เมนู

[452] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก
มีอะไรเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปใน
โลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไร
เป็นนี้ทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่
นรชน. เพื่อข้างหน้านั้น มีอะไรเป็นนิทาน ?


ว่าด้วยอะไรเป็นต้นเหตุแห่งสิ่งที่รัก


[453] คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน
ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้
ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งสิ่งที่รักทั้งหลายว่า สิ่ง
ที่รักทั้งหลายมีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ
ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น
ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก
มีอะไรเป็นนิทาน.
[454] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใดแล
ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ได้แก่พวกกษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความ
โลภ
คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก
กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.
คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง
เยียวยา. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก

ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และชนเหล่าใดแล ย่อม
เที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ.
[455] คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง ... มีอะไรเป็น
นิทาน ?
ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก
อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งความหวัง
และความสำเร็จหวังว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีอะไรเป็นนิทาน
คือ เกิด บังเกิด เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร
เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีอะไรเป็นนิทาน.
[456] คำว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้า ความว่า ความหวัง
และความสำเร็จหวังที่เป็นไปในเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ป้องกัน เป็นที่
แอบแฝง เป็นที่ระลึกของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็น
ไปในเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า
เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสถามว่า
สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และชน
เหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความ
โลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นนิพาน อนึ่ง ความหวัง
และความสำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้านั้น มีอะไร
เป็นนิทาน.

[457] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) สิ่งที่รักทั้งหลาย
ในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อม

เที่ยงไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่า-
นั้น มีฉันทะนี้เป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความ
สำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้านั้น ก็มีฉันทะนี้เป็น
นิทาน.

[458] ชื่อว่า ฉันทะ ในคำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมีฉันทะ
เป็นนิทาน
ได้แก่ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิน
ในกาม ความอยากในกาม ความรักในกาม ความเร่าร้อนในกาม
ความหลงในกาม ความชอบใจในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุ-
ปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ในกามทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ฉันทะ
5 ประการ คือ ความพอใจในการแสวงหา 1 ความพอใจในการได้ 1
ความพอใจในการบริโภค 1 ความพอใจในการสั่งสม 1 ความพอใจใน
การสละ 1.
ความพอใจในการแสวงหาเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้
ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการแสวงหา.
ความพอใจในการได้เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ
มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-
ฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการได้.
ความพอใจในการบริโภคเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้
ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภครูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการบริโภค.
ความพอใจในการสั่งสมเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ

มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมทำการสั่งสมทรัพย์ด้วยความหวังว่า
จักมีประโยชน์ในคราวเกิดอันตรายทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความพอใจในการ
สั่งสม.

ความพอใจในการสละเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ
มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมสละทรัพย์เพื่อพวกพลช้าง พวก
พลม้า พวกพลรถ พวกพลถือธนู พวกพลเดินเท้า ด้วยความหวังว่า
คนพวกนี้จักรักษาคุ้มครองป้องกันเรา นี้ชื่อว่า ความพอใจในการสละ.

ว่าด้วยสิ่งที่รัก 2 ประการ


คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลาย คือสิ่งที่รัก 2 ประการ ได้แก่สัตว์ 1
สังขาร 1 ฯลฯ เหล่านั้นชื่อว่าสัตว์เป็นที่รัก ฯลฯ เหล่านี้ชื่อว่าสังขารเป็น
ที่รัก คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน คือสิ่งที่รัก
ทั้งหลายมีฉันทะเป็นนิทาน มีฉันทะเป็นสมุทัย มีฉันทะเป็นชาติ มีฉันทะ
เป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะ
เป็นนิทาน.
[459] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใด
แล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ได้แก่พวกกษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความ
โลภ
คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก
กิริยาที่กำหนดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.
คำว่า เที่ยวไป คือเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา
บำรุง เยียวยา. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก