เมนู

เป็นแห่งอาการพร่ำเพ้อ เรียกว่า ทอดถอนใจอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเราเพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า :-
ชนผู้พิจารณาปัญหา กล่าววาทะของตนนั้นว่าเลว
คัดค้านให้ตกไป ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน
เศร้าโศกทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเรา.

[287] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย
ความยินดีและความยินร้าย ย่อมมีในเพราะความวิวาท
เหล่านั้น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการคัดค้าน
กัน เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อม
ไม่มี.


ว่าด้วยโทษของการวิวาท



[289] คำว่า ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะ
ทั้งหลาย
มีความว่า คำว่า สมณะ ได้แก่ ชนบางเหล่าผู้เป็นปริพาชก
ภายนอกพระศาสนานี้ ความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะ
ทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่ง
ร้ายกันเพราะทิฏฐิ เกิดแล้ว คือ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ
ปรากฏแล้ว ในสมณะทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความวิวาทกัน
เหล่านี้เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย
.

[290] คำว่า ความยินดีและความยินร้าย ย่อมมีในเพราะ
ความวิวาทเหล่านั้น
มีความว่า ย่อมมีความชนะและความแพ้, ลาภ
และความเสื่อมลาภ, ยศและความเสื่อมยศ, นินทาและสรรเสริญ, โสมนัส
และโทมนัส, อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์, ความปลอดโปร่งและความ
กระทบกระทั่ง, ความยินดีและความยินร้าย, ความดีใจและความเสียใจ
คือ จิตยินดีเพราะความชนะ จิตยินร้ายเพราะความแพ้, จิตยินดีเพราะ
ลาภ จิตยินร้ายเพราะความเสื่อมลาภ, จิตยินดีเพราะยศ จิตยินร้ายเพราะ
ความเสื่อมยศ, จิตยินดีเพราะสรรเสริญ จิตยินร้ายเพราะนินทา, จิตยินดี
เพราะสุข จิตยินร้ายเพราะทุกข์, จิตยินดีเพราะโทมนัส, จิตยินดีเพราะ
เฟื่องฟูขึ้น จิตยินร้ายเพราะตกอับ, เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความยินดีและ
ความยินร้าย ย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่านั้น
.
[291] คำว่า บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการคัด
ค้านกัน
มีความว่า คำว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว ได้แก่ เห็น พบ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง ซึ่งโทษนั้น ในเพราะ
ความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่ง
กันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว. คำว่า พึงงดเว้นการคัด
ค้านกัน
ได้แก่ ความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน
ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน เรียกว่า การคัดค้านกัน, อีกอย่างหนึ่ง
ถ้อยคำที่ไม่มีน้ำมีนวล เรียกว่า ถ้อยคำคัดค้านกัน บุคคลไม่พึงทำถ้อยคำ
คัดค้านกัน คือ ไม่พึงทำความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความ

แก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้น
ไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน
ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน คือ พึงเป็นผู้งด เว้น
เว้นขาดออกไป สละ พ้น พ้นขาด พรากออกจากความทะเลาะกัน
ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน และความมุ่งร้ายกัน
พึงเป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคล
เห็นโทษแม้นี้แล้วพึงงดเว้นการคัดค้านกัน
.
[292] คำว่า เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ
ย่อมไม่มี
มีความว่า ไม่มีประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ คือ
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสอง ประโยชน์มีในชาตินี้
ประโยชน์มีในชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ
ประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์
ไม่มีโทษ ประโยชน์ปราศจากกิเลส ประโยชน์ผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่าง
ยิ่ง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เพราะ
ประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มี
. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย
ความยินดีและความยินร้ายย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่า
นั้น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการคัดค้านกัน
เพราะประโยชน์ อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มี.

[293] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
ย่อมได้รับสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น บุคคลนั้นย่อม
หัวเราะ และเฟื้องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น
เพราะบุคคลนั้น บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว ได้เป็นผู้สมใจ
นึก.

[294] คำว่า ก็หรือว่า....ย่อมได้รับสรรเสริฐในเพราะทิฏฐิ
นั้น
มีความว่า คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ได้แก่ บุคคลย่อมเป็นผู้
อันชนหมู่มากสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณ ในเพราะทิฏฐิ
ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ก็หรือว่า....
ย่อมได้รับสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น
.
[295] คำว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท มีความว่า
กล่าวบอก พูด แสดง แถลง ให้รุ่งเรือง บัญญัติ กำหนด ซึ่งวาทะ
ของตนและวาทะอนุโลมแก่วาทะของตน ในท่ามกลางขัตติยบริษัท
พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กล่าว
วาทะในท่ามกลางบริษัท
.
[296] คำว่า บุคคลนั้นย่อมหัวเราะและเฟื่องฟูขึ้นด้วย
ประโยชน์ในความชนะนั้น
มีความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ยินดี หัวเราะ
ร่าเริง ชอบใจ มีความดำริ บริบูรณ์ ด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น
อีกอย่างหนึ่งบุคคลนั้นหัวเราะจนเห็นฟัน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้น
ย่อมหัวเราะ
. คำว่า และเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น

ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้เฟื่องฟูขึ้น คือ เห่อเหิมเป็นดุจธงชัยยกย่องตนขึ้น
ความที่จิตใคร่ยกไว้ดังธงยอด ด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมหัวเราะและเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์
ในความชนะนั้น
.
[297] คำว่า เพราะบุคคลนั้นบรรลุประโยชน์นั้นแล้ว ได้
เป็นผู้สมใจนึก
มีความว่า บรรลุ คือ ถึง ได้ ประสบ ได้เฉพาะ
ซึ่งประโยชน์ในความชนะนั้นแล้ว. คำว่า ได้เป็นผู้สมใจนึก ความว่า
ได้เป็นผู้สมใจนึก คือ สมเจตนา สมควรดำริ สมดังวิญญาณ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า เพราะบุคคลนั้น บรรลุประโยชน์นั้นแล้วได้เป็นผู้สม
ใจนึก
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
ย่อมได้รับสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น บุคคลนั้นย่อม
หัวเราะและเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น
เพราะบุคคลนั้นบรรลุประโยชน์นั้นแล้ว ได้เป็นผู้สมใจนึก.

[298] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น บุคคลนั้น
ย่อมกล่าวความถือตัวและความดูหมิ่น บุคคลเห็นโทษแม้
นั้นแล้วไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจด
เพราะวิวาทนั้น.

[299] คำว่า ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น มีความ
ว่า ความเฟื่องฟู คือความเห่อเหิม ความเป็นดุจธงชัย ความยกย่องตนขึ้น

ความที่จิตใคร่ยกไว้ดังธงยอดใด ความเฟื่องฟูนั้นเป็นพื้น ย่ำยี คือเป็น
พื้นตัดรอน เป็นพื้นเบียดเบียน เป็นพื้นบีบคั้น เป็นพื้นอันตราย เป็นพื้น
อุปสรรคแห่งบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความเฟื้องฟูเป็นพื้น
ย่ำยีแห่งบุคคลนั้น
.
[300] คำว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัวและความดู
หมิ่น
มีความว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือด้วย และย่อมกล่าวความ
ดูหมิ่น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัวและ
ความหมิ่น
.
[301] คำว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน มีความ
ว่า เห็น พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว
ซึ่งโทษนั้นในเพราะความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกัน เพราะ
ทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่ง
ร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า ไม่
ควรวิวาทกัน
ความว่า ไม่พึงทำความทะเลาะ ความหมายมั่น ความ
แก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน คือ พึงละบรรเทา ทำให้
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน
ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน และความมุ่งร้ายกัน คือพึงเป็นผู้งด
เว้น เว้นขาด ออกไป สละ พ้นขาด พรากออกไป จากความทะเลาะกัน
ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกันและความมุ่งร้ายกัน
พึงเป็น ผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นโทษ
แม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน.

[302] คำว่า ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาท
นั้น
มีความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ
ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดใด
สัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาด
ในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาด
เหล่านั้น ย่อมไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงถึงความ
หมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้นความพ้นวิเศษ
ความพ้นรอบ เพราะความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะ
ทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกัน เพราะละทิฏฐิ ความมุ่ง
ร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความ
หมดจดเพราะวิวาทนั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น บุคคลนั้น
ย่อมกล่าวถือตัว และความดูหมิ่น บุคคลนั้นเห็นโทษแม้
นั้นแล้วไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจด
เพราะวิวาทนั้น.

[303] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว
คะนองปรารถนาคนกล้าที่เป็นศัตรู ย่อมพบคนกล้าที่
เป็นศัตรูฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น ดูก่อน
ท่านผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่านจงไปเสียจากที่นั้น กิเลส
ทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องต้นเพื่อจะรบ.

[304] คำว่า คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควร
เคี้ยว
มีความว่า คำว่า คนกล้า ได้แก่ คนกล้า คนมีความเพียร คนต่อสู้
คนไม่ขลาด คนไม่หวาดเสียว คนไม่ครั่นคร้าม คนไม่หนี. คำว่า ที่
พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว
ความว่า ผู้อันพระราชาทรง
ชุบเลี้ยง คือพวกเลี้ยง บำรุง เพิ่มพูน ให้เจริญ ด้วยของควรเคี้ยวของ
พระราชา ด้วยของควรบริโภคของพระราชา เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า คน
กล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว
.
[305] คำว่า ผู้คะนองปรารถนาคนกล้าที่เป็นศัตรู ย่อม
พบคนกล้าที่เป็นศัตรู ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น

ว่า คนกล้านั้น ผู้คะนอง ร้องท้าทาย บันลือลั่น ปรารถนา ยินดี
มุ่งหวัง ประสงค์ พอใจ ซึ่งคนกล้าผู้เป็นศัตรู คือบุรุษที่เป็นปฏิปักษ์
ศัตรูที่เป็นปฏิปักษ์ นักรบที่เป็นปฏิปักษ์ ย่อมพบ คือ ถึง เข้าถึง ซึ่ง
คนกล้าที่เป็นศัตรู เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้คะนองปรารถนาคนกล้าที่
เป็นศัตรู ย่อมพบคนกล้าที่เป็นศัตรู ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้า
ทิฏฐิฉันนั้น
.
[306] คำว่า ดูก่อนท่านผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่านจงไป
เสียจากที่นั้น
มีความว่า เจ้าทิฏฐินั้นอยู่ที่ใด ท่านจงไป คือ จงดำเนิน
เดินก้าวไปเสียจากที่นั้นนั่นแหละ เพราะเจ้าทิฏฐินั้น เป็นคนกล้าที่เป็นศัตรู
คือเป็นบุรุษที่เป็นปฏิปักษ์ ศัตรูที่เป็นปฏิปักษ์ นักรบที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อ
ท่าน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ดูก่อนท่านผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่าน
จงไปเสียจากที่นั้น
.

[307] คำว่า กิเลสทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องต้น
เพื่อจะรบ
มีความว่า กิเลสเหล่าใด อันทำความขัดขวาง ทำความเป็น
ข้าศึก ทำความเป็นเสี้ยนหนาม ทำความเป็นปฏิปักษ์ กิเลสเหล่านั้น
มิได้มี คือ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นบาปธรรมอัน
ตถาคตละตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว
ด้วยไฟคือญาณ ในเบื้องต้นนั่นแหละ คือ ที่โคนโพธิพฤกษ์. คำว่า
เพื่อจะรบ ได้แก่. เพื่อต้องการรบ เพื่อความทะเลาะ เพื่อความหมายมั่น
เพื่อความแก่งแย่ง เพื่อความวิวาท เพื่อความมุ่งร้าย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
กิเลสทั้งหลายของตถาคต มิได้มีในเบื้องต้นเพื่อจะรบ เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว
ผู้คะนองปรารถนาคนกล้าที่เป็นศัตรู ย่อมคบคนกล้าที่เป็น
ศัตรูฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น ดูก่อนท่าน
ผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใดท่านจงไปเสียจากที่นั้น กิเลส
ทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องหน้าเพื่อจะรบ.

[308] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน และย่อม
กล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น
เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว
ย่อมไม่มีในที่นี้.

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ



[309] คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน มี
ความว่า ชนเหล่าใด ถือ คือ จับถือ ถือเอา ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่ง
ทิฏฐิ 62 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ทำความ
ทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความมุ่งร้ายกันว่า
ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้, ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร,
ท่านปฏิบัติผิดเราปฏิบัติชอบ, คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มี
ประโยชน์, คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง, คำที่ควรกล่าวทีหลัง
ท่านกล่าวก่อน คำที่คล่องแคล่วของท่านกลับขัดข้องไป, เราใส่โทษท่าน
แล้ว ท่านถูกเราปราบแล้ว ท่านจงเที่ยวไป หรือจงแก้ไขเพื่อเปลื้องวาทะ
ถ้าท่านสามารถเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้วย่อม
วิวาทกัน
.
[310] คำว่า และย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ มี
ความย่อมกล่าว
คือ ย่อมบอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้
เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก พูดแสดง แถลงว่า
โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่
เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้นจึงซึ่งว่า และ
ย่อมกล่าวว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง
ดังนี้.
[311] คำว่า ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น เพราะกิเลสที่
ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว
ย่อมไม่มีในที่นี้ มี
ความว่า ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น คือผู้เป็นเจ้าทิฏฐิ คือ ท่าน