เมนู

บุคคลนั้นละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึง
คือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา เพราะเป็นผู้สละคืน
กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ.
ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยราคะ
โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยอะไรเล่าว่าเป็น
ผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่นถึงความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตก
ลงหรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งอันบุคคลเหล่านั้นละแล้ว
เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งแล้ว. ใคร ๆ จะพึงกล่าว คติของ
บุคคลเหล่านั้น ด้วยกิเลสอะไรเล่าว่าเป็นผู้เกิดในนรก ฯลฯ หรือเป็นผู้ที่มี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น ไม่มี
เหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ เครื่องกล่าว บอก พูด แสดง แถลงได้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่อง
เข้าถึง ด้วยกิเลสอะไรอย่างไรเล่า.

ว่าด้วยทิฏฐิ



[107] คำว่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน
ย่อมไม่มีแต่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสผู้เข้าถึงนั้น
มีความว่า ทิฏฐิถือว่ามี
ตน
ได้แก่สัสสตทิฏฐิย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ
ย่อมไม่มีทิฏฐิถือว่ามีตน คือสิ่งที่ถือย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน คือสิ่งที่
พึงปล่อยย่อมไม่มีผู้ใดมีสิ่งที่ถือ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมมีสิ่งที่พึงปล่อย ผู้ใดมีสิ่ง
ที่พึงปล่อยผู้นั้น ชื่อว่ามีสิ่งที่ถือ พระอรหันต์ก้าวล่วงความถือและความ

ปล่อยล่วงเลยความเจริญและความเสื่อมเสียแล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่จบ
พรหมจรรย์เป็นเครื่องอยู่ ประพฤติธรรมเป็นเครื่องประพฤติแล้ว ฯลฯ
ไม่มีภพใหม่เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทิฏฐิถือว่ามีตัวตน ทิฏฐิถือว่าไม่มี
ตนย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง
.
[108] คำว่า เพราะบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น
สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ
มีความว่า ทิฏฐิ 62
อันบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น ละตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้
ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง
นั้นสลัดแล้ว คือ กำจัด กำจัดด้วยดี กำจัดออก ละ บรรเทา ทำให้
ในรูปให้ถึงความไม่มี ซึ่งทิฏฐิทั้งปวง ในโลกนี้นี่แหละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิ
ทั้งปวง ในโลกนี้นี่แหละ
. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า :-
บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน
ในธรรมทั้งหลาย ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มี
กิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยกิเลสอะไร อย่างไรเล่า เพราะ
ทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้
ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวง
ในโลกนี้นี่แหละดังนี้.

จบ ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 3

อรรถกถาทุฏฐัฎฐกสุตตนิทเทส



พึงทราบวินิจฉัยในคาถาแรก ในทุฏฐัฎฐกสูตรก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วทนฺติ ความว่า ย่อมติเตียนพระผู้มี
พระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์.
บทว่า ทุฏฺฐมนาปิ เอเก อญฺเญปิ เว สจฺจมนา ความว่า
บทว่า บางพวก ได้แก่ เดียรถีย์บางพวกมีใจอันโทษประทุษร้าย บาง
พวกแม้มีความสำคัญเช่นนั้นก็มีใจอันโทษประทุษร้าย อธิบายว่า ชนเหล่า
ใดฟังเดียรถีย์เหล่านั้นแล้วเชื่อ ชนเหล่านั้นเข้าใจว่าจริง.
บทว่า วาทญฺจ ชาตํ ความว่า คำด่าอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น.
บทว่า มุนิ โน อุเปติ ความว่า มุนีคือพระพุทธเจ้า ย่อมไม่เข้า
ถึงเพราะมิใช่ผู้กระทำ และเพราะความไม่กำเริบ.
บทว่า ตสฺมา มุนี นตฺถิ ขิโล กุหิญฺจิ ความว่า เพราะ
เหตุนั้น มุนีนี้ พึงทราบว่า ไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิต ด้วยกิเลสเครื่องตรึง
จิตมีราคะเป็นต้นในที่ไหน ๆ.
บทว่า ทุฏฺฐมนา ความว่า มีใจอันโทษทั้งหลายที่เกิดขึ้นประทุษ
ร้ายแล้ว.
บทว่า วิรุทฺธมนา ความว่า มีใจอันกิเลสเหล่านั้นกั้นไว้ไม่ให้
ช่องแก่กุศล.
บทว่า ปฏิวิรุทฺธมนา ท่านขยายด้วยสามารถอุปสรรค.
บทว่า อาหตมนา ความว่า ชื่อว่า มีใจอันโทสะมากระทบ