เมนู

ว่าด้วยความถือมั่น



[95] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่กล่าวล่วง
โดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น ในความ
ถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมต่าง ยึดถือธรรมบ้าง.

[96] คำว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่
ก้าวล่วงโดยง่ายเลย
มีความว่า คำว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ คือ
ความถือมั่น ยึดถือมั่นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ชื่อว่า
ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ หรือความถือมั่น ยึดถือมั่นว่า โลกไม่เที่ยง สิ่ง
นี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกมีที่สุด....โลกไม่มีที่สุด....ชีพอันนั้น สรีระ
ก็อันนั้น....ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น.....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็น
อีก....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อม
เป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ชื่อว่าความ
ถือมั่นด้วยทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ คำว่า
ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย คือ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าว
ล่วงโดยยาก ข้ามโดยยาก ข้ามพ้นโดยยาก ก้าวล่วงพ้นไปโดยยากเป็นไป
ล่วงโดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่
เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย
.

[97] คำว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือ
มั่น
มีความว่า คำว่า ในธรรมทั้งหลาย คือ ในทิฏฐิ 62.
คำว่า ถึงความตกลง มีความว่า ตัดสินแล้ว ชี้ขาด ค้นหา
แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้วจึงจับมั่น
ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึด
ถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่
เป็นสภาพจริง เป็นยามจริง มิได้วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การถึง
ความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
.
[98] คำว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชน..
มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น.
คำว่า นรชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต
ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.
คำว่า ในความถือมั่น เหล่านั้น คือ ในความถือมั่นด้วยทิฏฐิ
ทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่น
เหล่านั้น นรชน
.

ว่าด้วยการสละ 2 อย่าง



[99] คำว่า ย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง มีความว่า
คำว่า ย่อมสละ คือ ย่อมสละด้วยเหตุ 2 ประการ คือสละด้วยการตัด
สินของผู้อื่น 1, ไม่สำเร็จประโยชน์เองจึงสละ 1.