เมนู

สัทธัมมปัชโชติกา



อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส


ภาคที่ 1



อารัมภกถา



พระชินเจ้าพระองค์ใดทรงกำจัดเสียซึ่งลิ่มคือ
อวิชชา และความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความยิน
ดี อย่างถอนราก ทรงเจริญอัฏฐังคิกมรรคถูกต้อง
อมตบท. ทรงบรรลุพระโพธิญาณ เสด็จหยั่งลงสู่
อิสิปตนมฤคทายวันประกาศธรรมจักรยังเวไนยสัตว์
18 โกฏิ มีพระโกณฑัญญเถระเป็นต้น ให้บรรลุธรรม
ในวันนั้นในที่นั้น.

ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระชินเจ้า
พระองค์นั้น ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง และพระธรรม
อันสูงสุด ทั้งพระสงฆ์ผู้ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า.

ก็ธรรมจักรใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อ
พระสารีบุตรผู้มีปัญญามากเกือบเท่าพระศาสดา ผู้
เกิดแต่องค์พระชินเจ้า จำแนกธรรมจักรนั้นเป็น
ส่วน ๆ กล่าวมหานิทเทสซึ่งชื่อว่าเป็นปาฐะประเสริฐ
และวิเศษ.

อนึ่ง ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสารีบุตรพุทธชิโน-
รสองค์นั้น ผู้เป็นพระเถระที่มีเถรคุณมิใช่น้อยเป็นที่
ยินดียิ่ง ผู้มีเกียรติคุณสูงสุดเพราะสภาพปัญญา และ
ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอันดี ข้าพเจ้า
อันพระเทวเถระผู้พหูสูต ผู้ประกอบด้วยคุณมีความ
อดทนเป็นต้น มีปกติกล่าวคำที่สมควรและพอดีเป็น
ต้น อาราธนาแล้วจักดำรงอยู่ในแนวสาธยายของ
พระเถระ ชาวมหาวิหาร ถือเอาข้อวินิจฉัยเก่า ๆ ที่
ควรถือเอา ไม่ทอดทิ้งลัทธิของตน และไม่ทำลัทธิ
ผู้อื่นให้เสียหาย ทั้งรวบรวมนัยแห่งอรรถกถาทั้ง
เบื้องต้นเบื้องปลายได้ตามสมควร พรรณนาตามเนื้อ
ความที่ยังไม่เคยพรรณนาของนัยนั้น อันนำมาซึ่ง
ประเภทแห่งญาณ ที่พระโยคาวจรทั้งหลายมิใช่น้อย
เสพอาศัยแล้ว ไม่ทอดทิ้งพระสูตรและข้อยุติ จัก
เริ่มพรรณนามหานิทเทสโดยย่อ ด้วยความนับถือ
มากในพระสัทธรรม มิใช่ประสงค์จะยกตน ข้าพเจ้า
จักกล่าวอรรถกถา เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน
และเพื่อความดำรงอยู่นานแห่งพระสัทธรรม ขอ
ท่านสัตบุรุษทั้งหลายจงฟัง
สัทธัมมปัชโชติกา โดย
เคารพและจงทรงจำไว้ด้วยดีเถิด
.

เพราะได้กล่าวไว้แล้วในอารัมภกถานั้นว่า ซึ่งมหานิทเทสนั้นโดยชื่อ
อันวิเศษว่า ปาฐะวิสิฏฐนิทเทส, ปาฐะ มี 2 อย่างคือ พยัญชน-
ปาฐะ 1 อรรถปาฐะ 1
.
ในปาฐะทั้ง 2 นั้น พยัญชนปาฐะ มี 6 อย่างคือ อักขระ 1,
บท 1, พยัญชนะ 1, อาการะ 1, นิรุตติ 1, นิทเทส 1.

อรรถปาฐะ ก็มี 6 อย่างคือ สังกาสนะ 1, ปกาสนะ 1,
ววรณะ 1, วิภชนะ 1, อุตตานีกรณะ 1, บัญญัตติ 1.


ว่าด้วยอักขระ



ในพยัญชนะปาฐะนั้น เทสนาที่เป็นไปด้วยจิตที่คิดถึงเหตุอันหมด
จด ด้วยสามารถแห่งปโยคะอันบริสุทธิ์ในไตรทวาร บัณฑิตรู้ได้ว่า
อักขระ เพราะมิได้แสดงคือไม่ได้เสวนาด้วยวาจา. อักขระนั้น พึงถือเอาว่า
ชื่อว่า อักขระ ด้วยสามารถแห่งปัญหาที่บรรดาพราหมณ์ผู้มีจุดหมายปลาย
ทางถามด้วยใจ และด้วยสามารถแห่งปัฏฐานมหาปกรณ์อัน พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาแล้วที่รตนฆรเจดีย์.
อีกอย่างหนึ่ง บทที่ไม่บริบูรณ์ก็พึงรับรู้ว่า อักขระ ดุจในคำมีอาทิ
อย่างนี้ว่า สฏฺฐีวสฺสสหสฺสานิ หกหมื่นปี ดังนี้. ในคำนี้อาจารย์พวก
หนึ่งกล่าวว่า - อักษร และ ทุ - อักษร ก็ชื่อว่า อักขระ, หรือบทที่มี
อักขระเดียว ก็ชื่อว่า อักขระ.

ว่าด้วยบท



อักขรสันนิบาตอันส่องความที่จำแนกไว้ในคำเป็นต้นว่า ยายํ ตณฺหา
โปโนพฺภวิกา
- ตัณหานี้ใดเป็นปัจจัยให้เกิดอีก ดังนี้ ชื่อว่า บท คำที่