เมนู

สุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 4



ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความหมดจด



[109] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า :-
เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็น
อย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะความเห็น
บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้รู้แล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม
ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อว่า
เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.

[110] คำว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้
ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
มีความว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด คือเรา
ย่อมเห็น ย่อมแลดู เพ่งดู ตรวจดู พิจารณาเห็นนรชนผู้หมดจด คำว่า
ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง คือถึงความเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ถึงธรรม
อันเกษม ถึงธรรมเป็นที่ต้านทาน ถึงธรรมเป็นที่เร้น ถึงธรรมเป็นสรณะ
ถึงธรรมเป็นที่ไปข้างหน้า ถึงธรรมไม่มีภัย ถึงธรรมไม่เคลื่อน ถึงธรรม
ไม่ตาย ถึงนิพพานเป็นอย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เราย่อมเห็น
นรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
.
[111] คำว่า ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะความ
เห็น
มีความว่า ความหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ความพ้น
พ้นวิเศษ พ้นรอบ ย่อมมีแก่นรชน คือนรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ

หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ เพราะความเห็นรูปด้วยจักขุ-
วิญญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน
เพราะความเห็น
.
[112] คำว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่า ความ
เห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้
. มีความว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะ คือ รู้ทั่ว รู้วิเศษ
รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดอยู่อย่างนี้ รู้แล้วคือ ทราบแล้ว สอบสวนแล้ว
พิจารณาแล้ว ตรวจตราแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม
คือ เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน เป็นสงสุด เป็นอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่า ความ
เห็นนี้เป็นเยี่ยม
. ดังนี้.
[113] คำว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคล
นั้น ชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด
มีความว่า บุคคลใด
ย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมด
จด คำว่า ย่อมเชื่อว่าความเห็นนั้นเป็นญาณ มีความว่า บุคคลนั้น
ย่อมเชื่อความเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ ว่าเป็นญาณ เป็นทาง เป็นคลอง
เป็นเครื่องนำออก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้น
เป็นญาณ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็น
อย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่าความเห็นนี้เป็นเยี่ยม

ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อ
ว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.

[118] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-
หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น
หรือว่านรชนนั้น ย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้ นรชนนั้นผู้
ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อม
บอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.


ว่าด้วยความหมดจดเป็นต้น



[115] คำว่า หากว่าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความ
เห็น
มีความว่า หากว่า ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมด
จดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ย่อมมีแก่นรชน คือ
นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ
พ้นรอบ ด้วยความเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า หาก
ว่าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น.
[116] คำว่า หรือว่า นรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ
ไซร้
มีความว่า หากว่า นรชนย่อมละชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์
มรณทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความ
คับแค้นใจ ได้ด้วยความเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณไซร้. เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า หรือว่า นรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้.
[117] คำว่า นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย
มรรคอื่น
มีความว่า นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ