เมนู

เพราะได้กล่าวไว้แล้วในอารัมภกถานั้นว่า ซึ่งมหานิทเทสนั้นโดยชื่อ
อันวิเศษว่า ปาฐะวิสิฏฐนิทเทส, ปาฐะ มี 2 อย่างคือ พยัญชน-
ปาฐะ 1 อรรถปาฐะ 1
.
ในปาฐะทั้ง 2 นั้น พยัญชนปาฐะ มี 6 อย่างคือ อักขระ 1,
บท 1, พยัญชนะ 1, อาการะ 1, นิรุตติ 1, นิทเทส 1.

อรรถปาฐะ ก็มี 6 อย่างคือ สังกาสนะ 1, ปกาสนะ 1,
ววรณะ 1, วิภชนะ 1, อุตตานีกรณะ 1, บัญญัตติ 1.


ว่าด้วยอักขระ



ในพยัญชนะปาฐะนั้น เทสนาที่เป็นไปด้วยจิตที่คิดถึงเหตุอันหมด
จด ด้วยสามารถแห่งปโยคะอันบริสุทธิ์ในไตรทวาร บัณฑิตรู้ได้ว่า
อักขระ เพราะมิได้แสดงคือไม่ได้เสวนาด้วยวาจา. อักขระนั้น พึงถือเอาว่า
ชื่อว่า อักขระ ด้วยสามารถแห่งปัญหาที่บรรดาพราหมณ์ผู้มีจุดหมายปลาย
ทางถามด้วยใจ และด้วยสามารถแห่งปัฏฐานมหาปกรณ์อัน พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาแล้วที่รตนฆรเจดีย์.
อีกอย่างหนึ่ง บทที่ไม่บริบูรณ์ก็พึงรับรู้ว่า อักขระ ดุจในคำมีอาทิ
อย่างนี้ว่า สฏฺฐีวสฺสสหสฺสานิ หกหมื่นปี ดังนี้. ในคำนี้อาจารย์พวก
หนึ่งกล่าวว่า - อักษร และ ทุ - อักษร ก็ชื่อว่า อักขระ, หรือบทที่มี
อักขระเดียว ก็ชื่อว่า อักขระ.

ว่าด้วยบท



อักขรสันนิบาตอันส่องความที่จำแนกไว้ในคำเป็นต้นว่า ยายํ ตณฺหา
โปโนพฺภวิกา
- ตัณหานี้ใดเป็นปัจจัยให้เกิดอีก ดังนี้ ชื่อว่า บท คำที่

ประกอบด้วยอักขระมากมายได้ในคำเป็นต้นว่า นามญฺจ รูปญฺจ - นาม
ด้วยรูปด้วย ก็ชื่อว่า บท - อักขรสันนิบาต.

ว่าด้วยพยัญชนะ



ชื่อว่า พยัญชนะ เพราะอรรถว่า ยังเนื้อความอันเป็นประโยชน์
เกื้อกูลให้ชัดเจน คือทำให้รู้ ทำให้ปรากฏด้วยบท1ว่า พึงทำบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้แจ่มแจ้งดังนี้ ได้แก่คำพูดนั่นเอง.
เนื้อความที่ตรัสโดยย่อว่า จตฺตาโร อิทฺธิปาทา - อิทธิบาท 4 ก็
ชื่อว่า พยัญชนะ - ทำเนื้อความให้ชัดเจน เพราะทำเนื้อความให้ปรากฏ
ได้ในคำว่า กตเม จตฺตาโร - 4 เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทะ, สมาธิปธานสังขาร
คือ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา, สมาธิประธาน-
สังขาร.

ว่าด้วยอาการะ



การประกาศวิภาคแห่งพยัญชนะ ชื่อว่า อาการะ. การกระทำวิภาค
หลายอย่างซึ่งพยัญชนะที่ตรัสไว้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อิทธิบาท 4 นั้น
ฉันทะเป็นไฉน ? ฉันทะคือความพอใจ ความเป็นผู้พอใจ ความเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะทำ ดังนี้ ชื่อว่า อาการะ - ประกาศวิภาคแห่งพยัญชนะ.

ว่าด้วยนิรุตติ



คำขยายเนื้อความอันประกอบด้วยอาการ ชื่อว่า นิรุตติ. คำที่นำมา
กล่าวว่า ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์, ชื่อว่า เวทนา

1 ฉบับพม่าว่า สเรน - ด้วยสระ, หรือด้วยเสียง.