เมนู

คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ที่ 2



ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ



[30] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมาก
ปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง
นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวกก็เพราะกามทั้งหลาย
ในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.

[31] คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมาก
ปิดบังไว้แล้ว
มีความว่า คำว่า เป็นผู้ข้อง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ก่อน ก็แต่ว่า ถ้ำ ควรกล่าวก่อน กายเรียกว่า ถ้ำ คำว่ากายก็ดี
ถ้ำก็ดี ร่างกายก็ดี ร่างกายของตนก็ดี เรือก็ดี รถก็ดี ธงก็ดี
จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดี กระท่อมก็ดี ฝีก็ดี1 หม้อก็ดี
เหล่านี้เป็นชื่อของกาย.
คำว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติด
อยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ในถ้ำ เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้อง
ทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ที่ตะปู ซึ่งดอกติดไว้ที่ฝาหรือที่ไม้ขอ
ฉะนั้น.

1. โรคฝีดาษ.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความอยาก ความเข้าไปถือมั่น ความเข้าไปยึดถือในรูป
อันเป็นที่มานอนเนื่องแห่งอภินิเวสะ1 อย่างมั่นคงแห่งจิต บุคคลมา
เกี่ยวข้องอยู่ในความพอใจเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ คำว่า
สัตว์ เป็นชื่อของผู้เกี่ยวต้อง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ.
คำว่า ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือผู้อันกิเลสเป็นอันมากปิด
บังไว้แล้ว คือ อันความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ
ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่
ความลวง ความโอ้อวด ความดื้อ ความแข่งดี ความถือด้วย ความดู-
หมิ่น ความเมา ความประมาท ปิดบังไว้แล้ว อันกิเลสทั้งปวง อันทุจริต
ทั้งปวง อันความกระวนกระวายทั้งปวง อันความเร่าร้อนทั้งปวง
อันความเดือดร้อนทั้งปวง อันอภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง บังไว้
คลุมไว้ หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำไว้
แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมาก
ปิดบังไว้แล้ว.

[32] คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง มีความว่า
คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ คือนรชน เมื่อตั้งอยู่ ก็เป็นผู้กำหนัด ย่อม
ตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคืองย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถ
แห่งความขัดเคือง เป็นผู้หลงย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความหลง เป็นผู้
ผูกพันย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความถือมั่น เป็นผู้ยึดถือย่อมตั้งอยู่ด้วย

1. อภินิเวสะ - ความยึดมั่น, คำนี้เป็นชื่อของคันถะกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด.

สามารถแห่งความเห็น เป็นผู้ฟุ้งซ่านย่อมดังอยู่ด้วยสามารถแห่งความฟุ้ง-
ซ่าน เป็นผู้ไม่แน่นอน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความสงสัย เป็นผู้
ถึงความมั่นคงย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งกิเลสที่นอนเนื่อง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป
ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ดังแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุเพลิดเพลินชมเชย
ยึดถือรูปนั้น ตั้งอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต........
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ........รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา........โผฏฐัพพะที่พึง
รู้แจ้งด้วยกาย........ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยมโน ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หาก
ภิกษุเพลิดเพลินชมเชยยึดถือธรรมนั้น ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญ
ญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพ
ความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา....วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา....หรือวิญญาณที่
เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง ซ่อง
เสพความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
ว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยาก มีอยู่ในกวฬิงการาหาร
วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่ง
ลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีในที่ใด ความ
เจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่
ในที่ใด ความเกิดในภพใหญ่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่
ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา
มรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมี
ความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
ว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ในผัสสาหาร....ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ใน
มโนสัญเจตนาหาร......, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามใน
ที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่
นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย
ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดใน
ภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ในที่ใด
ชาติ ชรา มรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไป มีอยู่
ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่น
หมอง มีความคับแค้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วย
ประการอย่างนี้.

คำว่า หยั่งลงในที่หลง มีความว่า กามคุณ 5 คือ รูปที่พึงรู้
แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วย
กามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สิ่งที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต....กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยฆานะ....รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา....โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ที่หลง เพราะเหตุไร ? กามคุณ
5 พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ที่หลง เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์
โดยมากย่อมหลง หลงพร้อม หลงเสมอ เป็นผู้หลง เป็นผู้หลงพร้อม
เป็นผู้หลงเสมอ ในกามคุณ 5 เป็นผู้อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้
ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำแล้ว เพราะเหตุนั้น
กามคุณ 5 พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ที่หลง คำว่า หยั่งลงในที่
หลง
คือหยั่งลง ก้าวลง หมกมุ่น จมลงในที่หลง เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง.

ว่าด้วยวิเวก 3 อย่าง



[33] คำว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า
วิเวก ได้แก่ วิเวก 3 อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.
กายวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนา-
สนะอันสงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ช่องเขา ป้าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว
ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว