เมนู

หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใคร ๆ ในโลกนี้พึง
กำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย
ด้วยกิเลสอะไรเล่า

[137] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหา
และทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า
เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็น
เครื่องถือมั่น ผูกพันร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่
ไหน ๆ ในโลก.


ว่าด้วยคุณลักษณะของสัตบุรุษ



[138] คำว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำ
ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า
มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่
ความกำหนด 2 อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา 1 ความกำหนด
ด้วยทิฏฐิ 1
ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ
กำหนดด้วยทิฏฐิ สัตบุรุษเหล่านั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน
ความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละ
คืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว สัตบุรุษเหล่านั้นจึงไม่กำหนดซึ่งความ
กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิด
พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่
กำหนด.

คำว่า ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า
ความทำไว้ในเบื้องหน้า 2 อย่างคือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา 1
ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้า
ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ. สัตบุรุษเหล่านั้น
ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย
ทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความ
ทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว จึงไม่กระทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า
เที่ยวไป คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหา
เป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่แวดล้อมเที่ยวไป. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ใน
เบื้องหน้า
.
[139] คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความ
หมดจดส่วนเดียว
มีความว่า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าว ไม่บอก
ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความไม่หมดจดส่วนเดียว ความหมดจด
จากสงสาร ความหมดจดโดยอกิริยทิฏฐิ วาทะว่า สัตว์สังขารเที่ยง ว่า
เป็นความหมดจดส่วนเดียว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สัตบุรุษเหล่านั้น
ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียว
.
[140] คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น
ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว
มีความว่า คำว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกพัน
ได้แก่ กิเลสเป็นเครื่องผูกพัน 4 อย่าง คือ กิเลส เป็นเครื่องผูกพันทาง

กายคือ อภิชฌา พยาบาท สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.
ความกำหนัด ความเพ่งเล็งด้วยทิฏฐิของตนเป็นกิเลสเครื่องผูกพันทางกาย.
ความอาฆาต ความไม่ยินดี ความพยาบาทในถ้อยคำของชนอื่น. สีลัพพต
ปรามาสคือความยึดถือศีลหรือวัตร หรือทั้งศีลและวัตรของตน ความเห็น
ความยึดถือว่าสิ่งนี้จริง ของคน เป็นกิเลสเครื่องผูกพันทางกาย. เพราะ
เหตุไรจึงเรียกว่าเป็นกิเลสเครื่องถือมั่นผูกพันเพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมถือ
เข้าไปถือ จับ ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังสารวัฏ ด้วยกิเลสเป็นเครื่องผูกพันเหล่านั้น.
เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า เป็นกิเลสเครื่องถือมั่นผูกพัน.
คำว่า ละ คือ สลัด หรือละกิเลสเป็นเครื่องผูกพันทั้งหลาย. อีก
อย่างหนึ่ง. สัตบุรุษเหล่านั้น แก้หรือละกิเลสทั้งหลายที่ผูกพัน ร้อยรัด
รัดรึง พ้น ตรึง เหนี่ยวรั้ง ติด ข้อง เกี่ยวพัน พันอยู่ เหมือนชน
ทั้งหลายทำความปลดปล่อยไม่กำหนดวอ รถ เกวียน หรือรถมีเครื่อง
ประดับ ฉะนั้น อีกอย่างหนึ่ง สัตบุรุษเหล่านั้น แก้หรือละกิเลสทั้งหลาย
ที่ผูกพัน ร้อยรัด รัดรึง พัน ตรึง เหนี่ยวรั้ง ติด ข้อง เกี่ยวพัน
พ้นอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือ
มั่นผูกพัน ร้อยรัดแล้ว
.
[141] คำว่า ย่อมไม่ทำความหวังในที่ไหน ๆ ในโลก มี
ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความหวัง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัด
กล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

คำว่า ย่อมไม่ทำความหวัง มีความว่า ย่อมไม่ทำความหวัง
ไม่ให้ความหวังเกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ.
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน ๆ ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ แห่ง
ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในภายนอก.
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมไม่ทำความหวัง ในที่ไหน ๆ ในโลก. เพราะ
เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ทำตัณหา
และทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า
เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็น
เครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่
ไหน ๆ ในโลก.

[142] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว ทั้งรู้
ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มิได้มีความกำหนัดใน
กามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนดในสมาบัติเป็นที่คลาย
กำหนัด มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม.


ว่าด้วยพระอรหันต์



[143] คำว่า พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว
ทั้งรู้ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ
มีความว่า คำว่า แดน ได้แก่