เมนู

ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อ
ว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.

[118] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-
หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น
หรือว่านรชนนั้น ย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้ นรชนนั้นผู้
ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อม
บอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.


ว่าด้วยความหมดจดเป็นต้น



[115] คำว่า หากว่าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความ
เห็น
มีความว่า หากว่า ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมด
จดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ย่อมมีแก่นรชน คือ
นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ
พ้นรอบ ด้วยความเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า หาก
ว่าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น.
[116] คำว่า หรือว่า นรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ
ไซร้
มีความว่า หากว่า นรชนย่อมละชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์
มรณทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความ
คับแค้นใจ ได้ด้วยความเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณไซร้. เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า หรือว่า นรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้.
[117] คำว่า นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย
มรรคอื่น
มีความว่า นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ

ย่อมพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ. ด้วยมรรคอื่น คือมรรคอันไม่หมดจด
ปฏิปทาผิด ทางอันไม่นำออก นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิ
บาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค 8 คำว่า ผู้ยังมีอุปธิ คือยังมี
ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ตัณหา ทิฏฐิ กิเลส อุปาทาน. เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น.
[108] คำว่า เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูด
อย่างนั้น
มีความว่า ทิฏฐินั้นแหละย่อมบอกบุคคลนั้นว่า บุคคลนี้เป็น
มิจฉาทิฏฐิมีความเห็นวิปริต. แม้เพราะเหตุนั้น คำ เป็นผู้พูดอย่างนั้น
คือ เป็นผู้พูด บอก กล่าว แสดง แถลงอยู่อย่างนั้น คือ เป็นผู้พูด
บอก กล่าว แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ
โลกไม่เทียง....โลกมีที่สุด....โลกไม่มีที่สุด....ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น....
ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่น....สัตว์เบื้องหน้าแก่ตายย่อมเป็นอีก....
สัตว์เบื้องหน้าแก่ตายย่อมไม่เป็นอีก....สัตว์เบื้องหน้าแก่ตาย ย่อมเป็นอีก
ก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี....สัตว์เบื้องหน้าแก่ตาย ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อม
ไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อ
ว่า เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชน ด้วยความเห็น
หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้ นรชนนั้น
ผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อม
บอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.

[119] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น
อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดย
มรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละ
เสียซึ่งตน. เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้.

[120] คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่
เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรค
อื่น
มีความว่า ศัพท์ว่า เป็นปฏิเสธ. คำว่า พราหมณ์ มีความว่า
บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม 7 ประการ คือ
เป็นผู้ลอยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ
มานะ และบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น ลอยเสียแล้วซึ่งอกุศลธรรมอันลามก
ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ
กระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติชราและมรณะต่อไป
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนสภิยะ บุคคลใดลอยบาปทั้งปวงเสียแล้ว
ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่นด้วยดี มีตนตั้งอยู่แล้ว บุคคล
นั้น เรียกว่า เป็นผู้สำเร็จกิจเพราะล่วงสงสารได้แล้ว อัน
ตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์.

ว่าด้วยการเชื่อถือว่าเป็นมงคล ไม่เป็นมงคล
คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจด.......โดยมรรคอื่น มี
ความว่า พราหมณ์ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความ

หมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ
ความพ้นรอบ โดยมรรคอื่น คือ โดยมรรคอันไม่หมดจด ปฏิปทาผิด ทาง
อันไม่นำออก นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ 8. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์ไม่
กล่าวความหมดจด....โดยมรรคอื่น คำว่า ในอารมณ์ที่เห็น อารมณ์ที่
ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ
มีความว่า สมณพราหมณ์
บางพวกปรารถนาความหมดจดด้วยการเห็นรูป สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปบางอย่างว่า เป็นมงคล ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปบาง
อย่างว่า ไม่เป็นมงคล.
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปเหล่าไหนว่า เป็น
มงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้า ย่อมเห็นรูปทั้งหลายที่ถึงเหตุ
เป็นมงคลยิ่ง คือ เห็นนกแอ่นลม เห็นผลมะตูมอ่อนที่เกิดขึ้นโดยบุษย์ฤกษ์
เห็นหญิงมีครรภ์ เห็นคนที่ให้เด็กหญิงขี่คอเดินไป เห็นหม้อน้ำเต็ม เห็น
ปลาตะเพียน เห็นม้าอาชาไนย เห็นรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย เห็นโคตัว
ผู้ เห็นแม่โคด่าง ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปเห็นปานนี้ว่า เป็นมงคล.
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมซึ่งถือการเห็นรูปเหล่าไหนว่า ไม่เป็น
มงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเห็นกองฟาง เห็นหม้อเปรียง เห็นหม้อ
เปล่า เห็นนักฟ้อน เห็นสมณะเปลือย เห็นลา เห็นยานที่เทียมด้วยลา
เห็นยานที่เทียมด้วยพาหนะตัวเดียว เห็นคนตาบอด เห็นคนง่อย เห็นคน
กระจอก เห็นคนเปลี้ย เห็นคนแก่ เห็นคนเจ็บ เห็นคนตาย ย่อมเชื่อ
ถือการเห็นรูปเห็นปานนี้ว่า ไม่เป็นมงคล พอควร สมณพราหมณ์เหล่านี้

นั้น เป็นผู้ปรารถนาความหมดจดด้วยการเห็นรูป ย่อมเชื่อถือความหมด
จด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ
ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นรูป.
มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจด ด้วยการได้ยิน
เสียง
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงบางอย่างว่า เป็น
มงคล
ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงบางอย่างว่า ไม่เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเหล่าไหนว่า เป็น
มงคล
พอควร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้า ย่อมได้ยินเสียงทั้ง
หลายที่ถึงเหตุเป็นมงคลยิ่ง คือ ได้ยินเสียงว่าเจริญ เสียงว่าเจริญอยู่ เสียง
ว่าเต็มแล้ว เสียงว่าขาด เสียงว่าไม่เศร้าโศก เสียงว่ามีใจดี เสียงว่าฤกษ์ดี
เสียงว่ามงคลดี เสียงว่ามีสิริ หรือเสียงว่าเจริญด้วยสิริ ย่อมเชื่อถือการได้
ยินเสียงเห็นปานนี้ว่า เป็นมงคล.
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเหล่าไหนว่า ไม่
เป็นมงคล ?
สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมได้ยินเสียงว่าคนตาบอด เสียง
ว่าคนง่อย เสียงว่าคนกระจอก เสียงว่าคนเปลี้ย เสียงว่าคนแก่ เสียงว่าคน
เจ็บ เสียงว่าคนตาย เสียงว่าถูกตัด เสียงว่าถูกทำลาย เสียงว่าไฟไหม้
เสียงว่าของหา หรือเสียงว่าของไม่มี ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเห็นปาน
นี้ว่า ไม่เป็นมงคล สมณพราหมณ์เหล่านี้นั้นเป็นผู้ปรารถนาความหมดจด
ด้วยการได้ยินเสียง ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ
หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการได้ยิน
เสียง
.

ว่าด้วยความหมดจดด้วยศีล



มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยศีล สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ
หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล
เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง เหตุสักว่าความไม่ละเมิดศีล
ปริพาชกผู้เป็นบุตรนางปริพพาชิกา ชื่อสมณมุณฑิกา. กล่าวอย่างนี้ว่า ดู
ก่อนช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้
แล ว่าเป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงพระอรหัต
อันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ธรรม 4 ประ
การเป็นไฉน. ดูก่อนช่างไม้ บุรุษบุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรม
ด้วยกาย 1 ย่อมไม่กล่าววาจาอันลามก 1 ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอัน
ลามก 1 ย่อมไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ 1 ดูก่อนช่างไม้ เราย่อม
บัญญัติบุรุษผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลถึงพร้อม
แล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงพระอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็น
สมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ สมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนา
ความหมดจดด้วยศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเชื่อถือความหมดจด
ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ
พ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง
เหตุสักว่าความไม่ละเมิดศีล อย่างนี้แล.

ว่าด้วยความหมดจดด้วยวัตร



มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาดูวามหมดจดด้วยวัตร สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ประพฤติหัตถีวัตรบ้าง ประพฤติอัสสวัตรบ้าง