เมนู

ในสมัยนั้น ผัสสะ ก็เกิด เวทนา ก็เกิด ดังนี้ ก็ชื่อว่า วิภชนะ - จำแนก.

ว่าด้วยอุตตานีกรณะ



การทำเนื้อความให้ถึงพร้อม ด้วยการทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความ
ที่จำแนกแล้ว และด้วยการตั้งไว้ซึ่งเนื้อความที่จำแนกแล้วด้วยอุปมา ชื่อว่า
อุตตานีกรณะ. เนื้อความที่เปิดเผยแล้วโดยการเปิดเผย กล่าวคือ เปิดเผย
อย่างยิ่งว่า ผัสสะมีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? คือ ในสมัยนั้น ผัสสะ กระทบ
อารมณ์. ผุสนา - ถูกต้องอารมณ์. สัมผุสนา - สัมผัสอารมณ์ ดังนี้, และ
เนื้อความที่จำแนกแล้ว โดยการจำเเนกกล่าวอุปมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่า ผัลสาหารพึงเห็นได้ ดุจดังแม่โคที่ปราศจากหนังฉะนั้น ดังนี้
ก็ชื่อว่า อุตตานีกรณะ - ทำให้ง่าย.

ว่าด้วยปัญญัตติ



การยังโสมนัสให้เกิดขึ้นแก่จิตด้วยอเนกวิธี คือ ด้วยการแสดงธรรม
แก่สาธุชนผู้สดับธรรมอยู่. และการกระทำความคมกล้าของญาณด้วยอเนก
วิธี ให้แก่สาธุชนที่ยังมีปัญญายังไม่คมกล้า ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะอรรถ
ว่า ย่อมปรากฏแก่สาธุชนผู้สดับอยู่เหล่านั้น ด้วยความยินดีของจิตที่
ประกอบด้วยโสมนัสนั้น และด้วยความใคร่ครวญของจิตที่ประกอบด้วย
โสมนัสนั้น จึงชื่อว่า ปัญญัตติ.
ในปาฐะทั้ง 2 นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้รู้ชัดด้วยอักขระ,
ทรงประกาศด้วยบท, ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะ, ทรงจำแนกด้วย
อาการะ, ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติ, ทรงทำให้ปรากฏด้วยนิทเทส.
คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงกระทำเวไนยสัตว์บางพวกให้รู้
ชัดเนื้อความด้วย อักขระ ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่ง ฯลฯ ทรงทำเนื้อ
ความให้ปรากฏด้วย นิทเทส นี้เป็นอธิบายในปาฐะทั้ง 2 นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เวไนยสัตว์รู้ชัดด้วยอักขระ
ทั้งหลายแล้วทรงประกาศด้วยบททั้งหลาย ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะ
ทั้งหลาย แล้วทรงจำแนกด้วยอาการทั้งหลาย ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติ
ทั้งหลาย แล้วทรงบัญญัติด้วยนิทเทสทั้งหลาย มีอธิบายไว้อย่างไร ?
มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำเวไนยสัตว์บางพวกใน
ฐานะบางอย่าง ด้วยพระธรรมเทศนาเห็นปานนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเมื่อทรงให้เหล่าเวไนยรู้ชัดด้วยอักขระ ทั้งหลายแล้วทรงประกาศ
ด้วยบททั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวกอุคฆติตัญญู เมื่อทรงเปิดเผยด้วย
พยัญชนะทั้งหลาย แล้วทรงจำแนกด้วยอาการทั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวก
วิปจิตัญญู เมื่อทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติทั้งหลาย แล้วทรงบัญญัติด้วย
นิทเทสทั้งหลาย ย่อมทรงแน่ะนำพวกเนยยะ แม้ด้วยสามารถแห่งเวไนยสัตว์
ก็พึงประกอบด้วยประการฉะนี้แล.
แต่โดยใจความในที่นี้ พระสุรเสียงที่เป็นไปกับด้วยวิญญัติซึ่งรู้เนื้อ
ความ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงแสดงพระธรรมว่า
พยัญชนปาฐะเป็นไฉน ? อรรถปาฐะเป็นไฉน ? ดังนี้นั้น ชื่อพยัญชน-
ปาฐะ
. พระธรรมที่ประกอบด้วยลักษณะและรสเป็นต้นอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงบรรลุ นั้นพึงทราบว่า อรรถปาฐะ.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะมี 6 อย่าง คือ สันธายภาสิตปาฐะ พยัญชน-
ภาสิตปาฐะ สาวเสสปาฐะ อนวเสสปาฐะ นีตปาฐะ
และเนยย-
ปาฐะ
.
ในปาฐะเหล่านั้น ปาฐะที่กล่าวข้อความไม่น้อยมีอาทิอย่างนี้ว่า
ฆ่ามารดาบิดา และกษัตริยราชทั้งสอง ดังนี้ ชื่อ สันธายภาสิตปาฐะ.
ปาฐะที่กล่าวข้อความอย่างเดียวมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายมีใจ
ถึงก่อน ดังนี้ ชื่อ พยัญชนภาสิตปาฐะ.
ปาฐะมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
ดังนี้ ชื่อ สาวเสสปาฐะ.
ปาฐะที่ตรงกันข้ามมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงย่อมมาสู่คลองใน
ญาณมุขของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ดังนี้ ชื่อ
อนวเสสปาฐะ.
ปาฐะที่พึงรู้อย่างที่กล่าวมีอาทิอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ดังนี้ ชื่อ นีตปาฐะ.
ปาฐะที่พึงระลึกถึงโดยความถูกต้องมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลเอก ดังนี้ ชื่อเนยยปาฐะ.
อนึ่ง อรรถมีประการไม่น้อย มีอาทิ คือ ปาฐัตถะ, สภาวัตถะ,
ญายัตถะ, รูปาฐานุรูป, นปาฐานุรูป, ชาวเสสตถะ, นิรวเสสตถะ,
นีตัตถะ
และ เนยยัตถะ ในอรรถเหล่านั้น :-
ปาฐะใดพ้นข้อความที่ให้รู้ซึ่งข้อความที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ปาฐะนั้นชื่อ
ปาฐัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ดังนี้.

ลักษณะและรสเป็นต้นของรูปธรรม และอรูปธรรมทั้งหลายข้อ
สภาวัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เจริญสัมมาทิฏฐิดังนี้.
อรรถใดอันบุคคลรู้อยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ย่อมควร
เพื่อให้รู้พร้อมดังนี้ อรรถนั้นชื่อ ญายัตถะ ดุจในประโยกมีอาทิว่า ผู้
มีปกติกล่าวอรรถ ผู้มีปกติกล่าวธรรม ดังนี้.
อรรถที่สมควรตามปาฐะชื่อ ปาฐานุรูป อรรถที่บุคคลผู้ปฏิเสธข้อ
ความด้วยพยัญชนฉายาว่า เพราะฉะนั้น แม้จักษุก็เป็นกรรม ดังนี้.
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นกรรม
เก่า ดังนี้ กล่าวแล้ว ชื่อ นปาฐานุรูป.
อรรถนั้นโดยปาฐะมิได้ทรงอนุญาตไว้ มิได้ทรงปฏิเสธ มิได้ทรง
ประกอบไว้. ก็อรรถนั้น แม้ที่ควรสงเคราะห์ก็มิได้ทรงสงเคราะห์ หรือ
แม้ที่ควรเว้น ก็มิได้ทรงเว้นอะไร ๆ เลย มิได้ทรงปฏิเสธตรัสไว้ ชื่อ
สาวเสสัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า อาศัยจักขุประสาทและรูปารมณ์
จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อม
กลัวต่อมัจจุ ดังนี้.
อรรถที่ตรงกันข้าม ชื่อ นิรวเสสัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่าทั้ง
เราทั้งท่าน แล่นไปพร้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ข้อนั้น นอกจากบทที่เห็นแล้ว ใครรู้ใครทรงจำไว้ได้ ดังนี้.
อรรถที่พึงทราบด้วยสามารถแห่งเสียงนั้นแล ชื่อ นีตัตถะ ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า รูป เสียง รส1 กลิ่น และโผฏฐัพพะ เป็นที่รื่นรมย์
แห่งใจ ดังนี้.

1. น่าจะอยู่หลัง กลิ่น ตามลำดับในวิสยรูป.

อรรถที่พึงทราบด้วยสามารถแห่งสมมติ ชื่อ เนยยัตถะ ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยพลาหก 4 เหล่านั้น
ดังนี้. บุคคลรู้แจ้งทั้งปาฐะ และอรรถะดำรงอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ง่อนแง่นจาก
พวกกล่าวตรงกันข้ามทั้งหลาย ด้วยดำรงอยู่สิ้นกาลนาน.
บุคคลผู้สามารถเข้าใจด้วยเหตุและอุทาหรณ์เป็นต้น ทั้งโดยสังเขป
นัย และวิตถารนัย ย่อมอาจที่จะกล่าวจนถึงความถึงพร้อมแห่งอาคมและ
อธิคมอย่างไม่ง่อนแง่น ด้วยประการฉะนี้ ครั้นรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็น
ผู้สะอาด เพราะเว้นจากมลทินคือศีลและทิฏฐิชั่ว ด้วยความเป็นผู้สามารถ
ที่จะชำระตนและผู้อื่นให้บริสุทธิ์ได้. ด้วยว่าคนทุศีลย่อมเบียดเบียนตน เป็น
ผู้มีวาจาไม่น่าเชื่อถือ เพราะความทุศีลนั้นไม่สามารถจะนำอาหารมาได้
เดือนร้อนอยู่เป็นนิตย์โนโลกนี้ดุจลูกโค คนมีทิฏฐิชั่วย่อมเบียดเบียนผู้อื่น
และเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้ เพียงดังกอบัวที่อากูลอยู่ในถ้ำของสัตว์ร้าย ก็ผู้
วิบัติทั้งสองอย่าง เป็นผู้ไม่ควรนั่งใกล้ เหมือนหีบศพที่อยู่ในคูถ และ
เหมือนงูเห่าที่อยู่ในคูถ. ส่วนผู้สมบูรณ์ทั้งสองอย่าง เป็นผู้สะอาดควรนั่ง
ใกล้และควรคบหาแม้ด้วยประการทั้งปวง เหมือนบ่อรัตนะปราศจาก
อันตรายจากวิญญูชนทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นอย่างนี้ ไม่ตระหนี่อย่างนี้ ไม่
ลืมอาจารย์ ไม่สละ 4 อย่าง คือ สุตตะ, สุตตานุโลม, อาจริยวาท,
และ อัตตโนมติ กล่าวข้อความได้ต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งสิ่งสำคัญ 4
อย่างนั้น อีกอย่างหนึ่งเป็นผู้ไม่สละสิ่งสำคัญ 4 อย่างเหล่านี้คือ :-
การกล่าวโดยส่วนเดียวเป็นสุตตะที่ 1 การกล่าวจำแนก
เป็นบทสุตตานุโลมเป็นที่ 2 ไต่ถามเป็นอาจริยวาทที่ 3

ดำรงไว้ เป็นอัตตโนมติที่ 4.
เพราะประกอบผู้ฟังเข้าไว้ในประโยชน์เกื้อกูล แต่สิ่งสำคัญ 4 อย่าง
นั้นแหละ ความเข้าใจสิ่งสำคัญ 4 อย่างเหล่านั้น ย่อมกลับเป็นไม่เกียจ
คร้าน ดังนี้แล. ในข้อนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า :-
บุคคลผู้กล่าว ผู้ไม่ง่อนแง่นเพราะรู้อรรถแห่งปาฐะ
เป็นผู้สะอาด ไม่ตระหนี่ ไม่สละสิ่งสำคัญ 4 อย่าง
เป็นผู้แสดงไปตามประโยชน์เกื้อกูล.

บทว่า เทสกสฺส ในคาถานี้ ความว่า พึงเป็นผู้แสดง. บทว่า
หิตนฺวิโต ความว่า ผู้ไปตามด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือผู้มีจิตประกอบด้วย
ประโยชน์เกื้อกูล.
ก็บุคคลนี้นั้น เป็นที่รักเพราะเป็นผู้สะอาด เป็นที่เคารพเพราะเป็น
ผู้ไม่สละสิ่งสำคัญ 4 อย่าง น่าสรรเสริญเพราะเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เป็นผู้
อดทนต่อถ้อยคำเพราะเป็นผู้ไปตามประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้กล่าวชี้แจงเรื่อง
ที่ลึกซึ้งได้ เพราะเป็นผู้รู้อรรถแห่งปาฐะ เป็นผู้ชักจูงในฐานะอันควร
เพราะเป็นผู้ไม่ตระหนี่ ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสัตตกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า :-
เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ น่าสรรเสริญ รู้จักกล่าวชี้แจง
ให้เข้าใจ เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำกล่าวชี้แจงเรื่องที่ลึกซึ้งได้
ไม่ชักจูงในเรื่องเหลวไหลไร้สาระดังนี้.

ผู้แสดงเป็นผู้เกื้อกูลยิ่ง ผู้แสดงนั้น จะตั้งไว้เฉพาะในบัดนี้ก่อน ผู้
แสดงย่อมไม่ดูหมิ่นถ้อยคำเพราะเคารพธรรม 4 ประการ ย่อมไม่ดูหมิ่น

ถ้อยคำที่กล่าวแล้ว เพราะเคารพอาจารย์ ย่อมไม่ดูหมิ่นตน เพราะเป็นผู้
ประดับด้วยคุณมีศรัทธาและปัญญาเป็นต้น เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะ
เป็นผู้ไม่โอ้อวดและไม่มีมายา และเพราะเป็นผู้มุ่งพระนิพพาน ย่อม
มนสิการโดยแยบคาย เพราะเป็นผู้มีปัญญาดี. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้
ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ฟังพระ-
สัทธรรม เป็นผู้ควรที่จะก้าวลงสู่ความแน่นอนอันเป็นความชอบในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ธรรม 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ดูหมิ่นถ้อยคำ 1 ไม่
ดูหมิ่นถ้อยคำที่กล่าวแล้ว 1 ไม่ดูหมิ่นตน 1 มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม 1
จิตแน่วแน่มนสิการโดยแยบคาย 1 ภาชนะย่อมมีเพราะถึงลักษณะนั้นแล
ก็ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ผู้เคารพธรรมาจารย์ ผู้ประดับด้วยคุณมีศรัทธาและ
ปัญญาเป็นต้น ผู้ไม่โอ้อวดและไม่มีมายา มีปัญญา มุ่ง
พระนิพพาน เป็นผู้กล่าวและเป็นผู้ฟัง ด้วยประการฉะนี้
.1
ครั้นแสดงพยัญชนะและอรรถะซึ่งมีประการดังกล่าวอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ข้าพเจ้าจักพรรณนามหานิทเทสนั้น ซึ่งท่านเรียกว่า มหานิทเทส
เพราะอรรถว่า เป็นนิทเทสใหญ่ราวกะมหาสมุทรและมหาปฐพี เพราะท่าน
กล่าวทำให้ยอดเยี่ยม ท่านพระอานนท์สดับมหานิทเทสเช่นนั้น อันสมบูรณ์
ด้วยอรรถะ สมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ ลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง ประกาศโลกุตตระ
ปฏิสังยุตด้วยสุญญตา ให้สำเร็จการปฏิบัติและคุณวิเสสคือมรรคผล ปฏิเสธ

1. คาถานี้ไม่เต็มคงขาดหายไป.

ธรรมที่เป็นข้าศึก เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะคือญาณของพระโยคาวจรทั้งหลาย
เป็นเหตุพิเศษที่ให้เกิดความงามแห่งธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย
เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ของผู้ที่ขลาดกลัวสังสารวัฏ มีข้อความให้เกิด
ความโปร่งใจ ด้วยการแสดงอุบายแห่งการออกไปจากทุกข์นั้น มีข้อความ
กำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการออกไปจากทุกข์นั้น และมีข้อความให้เกิด
ความยินดีแห่งหทัยของสาธุชน ด้วยการเปิดเผยอรรถแห่งสุตตบททั้งหลาย
มิใช่น้อยที่มีอรรถลึกซึ้ง อันท่านพระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีของ
พระธรรมราชา ผู้มีสิเนหะคือมหากรุณาแผ่ไปในชั้นทั้งสิ้น ด้วยแสงสว่าง
แห่งมหาประทีป คือ พระสัพพัญญุตญาณของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัม
พุทธเจ้าอันอะไร ๆ กำจัดไม่ได้ในที่ทั้งปวง ผู้ปรารถนาให้มหาประทีปคือ
พระสัทธรรมที่รุ่งเรื่องอยู่แล้วเพื่อกำจัดความมืด คือกิเลสที่ฝั่งอยู่ในหทัย
ของเวไนยชน ได้รุ่งเรื่องอยู่นานยิ่งตลอด 5,000 ปี ด้วยการหลั่งสิเนหะ
ขยายคำอธิบายพระสัทธรรมนั้น ผู้อนุเคราะห์โลกเกือบเท่าพระศาสดา
ภาษิตไว้ ได้ยกขึ้นสู่สังคีติตามที่ได้สดับมานั่นแหละ ในคราวปฐมมหาสัง
คายนา.
ก็บรรดาปิฎก 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ อภิธรรมปิฎก
มหานิทเทสนี้นั้นนับเนื่องในสุตตันตปิฎก.
บรรดามหานิกาย 5 คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย มหานิทเทสนับเนื่องในขุททกมหานิกาย.
บรรดาองค์แห่งคำสอน 5 คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิทิวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ท่านสงเคราะห์มหา

นิทเทสด้วยองค์ 2 คือ คาถาและ เวยยากรณะ.
พระธรรมที่รู้กันว่ามี 84,000 พระธรรมขันธ์ พระอานนทเถระ
ผู้ธรรมภัณฑาคาริก ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ 5 ตำแหน่ง เรียนแต่
ภิกษุ 2,000 พระธรรมขันธ์ ดังเถรภาษิตว่า :-
ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปเหล่านี้มี 84,000 พระธรรม-
ขันธ์ ข้าพเจ้าเรียนแต่พระพุทธเจ้า 82,000 พระธรรมขันธ์
เรียนแก่ภิกษุ 2,000 พระธรรมขันธ์.

ท่านสงเคราะห์มหานิทเทสนี้หลายร้อยพระธรรมขันธ์ มหานิทเทสมี
2 วรรค คือ อัฏฐกวรรค ปารายนิกวรรคกับทั้งขัคควิสาณสูตร มหานิทเทส
มี 33 สูตร มีกามสูตรเป็นต้น มีขัคควิสาณสูตรเป็นปริโยสาน แบ่งวรรคละ
16 สูตร และขัคควิสาณสูตร ข้าพเจ้าจักพรรณนาเนื้อความตามลำดับบท
ของมหานิทเทสนี้ที่ท่านกำหนดไว้หลายประการอย่างนี้ ก็มหานิทเทสนี้ผู้
อุทเทสและผู้นิทเทส ทั้งโดยปาฐะและโดยอรรถะ พึงอุทเทสและพึงนิทเทส
โดยเคารพ แม้เพราะเหตุนั้น จึงควรเรียนและทรงจำไว้โดยเคารพ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ? เพราะมหานิทเทสนี้เป็นคัมภีร์ลึกซึ้ง เพื่อให้คัมภีร์มหา-
นิทเทสนี้ดำรงอยู่ในโลกสิ้นกาลนานี้เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก ในมหานิทเทส
นั้น กามสูตรเป็นสูตรแรก. แม้ในกามสูตรนั้น คาถาว่า กามํ
กามยนานสฺส
ดังนี้ เป็นคาถาแรก. การพรรณนานั้นตั้งไว้ตามส่วน
คือ อุทเทส นิทเทส ปฏินิทเทส.

มหานิทเทส



อรรถกถาอัฏฐกวรรค กามสุตตนิทเทส



บทมีอาทิอย่างนี้ว่า กามํ กามยมานสฺส ดังนี้ ชื่อว่า อุทเทส.
บทว่า กาม โดยหัวข้อได้แก่กาม 2 อย่าง คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1
ดังนี้ ชื่อว่า นิทเทส. บทมีอาทิอย่างนี้ว่า วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป
อันเป็นที่ชอบใจ
ดังนี้ ชื่อว่า ปฏินิทเทส.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามํ ได้แก่วัตถุกามกล่าวคือธรรมอันเป็น
ไปในภูมิ 3 มีรูปอันเป็นที่ชอบใจเป็นต้น.
บทว่า กามยนานสฺส แปลว่าปรารถนาอยู่.
บทว่า ตสฺส เจ ตํ สมิชฺฌติ ความว่า ถ้าวัตถุกล่าวคือกามนั้น
ย่อมสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่นั้น ท่านอธิบายไว้ว่า ถ้าสัตว์นั้นได้วัตถุ
กามนั้น.
บทว่า อทฺธา ปีติมโน โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้มีจิตยินดีโดย
ส่วนเดียว. บทว่า ลทฺธา แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า มจฺโจ ได้แก่สัตว์.
บทว่า ยทิจฺฉติ ความว่า ปรารถนากามใด แต่บทนี้เป็นเพียงเชื่อม
เนื้อความของบทโดยสังเขปเท่านั้น ส่วนความพิสดาร พึงทราบโดยนัยที่
มาในบาลีข้างบนนั่นแล. แม้ในบททั้งปวงต่อแต่นี้ ก็เหมือนในบทนี้แล.
บทว่า กามา เป็นอุททิสิตัพพบท คือบทที่ยกขึ้นตั้งเพื่อจะแสดง.
บทว่า อุทฺทานโต ก็เป็นนิททิสิตัพพบท.
บทว่า อุทฺทานโต ท่านกล่าวเป็นหมู่ ดุจในประโยคมีอาทิว่า พึง