เมนู

บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเรา แปรปรวนไปแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว.

ว่าด้วยผัสสะ


[393] ชื่อว่า ผัสสะ ในคำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย
ได้เเก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา
สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา ผัสสะ
อันเป็นกุศล ผัสสะอันเป็นอกุศล ผัสสะอันเป็นอัพยากตะ ผัสสะอันเป็น
กามาวจร ผัสสะอันเป็นรูปาวจร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ผัสสะอันเป็น
สุญญตะ ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะอันเป็น
โลกิยะ ผัสสะอันเป็นโลกุตระ ผัสสะอันเป็นอดีต ผัสสะอันเป็นอนาคต
ผัสสะอันเป็นปัจจุบัน ผัสสะความถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ความเป็นแห่ง
ความถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าผัสสะ. คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย
ความว่า บุคคลเห็นจักษุสัมผัสว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จาก
ธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จาก
ความเป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง เห็นโสตสัมผัส
เห็นฆานสัมผัส เห็นชิวหาสัมผัส เห็นกายสัมผัส เห็นมโนสัมผัส เห็น
อธิวจนสัมผัส เห็นปฏิฆสัมผัส เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา เห็น
สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา
เห็นผัสสะอันเป็นกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอัพยา-
กตะ เห็นผัสสะอันเป็นกามาวจร เห็นผัสสะอันเป็นรูปาวจร เห็นผัสสะ

อันเป็นอรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นสุญญตะ เห็นผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ
เห็นผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกิยะ เห็นผัสสะอันเป็น
โลกุตระว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง
จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความเป็นของเที่ยงบ้าง จาก
ธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมเห็นผัสสะอันเป็นอดีตว่า เป็นของว่าง
จากผัสสะอันเป็นอนาคตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะอันเป็น
อนาคตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน
เห็นผัสสะอันเป็นปัจจุบันว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีตและผัสสะ
อันเป็นอนาคต.
อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะเหล่าใด เป็นอริยะ ไม่มีอาสนะเป็นโลกุตระ
อันปฏิสังยุตด้วยสุญญตผัสสะ บุคคลย่อมเห็นผัสสะเหล่านั้นว่า เป็นของ
ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่
ความดีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ
กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ
ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ
เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย.
[394] คำว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย ความว่า
ทิฏฐิ 62 อันบุคคลนั้นละ ตักขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิด
ขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลอันทิฏฐิย่อมไม่นำไป ไม่นำออกไป
ไม่ลอยไป ไม่เลื่อนไป และบุคคลนั้นไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่ทิฏฐินั้น

โดยความเป็นแก่นสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะ
ทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่
เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย
และไม่ถูกนำไปเพราะทิฏฐิทั้งหลาย.

[395] บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจและไม่ประกอบ
ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด.


ว่าด้วยผู้หลีกเร้น


[396] คำว่า เป็นผู้หลีกเร้น ในคำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น
ไม่หลอกลวง
ความว่า เพราะละเสียแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ความ
โกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง จึงชื่อว่า ผู้หลีกเร้น
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็น
ผู้หลีกเร้นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ
ความถือตัวว่า เป็นเราแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาล
ยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้นอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นผู้หลีกเร้น.

ว่าด้วยความหลอกลวง 3 อย่าง


[397] เรื่องความหลอกลวง ในคำว่า ไม่หลอกลวง มี 3 อย่าง