เมนู

[240] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป
ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุน
ธรรมเสีย.


ว่าด้วยยศและเกียรติ



[241] คำว่า ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อม
เสื่อมไป
. มีความว่า ยศเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
อันชนทั้งหลายสักการะเคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมแล้วเป็นผู้ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในกาลก่อน คือใน
คราวเป็นสมณะ นี้เรียกว่า ยศ
เกียรติเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อันชนทั้งหลาย
สรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็นบัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูตร มีถ้อย
คำไพเราะ มีปฏิภาณดี ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็น
พระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ
การทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก
เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการห้ามภัตในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการ
อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้พูดปฐมฌานบ้าง เป็นผู้
ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้
ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง

เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติบ้าง ในกาลก่อน คือในคราวเป็นสมณะ นี้เรียกว่า เกียรติ.
คำว่า ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป
มีความว่า สมัยต่อมา เมื่อภิกษุนั้นบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
สิกขา เวียนมาเป็นคฤหัสถ์ ยศนั้นและเกีตรตินั้นย่อมเสื่อมไปคือ เสื่อมรอบ
สิ้นไป หมดไป สิ้นไป สลายไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ยศและเกียรติ
ในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป
.

ว่าด้วยสิกขา 3 อย่าง



[242] คำว่า ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้วพึงศึกษาเพื่อ
ละเมถุนธรรมเสีย
มีความว่า คำว่า นั้น คือ ภิกษุเห็น พบ เทียบ-
เตียงพิจารณาทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง ซึ่งสมบัติและวิบัตินั้น คือ
ยศและเกียรติในกาลก่อน คือในคราวเป็นสมณะ กลายเป็นความเสื่อมยศ
และเสื่อมเกียรติของภิกษุผู้บอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา
แล้วเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ในภายหลัง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นความ
เสื่อมแม้นั้นแล้ว
.
คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา 3 อย่าง คือ อธิศีลสิกขา 1
อธิจิตตสิกขา 1 อธิปัญญาสิกขา 1.
อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วย
ความสำรวมในปาติโมกข์ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจระ เห็นภัยในโทษ