เมนู

[75] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้งมั่นแล้วในความ
ชอบใจพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แต่บุคคลเมื่อ
กระทำให้เต็มด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น.


ว่าด้วยทิฏฐิ



[76] คำว่า พึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า มีความว่า
เดียรถีย์เหล่าใด มีทิฏฐิอย่างนี้ มีความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย
ความประสงค์อย่างนี้ว่า พวกเราฆ่านางปริพาชิกาชื่อสุนทรีเสียแล้ว ประ-
กาศโทษของพวกสมณศากยบุตรแล้ว จักนำคืนมาซึ่งลาภยศสักการะ สัม-
มานะนั้น โดยอุบายอย่างนี้ เดียรถีย์เหล่านั้น ไม่อาจล่วงทิฏฐิ ความพอ
ใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้. โดยที่แท้
ความเสื่อมยศนั่นแหละ ก็กลับย้อนมาถึงพวกเดียรถีย์นั้น เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่า บุคคลพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แม้ด้วยประการอย่าง
นี้.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดมีวาทะอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้ แหละจริง สิ่งอื่น
เปล่าบุคคลนั้นพึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยทิฏฐิ ความพอใจ
ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้อย่างไร. ข้อนั้นเป็น
เพราะเหตุอะไร. เพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้นอันบุคคลนั้นสมาทานแล้ว ถือ
เอา ยึดถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจ ให้บริบูรณ์อย่างนั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า บุคคลพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แม้ด้วยประการ
อย่างนี้.
บุคคลใดมีวาทะอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง....โลกมีที่สุด....โลกไม่มีที่สุด
....ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น....ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น....สัตว์เบื้อง
หน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก......
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี....สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง
สิ่งอื่นเปล่า บุคคลนั้นพึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยทิฏฐิ
ความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้อย่าง
ไร. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร. เพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้น อันบุคคลนั้น
สมาทานถือเอายึดถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจ ให้บริบูรณ์เหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า. แม้ด้วย
ประการอย่างนี้.
[77] คำว่า บุคคลผู้ไปตามความพอใจตั้งมั่นแล้วในความ
ชอบใจ
มีความว่า ผู้ไปตามความพอใจ คือ บุคคลนั้นย่อมไป ออก
ไป ลอยไป เคลื่อนไป ตามทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิของ
ตน. บุคคลย่อมไป ออกไป ลอยไป เคลื่อนไป ด้วยยานช้าง ยานรถ
ยานม้า ยานโค ยานแกะ ยานแพะ ยานอูฐ ยานลา ฉันใด บุคคลนั้น
ย่อมไป ออกไป ลอยไป เคลื่อนไปตามทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ
ลัทธิของตน ฉันนั้นนั่นแล. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไปตามความ
พอใจ
คำว่า ตั้งมั่นแล้วในความชอบใจ มีความว่า ตั้งมั่น ตั้งอยู่

ติดพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไป ในทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ
ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้ง
มั่นแล้วในความชอบใจ
.
[78] คำว่า บุคคลเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง มีความว่า
บุคคลกระทำให้เต็ม ให้บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ
เป็นประธาน อุดม บวร คือยังทิฏฐินั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะด้วยตนเองว่า พระศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู พระธรรม
นี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว คณะสงฆ์นี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้เจริญ ปฏิปทา
นี้อันพระศาสดาทรงบัญญัติดีแล้ว มรรคนี้เป็นเครื่องนำออก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า บุคคลเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง.
[79] คำว่า รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น มีความว่า บุคคล
รู้อย่างใด ก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนั้น. คือ รู้อย่างใดว่า
โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง
แถลงอย่างนั้น. รู้อย่างใดว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว
ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่น
เปล่า ก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า :-
บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้งมั่นแล้วในความชอบ
ใจ พึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แต่บุคคลเมื่อกระทำ
ให้เต็มด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น.

[80] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตน
แก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนเหล่านั้นว่า ไม่มี
อริยธรรม อนึ่ง ชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลาย
ก็กล่าวชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม.

[81] คำว่า ชนใด....ย่อมบอกศีลและวัตรของตน มีความ
ว่า คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบอย่างใด จัดแจงอย่างใด มีประการ
อย่างใด ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์
เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น
มนุษย์. คำว่า ศีลและวัตร มีความว่า บางแห่งเป็นศีลและเป็นวัตร
บางแห่งเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

ว่าด้วยศีลและวัตร



เป็นศีลและเป็นวัตร

เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
ศีลสำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ในสิกขาบททั้งหลาย
นั้น นี้เป็นศีล. ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร เพราะอรรถว่า สำรวม
จึงชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร นี้เรียกว่า เป็น
ศีลและเป็นวัตร
.