เมนู

คำว่า ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละ
เมถุนธรรมเสีย
มีความว่า ภิกษุพึงศึกษาแม้อธิศีล พึงศึกษาแม้อธิจิต
พึงศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อละ เพื่อสงบ เพื่อสละคืน เพื่อระงับเมถุนธรรม
คือภิกษุเมื่อนึก เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อ
น้อมจิตไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติ เมื่อตั้งจิต
ให้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่พึงรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่
พึงกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่พึงละ เมื่อเจริญธรรมที่พึงเจริญ เมื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่พึงทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติด้วยดี
สมาทานประพฤติซึ่งสิกขา 3 เหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุเห็น
ความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรมเสีย
เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป
ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม
เสีย
.
[243] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา เหมือน
คนกำพร้า ได้ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว ย่อม
เป็นผู้เก้อเขินเป็นผู้เช่นนั้น.


ว่าด้วยข้อเสียของภิกษุ



[244] คำว่า ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา
เหมือนคนกำพร้า
มีความว่าภิกษุนั้น อันความดำริในกาม ดำริใน