เมนู

คำว่า ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละ
เมถุนธรรมเสีย
มีความว่า ภิกษุพึงศึกษาแม้อธิศีล พึงศึกษาแม้อธิจิต
พึงศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อละ เพื่อสงบ เพื่อสละคืน เพื่อระงับเมถุนธรรม
คือภิกษุเมื่อนึก เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อ
น้อมจิตไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติ เมื่อตั้งจิต
ให้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่พึงรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่
พึงกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่พึงละ เมื่อเจริญธรรมที่พึงเจริญ เมื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่พึงทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติด้วยดี
สมาทานประพฤติซึ่งสิกขา 3 เหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุเห็น
ความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรมเสีย
เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป
ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม
เสีย
.
[243] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา เหมือน
คนกำพร้า ได้ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว ย่อม
เป็นผู้เก้อเขินเป็นผู้เช่นนั้น.


ว่าด้วยข้อเสียของภิกษุ



[244] คำว่า ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา
เหมือนคนกำพร้า
มีความว่าภิกษุนั้น อันความดำริในกาม ดำริใน

พยาบาท ดำริในควานเบียดเบียน ดำริด้วยทิฏฐิ ถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม
ประกอบ ย่อมซบเซา. ซึมเซา เซื่อมซึม หงอยเหงา เหมือนคนกำพร้า
คนโง่ คนหลงใหล นกเค้าคอยดักจับหนูอยู่ที่กิ่งไม้ ย่อมซบเซา ซึมเซา
เซื่อมซึม หงอยเหงา ฉันใด สุนัขจิ้งจอก ดักจับปลาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
ย่อมซบเซา ซึมเซา เซื่อมซึม หงอยเหงา ฉันใด แมวคอยดักจับหนู.
อยู่ในที่ต่อ ที่ท่อน้ำ ที่ฝั่งน้ำมีเปือกตม ย่อมซบเซา ซึมเซา เซื่อมซึม
หงอยเหงา ฉันใด ลามีแผลที่หลัง ย่อมซบเซา ซึมเซา เซื่อมซึม
หงอยเหงาอยู่ในที่โขดหิน ที่ท่าน้ำ และฝั่งมีเปือกตม ฉันใด ภิกษุนั้น
ผู้หมุนไปผิด อันความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน
ดำริด้วยทิฏฐิ ถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อมซบเซา ซึมเซา
เซื่อมซึม หงอยเหงา ฉันนั้น เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนหลงใหล
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา
เหมือนคนกำพร้า
.
[245] คำว่า ได้ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว ย่อม
เป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น
มีความว่า คำว่า ชนเหล่าอื่น คือ
อุปัชฌาย์บ้าง อาจารย์บ้าง ชนชั้นอุปัชฌาย์บ้าง ชนชั้นอาจารย์บ้าง มิตร
บ้าง คนที่เคยเห็นกันบ้าง คนที่เคยคบกันบ้าง สหายบ้าง ย่อมตักเตือนว่า
ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่ลาภของท่านแล ท่านเอาดีไม่ได้แล้ว คือข้อที่ท่าน
ได้พระศาสดาผู้ยิ่งใหญ่เห็นปานนี้ บวชในธรรมวินัยที่พระศาสดาตรัสดี
แล้วอย่างนี้ ได้คณะพระอริยะเห็นปานนี้แล้ว บอกคืนพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ สิกขา แล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งเมถุน

ธรรมอันเลว ท่านชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลายบ้าง เป็น
ผู้ไม่มีหิริในกุศลธรรมทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ไม่มีโอตตปปะในกุศลธรรม
ทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ไม่มีสติในกุศลธรรมทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ไม่มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลายบ้าง ดังนี้ ภิกษุนั้นได้ยิน ได้ฟัง กำหนด พิจารณา
ตรวจตราแล้ว ซึ่งถ้อยคำ คำเป็นคลอง คำแสดง คำสั่งสอน ของ
อุปัชฌาย์เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน คือ ขวยเขิน อึดอัด กระ-
ดากอาย เสียใจ.
คำว่า ผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้หมุนไปผิดนั้น ย่อมเป็นผู้
เช่นนั้น คือ เป็นผู้เหมือนกันเช่นนั้น เป็นผู้ดำรงอยู่อย่างนั้น เป็นผู้มี
ประการอย่างนั้น เป็นผู้มีส่วนเปรียบอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้
ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้
เช่นนั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ภิกษุนั้น ถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา
เหมือนคนกำพร้า ได้ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว
ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น.

[246] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกวาทะของชนเหล่าอื่นตัก
เตือน ย่อมกระทำศัสตรา การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่นั้นเป็น
เครื่องผูกพันภิกษุนั้น ภิกษุนั้นย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูด
เท็จ.

[247] คำว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกวาทะของชนเหล่าอื่น
ตักเตือน ย่อมกระทำศัสตรา
มีความว่า ศัพท์ว่า อถ เป็นบทสนธิ
เชื่อมบท เป็นปทปูรณะควบอักษร เป็นศัพท์มีพยัญชนะสละสลวย เป็น
ลำดับบท.
คำว่า ศัสตรา ได้แก่ ศัสตรา 3 อย่าง คือ ศัสตราทางกาย 1
ศัสตราทางวาจา 1 ศัสตราทางใจ 1. กายทุจริต 3 อย่าง เป็นศัสตรา
ทางกาย วจีทุจริต 4 อย่าง เป็นศัสตราทางวาจา มโนทุจริต 3 อย่าง
เป็นศัสตราทางใจ.
คำว่า ถูกวาทะของชนเหล่าอื่นตักเตือน ความว่า ภิกษุนั้น
อันอุปัชฌาย์บ้าง อาจารย์บ้าง ชนชั้นอุปัชฌาย์บ้าง ชนชั้นอาจารย์บ้าง
มิตรบ้าง คนที่เคยเห็นกันบ้าง คนที่เคยคบกันบ้าง สหายบ้าง ตักเตือน
แล้ว ย่อมกล่าวเท็จทั้งรู้ คือย่อมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ายินดี
ยิ่งในบรรพชา แต่ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงมารดา ฉะนั้นจึงต้องลาสิกขา ข้าพเจ้า
ต้องเลี้ยงบิดาต้องเลี้ยงพี่ชายน้องชาย ต้องเลี้ยงพี่สาวน้องสาวต้องเลี้ยงบุตร
ต้องเลี้ยงธิดา ต้องเลี้ยงมิตรต้องเลี้ยงอำมาตย์ต้องเลี้ยงญาติ ต้องเลี้ยงคน
ที่สืบเชื้อสาย ฉะนั้นจึงต้องลาสิกขา ดังนี้ชื่อว่าย่อมทำศัสตราทางวาจา คือ
ย่อมให้ศัสตราทางวาจาเกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้น ถูกวาทะของชนเหล่าอื่น
ตักเตือน ย่อมกระทำศัสตรา
.
[248] คำว่า การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่นั้น เป็นเครื่องผูกพัน
ภิกษุนั้น
มีความว่า การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่นั้น เป็นเครื่องผูกพัน คือ

เป็นป่าใหญ่ เป็นป่าชัฎใหญ่ เป็นทางกันดารให้ เป็นทางไม่เสมอมาก.
เป็นทางคดมาก เป็นหล่มมาก เป็นเปือกตมมาก เป็นเครื่องกังวลมาก เป็น
เครื่องผูกรัดมาก ของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า การกล่าวเท็จทั้ง
รู้อยู่นั้นเป็นเครื่องผูกพันภิกษุนั้น
.
[249] คำว่า ภิกษุนั้นหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ มีความ
ว่า มุสาวาท เรียกว่า ความเป็นผู้พูดเท็จ บุคคลบางตนในโลกนี้ อยู่ใน
สภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ท่ามกลางญาติก็ดี อยู่ท่ามกลางสมาคมก็ดี
อยู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขานำไปถามเป็นพยานว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ
ท่านรู้สิ่งใด ก็จงบอกสิ่งนั้น บุคคลนั้น เมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้บ้าง เมื่อรู้ก็
บอกว่าไม่รู้บ้าง เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็นบ้าง เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็น
บ้าง ย่อมกล่าวเท็จทั้งเพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง
เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้เรียกว่าความเป็นผู้พูด
เท็จ อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 3 อย่าง คือในเบื้องต้น
บุคคลนั้นมีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ เมื่อพูดอยู่ก็รู้ว่าเรากำลังพูดเท็จ เมื่อ
พูดแล้วก็รู้ว่าเราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้ อีก
อย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 4 อย่าง ย่อมมีด้วยอาการ 5 อย่าง
ย่อมมีด้วยอาการ 6 อย่าง ย่อมมีด้วยอาการ 7 อย่าง ย่อมมีด้วยอาการ 8 อย่าง
คือในเบื้องต้นบุคคลนั้นมีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ เมื่อพูดอยู่ก็รู้ว่าเรา
กำลังพูดเท็จ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่าเราพูดเท็จแล้ว ปิดบังซึ่งทิฏฐิ ความควร
ความชอบใจ ความสำคัญ ความจริง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 8 อย่าง
เหล่านี้. คำว่า ย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ ความว่า ย่อมหยั่ง

ลง ก้าวลงยึดถือเข้าไปสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อม
หยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ว่า :-
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกวาทะของชนเหล่าอื่นตัก
เตือน ย่อมกระทำศัสตรา การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่นั้น เป็น
เครื่องผูกพันภิกษุนั้น ภิกษุนั้นย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูด
เท็จ.

[250] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต อธิษฐานความ
ประพฤติผู้เดียว แม้ภายหลังประกอบเมถุนธรรม จักเศร้า
หมอง เหมือนคนโง่ฉะนั้น.


ว่าด้วยต้นตรงปลายคด



[251] คำว่า ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต มีความว่า
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อันชนทั้งหลายสรรเสริญเกียรติคุณว่า
เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูตร มีถ้อยคำไพเราะ มี
ปฏิภาณดี ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึก
บ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ในกาลก่อน คือ
ในคราวเป็นสมณะ เป็นผู้อันประชุมชนรู้ หมายรู้ เลื่องลือกันอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต.
[252] คำว่า อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว มีความว่า
อธิษฐานความประพฤติผู้เดียวด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยส่วนบรรพชา 1