เมนู

[204] คำว่า นี้เป็นธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น มี
ความว่า ข้อปฏิบัติผิดนี้ เป็นธรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นธรรมของตน
พาล เป็นธรรมของตนหลง เป็นธรรมของตนไม่รู้. เป็นธรรมของคนมี
ถ้อยคำดิ้นได้ไม่ตายตัว ในบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นี้เป็น
ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า :- (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมตเตยยะ.)
คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน
ธรรมย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด นี้เป็น
ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น.

[235] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุคคลใดเป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ย่อมซ่อง
เสพเมถุนธรรม บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่าเป็น
ปุถุชนคนเลวในโลก เหมือนยวดยานที่หมุนไป ฉะนั้น.


ว่าด้วยผู้บวชแล้วสึก



[236] คำว่า เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น มีความว่า เป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยส่วนบรรพชา
1, ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ 1.
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยส่วนบรรพชาอย่างไร ? บุคคล
ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ

ตัดกังวลในมิตรและอำมาตย์ ตัดกังวลในความสั่งสม ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล
เป็นผู้เดียวเที่ยวไป คือ อยู่ เปลี่ยนกิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็นไป
ให้เป็นไป ยังอัตภาพให้เป็นไป ชื่อว่า เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้อง
ต้น
ด้วยส่วนบรรพชาอย่างนี้.
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่อย่าง
ไร ? บุคคลนั้นบวชแล้วอย่างนั้น เป็นผู้เดียว ซ่องเสพเสนาสนะ อันเป็น
ป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้องปราศจาก
ชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น
ภิกษุนั้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อ
บิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่หลีกเร้นผู้เดียว อธิษฐานจงกรม
ผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็น
ไป ให้เป็นไป ชื่อว่า เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยการละ
ความคลุกคลีด้วยหมู่ อย่างนี้.
[237] คำว่า บุคคลใด ย่อมซ่องเสพเมถุนธรรม มีความว่า
ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ ฯลฯ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า
เมถุนธรรม คำว่า บุคคลใด....ย่อมซ่องเสพเมถุนธรรม ความว่า
สมัยต่อมา บุคคลนั้นบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา
เวียนมาเป็นคฤหัสถ์ ย่อมเสพ ซ่องเสพ หมกมุ่น เสพเฉพาะซึ่งเมถุนธรรม
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลใด....ย่อมซ่องเสพเมถุนธรรม.
[238] คำว่า บุคคลนั้น....ในโลก เหมือนยวดยานที่หมุน

ไปฉะนั้น มีความว่า คำว่า ยาน ได้แก่ ยานช้าง ยานม้า ยานโค ยานแกะ
ยานแพะ ยานอูฐ ยานลา ที่หมุนไป คือที่เขามิได้ฝึกหัด มิได้ฝึกฝน
มิได้อบรม ย่อมแล่นไปผิดทาง คือ ย่อมขึ้นบนตอไม้บ้าง กองหินบ้าง
ที่ไม่เรียบ ทำลายยานบ้าง ผู้ขับขี่บ้าง ตกไปในเหวบ้าง ยานนั้นที่หมุน
ไปคือที่เขามิได้ฝึกหัด มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ย่อมแล่นไปผิดทาง ฉันใด
บุคคลนั้นหมุนผิดไป เปรียบเหมือนยานที่หมุนไป ย่อมถึงทางผิด คือถือ
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ถือมิจฉาสมาธิ ก็ฉันนั้น ยานนั้นที่หมุนไป คือที่เขามิ
ได้ฝึกหัด มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ย่อมขึ้นบนตอไม้บ้าง กองหินบ้างที่
ไม่เรียบร้อย ฉันใด บุคคลนั้นหมุนไปผิด เปรียบเหมือนยานที่หมุนไป
ย่อมขึ้นสู่กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมฝัปปลาป อภิชฌา
พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขาร กามคุณ 5 นิวรณ์ อันไม่เสมอ ฉันนั้น
เหมือนกัน ยานนั้นที่หมุนไป คือที่เขามิได้ฝึกหัด มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม
ย่อมทำลายแม้ผู้ขับขี่ ฉันใด บุคคลนั้นหมุนไปผิด เปรียบเหมือนยาน
ที่หมุนไป ย่อมทำลายตนในนรก ทำลายตนในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ทำลาย
ตนในวิสัยแห่งเปรต ทำลายตนในมนุษย์โลก ทำลายตนในเทวโลก ฉัน
นั้น ยานนั้นที่หมุนไป คือที่เขามิได้ฝึกฝน มิได้ฝึกหัด มิได้อบรม ย่อม
ตกเหวบ้าง ฉันใด บุคคลนั้นหมุนไปผิด เปรียบเหมือนยานที่หมุนไป
ย่อมตกไปสู่เหวคือชาติบ้าง ตกไปสู่เหวคือชราบ้าง ตกไปสู่เหวคือพยาธิบ้าง
ตกไปสู่เหวคือมรณะบ้าง ตกไปสู่เหวคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสบ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน.

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ มนุษยโลก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้น......ในโลกเหมือนยวดยานที่หมุนไป
ฉะนั้น
.
[239] คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นปุถุชนคนเลว มี
ความว่า คำว่า ปุถุชน ความว่า ชื่อปุถุชน เพราะอรรถว่าอะไร ?
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ยังกิเลสอันหนาแน่นให้เกิด เพราะอรรถ
ว่า มีสักกายทิฏฐิที่ยังไม่ได้กำจัดหนาแน่น เพราะอรรถว่า ปฏิญาณต่อ
ศาสดามาก เพราะอรรถว่า อันคติทั้งปวงร้อยไว้มาก เพราะอรรถว่า
ผู้อันอภิสังขารต่าง ๆ ปรุงแต่งไว้มาก เพราะอรรถว่า ผู้ลอยไปตามโอฆ-
กิเลสต่าง ๆ มาก เพราะอรรถว่า ผู้เดือดร้อนด้วยความเดือนร้อนต่าง ๆ
มาก เพราะอรรถว่า ผู้เร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนต่าง ๆ มาก เพราะอรรถ
ว่า ผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว เกี่ยวพัน
พัวพัน ในกามคุณ 5 มาก และเพราะอรรถว่า อันนิวรณ์ 5 ร้อยรัด
ปกคลุม หุ้มห่อ ปิดบัง ปกปิด ครอบงำไว้มาก.
คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นปุถุชนคนเลว มีความว่า
ได้กล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนี้ว่าเป็นปุถุชนคนเลว ทราม
ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวว่าเป็นปุถุชนคนเลว
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
บุคคลใดเป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ย่อมซ่อง
เสพเมถุนธรรม บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่าเป็น
ปุถุชนคนเลวในโลก เหมือนยวดยานที่หมุนไป ฉะนั้น.

[240] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป
ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุน
ธรรมเสีย.


ว่าด้วยยศและเกียรติ



[241] คำว่า ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อม
เสื่อมไป
. มีความว่า ยศเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
อันชนทั้งหลายสักการะเคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมแล้วเป็นผู้ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในกาลก่อน คือใน
คราวเป็นสมณะ นี้เรียกว่า ยศ
เกียรติเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อันชนทั้งหลาย
สรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็นบัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูตร มีถ้อย
คำไพเราะ มีปฏิภาณดี ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็น
พระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ
การทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก
เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการห้ามภัตในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการ
อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้พูดปฐมฌานบ้าง เป็นผู้
ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้
ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง