เมนู

ปสูรสุตตนิทเทสที่ 8



[268] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ความหมดจด
ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่า
อื่น อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างาม ในเพราะทิฏฐิ
ของตนนั้น สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นผู้ตั้งมั่นในสัจจะ
เฉพาะอย่าง.


ว่าด้วยความหมดจด



[269] คำว่า สมณพราหมณ์ ย่อมกล่าวว่า ความหมดจด
ในธรรมนี้เท่านั้น
มีความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าว บอก พูด
แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ
ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ในธรรมนี้เท่านั้น คือ ย่อม-
กล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ
ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ว่า
โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง
แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น
ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ว่า โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างอื่น สรีระอย่างอื่น สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี. สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้. สิ่งนี้ เท่านั้น
จริง สิ่งอื่นเปล่า. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อม
กล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น
.
[270] คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น
มีความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมทิ้ง ทอดทิ้ง ละทิ้งวาทะอื่นทั้งหมด
เว้นศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน
ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นไม่ใช่สัพพัญญู
ธรรมไม่เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวดีแล้ว คณะสงฆ์ไม่เป็นผู้ปฏิบัติดี
ทิฏฐิไม่เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทาไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว มรรค
ไม่เป็นธรรมนำออกจากทุกข์ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ
หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ ย่อมไม่มีใน
ธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ
ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้นรอบ ในเพราะธรรมทั้งหลายนั้นคือย่อม
เป็นผู้เลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้นจึงชื่อ
ว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น.
[271] อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างาม ในเพราะทิฏฐิ
ของตนนั้น
มีความว่า อาศัยสิ่งใด คือ อาศัย อาศัยด้วยดี พัวพัน
เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึง, สิ่งใด คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว
คณะสงฆ์ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด.

คำว่า ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น คือ ในเพราะทิฏฐิ ความควร
ความชอบใจ ลัทธิของตน.
คำว่า กล่าวสิ่งนั้นว่างาม คือ กล่าวสิ่งนั้นว่าดี กล่าวว่าเป็น
บัณฑิต กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่าเป็นญาณ กล่าวว่าเป็นเหตุ กล่าว
ว่าเป็นลักษณะ กล่าวว่าเป็นการณะ กล่าวว่าเป็นฐานะ โดยลัทธิของตน
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้น ว่างาม ในเพราะ
ลัทธิของตนนั้น
.
[232] คำว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นผู้ตั้งมั่นใน
สัจจะเฉพาะอย่าง
มีความว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ตั้งมั่น
ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้น
จริงสิ่งอื่นเปล่า ตั้งมั่น ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปว่า
โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่
เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นผู้ตั้งมั่นในสัจจะเฉพาะอย่าง เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ความหมดจด
ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรม
เหล่าอื่น อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างาม ในเพราะ
ทิฏฐิของตนนั้น สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นผู้ตั้งมั่นใน
สัจจะเฉพาะอย่าง.

[273] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท
เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์
เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้วย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน เป็น
ผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าคนเป็นคนฉลาด.


ว่าด้วยการยกวาทะ



[274] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไป
สู่บริษัท
มีความว่า คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ
ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นใคร่วาทะ ต้องการวาทะ ประสงค์วาทะ
มุ่งหมายวาทะ เที่ยวแสวงหาวาทะ คำว่า เข้าไปสู่บริษัท ได้แก่เข้าไป
หยั่งลง เข้าถึง เข้าหา ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท
สมณบริษัท เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ
เข้าไปสู่บริษัท
.
[275] คำว่า เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล
มีความว่า คำว่า เป็นคู่ปรับ ได้แก่ เป็นคนสองฝ่าย เป็นผู้ทำความ
ทะเลาะกันทั้งสองฝ่าย ทำความหมายมั่นกันทั้งสองฝ่าย ทำความอื้อฉาวกัน
ทั้งสองฝ่าย ทำความวิวาทกันทั้งสองฝ่าย ก่ออธิกรณ์กันทั้งสองฝ่าย มี
วาทะกนทั้งสองฝ่าย โต้เถียงกันทั้งสองฝ่าย สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมุ่ง
กันและกัน คือ ดู เห็น แลดู เพ่งดู พิจารณาดู กันและกัน โดย
ความเป็นคนพาล เป็นคนเลว เป็นคนเลวทราม เป็นคนต่ำช้า เป็นคน