เมนู

ว่าด้วยความหมดจดด้วยศีล



มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยศีล สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ
หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล
เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง เหตุสักว่าความไม่ละเมิดศีล
ปริพาชกผู้เป็นบุตรนางปริพพาชิกา ชื่อสมณมุณฑิกา. กล่าวอย่างนี้ว่า ดู
ก่อนช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้
แล ว่าเป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงพระอรหัต
อันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ธรรม 4 ประ
การเป็นไฉน. ดูก่อนช่างไม้ บุรุษบุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรม
ด้วยกาย 1 ย่อมไม่กล่าววาจาอันลามก 1 ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอัน
ลามก 1 ย่อมไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ 1 ดูก่อนช่างไม้ เราย่อม
บัญญัติบุรุษผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลถึงพร้อม
แล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงพระอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็น
สมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ สมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนา
ความหมดจดด้วยศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเชื่อถือความหมดจด
ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ
พ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง
เหตุสักว่าความไม่ละเมิดศีล อย่างนี้แล.

ว่าด้วยความหมดจดด้วยวัตร



มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาดูวามหมดจดด้วยวัตร สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ประพฤติหัตถีวัตรบ้าง ประพฤติอัสสวัตรบ้าง

ประพฤติโควัตรบ้าง ประพฤติกุกกุรวัตรบ้าง ประพฤติกากวัตรบ้าง
ประพฤติวาสุเทววัตรบ้าง ประพฤติพลเทววัตรบ้าง ประพฤติปุณณภัตร-
วัตรบ้าง ประพฤติมณีภัตรวัตรข้าง ประพฤติอัคคิวัตรบ้าง พระพฤตินาค
วัตรบ้าง ประพฤติสุปัณณวัตรบ้าง ประพฤติยักขวัตรบ้าง ประพฤติอสุร
วัตรบ้าง ประพฤติคันธัพพวัตรบ้าง ประพฤติมหาราชวัตรบ้าง ประพฤติ
จันทวัตรบ้าง ประพฤติสุริยวัตรบ้าง ประพฤติอินทวัตรบ้าง ประพฤติ
พรหมวัตรบ้าง ประพฤติเทววัตรบ้าง ประพฤติทิสวัตรบ้าง สมณพราหมณ์
เหล่านั้นปรารถนาความหมดจดด้วยวัตร ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความ
หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยวัตร.
มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยอารมณ์ที่
ทราบ
มีพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้า ย่อมจับต้องแผ่นดิน จับต้อง
ของสดเขียว จับต้องโคมัย จับต้องเต่า เหยียบข่าย จับต้องเกวียนบรรทุก
งา เคี้ยวกินงาสีขาว ทาน้ำมันงาสีขาว เคี้ยวไม้สีฟันขาว อาบน้ำด้วยดินสอ-
พอง นุ่งขาว โพกผ้าโพกสีขาว สมณพราหมณ์เหล่านั้นปรารถนาความ
หมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ
ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้น วิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยอารมณ์
ที่ทราบ
.
คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น
อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น

มีความว่า พราหมณ์ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่แสดง ไม่แถลงความ
หมดจด โดยความหมดจดด้วยการเห็นรูปบ้าง โดยความหมดจดด้วยการ

ได้ยินเสียงบ้าง โดยความหมดจดด้วยศีลบ้าง โดยความหมดจดด้วยวัตรบ้าง
โดยความหมดจดด้วย อารมณ์ที่ทราบบ้าง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พราหมณ์
ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและ
วัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น
.

ว่าด้วยการละบุญบาป



[121] คำว่า พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป มี
ความว่า กุสลาภิสังขารอันให้ปฏิสนธิในไตรธาตุ (กามธาตุ รูปธาตุ
อรูปธาตุ) อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่าบุญ. อกุศลทั้งหมดเรียกว่าบาปไม่
ใช่บุญ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพ
อันพราหมณ์ละเสียแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ดุจตาล
ยอดด้วน ทำให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา ในกาลใดในกาลนั้น พราหมณ์นั้นชื่อว่าย่อมไม่ติด ไม่ติดพัน
ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออกไป
สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในบุญและบาป เป็นผู้มีจิตกระทำให้
ปราศจากแดนกิเลสอยู่ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป.

ว่าด้วยการละตน



[122] คำว่า ละเสียซึ่งตนเรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่
ในโลกนี้
มีความว่า ละเสียซึ่งตน คือละทิฏฐิที่ถือว่าเป็นตน หรือละ