เมนู

เพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์ ซึ่งตรัสไว้แล้วโดยอาการ มาในคำเป็นต้นว่า
ผสฺโส เวทนา ดังนี้ ก็ชื่อว่า นิรุตติ - แสดงสภาวะ.

ว่าด้วยนิทเทส



ความพิสดารแห่งคำขยาย ชื่อว่า นิทเทส เพราะอรรถว่าแสดง
เนื้อความโดยไม่เหลือ. บทที่ได้คำขยายว่า เวทยตีติ เวทนา - ชื่อว่า
เวทนา เพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์ ดังนี้. ก็ชื่อว่า นิทเทส - แสดงขยาย
ความ เพราะท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถความพิสดารแห่งเนื้อความเป็นต้นว่า
สุขะ ทุกขะ อทุกขมสุขะ, ชื่อว่า สุขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปสบาย. ชื่อว่า
ทุกขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปลำบาก. ชื่อว่า อทุกขมสุขะ เพราะอรรถว่า
ไม่เป็นไปลำบาก ไม่เป็นไปสบาย.

ว่าด้วยสังกาสนะ



การรู้บทแห่งพยัญชนปาฐะ 6 อย่าง ด้วยประการฉะนี้แล้ว
ประกาศแสดงในบทแห่ง อรรถปาฐะ 6 อย่างโดยย่อ ชื่อว่า สังกาสนา
- ประกาศให้รู้ชัด. การแสดงข้อความโดยสังเขปได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า
ภิกษุเมื่อสำคัญอยู่แล ย่อมถูกมารผูกมัด, เมื่อไม่สำคัญอยู่ ย่อมพ้นจาก
มารผู้มีบาป ดังนี้ ก็ชื่อว่า สังกาสนา - ให้รู้ชัด ก็พระเถระนี้เป็นผู้สามารถ
เพื่อจะกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ได้รู้ทั่วแล้ว ข้าแต่
พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ได้รู้ทั่วแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า แทงตลอดแล้วซึ่งเนื้อ
ความที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยสังเขปด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยปกาสนะ



การประกาศการแสดงแต่เบื้องต้น ซึ่งเนื้อความที่ควรกล่าวใน
เบื้องต้น ชื่อว่า ปกาสนะ. การแสดงการประกาศซึ่งเนื้อความที่ควร
กล่าวในภายหลังด้วยคำแรกได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อา-
ทิตฺตํ
- สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนดังนี้ ก็ชื่อว่า ปกาสนะ - ประกาศ. ด้วย
การแสดงข้อความที่แสดงแล้วในครั้งแรกทำให้ปรากฏอีกอย่างนี้ เป็นอัน
ตรัสบทแห่งอรรถทั้งสองในข้อความที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อะไรคือสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็น
ของร้อน, รูปเป็นของร้อน, ดังนี้ เพื่ออุปการะแก่ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า
เพราะตรัสไว้ว่า ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมแทงตลอดเนื้อความที่ตรัส
ไว้โดยสังเขปได้ดังนี้.

ว่าด้วยวิวรณะ



การทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วโดยสังเขป และการ
ทรงไว้ได้อีกซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วเพียงครั้งเดียว ชื่อว่า วิวรณะ.
การขยายเนื้อความที่ตั้งไว้โดยสังเขปว่า กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้ง
หลายที่เป็นกุศลดังนี้ ให้พิสดารด้วยสามารถแห่งนิทเทสว่า สภาวธรรม
ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นไฉน ? สมัยใดกามาวจรกุศลจิต เกิดขึ้นแล้วดังนี้
เป็นต้น ก็ชื่อว่า วิวรณะ - เปิดเผย.

ว่าด้วยวิภชนะ



การทำเนื้อความนั้นเป็นส่วน ๆ ชื่อว่า วิภชนะ. การทำกุศลธรรม
ทั้งหลายที่เปิดเผยแล้วว่า ยสฺมึ สมเย ในสมัยใด ดังนี้ เป็นส่วน ๆ ว่า