เมนู

[549] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไร พวก
สมณพราหมณ์ จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน
ความว่า เพราะ การณะ
เหตุ ปัจจัย นิทาน สมุทัย ชาติ เหตุเป็นแดนเกิดอะไร พวกสมณ-
พราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่าง ๆ กัน กล่าวหลาย
อย่าง กล่าวคำอื่น ๆ กล่าว พูด บอก แสดง แถลงมากอย่าง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่าง
เดียวกัน เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์ต่างพวก กล่าวธรรมใดว่าจริงแท้
สมณพราหมณ์แม้พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน
เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่าง
เดียวกัน.

[550] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็หมู่สัตว์รู้ชัด
สัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้
มี 2 อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวดสัจจะต่าง ๆ
ไปเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าว
เป็นอย่างเดียวกัน.


ว่าด้วยสัจจะมีอย่างเดียว


[551] คำว่า สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มี 2 อย่าง
ความว่า นิพพาน คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ความสงบสังขารทั้งปวง

ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับ
ตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว
อีกอย่างหนึ่ง มรรคสัจจะ นิยยานสัจจะ ได้แก่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ
การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ เพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ
มั่นชอบ เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะนั้นมีอย่าง
เดียวเท่านั้น มิได้มี 2 อย่าง.
[552] คำว่า ใด ในคำว่า หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่พึงวิวาท
กัน
ความว่า ในสัจจะใด. คำว่า ปชา เป็นชื่อของสัตว์ หมู่สัตว์ รู้ชัด
รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้ปรุโปร่ง รู้ตลอด ซึ่งสัจจะใด ไม่พึงทำความทะเลาะกัน
ไม่พึงทำความหมายมั่นกัน ไม่พึงทำความแก่งแย่งกัน ไม่พึงทำความ
วิวาทกัน ไม่พึงทำความมุ่งร้ายกัน คือ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้
ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน
ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะ
ใด ไม่พึงวิวาทกัน.
[553] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอวดสัจจะต่าง ๆ ไปเอง
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวด พูด บอก กล่าว แสดง แถลง
ซึ่งสัจจะต่าง ๆ ไปเองว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลก
ไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่
เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นอวดสัจจะต่าง ๆ ไปเอง.

[554] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เพราะเหตุนั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน
ความว่า เพราะเหตุนั้น
คือ เพราะการณะ เหตุ ปัจจัย นิทานนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึง
ไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่าง ๆ กล่าวหลายอย่าง กล่าวคำ
อื่น ๆ กล่าว บอก พูด แสดง แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ก็หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่วิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่าง
เดียวเท่านั้น มิได้มี 2 อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น
อวดสัจจะต่าง ๆ ไปเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์
เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.

[555] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) เพราะเหตุไรหนอ
พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ คือ เป็นผู้อ้าง
ตนว่าเป็นผู้ฉลาด กล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง ก็สัจจะ
ที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะมากอย่าง
ต่าง ๆ กัน หรือสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมระลึกตรึก
เอาเอง.

[556] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไรหนอ พวก
สมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ ความว่า เพราะเหตุไร คือ
เพราะการณะ เหตุ ปัจจัย นิทานอะไร พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าว
สัจจะต่าง ๆ คือ กล่าวหลายอย่าง กล่าวคำอื่น ๆ กล่าว บอก พูด แสดง

แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุไรหนอ พากสมณ-
พราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ.
[557] คำว่า กล่าวยืนยัน ในคำว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด
กล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง
ความว่า พูดพร่ำมากไป จึงชื่อว่ากล่าว
ยืนยันบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวยืนยัน คือ
บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งทิฏฐิของตน ๆ ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละ
จริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปย่อมเป็น
อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า
เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กล่าวว่าคนเป็นบัณฑิต กล่าวว่าคนเป็น
ธีรชน กล่าวว่าตนเป็นผู้มีญาณ กล่าวว่าคนพูดโดยเหตุ กล่าวว่าตนพูด
โดยลักษณะ กล่าวว่าตนพูดโดยการณ์ กล่าวว่าตนพูดโดยฐานะ
โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าว
ยืนยัน.
[558] คำว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะ
มากอย่างต่าง ๆ กัน
ความว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว
เป็นสัจจะมาก ต่าง ๆ หลายอย่าง อื่น ๆ เป็นอันมาก เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะหลายอย่างต่าง ๆ
กัน.
[559] คำว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอา
เอง
ความว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมดำเนินไป เลื่อนไป
เคลื่อนไป เป็นไป ด้วยความตรึก ด้วยความตรอง ด้วยความดำริ แม้
ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึกตรึก

เอาเอง อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว บอก พูด แสดง
แถลง ซึ่งสัจจะที่คนรวบรวมมาด้วยความตรึก ที่ตนคิดกันด้วยความ
พิจารณาที่ตนรู้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัส
ถามว่า
เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะ
ไปต่าง ๆ คือ เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ยืนยันสัจจะ
หลายอย่าง ก็สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็น
สัจจะหลายอย่างต่าง ๆ กัน หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่า
นั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง.

[560] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) สัจจะมากอย่าง
ต่าง ๆ กัน มิได้มีเลย เว้นแต่สัจจะที่แน่นอน ด้วยสัญญา
ในโลก พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย
แล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น 2 อย่างว่า คำของเราจริง คำ
ของท่านเท็จ.


ว่าด้วยความจริงไม่ต่างกัน


[561] คำว่า สัจจะมากอย่างต่าง ๆ กันมิได้มีเลย ความว่า
สัจจะมากอย่าง ต่าง ๆ กัน หลายอย่าง อื่น ๆ เป็นอันมากมิได้มีเลย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะมากอย่างต่าง ๆ กันมิได้มีเลย.