เมนู

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท
เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์
เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน
เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็นคนฉลาด.

[278] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยาก
ได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน
ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป ย่อมขัดเคืองเพราะ
ความติเตียนย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว.


ว่าด้วยแพ้วาทะแล้วขัดเคือง



[279] คำว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่านกล่างบริษัท มี
ความว่า ชนผู้ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบ
ด้วยดี ประกอบพร้อม ในถ้อยคำของตน เพื่อกล่าวในท่ามกลางขัตติย
บริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท.
[280] คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเล
ใจ
มีความว่า คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ได้แก่ เมื่ออยากได้
ยินดี ปรารถนา ชอบใจ รักใคร่. คำว่า ความสรรเสริญ คือ ความชมเชย
ความมีเกียรติ ความยกย่องคุณ. คำว่า ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ความว่า ก่อน
แต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย ลังเลใจ คือ ก่อนแต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย