เมนู

ว่าด้วยอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์



[173] คำว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา
กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ
ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น
มีความว่า คำว่า นั้น ได้แก่
พระอรหันตขีณาสพ ทิฏฐิอันสัญญาให้เกิดขึ้น อันสัญญากำหนด ปรุงแต่ง
ตั้งไว้ เพราะเป็นทิฏฐิมีสัญญาเป็นประธานมีสัญญาเป็นใหญ่ และความถือ
ต่างด้วยสัญญา ในรูปที่เห็นบ้าง ในความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง ในเสียง
ที่ได้ยินบ้าง ในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ในอารมณ์ที่ทราบ
บ้าง ในความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบบ้าง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้า
ไปได้ แก่พระอรหันต์ขีณาสพนั้น คือ ทิฏฐินั้นอันพระอรหันตขีณาสพละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา
กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ
ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น
.
[174] คำว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ
ทิฏฐิ
มีความว่า คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม 7 ประการ ฯลฯ ผู้อันตัณหาและ
ทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์. คำว่า ซึ่งพระอรหันต์
นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ
มีความว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น
ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ ไม่ถือเอา ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ