เมนู

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ



[309] คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน มี
ความว่า ชนเหล่าใด ถือ คือ จับถือ ถือเอา ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่ง
ทิฏฐิ 62 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ทำความ
ทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความมุ่งร้ายกันว่า
ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้, ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร,
ท่านปฏิบัติผิดเราปฏิบัติชอบ, คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มี
ประโยชน์, คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง, คำที่ควรกล่าวทีหลัง
ท่านกล่าวก่อน คำที่คล่องแคล่วของท่านกลับขัดข้องไป, เราใส่โทษท่าน
แล้ว ท่านถูกเราปราบแล้ว ท่านจงเที่ยวไป หรือจงแก้ไขเพื่อเปลื้องวาทะ
ถ้าท่านสามารถเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้วย่อม
วิวาทกัน
.
[310] คำว่า และย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ มี
ความย่อมกล่าว
คือ ย่อมบอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้
เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก พูดแสดง แถลงว่า
โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่
เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้นจึงซึ่งว่า และ
ย่อมกล่าวว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง
ดังนี้.
[311] คำว่า ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น เพราะกิเลสที่
ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว
ย่อมไม่มีในที่นี้ มี
ความว่า ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น คือผู้เป็นเจ้าทิฏฐิ คือ ท่าน

จงทำความข่มด้วยความข่มทำกรรมตอบด้วยกรรมตอบ ทำกรรมแปลกด้วย
กรรมแปลกทำกรรมแปลกเฉพาะด้วยกรรมแปลกเฉพาะ ทำความผูกมัด
ด้วยความผูกมัดทำความปลดเปลื้องด้วยความปลดเปลื้อง ทำความตัดด้วย
ความตัด ทำความขนาบด้วยความขนาบ ชนเหล่านั้นเป็นคนกล้าที่เป็นศัตรู
เป็นบุรุษที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นนักรบที่เป็นปฏิปักษ์
ต่อท่านเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่านกล่าวกะชนเหล่านั้น.
คำว่า เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิด
แล้วย่อมไม่มีในที่นี้
มีความว่า เมื่อวาทะเกิดแล้ว เกิดพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว กิเลสเหล่าใดที่ทำความขัดขวางกัน ความขัด
แย้งกัน ความเป็นเสี้ยนหนามกัน ความเป็นปฏิปักษ์กัน พึงทำความ
ทะเลาะ หมายมั่น แก่งแย่ง วิวาท มุ่งร้ายกัน กิเลสเหล่านั้นย่อมไม่มี
คือ ย่อมไม่มีพร้อม ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ย่อมเป็นบาปธรรมอันตถาคต
ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย
ไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น เพราะ
กิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว ย่อมไม่มีใน
ที่นี่
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ก็ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน และย่อม
กล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น
เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว
ย่อมไม่มีในที่นี้.

[312] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนาแล้ว ไม่
กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิย่อมเที่ยวไป ดูก่อนปสูระ ท่านพึงได้
อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ผู้ไม่มีความถือว่าสิ่ง
นี้ประเสริฐ.


ว่าด้วยมารเสนา



[313] คำว่า ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนา
แล้ว....ย่อมเที่ยวไป
มีอธิบายดังต่อไปนี้ มารเสนา เรียกว่า เสนา กาย
ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความ
ผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง
ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น
ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน
กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุสลา-
ภิสังขารทั้งปวง เป็นมารเสนา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
กิเลสกามเรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ 1 ของท่าน ความไม่ยินดีเป็นกองทัพ
ที่ 2 ฯลฯ ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้ว ย่อมได้สุข ดังนี้.
เพราะมารเสนาทั้งหมด และกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด อันบุคคล
นั้นชนะแล้ว ไม่แพ้แล้ว ทำลายแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว
ด้วยอริยมรรค 4 ฉะนั้นจึงเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้กำจัดเสนาแล้ว.