เมนู

หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่าง
อื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้.

[508] คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ได้
ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว
ความว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถาม
คือขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งธรรมใด. คำว่า
ได้ทรงแสดงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว คือพระองค์ทรงแถลง แถลง
ออก ตรัสบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น
ประกาศธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์
ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ได้ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์
แล้ว.
[509] คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์
ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น
ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ
ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งธรรมส่วนอื่น กะ
พระองค์ คือจะขอทูลถามธรรมยิ่งขึ้นไปกะพระองค์. คำว่า ขอเชิญพระ-
องค์จึงตรัสบอกธรรมนั้น
คือขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ชี้บอก แสดง
บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศธรรมนั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญ
พระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น.

ว่าด้วยความหมดจดด้วยอรูปสมาบัติ


[510] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตใน
โลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแต่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ

ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าว บอก พูด
แสดง แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ
เป็นประธาน อุดม บวร ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือ. คำว่า ยักษ์ คือ
แห่งสัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม
มนุษย์. คำว่า ความหมดจด คือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ
หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ. คำว่า อ้างตนเป็น
บัณฑิตในโลกนี้
คือเป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็น
ธีรชน ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าว
โดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ ในโลกนี้โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อม
กล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรม
อันเลิศ.
[511] คำว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมด
จดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้
ความว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก
ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงอรูปสมาบัติเหล่านี้ ย่อมกล่าว บอก พูด
แสดง แถลง ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ
ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบแห่งยักษ์อย่างอื่น คือยิ่งกว่าอรูป-
สมาบัตินี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าว
ความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้ เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น
จึงตรัสถามว่า
ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ทรง
แถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถาม

ธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก
ธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิต
ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูป-
สมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่าสมณ-
พราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูป-
สมาบัตินี้.

[512] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็สมณพราหมณ์
บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความ
หมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรม
อันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์
อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบใน*
อนุปาทิเสส.

[513] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิต
ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัตินี้ ว่าเป็น
ธรรมอันเลิศ
ความว่า ผู้กล่าวความเที่ยง ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง
แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็น
ประธาน อุดม บวรด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้. คำว่า ยักษ์ คือแห่งสัตว์ นรชน
มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิตผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า
ความหมดจด คือความหมดจด ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้น
วิเศษ ความพ้นรอบ. คำว่า อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ คือเป็นผู้กล่าว

1. ความสงบและอนุปาทิเสสฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ.

ตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นนรชน ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าว
โดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ ใน
โลกนี้ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก
อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูป-
สมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ.
[514] คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์
อีกบางพวกอ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส

ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแหละ สมณพราหมณ์บางพวก
ผู้กล่าวความขาดสูญ กลัวต่อภพ ย่อมยินดีความไม่มีภพ สมณพราหมณ์
พวกนั้น ย่อมกล่าวความสงบ คือความเข้าไปสงบ ความเงียบ ความดับ
ความระงับ แห่งสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ตนนี้เพราะกายแตก ย่อม
ขาดสูญ พินาศไป ย่อมไม่มีเบื้องหน้าแต่มรณะ โดยเหตุใด อนุปาทิเสส
ย่อมมีโดยเหตุเท่านั้น. คำว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ความว่า กล่าวว่าตนเป็น
ผู้ฉลาด กล่าวว่าตนเป็นธีรชน กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าว
โดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่าหนึ่ง สมณพราหมณ์อีกบาง
พวกอ้างว่า ตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส เพราะ-
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้
ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้
ว่าเป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น

สมณพราหมณ์อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อม
กล่าวความสงบในอนุปาทิเสส.

[515] มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้สมณพราหมณ์
เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้
มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความ
วิวาท เป็นนรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่.


ว่าด้วยผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา


[516] คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น
ผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย
ความว่า พวกสมณพราหมณ์ที่ดำเนินด้วยทิฏฐิ.
คำว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย ความว่า มุนีนั้นรู้ ทราบ พิจารณา
เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว
เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัย
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิ
เข้าไปอาศัย.
[517] ชื่อว่า มุนี ในคำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา
รู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย
ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ฯลฯ
ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องบุคคลนั้นชื่อว่า มุนี. มุนี รู้ ทราบ พิจารณา
เทียบเคียง ให้เเจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อัน
สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว. คำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง