เมนู

[447] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ความทะเลาะ
ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความ
ถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมาแต่สิ่ง
ที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่
และเมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.


ว่าด้วยความทะเลาะ...มาจากสิ่งที่รัก


[448] ชื่อว่า สิ่งที่รัก ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท
ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่...มีมาแต่สิ่งที่รัก
ได้แก่วัตถุ
เป็นที่รัก 2 อย่าง คือ สัตว์ 1 สังขาร 1.
สัตว์ผู้เป็นที่รักเป็นไฉน ? ชนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่ความ
เจริญ ใคร่ประโยชน์ ใคร่ความสบาย ใคร่ความปลอดโปร่งจากโยค-
กิเลส คือ เป็นมารดา เป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย เป็นพี่น้องหญิง เป็น
บุตร เป็นธิดา เป็นมิตร เป็นพวกพ้อง เป็นญาติ หรือเป็นสาโลหิต
ชนเหล่านี้ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน ? รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจเหล่านั้นชื่อว่า สังขารเป็นที่รัก.
ชนทั้งหลาย แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อม
ทะเลาะกัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง
เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมทะเลาะกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาด
ระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมทะเลาะกัน คือเมื่อวัตถุ
ที่รักกำลังแปรปรวนไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไป
แล้ว ย่อมทะเลาะกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก

ย่อมวิวาทกัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมวิวาทกันบ้าง
เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวง
ในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมวิวาทกัน คือเมื่อวัตถุที่รัก
กำลังแปรปรวนไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว
ย่อมวิวาทกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รักย่อม
รำพัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมรำพันบ้าง เมื่อ
วัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงใน
ความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังแปร-
ปรวนไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมรำพัน
บ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือ
เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูก
แย่งชิงไปแล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปร-
ปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวน
ไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง
และย่อมรักษา ปกครอง ป้องกัน หวงห้าม ตระหนี่วัตถุที่รัก เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก
ความตระหนี่ มีมาแต่สิ่งที่รัก.
[449] คำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด
ความว่า ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก ย่อม
ยังความดูหมิ่นให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก.
ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร ?

ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างนี้ว่า พวก
เรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ.
ชนทั้งหลาย ย่อมยังความถือตัวให้เกิด เพราะอาศัยวัตถุที่รัก
อย่างไร ? ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่ารัก
อย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ. ที่ชอบใจ
ส่วนชนเหล่านั้น ไม่ได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ.
คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
ผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่
นี้ ฯลฯ บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า... ชนเหล่านี้พึง
แตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร
ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น
และความพูดส่อเสียด.
[450] คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความ
ตระหนี่
ความว่า กิเลส 7 ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท
ความรำพัน ความเศร้าโศก ความถือตัว ความดูหมิ่น ความพูดส่อเสียด
ประกอบ ตกแต่ง เนื่อง สืบเนื่อง ในความตระหนี่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่.
[451] คำว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว คำพูดส่อเสียดก็มี
ความว่า เมื่อความวิวาทกันเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ
แล้ว ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไป คือ ฟังจากข้างโน้นเพื่อทำลาย
คนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น
เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง

ชอบผู้ที่เป็นก๊กกันบ้าง ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็น
ผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง
ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ 2 ประการ คือ นำคำส่อเสียด
เข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก 1 มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึง
นำคำส่อเสียดเข้าไป 1.
ชนทั้งหลายนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร ?
ชนทั้งหลายนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า พวก
เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจของ
บุคคลผู้นี้.
ชนทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไป
อย่างไร ? ชนทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชน
เหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก
เป็นสองฝ่าย ชนเหล่านั้นพึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่
ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้า-
โศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และ
ความพูดส่อเสียด มีมาแต่สิ่งที่รัก ความทะเลาะ ความ
วิวาท ประกอบในความตระหนี่ และเมื่อความวิวาทกัน
เกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.

[452] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก
มีอะไรเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปใน
โลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไร
เป็นนี้ทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่
นรชน. เพื่อข้างหน้านั้น มีอะไรเป็นนิทาน ?


ว่าด้วยอะไรเป็นต้นเหตุแห่งสิ่งที่รัก


[453] คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน
ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้
ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งสิ่งที่รักทั้งหลายว่า สิ่ง
ที่รักทั้งหลายมีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ
ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น
ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก
มีอะไรเป็นนิทาน.
[454] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใดแล
ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ได้แก่พวกกษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความ
โลภ
คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก
กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.
คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง
เยียวยา. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก