เมนู

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท
เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์
เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน
เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็นคนฉลาด.

[278] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยาก
ได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน
ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป ย่อมขัดเคืองเพราะ
ความติเตียนย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว.


ว่าด้วยแพ้วาทะแล้วขัดเคือง



[279] คำว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่านกล่างบริษัท มี
ความว่า ชนผู้ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบ
ด้วยดี ประกอบพร้อม ในถ้อยคำของตน เพื่อกล่าวในท่ามกลางขัตติย
บริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท.
[280] คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเล
ใจ
มีความว่า คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ได้แก่ เมื่ออยากได้
ยินดี ปรารถนา ชอบใจ รักใคร่. คำว่า ความสรรเสริญ คือ ความชมเชย
ความมีเกียรติ ความยกย่องคุณ. คำว่า ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ความว่า ก่อน
แต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย ลังเลใจ คือ ก่อนแต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย

ลังเลใจอย่างนี้ว่า เราจักมีชัยหรือปราชัยหนอ เราจักข่มเขาอย่างไร จักทำ
ลัทธิของเราให้เชิดชูอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษอย่างไร จักทำ
ลัทธิของเราให้วิเศษเฉพาะอย่างไร จักทำความผูกมัดเขาอย่างไร จักทำ
ความปลดเปลื้องอย่างไร จักทำความตัดรอนวาทะเขาอย่างไร จักขนาบ
วาทะเขาอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ
ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ
.
[281] คำว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตนถูก
เขาค้านตกไป
มีความว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา ผู้เป็นสมาชิกของที่ประชุม
ผู้มีความกรุณา ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือย่อมคัดค้านโดยอรรถะ ว่าคำที่
ท่านกล่าว ปราศจากอรรถะ, ย่อมคัดค้านโดยพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว
ปราศจากพยัญชนะ, ย่อมคัดค้านโดยอรรถะ และพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว
ปราศจากทั้งอรรถะและพยัญชน, ย่อมคัดค้านว่า เนื้อความท่านชักมาไม่ดี
พยัญชนะท่านยกขึ้นไม่ดี อรรถะและพยัญชนะท่านชักมาไม่ดี ยกขึ้นไม่ดี,
ความข่มผู้อื่นท่านไม่กระทำ, ความเชิดชูลัทธิ ท่านทำไม่ดี. วาทะอันวิเศษ
ท่านไม่กระทำ, วาทะอันพิเศษเฉพาะ ท่านทำไม่ดี, ความผูกมัดผู้อื่น
ท่านไม่กระทำ, ความปลดเปลื้อง ท่านทำไม่ดี. ความตัดรอนวาทะผู้อื่น
ท่านไม่กระทำ, ความขนาบวาทะผู้อื่น ท่านทำไม่ดี, ท่านพูดชั่ว กล่าวชั่ว
เจรจาชั่ว เปล่งวาจาชั่ว ภาษิตชั่ว. คำว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อ
ถ่อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป
ความว่า เมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้าน
ตกไปย่อมเป็นผู้เก้อเขิน คือ อับอาย กระวนกระวาย ลำบากกาย ทุกข์

ใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตน
ถูกเขาค้านตกไป

[282] คำว่า ย่อมขัดเคืองเพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้
แสวงหาช่องทางแก้ตัว
มีความว่า คำว่า เพราะความติเตียน ได้แก่
เพราะความนินทา ครหา ไม่ชมเชย ไม่สรรเสริญคุณ. คำว่า ย่อมขัด
เคือง
ได้แก่ ขัดเคือง ขัดใจ หมายแก้แค้น ย่อมทำความโกรธ ความ
เคือง ความไม่ยินดี ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมขัดเคือง
เพราะความติเตียน
คำว่า ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว ได้แก่
ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว แสวงหาความผิด ความพลั้ง ความ
พลาด ความเผลอ และช่องทาง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมขัดเคือง
เพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยาก
ได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน
ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาคัดค้านตกไป ย่อมขัดเคือง
เพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว.

[283] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนผู้พิจารณาปัญหา กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว
คัดค้านให้ตกไป ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน
เศร้าโศก ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเรา.

ว่าด้วยถูกข่มด้วยวาทะแล้วเสียใจ



[284] คำว่า กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว มีความว่า ชนผู้
พิจารณาปัญหาย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งวาทะของชนนั้น
ว่า เลว เลวทราม เสื่อมเสีย เสียหาย ไม่บริบูรณ์ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว.
[285] คำว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา......คัดค้านให้ตกไป มี
ความว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา ผู้เป็นสมาชิกของที่ประชุม ผู้มีความกรุณา
ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือย่อมคัดค้านโดยอรรถะว่า คำที่ท่านกล่าว ปราศจาก
อรรถะ, ย่อมคัดค้านโดยพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว ปราศจากพยัญชนะ,
ย่อมคัดค้านโดยอรรถะและพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว ปราศจากทั้งอรรถะ
ทั้งพยัญชนะ, ย่อมคัดค้านว่า เนื้อความท่านชักมาไม่ดี, พยัญชนะท่านยก
ขึ้นไม่ดี, อรรถะและพยัญชนะท่านชักมาไม่ดี, ยกขึ้นไม่ดี, ความข่มผู้อื่นท่าน
ไม่กระทำ, ความเชิดชูลัทธิท่านทำไม่ดี, วาทะอันวิเศษท่านไม่กระทำ,
วาทะอันวิเศษเฉพาะท่านทำไม่ดี, ความผูกมัดผู้อื่น ท่านไม่การทำ, ความ
ปลดเปลื้อง ท่านทำไม่ดี ความตัดรอนวาทะผู้อื่น ท่านไม่กระทำ, ความ
ขนาบวาทะผู้อื่น ท่านทำไม่ดี, ท่านพูดชั่ว กล่าวชั่ว เจรจาชั่ว เปล่ง
วาจาชั่ว ภาษิตชั่ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา....คัด
ค้านให้ตกไป
.
[286] คำว่า ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน เศร้า
โศก
มีความว่าคำว่า ย่อมรำพัน ได้แก่ เป็นผู้มีการพูดเพ้อ บ่นเพ้อ
พร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นแห่งอาการพร่ำเพ้อ เห็นปานนี้ว่า