เมนู

ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น ในความ
ถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง.


ว่าด้วยผู้มีปัญญา



[100] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่
มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก เพราะบุคคล
ผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลส
เครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.

[101] คำว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่
ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก
มีความว่า
ปัญญา เรียกว่า โธนะ ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น
ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดความดี ความเข้า
ไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิตความเป็นผู้ฉลาด
ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเครื่องจำแนก ปัญญาเครื่องคิด ปัญญา
เครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลาย
กิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญา
เครื่องเจาะแทง ปัญญาเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง
ปัญญาเพียงดังศัสตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอัน
แจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเพียงดังแก้ว ความไม่หลง ความ
เลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกโธนา ?

เพราะปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต วจี-
ทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ
ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความ
โอ้อวด ความกระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา
ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง
ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุศลธรรมทั้งปวง. เพราะ
เหตุนั้น ปัญญา จึงเรียกว่า โธนา.
อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่ง
มิจฉาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ....ซึ่งมิจฉาสังกัปปะ, สัมมาวาจา....ซึ่งมิจฉา-
วาจา, สัมมากัมมันตะ.....ซึ่งมิจฉากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ.....ซึ่งมิจฉา-
อาชีวะ, สัมมาวายามะ....ซึ่งมิจฉาวายามะ. สัมมาสติ....ซึ่งมิจฉาสติ, สัมมา
สมาธิ...ซึ่งมิจฉาสมาธิ, สัมมาญาณะ....ซึ่งมิจฉาญาณะ, สัมมาวิมุตติเป็น
เครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ชักฟอก ซึ่งมิจฉาวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง อริย
มรรคมีองค์ 8 กำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
อกุศลกรรมทั้งปวง พระอรหันต์เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม
เข้าชิด เข้าชิดพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่อง
กำจัดเหล่านี้. เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญา. พระอรหันต์
นั้น กำจัดราคะ บาป กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้มีปัญญา.

คำว่า ในที่ไหน ๆ คือ ใน ในที่ไหน ๆ ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ
แห่ง ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในทั้งภายนอก.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก.
คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด 2 อย่าง คือ ความกำหนด
ด้วยตัณหา ความกำหนดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความกำหนดด้วย
ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความกำหนดด้วยทิฏฐิ.
คำว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ ได้แก่ ในภพน้อยและภพใหญ่
คือ ในกรรมวัฏ และวิปากวัฏ. ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ใน
วิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ. ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ
ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ. ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ
ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ. ในความเกิดบ่อย ๆ ในความไป
บ่อย ๆ ในความเข้าถึงบ่อย ๆ. ในปฏิสนธิบ่อย ๆ ในความบังเกิดขึ้นแห่ง
อัตภาพบ่อย ๆ.
คำว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อม
ไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก
คือ ทิฏฐิที่กำหนด
กำหนดทั่ว ปรุงแต่ง ตั้งมั่นในภพน้อยและภพใหญ่ทั้งหลาย ย่อมไม่มี
มิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก
คือย่อมเป็นทิฏฐิ อันบุคคลผู้มีปัญญานั้นละเสียแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับ
ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคล
ผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก.

ว่าด้วยมารยาและมานะ



[102] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว
มีความว่า ความประพฤติลวง เรียกว่า มารยา. บุคคลบางคนในโลก
นี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ
แล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาอันลามก เพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือ
ย่อมปรารถนาว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา ดำริว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา กล่าววาจา
ว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา ความ
ลวง ความเป็นผู้มีความลวง ความไม่นึกถึง ความอำพราง ความปลอม
ความปิดบัง ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนเร้น ความปิดความ
ปกปิด ความไม่ทำให้ตื่น ความไม่เปิดเผย ความปิดด้วยดี ความการทำ
ชั่ว เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความลวง.
คำว่า มานะ ได้แก่ ความถือตัวอย่าง คือ ความที่จิตใฝ่สูง.
ความถือตัว 2 อย่าง คือ ความยกตน, ความข่มผู้อื่น.
ความถือตัว 3 อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา, เราเสมอ
เขา, เราเลวกว่าเขา.
ความถือตัว 4 อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดเพราะลาภ.
ยังความถือตัวให้เกิดเพราะยศ, ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสรรเสริญ
ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสุข.
ความถือตัว 5 อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้
รูปที่ชอบใจ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้เสียงที่ชอบใจ, ยังความถือ