เมนู

อรรถกถาปสูรสุตตนิทเทส



ในปสูรสุตตนิทเทส พึงทราบความย่อของคาถาแรกก่อน.
เจ้าทิฏฐิเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น หมายเอา
ทิฏฐิของตน แต่มิได้กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่นเลย สมณ-
พราหมณ์เป็นอันมากอาศัยศาสดาของตนเป็นต้นใด เป็นผู้กล่าวว่างามใน
เพราะศาสดาของตนเป็นต้นนั้นนั่นแหละอย่างนี้ว่า วาทะนี้งาม ตั้งมั่นใน
สัจจะเฉพาะอย่างว่า โลกเที่ยง เป็นต้น.
บทว่า สพฺเพ ปรวาเท ขิปนฺติ ความว่าย่อมทิ้งลัทธิอื่นทั้งหมด.
บทว่า อุกฺขิปนฺติ ความว่า ทิ้งไปไกล.
บทว่า ปริกฺขิปนฺติ ความว่า ทิ้งไปโดยรอบ.
บทว่า สุภวาทา เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.
บทว่า โสภณวาทา ความว่า กล่าวว่า งาม อย่างนี้.
บทว่า ปณฺฑิตวาทา ความว่า กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราเป็น
บัณฑิต.
บทว่า ธีรวาทา ความว่า กล่าวว่าพวกเรากล่าววาทะที่ปราศจากโทษ.
บทว่า ญายวาทา1 ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ควร.
บทว่า เหตุวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ประกอบ
ด้วยเหตุ.

1. บาลีเป็นญาณวาทา.

บทว่า ลกฺขณวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่
ควรกำหนด.
บทว่า การณวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่
ประกอบด้วยอุทาหรณ์.
บทว่า ฐานวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ไม่อาจ
จะหลีกเลี่ยงได้.
บทว่า นิวิฏฺฐา ความว่า เข้าไปในภายใน.
บทว่า ปติฏฺฐิตา ความว่า ตั้งอยู่ในสัจจะเฉพาะอย่างนั้นนั่นแหละ
ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่ด้วยประการฉะนี้แล.
คาถาที่ 2 ว่า เต วาทกามา เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลํ ทหนฺติ มิถู อญฺญมญฺญํ
ความว่า ชนทั้งสองพวกย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล คือย่อมเห็นโดย
ความเป็นพาล ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพาล ผู้นี้เป็นพาล.
บทว่า เต อญฺญสิตา กโถชฺชํ ความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้นอาศัยศาสดาเป็นต้น กล่าวทะเลาะกันและกัน.
บทว่า ปสํสกามา กุสลาวทานา ความว่า ทั้งสองพวก เป็น
ผู้มีความต้องการความสรรเสริญ มีความสำคัญอย่างนี้ว่า พวกเรากล่าวว่า
ตนเป็นคนฉลาด คือกล่าวว่าเป็นบัณฑิต.
บทว่า วาทตฺถิกา ความว่า มีความต้องการด้วยวาทะ.
บทว่า วาทาธิปฺปายา ความว่า มีความมุ่งหมายวาทะ.

บทว่า วาทปุเรกฺขารา ความว่า ทำวาทะนั่นแลไว้เบื้องหน้า
เที่ยวไป.
บทว่า วาทปริเยสนํ จรนฺตา ความว่า เที่ยวแสวงหาวาทะ
นั่นแล.
บทว่า วิคฺคยฺห ความว่า เข้าไปแล้ว.
บทว่า โอคฺคยฺห ความว่า หยั่งลงแล้ว.
บทว่า อชฺโฌคเหตฺวา ความว่า จมแล้ว.
บทว่า ปวิสิตฺวา ความว่า ไปในภายใน.
บทว่า อโนชวนฺตี ความว่า ไม่มีน้ำมีนวล อธิบายว่า เว้นจาก
เดช.
บทว่า สา กถา ได้แก่ วาจานี้.
บทว่า กโถชฺชํ วทนฺติ ความว่า กล่าวคำที่ไร้เดช ก็บรรดา
พวกเขาที่กล่าวอย่างนี้ กำหนดได้คนเดียวเท่านั้น.
คาถาว่า ยุตฺโย กถายํ เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุตฺโต กถายํ ความว่า ผู้ขวนขวาย
ในการกล่าววาทะ.
บทว่า ปสํสมิจฺฉํ วินิฆาติ โหติ ความว่า เมื่อปรารถนาความ
สรรเสริญเพื่อตน เป็นผู้มีถ้อยคำอย่างไรที่จะกล่าวก่อน โดยนัยเป็นต้นว่า
เราจักข่มเขาอย่างไรหนอ ชื่อว่าย่อมเป็นผู้ลังเลใจ.
บทว่า อปาหตสฺมึ ความว่า ในเมื่อวาทะของตนถูกผู้พิจารณา

ปัญหา ค้านโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านกล่าวคำปราศจากอรรถะ ท่านกล่าวคำ
ปราศจากพยัญชนะ.
บทว่า นินฺทาย โส กุปฺปติ ความว่า นรชนนั้นย่อมขัดเคือง
ในเมื่อวาทะถูกเขาคัดค้าน และเพราะความติเตียนที่เกิดขึ้น.
บทว่า รนฺธเมสิ ความว่า แสวงหาความผิดของผู้อื่นนั่นแล.
บทว่า โถมนํ ได้แก่ กล่าวสรรเสริญ.
บทว่า กิตฺตึ ได้แก่ กระทำให้ปรากฏ.
บทว่า วณฺณหาริยํ ได้แก่ ยกย่องคุณความดี.
บทว่า ปุพฺเพว สลฺลาปา ความว่า ก่อนที่จะโต้ตอบกันนั่นแหละ
ชื่อว่า กถังกถา เพราะอรรถว่า คำนี้อย่างไร คำนี้อย่างไร ชื่อว่า
กถังกถี เพราะอรรถว่า มีกถังกถา ถ้อยคำว่าอย่างไร.
บทว่า ชโย นุโข เม ความว่า เราชนะ.
บทว่า กถํ นิคฺคหํ ความว่า ข่มด้วยประการไร.
บทว่า ปฏิกมฺมํ กริสฺสามิ ความว่า เราจักกระทำลัทธิของเรา
ให้บริสุทธิ์.
บทว่า วิเสสํ ความว่า ยิ่งเกิน.
บทว่า ปฏิวิเสสํ ความว่า วิเศษบ่อย ๆ.
บทว่า อาเวธิยํ กริสฺสามิ ความว่า จักกระทำความผูกพัน.
บทว่า นิพฺเพธิยํ ความว่า ความปลดเปลื้อง คือ ความพ้น
ความออกไปของเรา.
บทว่า เฉทนํ ความว่า การตัดวาทะ.

บทว่า มณฺฑลํ ความร่า การขนาบวาทะ.
บทว่า ปาริสชฺชา ความว่า ผู้เข้าที่ประชุม.
บทว่า ปาสาทนิยา ความว่า ผู้มีความกรุณา.
บทว่า อปหรนฺติ ความว่า ย่อมห้าม.
บทว่า อตฺถาปคตํ ความว่า ปราศจากอรรถะ อธิบายว่า ไม่มี
อรรถะ
บทว่า อตฺถโต อปหรนฺติ ความว่า ย่อมห้ามจากอรรถะ.
บทว่า อตฺโถ เต ทุนฺนีโต ความว่า ท่านมิได้นำอรรถะเข้า
ไปโดยชอบ.
บทว่า พฺยญฺชนนฺเต ทุโรปิตํ ความว่า ท่านตั้งพยัญชนะไม่ดี.
บทว่า นิคฺคโห เต อกโต ความว่า ท่านไม่กระทำความข่ม.
บทว่า ปฏิกมฺมนฺเต ทุกฺกฏํ ความว่า การตั้งลัทธิของตน ท่าน
ทำไม่ดี คือทำไม่เรียบร้อย.
บทว่า ทุกฺกถิตํ ความว่า ท่านพูดไม่ชอบ.
บทว่า ทุพฺภณิตํ ความว่า แม้เมื่อกล่าว ก็กล่าวไม่ดี.
บทว่า ทุลฺลปิตํ ความว่า ชี้แจงไม่ชอบ.
บทว่า ทุรุตฺตํ ความว่า กล่าวโดยประการอื่น.
บทว่า ทุพฺภาสิตํ ความว่า กล่าวผิดรูป.
บทว่า นินฺทาย ความว่า ความติเตียน.
บทว่า ครหาย ความว่า กล่าวโทษ.
บทว่า อกิตฺติยา ความว่า กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นคุณ.

บทว่า อวณฺณหาริกาย ความว่า เพิ่มสิ่งที่ไม่เป็นคุณ.
บทว่า กุปฺปติ ความว่า ละปกติภาพแล้วหวั่นไหว.
บทว่า พฺยาปชฺชติ ความว่า ถึงภาวะเสียด้วยสามารถแห่งโทสะ.
บทว่า ปติตฺถียติ ความว่า ถึงความแค้นใจด้วยสามารถแห่งความ
โกรธ.
บทว่า โกปญฺจ ความว่า ความโกรธ.
บทว่า โทสญฺจ ความว่า ความประทุษร้าย.
บทว่า อปฺปจฺจยญฺจ ความว่า อาการไม่ยินดี.
บทว่า ปาตุกโรติ ความว่า กระทำให้ปรากฏ.
บทว่า รนฺธเมสี ความว่า แสวงหาระหว่าง.
บทว่า วิรนฺธเมสี ความว่า แสวงหาช่อง.
บทว่า อปรนฺธเมสี ความว่า นำคุณออก แล้วแสวงหาโทษเท่า
นั้น.
บทว่า ขลิตเมสี ความว่า แสวงหาความพลั้งพลาด.
บทว่า คลิตเมสี ความว่า แสวงหาความตกไป ปาฐะว่า
ฆฏฏิตเมสี ก็มี ความแห่งปาฐะนั้นว่า แสวงหาความบีบคั้น.
บทว่า วิวรเมสี ความว่า แสวงหาโทษ.
อนึ่ง มิใช่โกรธอย่างเดียว แต่พึงทราบคาถาว่า ยมสฺส วาทํ เป็น
ต้น โดยแท้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริหีนมาหุ อปาหตํ ความว่า ย่อม
กล่าวว่าเลว คัดค้านให้ตกไป โดยอรรถสละพยัญชนะเป็นต้น.

บทว่า ปริเทวติ ความว่า ต่อนั้นเขาบ่นเพ้อถึงนิมิตโดยนัยว่าเรา
คิดถึงสิ่งอื่นเป็นต้น.
บทว่า โสจติ ความว่า ย่อมเศร้าโศกปรารภว่าเขาชนะเป็นต้น.
บทว่า อุปจฺจคา มนฺติ อนุตฺถุนาติ ความว่า บ่นเพ้อยิ่งขึ้นไป
อีกโดยนัยเป็นต้นว่า เขากล่าวก้าวล่วงเราด้วยวาทะ.
บทว่า ปริหาปิตํ ความว่า ให้เจริญไม่ได้.
บทว่า อญฺญํ มยา อาวชฺชิตํ ความว่า เรารำพึงถึงเหตุอื่น.
บทว่า จินฺติตํ ความว่า พิจารณา.
บทว่า มหาปกฺโข ความว่า ชื่อว่า มีพวกมาก เพราะอรรถว่า
มีพวกญาติมาก.
บทว่า มหาปริโส ความว่า มีบริษัทโดยความเป็นบริวารมาก.
บทว่า มหาปริวาโร ความว่า มีทาสและทาสีเป็นบริวารมาก.
บทว่า ปริสา จายํ วคฺคา ความว่า ก็บริษัทนี้เป็นพวก ๆ ไม่เป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน.
บทว่า ปุน ภญฺชิสฺสามิ ความว่า จักทำลายอีก.
ก็ในบทว่า เอเต วิวาทา สมเณสุ นี้ เหล่าปริพาชกภายนอก
เรียกว่า สมณะ.
บทว่า เอเตสุ อุคฺฆาติ นิคฺฆาติ โหติ ความว่า เมื่อถึงความ
ที่จิตยินดีหรือยินร้ายด้วยสามารถแห่งความแพ้และความชนะเป็นต้น ชื่อ
ว่าความยินดีและความยินร้ายย่อมมีในเพราะวาทะเหล่านี้.
บทว่า วิรเม กโถชฺชํ ความว่า พึงละความทะเลาะกันเสีย.

บทว่า น หญฺญทตฺถตฺถิ ปสํสลาภา ความว่า เพราะประโยชน์
อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มีในเพราะความวิวาทนี้.
บทว่า อุตฺตาโน วา ความว่า ไม่ลึกเหมือนในประโยคว่า กาม
คุณ 5 เหล่านี้ เป็นต้น.
บทว่า คมฺภีโร ความว่า เข้าไปได้ยาก ตั้งอยู่ไม่ได้เหมือนธรรม
ที่อาศัยกันเกิดขึ้น.
บทว่า คุฬฺโห ความว่า ปกปิดตั้งอยู่ เหมือนในประโยคว่า
จงรื่นรมย์เถิด นันทะ เราเป็นผู้รับรองของเธอ เป็นต้น.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน ความว่า ไม่ปรากฏ เหมือนในประโยคว่า
ฆ่ามารดาบิดา เป็นต้น.
บทว่า เนยฺโย วา ความว่า ควรนำออกกล่าว เหมือนในประโยค
ว่า เป็นผู้ไม่มีศรัทธาและเป็นคนอกตัญญู เป็นต้น.
บทว่า นีโต วา ความว่า พึงกล่าวโดยทำนองที่ตั้งไว้ในบาลี
เหมือนในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ 4 เหล่านี้ เป็นต้น.
บทว่า อนวชฺโช วา ความว่า ประโยชน์ที่ปราศจากโทษ เหมือน
ในประโยคว่า กุศลธรรม เป็นต้น.
บทว่า นิกฺกิเลโส วา ความว่า เว้นจากกิเลส เหมือนวิปัสสนา.
บทว่า โวทาโน วา ความว่า บริสุทธิ์ เหมือนโลกุตตระ.
บทว่า ปรมตฺโถ วา ความว่า ประโยชน์สูงสุด คือ ประโยชน์ที่
เป็นประโยชน์สูงสุด เหมือนขันธ์ ธาตุ อายตนะ และพระนิพพาน
คาถาที่ 6 มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มี ฉะนั้นแม้
เมื่อได้ลาภอย่างยิ่ง ก็ย่อมได้รับสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้นว่า คนนี้ก็
แสดงวาทะนั้นในท่ามกลางบริษัท ต่อนั้นเขาถึงความยินดี หรือความยิ้ม
แย้ม ย่อมหัวเราะและเฟื่องฟูขึ้นด้วยมานะ เพราะอรรถว่าชนะนั้น เพราะ
เหตุอะไร เพราะบรรลุประโยชน์คือความชนะนั้น เป็นผู้สมใจนึก.
บทว่า ถมฺภยิตฺวา ความว่า ให้เต็ม.
บทว่า พฺรูหยิตฺวา ความว่า ให้เจริญ นิทเทสของคาถานี้
มีเนื้อความง่าย.
อนึ่ง เมื่อเฟื่องฟูขึ้นอย่างนี้ พึงทราบคาถาว่า ยา อุณฺณตี เป็นต้น
ดังต่อไปนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานาติมานํ วทเต ปเนโส ความว่า
ก็บุคคลนั้นไม่รู้อยู่ว่าความเฟื่องฟูนั้นเป็นพื้นย่ำยี จึงกล่าวความถือตัวและ
ความดูหมิ่น นิทเทสแห่งคาถาแม้นี้ก็มีเนื้อความง่าย.
ครั้นแสดงโทษในวาทะอย่างนี้แล้ว บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ไม่ทรงรับวาทะของปริพาชกนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า สูโร เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชขทาย มีอธิบายว่า ด้วยของควร
เคี้ยวซึ่งเป็นของพระราชทาน คือภัตตาหาร. ด้วยบทว่า อภิคชฺชเมติ
ปฏิสูรมิจฺฉํ
ทรงแสดงว่า ผู้คะนองอยู่นั้น เมื่อปรารถนาคนกล้าที่เป็น
ศัตรู ย่อมพบ ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น.
บทว่า เยเนว โส เตน ปเลหิ ความว่า คนกล้าที่เป็นศัตรูต่อ
ท่านนั้นมีอยู่ที่ใด ท่านจงไปเสียจากที่นั้น. ด้วยบทว่า ปุพฺเพว นตฺถี

ยทิทํ ยุทฺธาย ทรงแสดงว่า ก็ความลำบากนี้ใดพึงมีเพื่อการรบ ความ
ลำบากนั้นมิได้มีในเบื้องต้นเลยในที่นี้ ตถาคตละเสียแล้วที่โคนไม้โพธิ
นั้นแล.
บทว่า สูโร เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง ชีวิตด้วยดี ชื่อ
สูระ ความว่า ละชีวิต ถวายชีวิต.
บทว่า วีโร ความว่า มีความบากบั่น.
บทว่า วิกฺกนฺโต ความว่า เข้าสู่สงคราม.
บทว่า อภิรุ เป็นต้นมีนัยดังกล่าวนั้นแล.
บทว่า ปุฏฺโฐ เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.
บทว่า โปสิโต ความว่า ทำให้มีกำลัง.
บทว่า อาปาทิโต ความว่า เข้าไปเลี้ยงดู.
บทว่า ปฏิปาทิโต วฑฺฒิโต ความว่า ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น.
บทว่า คชฺชนฺโต ความว่า คะนองด้วยบทของคนโง่.
บทว่า อุคฺคชฺชนฺโต ความว่า กระทำการโห่ร้อง.
บทว่า อภิคชฺชนฺโต ความว่า กระทำสีหนาท.
บทว่า เอติ ความว่า ย่อมมา.
บทว่า อุเปติ ความว่า ไปใกล้จากนั้น.
บทว่า อุปุคจฺฉติ ความว่า ไปใกล้จากนั้นแล้วไม่กลับ.
บทว่า ปฏิสูรํ ความว่า ปลอดภัย.
บทว่า ปฏิปุริสํ ความว่า บุรุษผู้เป็นศัตรู.
บทว่า ปฏิสตฺตุํ ความว่า ผู้เป็นศัตรูยืนอยู่เฉพาะหน้า.

บทว่า ปฏิมลฺลํ ความว่า เป็นผู้ขัดขวางต่อสู้อยู่.
บทว่า อิจฺฉนฺโต ความว่า หวังอยู่.
บทว่า ปเลหิ ความว่า จงไป.
บทว่า วชฺช ความว่า จงอย่ายืนอยู่.
บทว่า คจฺฉ ความว่า เข้าไปหาใกล้ ๆ
บทว่า อภิกฺกม ความว่า จงกระทำความบากบั่น.
บทว่า โพธิยา มูเล ความว่า ที่ใกล้มหาโพธิพฤกษ์.
บทว่า เย ปฏิเสนิกรา กิเลสา ความว่า กิเลสเหล่าใดอัน
กระทำความเป็นปฏิปักษ์.
บทว่า ปฏิโลมกรา ความว่า กระทำความเสื่อม.
บทว่า ปฏิกณฺฏกกรา ความว่า กระทำความทิ่มแทง.
บทว่า ปฏิปกฺขกรา ความว่า กระทำเป็นศัตรู คาถาที่เหลือต่อ
จากนี้ มีความเกี่ยวเนื่องปรากฏแล้วทั้งนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวาทิยนฺติ ความว่า ย่อมวิวาทกัน.
บทว่า ปฏิเสนิกตฺตา ความว่า กิเลสที่ทำความขัดขวางกัน คำที่
ขัดแย้งกันโดยนัยว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เป็นต้น ชื่อวิวาท.
บทว่า สหิตมฺเม ความว่า คำของเราประกอบด้วยประโยชน์.
บทว่า อสหิตนฺเต ความว่า คำของท่านไม่ประกอบด้วยประโยชน์.
บทว่า อธิจิณฺณนฺเต วิปราวตฺตํ ความว่า คำที่สั่งสมนั้นใด
เป็นคำคล่องแคล่วด้วยสามารถเสวนะตลอดกาลนาน คำนั้นเปลี่ยนไปแล้ว
เพราะอาศัยวาทะของเรา.

บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ความว่า เรายกโทษไว้เบื้องบน
ท่าน.
บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า ท่านจงถือห่อข้าวเข้าไป
หาท่านนั้น ๆ เที่ยวแสวงหายิ่งขึ้น หรือจงแก้ไขเพื่อต้องการเปลื้องวาทะ
อีกอย่างหนึ่ง ท่านจงเปลื้องตนให้พ้นจากโทษที่เรายกขึ้น.
บทว่า สเจ ปโหสิ ความว่า ถ้าท่านสามารถ.
บทว่า อาเวธิกาย อาเวธิกํ ความว่า การกลับด้วยการกลับผูก
มัด.
บทว่า นิพฺเพธิกาย นิพฺเพธิกํ ความว่า ความปลดเปลื้องด้วย
ความปลดเปลื้องจากโทษ คำมีอาทิอย่างนี้ว่า เฉเทน เฉทํ พึงประกอบ
ตามที่ควรประกอบ เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
บทว่า วิเสนิกตฺวา ความว่า ยังกองทัพกิเลสให้พินาศ. พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกปริพาชกนั้นว่า ปสูระ คาถาแม้นี้ว่า เยสีธ นตฺถิ
ก็มีนิทเทสมีเนื้อความง่ายเหมือนกัน.
บทว่า ปวิตกฺกํ ความว่า วิตกว่า เราจักมีชัยหรือหนอ เป็นต้น.
บทว่า โธเนน ยุคํ สมาคมา ความว่า ถึงการจับคู่กับพระ
พุทธเจ้าผู้กำจัดกิเลสแล้ว.
บทว่า น หิ ตฺวํ สกฺขสิ สมฺปยาตเว ความว่า ท่านจักไม่อาจ
เพื่อจะจับคู่กับพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา เทียมทันเสมอเป็นหนึ่ง
กับเรา คือจักไม่อาจจับคู่เพื่อเทียมทันเรานั้นได้เลย เหมือนหมาไนเป็นต้น
ไม่อาจจับคู่เทียมทันกับราชสีห์เป็นต้นได้.

บทว่า มโน เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.
บทว่า ยํ จิตฺตํ ความว่า ชื่อว่าจิต เพราะวิจิตรด้วยจิต. ชื่อว่า
มนะ เพราะอรรถว่า รู้ คือทราบอารมณ์.
บทว่า มานสํ ได้แก่ ใจนั่นเอง ก็ธรรมที่สัมปยุตด้วยใจ เรียก
ว่ามนัส ในประโยคนี้ว่า บ่วงที่ลอยเที่ยวไปในอากาศ ชื่อมานัส.
พระอรหัตต์เรียกว่ามานัส ในคาถานี้ว่า :-
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงขวนขวายประโยชน์
เพื่อประชาชน สาวกของพระองค์ยินดีในศาสนา ยังไม่
บรรลุพระอรหันต์ ยังเป็นเสขะอยู่ จะพึงทำกาละเสีย
อย่างไรเล่า.

แต่ในที่นี้ มานัสคือใจ.
บทว่า มานสํ ท่านขยายด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ.
บทว่า หทยํ ได้แก่ จิต อก เรียกว่า หทัย ในประโยคนี้ว่าเรา
จักซัดจิตของท่านเสีย หรือจักผ่าอกของท่าน จิต เรียกว่า หทัย ใน
ประโยคนี้ว่า เข้าใจว่าถากจิตด้วยจิตเพื่อพระอรหัตตผล หัวใจ เรียกว่า
หทัย ในประโยคนี้ว่า ไต หัวใจ แต่ในที่นี้จิตนั่นแล เรียกว่า หทัย
ด้วยอรรถว่าภายใน จิตนั้นแลชื่อว่าปัณฑระ ด้วยอรรถว่าบริสุทธิ์ จิตนี้
ท่านกล่าวเอาภวังค์จิตเหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุด
ผ่อง ก็จิตนั้นแลถูกอุปกิเลสที่จะมาทำให้เศร้าหมองดังนี้ แม้อกุศลที่ออก
จากจิตนั้น ก็เรียกว่า ปัณฑระเหมือนกัน เหมือนแม่น้ำคงคาไหลออกจาก
แม่น้ำคงคา และเหมือนแม่น้ำโคธาวรีไหลออกจากแม่น้ำโคธาวรี.

ก็ มโน ศัพท์ในที่นี้ว่า มนะ มนายตนะ ท่านกล่าวเพื่อแสดง
ความเป็นอายตนะแห่งใจ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า อายตนะแห่งใจ
ชื่อมนายตนะ ดุจเทวายตนะนี้หามิได้ ที่แท้อายตนะ คือใจ ชื่อมนายตนะ
พึงทราบอายตนะ ในบทว่า ด้วยอรรถว่าที่อยู่อาศัย ด้วยอรรถว่าบ่อเกิด
ด้วยอรรถว่าที่ประชุม ด้วยอรรถว่าประเทศที่เกิด และด้วยอรรถว่าเหตุ
จริงอย่างนั้น. ที่อยู่อาศัย เรียกว่า อายตนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ที่
อยู่ของอิสรชน ที่อยู่ของวาสุเทพ ในโลก. บ่อเกิด เรียกว่า อายตนะ
ในประโยคเป็นต้นว่า บ่อเกิดทอง บ่อเกิดรัตนะ. ที่ประชุมเรียกว่า
อายตนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ผู้ไปในอากาศทั้งหลายย่อมคบเขาในที่
ประชุมที่น่ารื่นรมย์ในศาสนา. ประเทศที่เกิด เรียกว่า อายตนะ ใน
ประโยคเป็นต้นว่า ทักษิณาบถเป็นประเทศที่เกิดของโคทั้งหลาย. เหตุ
เรียกว่า อายตนะ ในประโยคเป็นต้นว่า เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น พยานย่อมถึง
ความเป็นผู้ควร ในที่นั้น ๆ ทีเดียว. ก็ในที่นี้เป็นไปทั้ง 3 อย่าง คือด้วย
อรรถว่าประเทศที่เกิด 1 ด้วยอรรถว่าที่ประชุม 1 ด้วยอรรถว่าเหตุ 1 มนะ
นี้พึงทราบว่าอายตนะ แม้ด้วยอรรถว่าประเทศที่เกิดว่า ก็ธรรมทั้งหลาย
ผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดในมนะนี้. พึงทราบว่า อายตนะ แม้ด้วยอรรถว่า
ประชุมว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ภายนอก
ย่อมประชุมลงในมนะนี้ตามสภาพ. พึงทราบว่า อายตนะ แม้ด้วยอรรถว่า
เหตุ เพราะความเป็นเหตุแห่งผัสสะเป็นต้น ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัยแห่ง.
สหชาตธรรมเป็นต้น.

มนินทรีย์มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า วิญญาณ เพราะ
อรรถว่า รู้แจ้ง. ขันธุ์ คือ วิญญาณ ชื่อวิญญาณขันธ์ พึงทราบเนื้อ
ความแห่งขันธ์นั้น ด้วยสามารถแห่งกองเป็นต้น. ก็ท่านกล่าวขันธ์ด้วย
อรรถว่ากอง ในประโยคนี้ว่า. ย่อมถึงการนับว่ากองน้ำใหญ่ทีเดียว ท่าน
กล่าวด้วยอรรถว่าคุณ ในประโยคเป็นต้นว่า สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ท่าน
กล่าวด้วยอรรถว่าเป็นเพียงบัญญัติ ในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแลซึ่งกองไม้ใหญ่ แต่ในที่นี้ท่านกล่าวขันธ์โดย
รุฬหีศัพท์ ก็เอกเทศแห่งวิญญาณขันธ์ เป็นวิญญาณดวงหนึ่ง ด้วยอรรถว่า
เป็นกอง เพราะเหตุนั้นวิญญาณแม้ดวงเดียว ซึ่งเป็นเอกเทศแห่งวิญญาณ
ขันธ์ท่านกล่าวว่า วิญญาณขันธ์ โดยรุฬหีศัพท์ เหมือนเมื่อตัดส่วนหนึ่ง
ของต้นไม้ ก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ ฉะนั้น.
บทว่า ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ ความว่า มโนวิญญาณธาตุ
อันสมควรแก่ธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้น ก็ในบทนี้จิตดวงเดียวนั่นแหละ
เรียกเป็น 3 ชื่อ คือมนะ ด้วยอรรถว่า รู้, วิญญาณ ด้วยอรรถว่า รู้แจ้ง,
ธาตุ ด้วยอรรถว่า สภาวะบ้าง ด้วยอรรถว่า ไม่เป็นสัตว์ไม่เป็นบุคคล
บ้าง.
บทว่า สทฺธึ ยุคํสมาคมา ความว่า ร่วมต่อสู้ด้วยกัน.
บทว่า สมาคนฺตฺวา ความว่า ถึงแล้ว.
บทว่า ยุคคฺคาหํ คณฺหิตฺวา1 ความว่า จับคู่แข่งขันกัน.
บทว่า สากจฺเฉตุํ ความว่า เพื่อกล่าวด้วยกัน.
บทว่า สลฺลปิตุํ ความว่า เพื่อทำการสนทนาปราศรัยกัน.

1. บาลีเป็น คณหิตุํ.

บทว่า สากจฺฉํ สมาปชฺชิตุํ ความว่า เพื่อดำเนินการกล่าว
ร่วมกัน.
อนึ่ง เพื่อจะแสดงเหตุในความที่ปสูรปริพาชก เป็นผู้ไม่สามารถ
พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตํ กิสฺส เหตุ ปสูโร ปริพฺ-
พาชโก หีโน
ดังนี้.
บทว่า โส หิ ภควา อคฺโค จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้เลิศ เพราะไม่มีใครเหมือน คือเพราะไม่มีใครมี
ปัญญาเสมอ.
บทว่า เสฏโฐ จ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยอรรถว่า
ไม่มีใครเปรียบเทียบด้วยคุณทั้งปวง.
บทว่า โมกฺโข จ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้พ้น เพราะพ้นจากกิเลส
พร้อมทั้งวาสนา.
บทว่า อุตฺตโม จ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สูงสุด เพราะไม่อวด
อุตตริมนุษยธรรมของพระองค์.
บทว่า ปวโร จ ความว่า ชื่อว่าบวร เพราะเป็นผู้ที่ชาวโลกทั้ง
ปวงปรารถนายิ่ง.
บทว่า มตฺเตน มาตงฺเคน ได้แก่ ช้างซับมัน.
บทว่า โกตฺถุโก ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกแก่.
บทว่า สีเหน มิครญฺญา สทฺธึ ความว่า กับพญาไกรสรสีหะผู้
เป็นมฤคราช.
บทว่า ตรุณโก ความว่า ลูกนก.

บทว่า เธนูปโก ความว่า ยังดื่มนม.
บทว่า อุสเภน ความว่า วัวผู้ที่ยอมรับตกลงกันว่าเป็นมงคล.
บทว่า วลกกุนา สทฺธึ ความว่า กับโคที่มีหนอกไหวอยู่.
บทว่า ธงฺโก ได้แก่ กา.
บทว่า ครุเฬน ในบทว่า ครุเฬน เวนเตยฺเยน สทฺธึ เป็น
ชื่อด้วยสามารถแห่งชาติ.
บทว่า เวนเตยฺเยน เป็นชื่อด้วยสามารถแห่งโคตร.
บทว่า จณฺฑาโล ได้แก่ คนจัณฑาลโดยกำเนิด.
บทว่า รญฺญา จกฺกวตฺตินา ได้แก่ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ครอง
ทวีปทั้ง 4.
บทว่า ปํสุปิสาจโก ได้แก่ ยักษ์ ที่บังเกิดในที่ทั้งหยากเยื่อ.
บทว่า อินฺเทน เทวรญฺญา สทฺธึ ความว่า กับท้าวสักกเทวราช.
บท 6 บทว่า โส หิ ภควา มหาปญฺโญ เป็นต้น ให้พิสดาร
แล้วในหนหลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญปเภทกุสโล ความว่า เป็นผู้
ฉลาดในประเภทแห่งปัญญาซึ่งมีวิกัปไม่มีที่สุดของตน.
บทว่า ปภินฺนญาโณ ความว่า ได้ญาณชนิดไม่มีที่สุด แม้เมื่อมี
ความเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ท่านก็แสดงความที่ปัญญาเหล่านั้น
มีประเภทไม่มีที่สุด ด้วยบทว่า ปภินฺนญาโณ นี้.
บทว่า อธิคตปฏิสมฺภิโท ความว่า ได้เฉพาะปฏิสัมภิทาอันเลิศ 4
อย่าง.

บทว่า จตุเวสารชฺชปฺปตฺโต ความว่า บรรลุญาณกล่าวคือความ
เป็นผู้แกล้วกล้า 4 อย่าง. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ไม่พิจารณาเห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ
ใคร ๆ ก็ตามในโลก จักทักท้วงเราด้วยธรรมในข้อนั้นเลยว่า ธรรมเหล่า
นี้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงปฏิญาณธรรมเหล่านั้นมิได้ตรัสรู้. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราไม่พิจารณาเห็นนิมิตนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม
ถึงความปลอดภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ไม่พิจารณาเห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ
ใคร ๆ ก็ตามในโลกนี้ จักทุกท้วงเราด้วยธรรมในข้อนั้นได้เลยว่า อาสวะ
เหล่านั้นของพระขีณาสพผู้ปฏิญาณธรรมเหล่านั้น ยังไม่หมดสิ้นว่า ก็ธรรม
เหล่านั้นเหล่าใดที่ตรัสว่าเป็นธรรมกระทำอันตราย เมื่อเสพเฉพาะธรรม
เหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่ออันตราย ว่า ก็พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อ
ประโยชน์แก่ผู้ใด ผู้นั้นเมื่อกระทำตามนั้น ย่อมไม่ออกไปจากความสิ้นทุกข์
โดยชอบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราไม่พิจารณาเห็นนิมิตนี้ ย่อมเป็น
ผู้ถึงความเกษม ถึงความปลอดภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่.
บทว่า ทสพลพลธารี ความว่า ชื่อว่า พระทศพล เพราะอรรถ
ว่า มีกำลัง 10 กำลังทั้งหลายของพระทศพล ชื่อว่ากำลังพระทศพล
ชื่อว่าทรงกำลังพระทศพล เพราะอรรถว่า ทรงกำลังเหล่านั้น ท่านแสดง
เพียงหัวข้อประเภทธรรมที่ควรแนะนำซึ่งมีประเภทมากมาย. ด้วยคำ 3 คำ
เหล่านี้ บุคคลผู้นั้นแล ชื่อว่า บุรุษองอาจ ด้วยอรรถว่า ยอมรับตกลง
กันว่าเป็นมงคลยิ่ง ด้วยสามารถประกอบด้วยปัญญา. ชื่อว่า บุรุษสีหะ

ด้วยอรรถว่า ไม่หวาดสะดุ้ง. ชื่อว่า บุรุษนาค ด้วยอรรถว่า ใหญ่. ชื่อว่า
บุรุษอาชาไนย ด้วยอรรถว่า รู้พร้อม. ชื่อว่า บุรุษนำธุระไป ด้วยอรรถว่า
นำกิจธุระของโลกไป.
ลำดับนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงคุณวิเศษที่ได้แต่ญาณ
อันหาที่สุดมิได้ มีเดชเป็นต้น เมื่อแสดงความที่เดชเป็นต้นเหล่านั้นมีญาณ
อันหาที่สุดมิได้เป็นมูล จึงกล่าวว่า อนนฺตญาโณ แล้วกล่าวว่า อนนฺต-
เตโช
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตญาโณ ความว่า มีญาณเว้นจาก
ที่สุด ด้วยสามารถแห่งคุณ และด้วยสามารถแห่งสภาวะ.
บทว่า อนนฺตเตโช ความว่า มีเดชเกิดแต่ญาณอันหาที่สุดมิได้
ด้วยการกำจัดมืด คือโมหะในสันดานของเวไนยสัตว์.
บทว่า อนนฺตยโส ความว่า เสียงสรรเสริญอันหาที่สุดมิได้ที่แผ่
ไปในโลก 3 ด้วยปัญญาคุณนั่นแล.
บทว่า อทฺโฒ ความว่า เป็นผู้สำเร็จด้วยความสำเร็จแห่งทรัพย์คือ
ปัญญา.
บทว่า มหทฺธโน ความว่า ชื่อว่า มีทรัพย์มาก เพราะอรรถว่า
มีทรัพย์คือปัญญา เป็นไปมากด้วยความมากตามสภาวะ แม้ด้วยความมาก
แห่งทรัพย์คือปัญญา ปาฐะว่า มหาธโน ก็มี.
บทว่า ธนวา ความว่า ผู้เป็นไปด้วยทรัพย์คือปัญญาที่พึงสรรเสริญ
ผู้เป็นไปด้วยทรัพย์คือปัญญาที่ประกอบไว้เป็นนิจ ผู้เป็นไปด้วยทรัพย์คือ

ปัญญา โดยเป็นความดียิ่ง ชื่อว่า ผู้มีทรัพย์. ผู้รู้ศัพท์ ย่อมปรารถนา
คำนี้ในอรรถ 3 แม้เหล่านี้.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงความสำเร็จอัตตสมบัติของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ด้วยปัญญาคุณอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความสำเร็จโลกหิตสมบัติ
ด้วยปัญญาคุณนั้นแลอีก จึงกล่าวคำว่า เนตา เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้นำเหล่าเวไนยสัตว์ในที่นั้น จากที่มีภัย
กล่าวคือสังสารวัฏ สู่ที่ปลอดภัยกล่าวคือพระนิพพาน. ทรงเป็นผู้แนะนำ
เหล่าเวไนยสัตว์ ด้วยสามารถแห่งสังขารวินัยและปหานวินัยในกาลเป็นที่
แนะนำในที่นั้นนั่นแล. ทรงเป็นผู้นำเนือง ๆ ด้วยการตัดความสงสัยใน
เวลาทรงแสดงพระธรรมนั้นแล. เมื่อทรงตัดความสงสัยแล้วให้รู้ประโยชน์
ที่ควรให้รู้ ชื่อว่าให้รู้จักประโยชน์ทรงให้เพ่งพินิจ ด้วยเหตุแห่งการตั้งใจ
แน่วแน่ถึงประโยชน์ที่ให้รู้จักอย่างนั้น. ทรงเป็นผู้เห็นประโยชน์ที่ให้เพ่ง
พินิจแล้วอย่างนั้น ด้วยสามารถแห่งการประกอบการปฏิบัติ ทรงให้ยินดี
ด้วยผลแห่งการปฏิบัติในประโยชน์ที่ดำเนินไปแล้วอย่างนั้น หิ ศัพท์ใน
บทว่า โส หิ ภควา เป็นนิบาตที่ยืนยันถึงเหตุแห่งประโยชน์ที่กล่าว
ไว้ติดต่อกัน.
บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตา ความว่า ทรง
ทำอริยมรรคซึ่งเป็นเหตุแห่งอสาธารณญาณ 6 ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสันดาน
ของพระองค์ ให้เกิดขึ้นในสันดานของพระองค์ ณ โคนไม้โพธิ เพื่อ
เกื้อกูลแก่สัตว์โลก.

บทว่า อสญฺชาตสฺส มคฺคสฺส สญฺชเนตา ความว่า ทรงทำ
มรรคอันเลิศ ซึ่งเป็นเหตุแห่งสาวกบารมีญาณ ที่ไม่เคยเกิดพร้อมใน
สันดานของเวไนยสัตว์ ให้เกิดพร้อมในสันดานของเวไนยสัตว์. จำเดิมแต่
ทรงยังธรรมจักรให้เป็นไป จนถึงกาลทุกวันนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
ชื่อว่า ทรงให้เกิดพร้อม เพราะทรงทำอริยมรรคให้เกิดพร้อมในสันดาน
แม้ของเหล่าพระสาวกผู้เวไนย ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
นั้นแล.
บทว่า อนกฺขาตสฺส มคฺคสฺส อกฺขาตา ความว่า ตรัสบอก
อริยมรรคที่เกิดขึ้น ณ โคนไม้โพธิ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าของเหล่า
โพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยธรรม 8 ประการ สร้างอภินิหารเพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้าไว้แล้ว. หรือด้วยเหตุเพียงพยากรณ์มรรคคือความเป็นบารมี
ซึ่งไม่เคยประทานพยากรณ์ตรัสบอกว่า จักเป็นพระพุทธเจ้านัยนี้ ย่อม
ได้แม้ในการพยากรณ์พระปัจเจกโพธิสัตว์.
บทว่า มคฺคญฺญ ความว่า ทรงรู้อริยมรรคที่เกิดขึ้นแก่พระองค์
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา.
บทว่า มคฺควิทู ความว่า ฉลาดในอริยมรรคที่พึงให้เกิดในสันดาน
ของเวไนยสัตว์.
บทว่า มคฺคโกวิโท ความว่า เห็นแจ้งในมรรคที่ควรบอกแก่
เหล่าโพธิสัตว์. อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้มรรคเครื่องบรรลุอภิสัมโพธิญาณ.
ทรงรู้แจ้งมรรคเครื่องบรรลุปัจเจกโพธิญาณ. ทรงฉลาดในมรรคเครื่อง
บรรลุสาวกโพธิญาณ. อีกอย่างหนึ่งเหล่าสัตว์ย่อมกระทำการประกอบในที่

นี้ตามลำดับ ด้วยสามารถแห่งมรรคของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระสาวกในอดีตในอนาคตและปัจจุบันตามที่ประกอบ มีความตาม
พระบาลีว่า.
สัตว์ทั้งหลายข้ามโอฆะแล้วในอดีต จักข้ามใน
อนาคตและกำลังข้านอยู่ในปัจจุบัน ด้วยมรรคนี้.

ด้วยสามารถแห่งสุญญตมรรค อนิมิตตมรรคและอัปปณิหิตมรรคและด้วย
สามารถแห่งมรรคของอุคฆติตัญญูบุคคล วิปจิตัญญูบุคคล และเนยยบุคคล.
บทว่า มคฺคานุคา จ ปน ความว่า เป็นผู้ดำเนินตามมรรคที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินแล้ว ศัพท์ ในที่นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
เหตุ. ด้วย ศัพท์นี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเหตุแล้วเพื่อ
บรรลุคุณมีความเกิดขึ้นแห่งมรรคเป็นต้น. ปน ศัพท์เป็นนิบาตลงในอรรถ
ว่ากระทำแล้ว ย่อมเป็นอันตรัสการกระทำมรรคที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ทรงกระทำแล้ว.
บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา ความว่า ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็น
ต้น ภายหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จไปก่อนแล้ว.
เพราะคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทั้งหมด
อาศัยอรหัตตมรรคเท่านั้นมาแล้ว ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวคุณอาศัยอรหัต
มรรคเท่านั้น ด้วยบทว่า อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตา เป็น
ต้น ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ชานํ ชานาติ ความว่า ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ อธิบายว่า
ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง และที่เป็นทางที่ควรแนะ
นำทุกอย่างด้วยปัญญา เพราะความเป็นพระสัพพัญญู.

บทว่า ปสฺสํ ปสฺสติ ความว่า ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น อธิบาย
ว่า ทรงเห็นทางที่ควรแนะนำนั้นนั่นแหละ ด้วยปัญญาจักษุทรงทำให้เป็น
เหมือนเห็นด้วยจักษุ เพราะความเป็นผู้เห็นทุกอย่าง.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลบางคนเมื่อถือวิปริต ถึงรู้อยู่ก็ไม่เป็นอันรู้ ถึง
เห็นอยู่ก็ไม่เป็นอันเห็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเป็นฉันนั้น แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือตามสภาวะ เมื่อทรงรู้ก็เป็นอันรู้ทีเดียว เมื่อ
ทรงเห็นก็เป็นอันเห็นทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั่น ทรงมีพระจักษุ
ด้วยอรรถว่าเป็นปริณายกแห่งการเห็น. ทรงมีพระญาณ ด้วยอรรถว่าเป็น
ผู้กระทำให้รู้แจ้ง. ทรงมีธรรม ด้วยอรรถว่า มีสภาวะไม่วิปริต หรือ
เพราะอรรถว่าสำเร็จด้วยธรรมทรงดำริด้วยพระหฤทัยแล้ว ทรงเปล่งด้วย
พระวาจา โดยทรงแนะนำปริยัตติธรรม ทรงเป็นพรหม ด้วยอรรถว่า
ประเสริฐ.
อีกอย่างหนึ่ง ทรงมีพระภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนจักษุ.
ทรงมีพระญาณ เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนพระญาณ. ทรงมีธรรม เพราะ
อรรถว่า เป็นเหมือนธรรม. ทรงเป็นพรหม เพราะอรรถว่า เป็นเหมือน
พรหม. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้นเป็นผู้ตรัสบอก เพราะตรัสบอกธรรม
หรือตรัสสอนธรรม เป็นผู้แนะนำ เพราะตรัสบอกหรือตรัสสอนโดยประการ
ต่าง ๆ. เป็นผู้นำออกซึ่งประโยชน์ เพราะทรงนำประโยชน์ออกแสดง
เป็นผู้ให้อมตธรรม เพราะทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุอมตธรรม หรือ
ให้สัตว์บรรลุอมตธรรม ด้วยพระธรรมเทศนาที่ประกาศอมตธรรม. เป็น
ธรรมสามี เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ยัง

โลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น. และเพราะประทานโลกุตตรธรรมตามสบาย
โดยอนุรูปแก่เวไนยสัตว์. บทว่า ตถาคโต มีเนื้อความดังกล่าวแล้วในหน
หลัง.
บัดนี้พระเถระประสงค์จะแสดงคุณที่กล่าวไว้ด้วยบทว่า ชานํ ชา-
นาติ
เป็นต้น ให้วิเศษ ด้วยความเป็นพระสัพพัญญู เมื่อยังความเป็น
พระสัพพัญญูให้สำเร็จ จึงกล่าวว่า นตฺถิ เป็นต้น.
ก็ชื่อว่าสิ่งที่ไม่รู้. ย่อมไม่มีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็น
อย่างนั้น เพราะทรงปราศจากความลุ่มหลงพร้อมทั้งวาสนา ในธรรมทั้ง
ปวงด้วย อรหัตตมรรคญาณที่สำเร็จแต่อำนาจผลบุญบารมี เพราะรู้ธรรมทั้ง
ปวงโดยไม่ลุ่มหลง และชื่อว่าสิ่งที่ไม่เห็นก็ย่อมไม่มีเหมือนอย่างนั้นเทียว
เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวงด้วยญาณจักษุเหมือนด้วยจักษุ ชื่อว่าสิ่งที่ไม่
ทราบชัดย่อมไม่มี เพราะทรงบรรลุแล้วด้วยพระญาณ ชื่อว่าสิ่งที่ไม่ทำให้
แจ้งย่อมไม่มีเพราะทรงการทำให้แจ้งแล้ว ด้วยการการทำให้แจ้งซึ่งไม่
ลุ่มหลง ชื่อว่าสิ่งที่มิได้ถูกต้องด้วยปัญญาย่อมไม่มี เพราะทรงถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญาที่ไม่ลุ่มหลง.
บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนํ ได้แก่ กาลหรือธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า.
บทว่า อุปาทาย ได้แก่ถือเอา ความว่า กระทำไว้ภายใน แม้
พระนิพพานที่พ้นกาลเวลา ก็เป็นอันถือเอาแล้วทีเทียว ด้วยคำว่า อุปาทาย
นั้นเอง.
ก็คำว่า อตีตํ เป็นต้น ย่อมต่อเนื่องด้วยคำว่า นตฺถิ เป็นต้นบ้าง.
ด้วยคำว่า สพฺเพ ธมฺมา เป็นต้นบ้าง.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ได้แก่ ความควบคุมสังขตธรรมและ
อสังขตธรรมทั้งหมด.
บทว่า สพฺพากาเรน ได้แก่ ความควบคุมอาการทุกอย่างมีอาการ
ไม่เที่ยงเป็นต้น แห่งธรรมแต่ละอย่างทีเดียว ในธรรมทั้งปวง.
บทว่า ญาณมุเข ได้แก่ ตรงหน้าพระญาณ.
บทว่า อาปาถํ อาคจฺฉนฺติ ความว่า เข้าถึงการประชุม.
บทว่า ชานิตพฺพํ ท่านกล่าวเพื่อไขความของบทว่า เนยฺยํ.
วา ศัพท์ ในบทว่า อตฺตตฺโถ วา เป็นต้น เป็นสมุจจยัตถะมีอรรถ
ว่ารวบรวม.
บทว่า อตฺตตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์ของตน.
บทว่า ปรตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์ของผู้อื่นคือของโลก 3.
บทว่า อุภยตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย คราวเดียวกัน
ทีเดียว คือทั้งของตนและของผู้อื่น.
บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิโก ได้แก่ ประโยชน์ที่ประกอบในปัจจุบันชื่อว่า
ทิฏฐธรรมประโยชน์. ประโยชน์ชื่อว่า สัมปรายิก เพราะอรรถว่า ประกอบ
ในภายหน้า ชื่อว่า สัมปรายประโยชน์. ประโยชน์ที่พึงกล่าวด้วยสามารถ
แห่งโวหาร ในบทว่า อุตฺตาโน เป็นต้น ชื่อว่าประโยชน์ตื้น เพราะดำรง
ไว้สะดวก. ประโยชน์ที่พึงกล่าวล่วงเลยโวหารเสีย เป็นประโยชน์ที่ปฏิสังยุต
ด้วยสุญญตาชื่อว่าประโยชน์ลึก เพราะดำรงไว้ได้ยาก ได้แก่โลกุตตร
ประโยชน์. ชื่อว่าประโยชน์ลี้ลับ เพราะเห็นได้แต่ภายนอกล่วงส่วน. ชื่อว่า
ประโยชน์ปกปิด เพราะปกปิดไว้ด้วยความไม่เที่ยงเป็นต้น และด้วยเมฆ

คือโมหะเป็นต้น. ประโยชน์ที่พึงกล่าวด้วยโวหารว่าไม่เจริญ ชื่อว่า
ประโยชน์ที่ควรแนะนำ เพราะไม่ถือเอาประโยชน์ตามที่กล่าวแล้วแนะนำถึง
ความประสงค์. ประโยชน์ที่พึงกล่าวด้วยโวหารว่าเจริญ ชื่อว่าประโยชน์ที่
บัณฑิตแน่ะนำแล้ว เพราะแนะนำถึงความประสงค์ ด้วยสักว่าคำเท่านั้น
ประโยชน์ของศีลสมาธิและวิปัสสนาที่บริสุทธิ์ดี ชื่อว่าประโยชน์ที่ไม่มีโทษ
เพราะเว้นจากโทษ ด้วยสามารถแห่งตทังคปหานและวิกขัมภนปหาน.
ประโยชน์ของอริยมรรค ชื่อว่าประโยชน์ที่ปราศจากกิเลส เพราะตัดกิเลส
ได้เด็ดขาด. ประโยชน์ของอริยผล ชื่อว่าประโยชน์ผ่องแผ้วเพราะกิเลสสงบ
ระงับแล้ว. พระนิพพานชื่อว่าประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นธรรมเลิศใน
บรรดาสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ปริวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปซึมซาบ หรือประดับ
โคตรอบหรือโดยพิเศษ ในภายในพระพุทธญาณ เพราะมิได้อยู่ภายนอก
แต่ภาวะวิสัยแห่งพระพุทธญาณ พระเถระแสดงความเป็นวิสัยแห่งญาณของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยบทว่า สพฺพํ กายกมฺมํ เป็นต้น.
บทว่า ญาณานุปริวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปตามพระญาณ
อธิบายว่า ย่อมไม่เว้นจากพระญาณ พระเถระแสดงความปราศจากความ
ขัดข้อง ด้วยบทว่า อปฺปฏิหตํ.
พระเถระประสงค์จะยังความเป็นพระสัพพัญญูให้สำเร็จด้วยอุปมาอีก
จึงกล่าวคำว่า ยาวตกํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ เพราะอรรถว่า
ควรรู้. ชื่อว่าพระญาณมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ เพราะ

อรรถว่า พระญาณนั้นมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำคือที่สุด
แห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ ก็ที่สุดแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำนั่นแล ย่อม
ไม่มีแก่ผู้ที่มิใช่สัพพัญญู. แม้ในบทธรรมที่ควรแนะนำที่มีส่วนสุดรอบแห่ง
พระญาณก็นัยนี้เหมือนกัน. ในคู่แรกมีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล พระ
เถระแสดงให้วิเศษด้วยคู่นี้ แสดงกำหนดด้วยสามารถปฏิเสธ ด้วยคู่ที่ 3
ก็ในที่นี้บทธรรมที่ควรแนะนำ ชื่อว่าทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ.
บทว่า อญฺญมญฺญปริยนฺตฏฺฐายิโน ความว่า มีปกติตั้งอยู่ใน
ส่วนสุดรอบของกันและกัน โดยตั้งซึมซาบทั้งบทธรรมที่ควรแนะนำและ
ญาณ.
บทว่า อาวชฺชนปฏิพทฺธา ความว่า อาศัยความนึกทางมโนทวาร
อธิบายว่า ย่อมรู้ในลำดับความนึกนั้นนั่นเอง.
บทว่า อากงฺขปฏิพทฺธา ความว่า อาศัยความชอบใจ อธิบาย
ว่าย่อมรู้ด้วยชวนะญาณในลำดับความนึก บท 2 บทนอกนี้. ท่านกล่าว
เพื่อประกาศเนื้อความตามลำดับ ของบท 2 บทเหล่านี้.
ชื่อว่า อาสยะ ในบทว่า อาสยํ ชานาติ นี้ เพราะอรรถว่าเป็น
ที่พักพิงคืออาศัยของเหล่าสัตว์. บทนี้เป็นชื่อของสันดานที่ได้รับอบรมด้วย
มิจฉาทิฏฐิบ้าง ด้วยสัมมาทิฏฐิบ้าง ด้วยกามเป็นต้นบ้าง ด้วยเนกขัมมเป็น
ต้นบ้าง.
ชื่อว่าอนุสัย เพราะอรรถว่า นอนเนื่อง คือเป็นไปตามสันดาน
ของสัตว์ คำนี้เป็นชื่อของกามราคะเป็นต้นที่มีกำลัง กถาว่าด้วยอนุสัยว่า
อนุสยํ ชานาติ ดังนี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า จริตํ ได้แก่กุศลกรรมที่ทำไว้ในก่อน.
บทว่า อธิมุตฺตึ ได้แก่ การสละจิตในกุศลก็ตาม ในอกุศลก็ตาม
บทว่า อปฺปรชกฺเข ความว่า ชื่อว่าผู้มีธุลีคือกิเลสน้อยในจักษุ
เพราะอรรถว่ามีธุลีคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ในจักษุที่สำเร็จด้วยปัญญาน้อย
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าผู้มีธุลีคือกิเลสน้อยในจักษุเพราะอรรถว่า มีธุลีคือกิเลส
มีราคะเป็นต้นน้อย.
บทว่า มหารชกฺเข ความว่า ชื่อว่าผู้มีธุลีคือกิเลสมากในญาณจักษุ
เพราะอรรถว่า มีธุลีคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ในจักษุที่สำเร็จด้วยญาณมาก
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้มีธุลีคือกิเลสมากในจักษุ เพราะอรรถว่า มีธุลีคือ
กิเลสมีราคะเป็นต้นมาก.
บทว่า ติกฺขินฺทฺริเย มุทินฺทฺริเย ความว่าชื่อว่า มีอินทรีย์แก่
กล้า เพราะอรรถว่า มีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นแก่กล้า. ชื่อว่ามีอินทรีย์
อ่อนเพราะอรรถว่า มีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นอ่อน.
บทว่า สฺวากาเร ทฺวากาเร ความว่า ชื่อว่ามีอาการดี เพราะ
อรรถว่า มีอาการคือโกฏฐาส มีศรัทธาเป็นต้น อันเป็นธรรมดี. ชื่อว่า
มีอาการเลว เพราะอรรถว่า มีอาการคือโกฏฐาส มีอศรัทธาเป็นต้น
อันเป็นธรรมน่าเกลียด น่าติเตียน.
บทว่า สุวิญฺญาปเย ทุพฺพิญฺญาปเย ความว่า สัตว์เหล่าใด
กำหนดเหตุการณ์ที่กล่าวแล้ว อาจให้รู้แจ้งได้โดยง่าย สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า
ให้รู้แจ้งได้โดยง่าย. สัตว์ทั้งหลายที่ตรงกันข้ามกับสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าให้
รู้แจ้งได้โดยยาก.

บทว่า ภพฺพาภพฺเพ ได้แก่ เป็นภัพพสัตว์ และเป็นอภัพพสัตว์.
ชื่อว่าเป็นภัพพสัตว์เพราะอรรถว่า เป็น คือเกิดในอริยชาติ เป็นคำ
ปัจจุบันกาล ลงในอรรถว่า ใกล้ที่กำลังเป็นไปอยู่. ชื่อว่าเป็นภัพพสัตว์
เพราะอรรถว่า จักเป็น หรือจักเกิด ความว่า เป็นภาชนะ สัตว์เหล่าใด
เป็นผู้สมควร คือถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งการแทงตลอดอริยมรรค สัตว์
เหล่านั้นเป็นภัพพสัตว์. เหล่าสัตว์ที่เป็นคนละฝ่ายกับสัตว์ที่กล่าวแล้ว เป็น
อภัพพสัตว์.
บทว่า สตฺเต ปชานาติ ความว่า ย่อมทรงทราบซึ่งเหล่าสัตว์
ผู้ข้องคือติดอยู่ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น.
บทว่า สเทวโก โลโก เป็นต้นความว่าพร้อมกับเทวดาทั้งหลาย
ชื่อ สเทวกะ. พร้อมกับมาร ชื่อ สมารกะ. พร้อมกับพรหม ชื่อ
สพรหมกะ. พร้อมกับสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อ สัสสมณพราหมณี.
ชื่อ ปชา เพราะความเป็นหมู่สัตว์. พร้อมกับเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ชื่อ สเทวมนุสสา.
บทว่า ปชา นี้เป็นคำเรียกสัตวโลกโดยปริยาย บรรดาคำเหล่านั้น
ด้วยคำว่า สเทวกะ หมายเอาเทวดาชั้นกามาพจร 5 ชั้น
ด้วยคำว่า สมารกะ หมายเอาเทวดาชั้นกามาพจรที่ 6
ด้วยคำว่า สพรหมกะ หมายเอาพรหม มีพรหมกายิกะเป็นต้น.
ด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณี หมายเอาสมณพราหมณ์ที่เป็นข้าศึก
เป็นปัจจามิตรต่อพระศาสนา และหมายเอาสมณพราหมณ์ผู้สงบบาปผู้ลอย
บาปแล้ว.

ด้วยคำว่า ปชา หมายเอาสัตวโลก.
ด้วยคำว่า สเทวมนุสสา หมายเอาสมมติเทพและพวกมนุษย์ที่
เหลือลงในที่นี้พึงทราบว่าโอกาสโลก ถือเอาด้วยบท 3 บท สัตวโลกด้วย
สามารถเป็นหมู่สัตว์ ถือเอาด้วยบท 2 บทด้วยประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง อรูปาวจรโลก ถือเอาด้วยศัพท์ว่า สเทว. ฉกามาวจร
โลกถือเอาด้วยศัพท์ว่า สมาร. รูปาวจรพรหมโลก ถือเอาด้วยศัพท์ว่า
สพฺรหฺม. มนุษยโลกพร้อมกับสมมติเทพด้วยสามารถแห่งบริษัท 4 หรือ
สัตวโลกที่เหลือลง ถือเอาด้วยศัพท์ว่า สัสสมณพราหมณี เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดอย่างเลิศลอยด้วยคำว่า สเทวกะ ในที่นี้ย่อม
ยังความเป็นไปในภายในพระพุทธญาณให้สำเร็จแก่โลกแม้ทั้งปวง จากนั้น
ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่า มารมีอานุภาพมาก เป็นใหญ่ฝนสวรรค์ชั้น
กามาพจร 6 ชั้นเป็นผู้ยังอำนาจให้เป็นไป มารแม้นั้นจะเป็นไปในภายใน
พระพุทธญาณได้อย่างไร พระเถระเมื่อจะกำจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น
จึงกล่าวว่า สมารโก ดังนี้.
อนึ่ง ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่า พรหมมีอานุภาพมาก แผ่แสง
สว่างไปในพันจักรวาล 1 ด้วยนิ้วมือ 1 นิ้ว ในพันจักรวาล 2 ด้วยนิ้ว
มือ 2 นิ้ว ฯลฯ ในพันจักรวาล 10 ด้วยนิ้วมือ 10 นิ้ว และเสวยสุขเกิดแต่
ฌานสมาบัติ ที่ไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า พรหมแม้นั้นจะเป็นไปในภายในพระพุทธ
ญาณได้อย่างไร พระเถระเมื่อจะกำจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น จึงกล่าว
ว่า สพฺรหฺมโก ดังนี้ จากนั้น ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่าสมณพราหมณ์
เป็นอันมากที่เป็นข้าศึกต่อพระศาสนา สมณพราหมณ์ แม้เหล่านั้นจะเป็น

ไปในภายในพระพุทธญาณได้อย่างไร พระเถระเมื่อจะกำจัดความสงสัยของ
ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺราหฺมณี ปชา ดังนี้. พระเถระ
ครั้นประกาศความเป็นไปในภายในพระพุทธญาณของเหล่าผู้เลิศลอยอย่างนี้
แล้วต่อนั้นเมื่อจะประกาศความเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ของสัตวโลก
ที่เหลือ ด้วยสามารถแห่งการกำหนดอย่างเลิศลอย รวมทั้งสมมติเทพและ
มนุษย์ที่เหลือลง จึงกล่าวว่า สเทวมนุสฺสา ดังนี้ ในข้อนี้มีลำดับอนุสนธิ
ดังนี้ แต่โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า บทว่า สเทวโก ได้แก่ สัตวโลก
ที่เหลือลงกับเทวดาทั้งหลาย.
บทว่า สมารโก ได้แก่สัตวโลกที่เหลือลงกับมาร.
บทว่า สพฺรหฺมโก ได้แก่ สัตวโลกที่เหลือลงกับพรหมทั้งหลาย
พระเถระใส่เหล่าสัตว์ผู้เข้าถึงภพ 3 แม้ทั้งหมดเข้าในบท 3 บท ด้วย
อาการ 3 แล้วจึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺราหฺมณี ปชา สเทวมนุสฺสา
เพื่อถือเอาด้วยอาการ 2 อีก ธาตุ 3 นั่นแลย่อมเป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วย
อาการนั้น ๆ ด้วยบททั้งหลาย 5 ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อนฺตมโส ความว่า โดยที่สุดเบื้องบน.
ในบทว่า ติมิติมิงฺคลํ นี้ มัจฉาชาติชนิดหนึ่งชื่อติมิ. มัจฉาชาติ
ชนิดหนึ่งชื่อติมิงคละ ตัวใหญ่กว่าปลาติมินั้น สามารถกลืนกินปลาติมิได้.
มัจฉาชาติชนิดหนึ่งชื่อติมิติมิงคละ ตัวยาวประมาณ 500 โยชน์ สามารถ
กลืนกินแม้ปลาติมิงคละได้. ในที่นี้พึงทราบว่าท่านทำเอกวจนะด้วยศัพท์ว่า
ชาติ.
ในบทว่า ครุฬํ เวนเตยฺยํ นี้ :-

บทว่า ครุโฬ เป็นชื่อโดยชาติ.
บทว่า เวนเตยฺโย เป็นชื่อโดยโคตร.
บทว่า ปเทเส ได้แก่ เอกเทส.
บทว่า สารีปุตฺตสฺมา พึงทราบว่าท่านกล่าวถือเอาพระธรรมเสนา-
บดีเถระทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ด้วยว่า พระสาวกที่เหลือทั้งหลาย
ที่มีปัญญาเสมอด้วยพระธรรมเสนาบดีเถระ ไม่มี เหมือนอย่างที่ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก สารีบุตรเป็น
เลิศ และในอรรถกถาท่านกล่าวว่า :-
ก็เหล่าสัตว์อื่น ๆ บรรดามี เว้นพระโลกนาถเสีย
ย่อมมีปัญญาไม่ถึงเสี้ยวที่ 6 ของพระสารีบุตร.

บทว่า ผริตฺวา ความว่า พระพุทธญาณถึงปัญญาแม้ของเทวดา
และมนุษย์ทั้งปวง คือแผ่คลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงเหล่านั้น
ตั้งอยู่ตามฐาน.
บทว่า อภิภวิตฺวา ความว่า ก้าวล่วงปัญญาแม้ของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งปวง ครอบงำบทธรรมที่ควรแนะนำทั้งหมดว่า แม้เป็นวิสัยของ
เทวดา และมนุษย์เหล่านั้นตั้งอยู่ แต่ปาฐะในปฏิสัมภิทามรรคว่า อติฆํสิตฺวา
ความว่า บด ขัดสี พระเถระแสดงเหตุที่ประจักษ์ของการแผ่คลุมตั้งอยู่
อย่างนี้ ด้วยบทว่า เยปิ เต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิตา ความว่า ผู้ประกอบด้วย
ความเป็นบัณฑิต.

บทว่า นิปุณา ความว่า ละเอียดอ่อน. คือสามารถแทงตลอดใน
ระหว่างอรรถที่สุขุมของผู้มีปัญญาสุขุม.
บทว่า กตกรปฺปวาทา ความว่า รู้วาทะของผู้อื่น และร่วมกับ
ผู้อื่นสนทนากัน.
บทว่า วาลเวธิรูปา ความว่า เช่นกับนายขมังธนูผู้ยิงขนหางสัตว์.
บทว่า โวภินฺทนฺตา มญฺเญ จรนฺติ ปญฺญาคเตน ทิฏฺฐิคตานิ
ความว่า เที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิของตนเหล่าอื่น แม้ละเอียดดังขนหางสัตว์
ด้วยปัญญาของตน.
อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาคตะ คือปัญญานั่นแหละ ทิฏฐิคตะ คือทิฏฐิ
นั่นแหละ ดุจในประโยคว่า คูถมูตร เป็นต้น.
บทว่า ปญฺเห อภิสงฺขริตฺวา อภิสงฺขริตฺวา ความว่า แต่งคำ
ถาม 2 บทบ้าง 3 บทบ้าง 4 บทบ้าง กล่าว 2 ครั้งเพื่อรวบรวมปัญหา
ทั้งหมด เพราะปัญหาเหล่านั้นมากเหลือเกิน ปาฐะที่เหลือว่า ข้อความที่
ลี้ลับและปกปิดบ้าง.
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นวินัยของบัณฑิตเหล่านั้น อย่างนั้น
แล้วมีพระพุทธพระสงค์อย่างนี้ว่าจงถามปัญหาที่ตนปรุงแต่งเถิด. บัณฑิต
เหล่านั้นจึงทูลถามปัญหา แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ประทานโอกาสเพื่อ
ถามแก่คนเหล่าอื่นเลย ทรงแสดงธรรมแก่พวกที่เข้าเฝ้าอยู่ เหมือนอย่างที่
กล่าวว่าบัณฑิตเหล่านั้นปรุงแต่งปัญหาด้วยคิดว่า พวกเราจักเข้าเฝ้าพระ
สมณโคดมทูลถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จัก
พยากรณ์อย่างนี้แก่พวกเราไซร้ พวกเราจักยกวาทะของพระองค์เสียอย่างนี้

แม้ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้แก่พวกเราไซร้
พวกเราก็จักยกวาทะของพระองค์เสียแม้อย่างนี้ บัณฑิตเหล่านั้น เข้าไปเฝ้า
พระสมณโคดมถึงที่ประทับ พระสมณโคดมทรงชี้ชวน ปลุก ปลอบ
บัณฑิตเหล่านั้นด้วยธรรมมีกถา บัณฑิตเหล่านั้นที่พระสมณโคดมทรงชี้ชวน
ปลุกปลอบด้วยธรรมมีกถา ย่อมไม่ทูลถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย
จักยกวาทะของพระองค์แค่ไหน ย่อมเป็นสาวกเลื่อมใสต่อพระสมณโคดม
โดยแท้ทีเดียว หากจะถามว่าเพราะเหตุไรจึงไม่ทูลถามปัญหา ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทแสดงธรรมในท่ามกลาง
บริษัท ลำดับนั้นทรงทรามว่า บัณฑิตเหล่านี้มาทำปัญหามีรหัสลี้ลับเป็น
เครื่องผูกมัด บัณฑิตเหล่านั้นยังไม่ทันถามเลย พระองค์ทรงทราบว่า
ในการถามปัญหามีโทษเท่านี้ ในการวิสัชนามีโทษเท่านี้ ในอรรถ บท
อักษรมีโทษเท่านี้ และทรงทราบว่า เมื่อจะถามปัญหานี้ พึงถามอย่างนี้
เมื่อจะวิสัชนา พึงวิสัชชนาอย่างนี้ จึงทรงใส่ปัญหาทั้งหลายที่พวกบัณฑิต
นำมาทำเป็นเครื่องผูกมัดพระสงค์ เข้าไปในระหว่างธรรมกถา แสดงด้วย
ประการฉะนี้. บัณฑิตเหล่านั้นคิดว่า เป็นความประเสริฐของพวกเราหนอ
ที่พวกเราไม่ทูลถามปัญหาเหล่านี้ แม้ถ้าพวกเราทูลถาม พระสมณโคดม
พึงทำให้พวกเราตั้งตัวไม่ติดซัดทิ้งไป ดังนี้ ย่อมพากันดีใจ. อนึ่ง ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมทรงแผ่พระเมตตาไปยัง
บริษัทมหาชน ย่อมมีจิตเลื่อมใสในพระทศพล ด้วยทรงแผ่พระเมตตา
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยรูป สมบูรณ์

ด้วยทัศนะ มีพระสุรเสียงไพเราะ พระชิวหาอ่อน ริมฝีพระโอษฐ์สนิทดี
ตรัสพระธรรมเหมือนรดหทัยด้วยน้ำอมฤต. ในการนั้น พวกบัณฑิตผู้มีจิต
เลื่อมใสด้วยการแผ่พระเมตตาเหล่านั้น ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราจัก
ไม่อาจจับคู่เป็นข้าศึกกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสกถาไม่เป็นที่น่าสงสัย
กถาไม่เป็นโมฆะ กถาเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ จึงไม่ทูลถาม
ปัญหาด้วยความเลื่อมใสของตน ดังนี้แล.
บทว่า กถิตา จ วิสชฺชิตา จ ความว่า ปัญหาเหล่านั้นย่อมเป็น
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วทีเดียว ด้วยการเปล่งพระสุรเสียงถึงปัญหาที่
พวกบัณฑิตไม่ทูลถาม ว่า พวกท่านจงถามอย่างนี้ และปัญหาเหล่านั้น
ย่อมเป็นอันทรงวิสัชนาแล้วทีเดียวโดยประการที่ควรจะวิสัชนา.
บทว่า นิทฺทิฏฐการณา ความว่า ปัญหาเหล่านั้นย่อมมีเหตุที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไขและทรงใส่เข้าแล้ว ด้วยทรงวิสัชนากระทำให้
มีเหตุอย่างนี้ว่า ด้วยการณ์นี้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นอย่างนี้.
บทว่า เต ภควโต สมฺปชฺชนฺติ ความว่า พวกบัณฑิตผู้เป็น
กษัตริย์เป็นต้น ที่ถูกชักชวนเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเป็นสาวก
เลื่อมใสบ้าง เป็นอุบาสกเลื่อมใสบ้าง ด้วยการวิสัชนาของพระผู้มีพระภาค
เจ้านั้นแล มีอธิบายว่า ย่อมถึงสมบัติของสาวกบ้าง สมบัติของอุบาสกบ้าง.
บทว่า อถ ลงในอรรถว่า ไม่มีระหว่าง. ความว่า ใกล้ที่สุดต่อ
สมบัติที่ทรงใส่เข้าแก่บัณฑิตเหล่านั้นทีเดียว.
บทว่า ตตฺถ ความว่า ในที่นั้นหรือในอธิการนั้น.

บทว่า อติโรจติ ความว่า ย่อมทรงรุ่งเรืองสว่างไสวเหลือเกิน.
บทว่า ยทิทํ ปญฺญาย ความว่า พระปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นี้ใด ด้วยพระปัญญานั้น. อธิบายว่า และพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง
รุ่งเรืองยิ่ง. อิติ ศัพท์ ลงในอรรถว่า เหตุ ความว่า เพราะเหตุนั้นคำ
ที่เหลือปรากฏแล้วในที่ทั้งปวงนั่นเทียวแล.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส
อรรถกถาปสูรสุตตนิทเทส
จบ สูตรที่ 8

มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ 9



ว่าด้วยเมถุนธรรม



[321] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้นี้ เพราะเห็น
นางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจใน
เมถุนธรรม ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตร
และกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วย
เท้า.

[322] คำว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะ
เห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย
มีความว่า ความพอใจก็
ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในเมถุนธรรม มิได้มีเพราะเห็น คือ
ประสบ มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะเห็นนาง
ตัณหา นางอรดีและนางราคาเลย
.
[323] คำว่า ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมีเพราะเห็น
สรีระอันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้อง
สรีระนั้นแม้ด้วยเท้า
มีความว่า ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมี
เพราะเห็นสรีระนี้ อันเต็มด้วยมูตร เต็มด้วยกรีส เต็มด้วยเสมหะ เต็มด้วย