เมนู

กำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติเปิดเผย
ด้วยกิเลสอะไรเล่า.


ว่าด้วยมารเสนา



[134] บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้
กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวงคือ ในรูปที่เห็น เสี่ยงที่ได้ยิน หรือ
อารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีความว่า กองทัพมาร เรียกว่า
เสนา. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ ฯลฯ อกุศลกรรมทั้งปวง ชื่อว่า กองทัพมาร. สมจริงดังที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.
กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ 1 ของท่าน
ความไม่ยินดี เป็นกองทัพที่ 2 ความหิวกระหาย เป็น
กองทัพที่ 3 ตัณหา เรากล่าวว่าเป็นของทัพที่ 4 ของ
ท่าน ความหดหู่และความง่วงเหงา เป็นกองทัพที่ 5 ของ
ท่าน ความขลาดเรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ 6 ความลังเล
ใจ เป็นกองทัพที่ 7 ของท่าน ความลบหลู่คุณท่านและ
หัวดื้อ เป็นกองทัพที่ 8 ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ
และยศที่ได้โดยทางผิด เป็นกองทัพที่ 9 ของท่าน ยกตน
และข่มขู่ผู้อื่น เป็นกองทัพที่ 10 ของท่าน ดูก่อนพระยา
มาร กองทัพของท่านนี้ เป็นผู้มีปกติกำจัดผู้มีธรรมดำ คน
ขลาดจะเอาชนะกองทัพของท่านนั้นไม่ได้ คนกล้าย่อม
ชนะได้ และครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข.

เมื่อใดกองทัพมารทั้งหมด และกิเลสที่กระทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้ง
หมด อันบุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้นชนะแล้ว ให้แพ้แล้ว
ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วยอริยมรรค 4 เมื่อนั้น
บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เรียกว่าเป็นผู้กำจัดเสนา. บุคคล
นั้นเป็นผู้กำจัด เสนาในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ อารมณ์ที่
รู้แจ้ง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
นั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่เห็น เสียงที่
ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

[135] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติ
เปิดเผย
มีความว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นธรรมอันหมดจด เห็น
ธรรมอันหมดจดพิเศษ เห็นธรรมอันหมดจดรอบ เห็นธรรมอันขาว เห็น
ธรรมอันขาวรอบ อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความเห็นอันหมดจด มีความเห็นอัน
หมดจดวิเศษ มีความเห็นอันหมดจดรอบ มีความเห็นอันขาว มีความเห็น
อันขาวรอบ. คำว่า เปิดเผย มีความว่า เครื่องปิดบังคือตัณหา เครื่อง
ปิดบังคือกิเลส เครื่องปิดบังคืออวิชชา เครื่องปิดบังเหล่านั้น อันบุคคล
นั้นเปิดเผยแล้ว กำจัด เลิกขึ้น เปิดขึ้น ละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่
ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. คำว่า ผู้ประพฤติ คือ ผู้
ประพฤติ ผู้เที่ยวไป เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพ
ดำเนินไป. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้
ประพฤติเปิดเผย
.

[136] คำว่า ใคร ๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด....ด้วยกิเลส
อะไรเล่า
มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด 2 อย่าง คือ
ความกำหนดด้วยตัณหา 1 ความกำหนดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความ
กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นละความ
กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ
กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว. ใคร ๆ จะพึงกำ-
หนดบุคคลนั้น ด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา
อนุสัย อะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงผูกพัน ถือมั่น ถึง
ความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุง
แต่ง เหล่านั้นอันบุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่ง
เหล่านั้นแล้ว. ใคร ๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคลนั้น ด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า
เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์
เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์
ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลนั้นไม่มี
เหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องกำหนด กำหนดวิเศษ ถึง
ความกำหนดแห่งใคร ๆ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก
เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ใคร ๆ
ในโลกนี้พึงกำหนด....ด้วยกิเลสอะไรเล่า
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้
กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในโลกที่เห็น เสียงที่ได้ยิน

หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใคร ๆ ในโลกนี้พึง
กำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย
ด้วยกิเลสอะไรเล่า

[137] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหา
และทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า
เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็น
เครื่องถือมั่น ผูกพันร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่
ไหน ๆ ในโลก.


ว่าด้วยคุณลักษณะของสัตบุรุษ



[138] คำว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำ
ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า
มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่
ความกำหนด 2 อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา 1 ความกำหนด
ด้วยทิฏฐิ 1
ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ
กำหนดด้วยทิฏฐิ สัตบุรุษเหล่านั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน
ความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละ
คืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว สัตบุรุษเหล่านั้นจึงไม่กำหนดซึ่งความ
กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิด
พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่
กำหนด.