เมนู

คร่ำครวญ คือย่อมคร่ำครวญเมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปบ้าง เมื่อวัตถุ
นั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง. ชนทั้งหลายย่อมรักษา คุ้มครอง ป้องกันวัตถุ
ที่ถือว่าของเรา หวงแหนวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก คือ ไม่ละ
ไม่สละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโศก
ความคร่ำครวญ ความหวงแหน ความติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่
ละความโศก ความคร่ำครวญ และความหวงแหน.

ว่าด้วยโมไนยธรรม



[207] คำว่า เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอด
โปร่งละซึ่งความยืดถือได้เที่ยวไปแล้ว
มีความว่า :-
คำว่า เพราะฉะนั้น ได้แก่ เพราะเหตุนั้น เพราะการณะนั้น
เพราะฉะนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือเห็นโทษนั้นในวัตถุ
ที่ยึดถือว่าของเราทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น.
คำว่า มุนีทั้งหลาย ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา
ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชนทั้ง
หลายผู้ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือผู้ถึงแล้วซึ่งญาณชื่อว่าโมนะ
โมไนยธรรม คือธรรมที่ทำให้เป็นมุนี มี 3 ประการ คือ โมไนยธรรม
ทางกาย 1, โมไนยธรรมทางวาจา 1, โมไนยธรรมทางใจ 1.
โมไนยธรรมทางกายเป็นไฉน ? การละกายทุจริต 3 อย่าง ซึ่งว่า
โมไนยธรรมทางกาย กายสุจริต 3 อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ การ

กำหนดรู้กายมรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในกาย นี้ชื่อ
ว่าโมไนยธรรมทางกาย.
โมไนยธรรมทางวาจาเป็นไฉน ? การละวจีทุจริต 4 อย่าง ชื่อว่า
โมไนยธรรมทางวาจา วจีสุจริต 4 อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ การ
กำหนดรู้วาจามรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในวาจา ความ
ดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌานชื่อว่าโมไนยธรรมทางวาจา นี้ชื่อ
ว่าโมไนยธรรมทางวาจา.
โมไนยธรรมทางใจเป็นไฉน ? การละมโนทุจริต 3 อย่าง ชื่อว่า
โมไนยธรรมทางใจ มโนสุจริต 3 อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ การ
กำหนดรู้จิตมรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในใจ ความดับ
แห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าโมไนยธรรมทางจิต
นี้ชื่อว่าโมไนยธรรมทางใจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็น
มุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง
บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทาง
วาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว ฯลฯ
ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่ายดำรงอยู่
เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วบุคคลนั้น ชื่อว่ามุนี.

คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ 2 อย่าง คือ ความยึดถือ
ด้วยตัณหา 1 ความยึดถือด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยตัณหา
ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ มุนีทั้งหลายละความยึดถือด้วยตัณหา
สละคืนความยึดถือด้วยทิฏฐิเสียแล้ว ได้ประพฤติแล้ว เที่ยวไป เป็นไป
หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป.
คำว่า ผู้เห็นความปลอดโปร่ง มีความว่า อมตนิพพาน เรียกว่า
ความปลอดโปร่ง ได้แก่ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหา เป็นเครื่อง
ร้อยรัด คำว่า เห็นความปลอดโปร่ง ได้แก่ เห็นความปลอดโปร่ง เห็น
ที่ต้านทาน เห็นที่เร้น เห็นที่พึ่ง เห็นความไม่มีภัย เห็นความไม่เคลื่อน
เห็นอมตะ เห็นนิพพาน. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีทั้งหลายผู้เห็น
ความปลอดโปร่ง ละซึ่งความยืดถือได้เที่ยวไปแล้ว
เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่
ละความโศก ความคร่ำครวญ และความหวงแหน เพราะ
ฉะนั้นมุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดโปร่ง ละซึ่งความ
ยึดถือได้เที่ยวไปแล้ว.

[208] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพนั้น
ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ผู้คบที่นั่งอันสงัดว่าเป็นความ
พร้อมเพรียง.

ว่าด้วยผู้ประพฤติหลีกเร้น



[209] คำว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น มีความว่า พระ
เสขะ 7 จำพวก เรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น. พระอรหันต์ เรียกว่า
ผู้หลีกเร้น. พระเสขะ 7 จำพวก เรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น เพราะเหตุไร ?
พระเสขะเหล่านั้น ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม
ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ย่อมประพฤติ อยู่เป็นไป
หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ
ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ให้จักขุ
ทวารประพฤติ อยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนิน
ไปยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครอง
จิตจากอารมณ์นั้น ๆ ในโสตทวาร....ในฆานทวาร....ในชิวหาทวาร....ใน
กายทวาร....ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา
คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ในมโนทวาร ย่อมประพฤติ อยู่ เป็นไป
หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เปรียบเหมือนขนไก่
หรือเส้นเอ็นที่ใส่เข้าไปในไฟ ย่อมหด งอ ม้วน ไม่คลี่ออกฉะนั้น เพราะ
เหตุนั้น พระเสขะ 7 จำพวก จึงเรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น. คำว่า
ของภิกษุ ได้แก่ ของภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือของภิกษุผู้เป็น
พระเสขะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น.
[210] คำว่า ผู้คบที่นั่งอันสงัด มีความว่า ที่เป็นที่นั่ง เรียกว่า
อาสนะ ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า
เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ เครื่องลาดทำด้วยฟาง ที่นั่งนั้นว่าง เงียบ สงัด