เมนู

ว่าด้วยอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์



[173] คำว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา
กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ
ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น
มีความว่า คำว่า นั้น ได้แก่
พระอรหันตขีณาสพ ทิฏฐิอันสัญญาให้เกิดขึ้น อันสัญญากำหนด ปรุงแต่ง
ตั้งไว้ เพราะเป็นทิฏฐิมีสัญญาเป็นประธานมีสัญญาเป็นใหญ่ และความถือ
ต่างด้วยสัญญา ในรูปที่เห็นบ้าง ในความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง ในเสียง
ที่ได้ยินบ้าง ในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ในอารมณ์ที่ทราบ
บ้าง ในความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบบ้าง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้า
ไปได้ แก่พระอรหันต์ขีณาสพนั้น คือ ทิฏฐินั้นอันพระอรหันตขีณาสพละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา
กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ
ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น
.
[174] คำว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ
ทิฏฐิ
มีความว่า คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม 7 ประการ ฯลฯ ผู้อันตัณหาและ
ทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์. คำว่า ซึ่งพระอรหันต์
นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ
มีความว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น
ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ ไม่ถือเอา ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ไม่ยึดถือ
ทิฏฐิ
.
[175] คำว่า ใคร ๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด....ด้วยกิเลส
อะไรเล่า
มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด 2 อย่าง คือ
ความกำหนดด้วยตัณหา ความกำหนดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความ
กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความ
กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ
กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว ใคร ๆ จะพึงกำหนด
บุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุ-
สัยอะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่นถึงความฟุ้ง
ซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่า
นั้น อันบุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงเหล่านั้นแล้ว
ใคร ๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคลนั้นด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นผู้เกิดขึ้น
นรกเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็น
สัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือ
เป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
ไม่มีการณะอันเป็นเครื่องกำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนด. คำว่า
........ในโลก ได้แก่ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุ-
โลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร ๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด
.......ด้วยกิเลสอะไรเล่า
. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนด
แล้วในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ใน
โลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น ใคร ๆ ในโลกนี้ พึง
กำหนดซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ
ด้วยกิเลสอะไรเล่า.

[176] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อม
ไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า. แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้ง
หลาย อันพระอรหันต์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว
พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใคร ๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วย
ศีลและพรตย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งไม่กลับมา เป็นผู้คงที่.


พระอรหันต์ได้ชื่อต่าง ๆ



[177] คำว่า พระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่กำหนด
ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า
มีความว่า คำว่า กำหนด
ได้แก่ ความกำหนด 2 อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา 1 ความกำหนด
ด้วยทิฏฐิ 1.
ความกำหนดด้วยตัณหาเป็นไฉน ? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน
เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่ง
ตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือเอาว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น
ว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของของ
เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด