เมนู

ได้ยินเสียงบ้าง โดยความหมดจดด้วยศีลบ้าง โดยความหมดจดด้วยวัตรบ้าง
โดยความหมดจดด้วย อารมณ์ที่ทราบบ้าง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พราหมณ์
ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและ
วัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น
.

ว่าด้วยการละบุญบาป



[121] คำว่า พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป มี
ความว่า กุสลาภิสังขารอันให้ปฏิสนธิในไตรธาตุ (กามธาตุ รูปธาตุ
อรูปธาตุ) อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่าบุญ. อกุศลทั้งหมดเรียกว่าบาปไม่
ใช่บุญ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพ
อันพราหมณ์ละเสียแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ดุจตาล
ยอดด้วน ทำให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา ในกาลใดในกาลนั้น พราหมณ์นั้นชื่อว่าย่อมไม่ติด ไม่ติดพัน
ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออกไป
สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในบุญและบาป เป็นผู้มีจิตกระทำให้
ปราศจากแดนกิเลสอยู่ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป.

ว่าด้วยการละตน



[122] คำว่า ละเสียซึ่งตนเรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่
ในโลกนี้
มีความว่า ละเสียซึ่งตน คือละทิฏฐิที่ถือว่าเป็นตน หรือละ

ความถือมั่น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ละเสียซึ่งตน ได้แก่ ความถือ ยึด
ถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไป ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่ง
ทิฏฐิ ความถือเป็นต้นนั้นทั้งปวง เป็นธรรมชาติอันพราหมณ์นั้นสละแล้ว
สำรอก ปล่อย ละ สละคืนเสียแล้ว. คำว่า ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้
คือ ไม่ทำเพิ่มเติม ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร
คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ.
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่
ในโลกนี้
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น
อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตรหรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรค
อื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญบาป ละเสียซึ่งตน
เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้.

[123] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตาม
ความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับ และ
ละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.


ว่าด้วยการจับ ๆ วาง ๆ พ้นกิเลสไม่ได้



[124] คำว่า ละต้น อาศัยหลัง มีความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ละศาสดาต้น อาศัยศาสดาหลัง ละธรรมที่ศาสดาต้นบอก อาศัย