะอย่างเดียวเท่านั้น
ที่บัณฑิต กล่าว พูด แสดง แถลง ในโลก ได้แก่ทุกขนิโรธ นิพพาน
ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา
ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อย
รัด อีกอย่างหนึ่ง มรรคสัจจะ นิยยานสัจจะ ได้แก่ทุกขนิโรธคามินีปฏิ-
ปทา คือ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งจิตมั่น
ชอบ เรียกว่า เป็นสัจจะอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เว้นแต่สัจจะ
ที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก.
[563] คำว่า ก็พวกสมณพราหมณ์คำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย
แล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น 2 อย่าง คำของเราจริง คำของท่านเท็จ

ความว่า พวกสมณพราหมณ์ตรึกตรองดำริแล้ว ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด
ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ในบังเกิดเฉพาะ ครั้นแล้วได้กล่าว บอก พูด
แสดง แถลง อย่างนี้ว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ก็พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าว
ธรรมเป็น 2 อย่าง คำของเราจริง คำของท่านเท็จ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
สัจจะมากอย่างต่าง ๆ กันมิได้มีเลย เว้นแต่สัจจะที่
แน่นอน ด้วยสัญญาในโลก ก็พวกสมณพราหมณ์ดำริ
ตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น 2 อย่าง
ว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ.

[564] เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้
ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงอารมณ์
ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิ เป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริง
อยู่กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.


เจ้าทิฏฐิแสดงความดูหมิ่นผู้อื่น


[165] คำว่า เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือรูปที่เห็น เสียง
ที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น

ความว่า เจ้าทิฏฐิอาศัย คือ เข้าไปอาศัย ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป
ที่เห็นบ้าง ความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความ
หมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตร
บ้าง ความหมดจดเพราะวัตรบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะ
อารมณ์ที่ทราบบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล
พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ. คำว่า อาศัยธรรมเหล่านี้ เป็นผู้แสดงความ
ดูหมิ่นผู้อื่น
ความว่า เจ้าทิฏฐินั้น ไม่นับถือ แม้เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น อีกอย่างหนึ่ง ยังโทมนัสให้เกิด แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐิ
อาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์
ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น.
[566] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ ความว่า
ทิฏฐิ 62 ประการ เรียกว่า วินิจฉัย. เจ้าทิฏฐิตั้งอยู่ ตั้งมั่น ถือ ยึดมั่น
ถือมั่น ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็น