เมนู

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ



[309] คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน มี
ความว่า ชนเหล่าใด ถือ คือ จับถือ ถือเอา ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่ง
ทิฏฐิ 62 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ทำความ
ทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความมุ่งร้ายกันว่า
ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้, ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร,
ท่านปฏิบัติผิดเราปฏิบัติชอบ, คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มี
ประโยชน์, คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง, คำที่ควรกล่าวทีหลัง
ท่านกล่าวก่อน คำที่คล่องแคล่วของท่านกลับขัดข้องไป, เราใส่โทษท่าน
แล้ว ท่านถูกเราปราบแล้ว ท่านจงเที่ยวไป หรือจงแก้ไขเพื่อเปลื้องวาทะ
ถ้าท่านสามารถเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้วย่อม
วิวาทกัน
.
[310] คำว่า และย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ มี
ความย่อมกล่าว
คือ ย่อมบอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้
เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก พูดแสดง แถลงว่า
โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่
เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้นจึงซึ่งว่า และ
ย่อมกล่าวว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง
ดังนี้.
[311] คำว่า ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น เพราะกิเลสที่
ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว
ย่อมไม่มีในที่นี้ มี
ความว่า ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น คือผู้เป็นเจ้าทิฏฐิ คือ ท่าน