เมนู

เหตุฟูขึ้นเหล่านี้ มิได้มี คือ ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นธรรมชาติ
อันภิกษุนั้นละเสียแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้
เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ.
คำว่า ในที่ไหน ๆ คือในที่ไหน ๆ. ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ แห่ง
ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในทั้งภายนอก.
คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อาตนโลก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่
ภิกษุใดในที่ไหน ๆ ในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว ไม่อวดใน
ศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุ
นั้นว่า อริยธรรม. อนึ่ง กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น มิได้มีแก่
ภิกษุใด ในที่ไหน ๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวภิกษุ
นั้นว่า มีอริยธรรม.


ว่าด้วยทิฏฐิธรรม



[90] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ทิฏฐิธรรมทั้งหลายของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่
บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง กระทำไว้ใน
เบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่ และบุคคลนั้นเป็นผู้อาศัย
อานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตน และอาศัยสันติที่กำเริบที่อาศัยกัน
เกิดขึ้น เขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น.

[91] คำว่า ทิฏฐิธรรมทั้งหลายของเจ้าทิฏฐิใดเป็นธรรมที่
บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง
มีความว่า คำว่า กำหนด
ได้แก่ความกำหนด 2 อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา 1 ความกำหนด
ด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความ
กำหนดด้วยทิฏฐิ.
คำว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ปรุงแต่ง
วิเศษแล้ว ปรุงแต่งเฉพาะแล้ว ให้ตั้งลงพร้อมแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ที่ปัจจัยปรุงแต่ง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ที่ไม่
เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว เป็นธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
ความเสื่อมไป มีความสำรอก มีความดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง.
คำว่า ใด ได้แก่ แห่งเจ้าทิฏฐิ. ทิฏฐิ 62 ประการ เรียกว่า
ทิฏฐิธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิธรรมทั้งหลายของเจ้าทิฏฐิใด
เป็นธรรมที่บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง
.
[92] คำว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่
มีความว่า คำว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า ได้แก่ การกระทำไว้ใน
เบื้องหน้า 2 อย่าง คือ การกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา 1 การ
กระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า การกระทำไว้ในเบื้องหน้า
ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า การการทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้น
ไม่ละการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ไม่สละคืนการการทำไว้ใน
เบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ไม่ละการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา

เพราะเป็นผู้ไม่สละคืนการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นชื่อว่า
เที่ยวทำตัณหาบ้าง ทิฏฐิบ้าง ไว้ในเบื้องหน้า คือชื่อว่าเป็นผู้มีตัณหาเป็น
ธงชัย มีตัณหาเป็นธงยอด มีตัณหาเป็นใหญ่ มีทิฏฐิเป็นธงชัย มีทิฏฐิ
เป็นธงยอด มีทิฏฐิเป็นใหญ่ เป็นผู้อันตัณหาบ้าง ทิฏฐิบ้างแวดล้อม
เที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า.
คำว่า มีอยู่ ได้แก่ ย่อมมี ย่อมปรากฏ ย่อมเข้าไปได้.
คำว่า ไม่ขาวสะอาด ได้แก่ ไม่ขาวสะอาด ไม่ผ่องแผ้ว ไม่
บริสุทธิ์ คือเศร้าหมอง มัวหมอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กระทำไว้ใน
เบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่
.
[93] คำว่า อานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตน มีความว่า บทว่า
ยทตฺตนิ ตัดบทเป็น ยํ อตฺตนิ ทิฏฐิ เรียกว่า ตน. บุคคลนั้นย่อม
เห็นอานิสงส์ 2 อย่าง แห่งทิฏฐิของตน คือ อานิสงส์มีในชาตินี้ 1,
อานิสงส์มีในชาติหน้า 1
.
อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาตินี้เป็นไฉน ? ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด
พวกสาวกเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น พวกสาวกย่อมสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ยำเกรงศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และย่อมได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ.
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ที่มีศาสดานั้นเป็นเหตุ นี้ชื่อว่า อานิสงส์
แห่งทิฏฐิมีในชาตินี้
.
อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาติหน้า เป็นไฉน ? บุคคลนั้นย่อมหวังผล
ในอนาคตว่า ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ เป็นยักษ์ เป็น
อสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพรหม หรือเป็น

เทวดา ทิฏฐินี้ควรเพื่อความหมดจด หมดจดวิเศษ บริสุทธิ์ หลุดไป
พ้นไป หลุดพ้นไป ด้วยทิฏฐินี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ
บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไป ด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด หมด
จดวิเศษ บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ดังนี้ นี้ชื่อว่า
อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาติหน้า.
บุคคลนั้นย่อมเห็น แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น
ซึ่งอานิสงส์แห่งทิฏฐิของตน 2 ประการนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อานิ-
สงส์ที่เห็นอยู่ในตน
.

ว่าด้วยสันติ 3



[94] คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์และอาศัยสันติ
ที่กำเริบ ที่อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความว่า สันติมี 3 ประการ คือ
สันติโดยส่วนเดียว 1, สันติโดยองค์นั้น ๆ 1, สันติโดยสมมติ 1.
สันติโดยส่วนเดียว เป็นไฉน ? อมตนิพพาน คือ ความระงับ
สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก
ความดับ ความออกจากตัณหา เรียกว่าสันติโดยส่วนเดียว นี้ชื่อว่า สันติ
โดยส่วนเดียว
.
สันติโดยองค์นั้น ๆ เป็นไฉน ? บุคคลผู้บรรลุปฐมฌานมีนิวรณ์
สงบไป. ผู้บรรลุทุติยฌานมีวิตกและวิจารสงบไป. ผู้บรรลุตติยฌานมีปีติ
สงบไป. ผู้บรรลุจตุตถฌานมีสุขและทุกข์สงบไป. ผู้บรรลุอากาสานัญ
จายตนฌาน มีรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา สงบไป. ผู้บรรลุ