เมนู

จูฬวิยูหสุตตนิเทสที่ 12


[520] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) มีสมณพราหมณ์บางพวก
มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตน
เป็นผู้ฉลาดพูดต่าง ๆ ว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อ
ว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายัง
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์หรือ.


ว่าด้วยทิฏฐิ


[521] คำว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ ความว่า มี
สมณพราหมณ์บางพวกผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์บางพวกนั้น
ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ 62 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ เปรียบเหมือน
พวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่าย่อมอยู่ในเรือน หรือพวกบรรพชิต
ผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส
ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ.
[522] คำว่า ถือ ในคำว่า ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาด
พูดต่าง ๆ
ความว่า ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น. คำว่า พูดต่าง ๆ
ความว่า พูดไปต่าง ๆ พูดมีอย่างต่าง ๆ พูดอย่างอื่น ๆ พูดมาก ไม่พูด
ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่แสดง ไม่แถลงอย่างเดียว. คำว่า อ้างตนเป็นผู้
ฉลาด
ความว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน
อ้างตนเป็นผู้มีญาณ อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดย

การณ์ อ้างตนโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถือทิฏฐิ
นั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาดพูดต่าง ๆ.
[523] คำว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว
ความว่า บุคคลใดรู้ธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า
รู้ ทราบ เห็น แทงตลอดธรรมแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลใดรู้
อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว.
[524] คำว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่
บริบูรณ์ ความว่า บุคคลใดคัดค้านธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนี้
บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ไม่ครบถ้วน ไม่เต็มรอบ คือ ยังเป็น
ผู้เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล
ใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ เพราะเหตุนั้น พระ-
พุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์บางพวก มีความอยู่รอบในทิฏฐิของ
ตน ๆ ถือทิฏฐิแล้วอ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่าง ๆ ว่า
บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใด
คัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์หรือ.

[525] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) สมณพราหมณ์
บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ ย่อมวิวาท และกล่าวว่า
คนอื่นโง่ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะ
ไหนจะจริงหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด
ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด.

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ


[526] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้
ย่อมวิวาท
ความว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น
ยึดมั่นทิฏฐิอย่างนี้ ย่อมวิวาท คือทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น
ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรม
วินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท.
[527] คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด ความว่า กล่าว
บอก พูด แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก
สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่มีความรู้ ถึงอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญา
แจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่
ไม่ฉลาด.
[528] คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาหะไหนจะจริง
หนอ
ความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้ แน่
เป็นจริงไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
วาทะไหนจะจริงหนอ.
[529] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้าง
คนว่าเป็นผู้ฉลาด
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตน
ว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้างคนเป็นผู้มีญาณ
อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดยการณ์ อ้างตนโดยฐานะ
โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น