เมนู

มหาราชบรรพ


กาลนั้น พระเวสสันดรโพธิสัตว์และพระนางมัทรี ทรงบันเทิงเสด็จ
แรมอยู่ในอาศรมที่ท้าวสักกะประทาน ครั้งนั้น พราหมณ์ชูชกพาพระชาลีพระ-
กัณหาทั้งสององค์เดินทาง 60 โยชน์ เหล่าเทพเจ้าได้อารักขาพระกุมารกุมารี
ฝ่ายชูชกครั้นดวงอาทิตย์อัสดงคต ก็ผูกพระกุมารกุมารีทั้งสองไว้ที่กอไม้ ให้
บรรทมเหนือพื้นดิน ตนเองขึ้นต้นไม้นอนที่หว่างค่าคบกิ่งไม้ ด้วยเกรงพาล-
มฤคที่ดุร้าย.
ในขณะนั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระเวสสันดรมา ภาย
หลังมีเทพธิดาองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระนางมัทรี มาแก้สองกุมาร นวดพระ
หัตถ์และพระบาทของสองกุมาร สรงน้ำ ประดับ ให้เสวยทิพยโภชนาหาร
ตกแต่งด้วยสรรพาลังการ ให้บรรทมบนพระยี่ภู่ทิพย์ พออรุณขึ้นก็ให้บรรทม
ด้วยเครื่องพันธนาการตามเดิมอีก แล้วอันตรธานหายไป ราชกุมารกุมารีทั้ง
สองนั้นหาพระโรคมิได้ เสด็จไปด้วยเทวสงเคราะห์อย่างนี้ เมื่อราตรีนั้นสว่าง
แล้ว ชูชกลงจากต้นไม้ล้างหน้าบ้วนปากสีฟันแล้ว บริโภคผลาผล กาลนั้น
แกพาสองกุมารไปถึงมรรคาหนึ่งคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ แล้วเดินไป
เห็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปกาลิงครัฐ ทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร เทวดาดล
ใจ แกจึงละทางไปกาลิงครัฐ เห็นทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร จึงนำสองกุมารไป
ด้วยสำคัญว่า ทางนี้เป็นทางไปกาลิงครัฐ แกคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ ล่วง
เชิงภูผาของภูผาที่ไปยากทั้งหลาย ถึงกรุงเชตุดรโดยกาลนับได้กึ่งเดือน.
วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระเจ้ากรุงสญชัยสีวีมหาราชทรงพระสุบิน พระ
สุบินนั้นมีข้อความนี้ว่า เมื่อพระเจ้าสญชัยมหาราชประทับนั่งในสถานที่มหา

วินิจฉัยมีชายคนหนึ่งผิวดำ นำดอกปทุมสองดอกมาวางไว้ในพระหัตถ์แห่งพระ-
ราชา พระราชาทรงรับดอกปทุมทั้งสองดอกนั้นไว้ ทรงประดับที่พระกรรณ
สองข้าง ละอองเกสรแห่งดอกปทุมสองดอกนั้น ล่วงลงบนพระอุระแห่งพระ-
ราชา พระเจ้าสญชัยตื่นบรรทม ตรัสเรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้ทำนายสุบินมาตรัส
ถาม พราหมณ์เหล่านั้นทูลพยากรณ์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระประยูรญาติของ
พระองค์ที่จากไปนานจักมา พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับคำพยากรณ์นั้น ทรง
ยินดี โปรดให้พราหมณ์เหล่านั้นกลับไป สนานพระเศียรแต่เช้าแล้วเสวย
โภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ตกแต่งพระองค์ด้วยเครื่องอลังการคืออาภรณ์ทั้งปวง
ประทับนั่ง ณ สถานมหาวินิจฉัย เทวดานำพราหมณ์กับกุมารมายืนอยู่ที่พระ
ลานหลวง ขณะนั้นพระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรดูมรรคาทรงเห็นสองกุมาร
จึงตรัสว่า
นั้นเป็นดวงหน้าของใครงามนัก ราวกะว่าทอง
คำที่หลอมร้อนแล้วด้วยไฟ หรือประหนึ่งว่าลิ่มแห่ง
ทองคำที่ละลายกว่างในปากเบ้า ทั้งสองกุมารกุมารีมี
อวัยวะคล้ายกัน ทั้งสองกุมารกุมารีมีลักษณะคล้ายกัน
คนหนึ่งเหมือนพระชาลี คนหนึ่งเหมือนแม่กัณหาชินา
ทั้งสองกุมารกุมารีมีรูปสมบัติ ดังราชสีห์ออกจากป่า
กุมารกุมารีเหล่านี้ปรากฏประดุจหล่อด้วยทองคำที่
เดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตตฺตมคฺคินา ได้แก่ หลอมร้อน
แล้วด้วยไฟ. บทว่า สีหา วิลาว นิกฺขนฺตา ความว่า เป็นราวกะราชสีห์
ออกจากถ้ำทองทีเดียว.

พระเจ้าสญชัยตรัสสรรเสริญสองกุมารด้วยคาถา 3 คาถาอย่างนี้แล้ว มี
พระราชดำรัสสั่งอมาตย์คนหนึ่งผู้ฉลาดศึกษาดีแล้วว่า เจ้าจงไปนำพราหมณ์กับ
ทารกทั้งสองมา อมาตย์นั้นได้ฟังดังนั้น ก็ลุกขึ้นไปโดยเร็ว นำพราหมณ์กับ
ทารกทั้งสองมาแสดงแด่พระเจ้าสญชัย. ลำดับ นั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อตรัสถาม
พราหมณ์ชูชก ตรัสว่า
ดูก่อนตาพราหมณ์ภารทวาชโคตร แกนำทารก
ทั้งสองนี้มาแต่ไหน แกมาจากไหนถึงแว่นแคว้นใน
วันนี้.

ชูชกกราบทูลสนองว่า
ข้าแต่พระเจ้าสญชัย พระราชกุมารราชกุมารีทั้ง
สองนี้ พระเวสสันดรทรงยินดี พระราชทานแก่
ข้าพระบาท 1 ราตรีทั้งวันนี้ นับแต่ข้าพระบาทได้
พระราชกุมารกุมารีมา.

พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับคำชูชกกราบทูล จึงตรัสว่า
แกได้มาด้วยวาจาพึงให้รักอย่างไร ต้องให้พวก
ข้าเชื่อด้วยเหตุโดยชอบ ใครบ้างจะให้บุตรบุตรีอัน
เป็นทานสูงสุดเป็นทานแก่แก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนา จิตฺเตน ได้แก่ ยินดีคือเลื่อมใส.
บทว่า อชฺช ปณฺณรสา รตฺตี ความว่า ชูชกกราบทูลว่า จำเดิมแต่วันที่
ข้าพระบาทได้สองกุมารกุมารีนี้มา 15 ราตรีเข้าวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกน วาจาย เปยฺเยน ความว่า
ตาพราหมณ์ แกได้สองกุมารกุมารีเหล่านั้นด้วยคำอันเป็นที่รักอย่างไร. บทว่า

สมฺมา ฌาเยน สทฺทเห ความว่า แกอย่าทำมุสาวาท ต้องให้พวกข้าเชื่อ
ด้วยเหตุการณ์โดยชอบทีเดียว. บทว่า ปุตฺตเก ความว่า ใครจะทำลูกน้อย ๆ
ที่น่ารักของตนให้เป็นทานอันสูงสุดแล้วให้ทานนั้นแก่แก.
ชูชกกราบทูลว่า
พระราชาเวสสันดรพระองค์ใดเป็นที่พึ่งอาศัย
ของยาจกทั้งหลาย ดุจธรณีเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้ง
หลาย หรือเป็นที่ไปมาของยาจกทั้งหลาย ดุจสาคร
เป็นที่ไหลหลั่งไปมาแห่งแม่น้ำทั้งหลาย พระราชา-
เวสสันดรพระองค์นั้น เมื่อเสด็จประทับแรม ณ ราว
ไพร ได้พระราชทานพระโอรสพระธิดาแก่ข้าพระบาท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปติฏฺฐาสิ ได้แก่ เป็นที่พึ่ง.
อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังชูชกกล่าวดังนั้น เมื่อจะติเตียนพระเวสสันดร
จึงกล่าวว่า
เรื่องนี้พระราชาเวสสันดร ถึงมีพระราชศรัทธา
แต่ยังครองฆราวาสวิสัย ทำไม่ถูก พระองค์ถูกขับจาก
ราชอาณาจักรไปประทับอยู่ในป่า พึงพระราชทาน
พระโอรสพระธิดาเสียอย่างไรหนอ.
ท่านผู้เจริญทั้งหลายผู้มาประชุมกัน ณ ที่นี้ จง
พิจารณาเรื่องนี้ดู พระราชาเวสสันดรเมื่อประทับอยู่
ในป่า พระราชทานพระโอรสพระธิดาเสียอย่างไร.
พระราชาเวสสันดรควรพระราชทานทาส ทาสี
ม้า แม่ม้าอัสสดร รถ ช้างตัวประเสริฐพระองค์ต้อง

พระราชทานพระโอรสพระธิดาทำไมหนอ พระองค์
ควรพระราชทานทอง เงิน ศิลา แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์
แก้วมณี แก้วประพาฬ พระองค์ต้องพระราชทาน
พระโอรสพระธิดาทำไม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺเธน ความว่า แม้มีศรัทธา. บทว่า
ฆรเมสินา ความว่า เรื่องนี้ พระราชาเวสสันดรเมื่อทรงอยู่ครองฆราวาส
วิสัย ทรงทำไม่ถูก คือทรงทำไม่ควรหนอ. บทว่า อวรุทฺธโก ความว่า
พระเวสสันดรถูกขับไล่จากแว่นแคว้นประทับแรมในป่า. บทว่า อิมํ โภนฺโต
ความว่า อมาตย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ด้วยความประสงค์ว่า ขอชาวพระนครผู้
เจริญทั้งหลายบรรดาที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ทั้งหมด จงพิจารณา คือใคร่
ครวญเรื่องนี้ดูเถิด พระเวสสันดรนี้พระราชทานพระโอรสน้อย ๆ ของพระ-
องค์ให้เป็นทาสได้อย่างไร เรื่องอย่างนี้เคยมีใครทำไว้. บทว่า ทชฺชา ความ
ว่า จงพระราชทานทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทรัพย์ทั้งหลายมีทาสเป็น
ต้น. บทว่า กถํ โส ทชฺชา ทารเก ความว่า อมาตย์ทั้งหลายกล่าวว่า
พระเวสสันดรได้พระราชทานพระโอรสธิดาเหล่านั้นด้วยเหตุไร.
พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังคำอมาตย์เหล่านั้น เมื่อทรงอดทนคำครหา
พระชนกไม่ได้ เป็นผู้ราวกะจะค้ำจุนเขาสิเนรุที่ถูกลมประหารด้วยพระพาหา
ของพระองค์ จึงตรัสคาถานี้ว่า
ทาส ม้า แม่ม้าอัสสดร รถ และช่างกุญชร
ตัวประเสริฐ ไม่มีในนิเวศน์แห่งพระราชธิดา ข้าแต่
พระอัยกาเจ้า พระราชบิดาจะพึงพระราชทานอะไรเล่า
ในอาศรมแห่งพระราชบิดาไม่มีศิลา ทอง เงิน แก้ว

มณีและแก้วประพาฬ ข้าแต่พระอัยกาเจ้า พระราช-
บิดาจะพึงพระราชทานอะไรเล่า.

พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระหลานน้อย พวกเราสรรเสริญทาน
ของบิดาเจ้าดอก มิได้ติเตียนเลย บิดาของหลานให้
หลานทั้งสองแก่คนขอทาน หฤทัยของเขาเป็นอย่างไร
หนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานมสฺส ปสํสาม ความว่า ดูก่อน
พระหลานน้อย พวกเราสรรเสริญทานของบิดาเจ้า มิได้ติเตียน.
พระชาลีราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ข้าแต่พระอัยกามหาราช พระบิดาของหม่อม
ฉันพระราชทานหม่อมฉันทั้งสองแก่คนขอทานแล้ว
ได้ทรงฟังวาจาอันน่าสงสารที่น้องหญิงกัณหากล่าว
พระองค์ทรงมีพระทัยเป็นทุกข์และเร่าร้อน มีพระ-
เนตรแดงก่ำดังดาวโรหิณี มีพระอัสสุชลหลั่งไหล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ข้าแต่พระอัยกาเจ้า
พระบิดานั้นทรงสดับคำนี้ที่น้องกัณหาชินาของหม่อมฉันกล่าว พระองค์ได้มี
พระหฤทัยเป็นทุกข์. บทว่า โรหิณีเหว ตามฺพกฺขี ความว่า พระบิดาของ
หม่อมฉันมีพระเนตรแดงก่ำราวกะดาวโรหิณีที่มีสีแดงฉะนั้น ทรงมีพระอัสสุชล
หลั่งไหลเป็นดังสายเลือดในขณะนั้น.

บัดนี้ พระชาสีราชกุมารเมื่อจะทรงแสดงพระวาจาของพระกัณหาชินา
นั้น จึงตรัสว่า
น้องกัณหาชินาได้กราบทูลพระบิดาว่า ข้าแต่
พระบิดา พราหมณ์นี้ตีหม่อมฉันด้วยไม้เท้า ดุจตีทาสี
เกิดในเรือน ข้าแต่พระบิดา พราหมณ์ทั้งหลายเป็น
ผู้ประกอบด้วยธรรม แต่พราหมณ์นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่
แกเป็นยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์ มานำหม่อมฉัน
ทั้งสองไปเคี้ยวกิน ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันทั้งสอง
ถูกปีศาจนำไป พระองค์ทอดพระเนตรเห็นหรือหนอ.

ลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรเห็นพระราชนัดดาทั้งสอง
ยังไม่พ้นจากมือพราหมณ์ชูชก จึงตรัสคาถาว่า
พระมารดาของหลานทั้งสองก็เป็นราชบุตรี พระ
บิดาของหลานทั้งสองก็เป็นราชโอรส แต่ก่อนหลาน
ทั้งสองขึ้นนั่งบนตักปู่ เดี๋ยวนี้มายืนอยู่ไกล เพราะ
อะไรหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เม ความว่า แต่ก่อนนี้ หลาน
ทั้งสองเห็นปู่เข้ามาโดยเร็ว ขึ้นตักปู่ บัดนี้เหตุอะไรหนอ หลานทั้งสองจึงยืน
อยู่ไกล.
พระชาลีราชกุมารกราบทูลว่า
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเป็นพระราชบุตรี
พระชนกของหม่อมฉันทั้งสองเป็นพระราชบุตร แต่
หม่อมฉันทั้งสองเป็นทาสีของพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น
หม่อมฉันทั้งสองจึงต้องยืนอยู่ไกล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาสา มยํ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
สมมติเทพ เมื่อก่อนหม่อมฉันทั้งสองรู้ตัวว่าเป็นราชบุตร แต่เดี๋ยวนี้หม่อมฉัน
ทั้งสองเป็นทาสของพราหมณ์ ไม่ได้เป็นนัดดาของพระองค์.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
หลานรักทั้งสองอย่าได้พูดอย่างนี้เลย หทัยของปู่
เร่าร้อน กายของปู่เหมือนถูกยกขึ้นไว้บนจิตกาธาร ปู่
ไม่ได้ความสุขในราชบัลลังก์ หลานรักทั้งสองอย่าได้
พูดอย่างนี้เลย เพราะยิ่งเพิ่มความโศกแก่ปู่ ปู่จักไถ่
หลานทั้งสองด้วยทรัพย์ หลานทั้งสองจักไม่ต้องเป็น
ทาส แน่ะพ่อชาลี บิดาของหลานให้หลานทั้งสองแก่
พราหมณ์ ตีราคาไว้เท่าไร หลานจงบอกปู่ตามจริง
พนักงานจะได้ให้พราหมณ์รับทรัพย์ไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม เป็นคำแสดงความรัก. บทว่า
จิตกายํว เม กาโย ความว่า บัดนี้กายของปู่เป็นเหมือนถูกยกขึ้นสู่เชิง
ตะกอนถ่านเพลิง. บทว่า ชเนถ มํ ความว่า ให้เกิดแก่ปู่ บาลีก็อย่างนี้
แหละ. บทว่า นิกฺกีณิสฺสามิ ทพฺเพน ความว่า จักให้ทรัพย์แล้วเปลื้อง
จากความเป็นทาส. บทว่า กิมฺคฺฆิยํ ความว่า ตีราคาไว้เท่าไร. บทว่า
ปฏิปาเทนฺติ ความว่า ให้รับทรัพย์.
พระชาลีราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ข้าแต่พระอัยกา พระบิดาพระราชทานหม่อมฉัน
แก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันตำลึงทองคำ ทรงตีราคา
น้องกัณหาชินาผู้มีพระพักตร์ผ่องใส ด้วยทรัพย์มีช้าง
เป็นต้นอย่างละร้อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสคฺฆํ หิ มํ ความว่า ข้าแต่
สมมติเทพ พระบิดาพระราชทานหม่อมฉันแก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันลิ่ม
ทองคำ. บทว่า อจฺฉํ ความว่า แต่น้องหญิงกัณหาชินาของหม่อมฉัน บทว่า
หตฺถิอาทิสเตน ความว่า พระชาลีทูลว่า พระบิดาทรงตีราคาด้วยช้าง ม้า
รถ เหล่านั้นทั้งหมดอย่างละร้อยแม้โดยที่สุดจนเตียงและตั่งก็อย่างละร้อยทั้งนั้น.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังพระชาลีกราบทูล เมื่อจะทรงโปรดให้ไถ่พระ-
กุมารกุมารีทั้งสององค์ จึงตรัสว่า
ดูก่อนเสวกามาตย์ เจ้าจงลุกขึ้น รีบให้ทาสี
ทาส โคเมีย โคผู้ ช้าง อย่างละร้อยๆ แก่พราหมณ์
เป็นค่าไถ่แม่กัณหา และจงให้ทองคำพันตำลึงเป็นด่า
ไถ่พ่อชาลี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากรา ได้แก่ จงให้. บทว่า นิกฺกยํ
ความว่า จงให้ค่าไถ่.
เสวกามาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสสั่งดังนั้นแล้วจึงกระทำตามนั้น
ได้จัดค่าไถ่สองกุมารให้แก่พราหมณ์ทันที.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น เสวกามาตย์รีบให้ทาสี ทาส โคเมีย โค
ผู้ ช้าง อย่างละร้อย ๆ แก่พราหมณ์เป็นค่าไถ่พระ-
กัณหา และได้ให้ทองคำพันตำลึงเป็นค่าพระชาลี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากริ ได้แก่ ได้ให้แล้ว บทว่า
นิกฺกยํ ความว่า ให้ค่าไถ่.
พระเจ้าสญชัยได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงอย่างละร้อยและทองคำพันตำลึง
แก่พราหมณ์ชูชกเป็นค่าไถ่พระราชกุมารกุมารี และพระราชทานปราสาท 7

ชั้นแก่ชูชกด้วยประการฉะนี้ จำเดิมแต่นั้น ชูชกก็มีบริวารมาก แกรวบรวม
ทรัพย์ขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์ใหญ่ บริโภคโภชนะมีรสอันดี แล้วนอน
บนที่นอนใหญ่.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้าสญชัยสีวีราชได้พระราชทานทาสี ทาส
โคเมีย ช้าง โคผู้ แม่ม้าอัสดรและรถ ทั้งเครื่อง
บริโภคอุปโภคทั้งปวงอย่างละร้อยๆ และทองคำพัน
ตำลึง แก่พราหมณ์ชูชกผู้แสวงหาทรัพย์ ผู้ร้ายกาจ
เหลือเกิน เป็นค่าไถ่สองกุมารกุมารี.

ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยมหาราชให้พระชาลีและพระกัณหาสนานพระ-
เศียร แล้วให้เสวยโภชนาหารทรงประดับราชกุมารกุมารีทั้งสอง ทรงจุมพิต
พระเศียรพระเจ้าสญชัยให้พระชาลีประทับนั่งบนพระเพลา พระนางเจ้าผุสดีให้
พระกัณหาชินาประทับนั่งบนพระเพลา.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระอัยกาพระอัยกีทรงไถ่พระชาลีพระกัณหาแล้ว
ให้สนานพระกาย ให้เสวยโภชนาหาร แต่งองค์ด้วย
ราชาภรณ์แล้วให้ประทับนั่งบนพระเพลา.
เมื่อพระราชกุมารกุมารีสนานพระเศียร ทรงภูษา
อันหมดจด ประดับด้วยสรรพาภรณ์และสรรพาลังการ
คือกุณฑลซึ่งมีเสียงดังเสนาะ ทั้งระเบียบดอกไม้แล้ว
พระอัยกาให้พระชาลีประทับนั่งบนพระเพลา แล้ว
ตรัสถามด้วยคำนี้ว่า.

แน่ะพ่อชาลี พระชนกชนนีทั้งสองของพ่อไม่มี
พระโรคาพาธกระมัง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะ
แสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมาก
กระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานทีจะมีน้อย
กระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่
เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ไม่ค่อยมีกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณฺฑเล ได้แก่ ให้ประดับกุณฑลทั้ง
หลาย. บทว่า ฆุสิเต ได้แก่ กุณฑลซึ่งมีเสียงดังเสนาะ คือส่งเสียงเป็นที่
ยินดีแห่งใจ. บทว่า มาเล ได้แก่ ให้ประดับดอกไม้นั้น ๆ ทั้งสอง. บทว่า
องฺเก กริตฺวาน ได้แก่ ให้พระชาลีราชกุมารประทับนั่งบนพระเพลา.
พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังพระราชดำรัสถามดังนั้น จึงกราบทูล
สนองว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระชนกชนนีทั้งสองของ
หม่อมฉันไม่ค่อยมีพระโรคาพาธ ยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกดี และมูลผลาหารก็
มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน มีบ้าง
ก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่
เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ก็ไม่ค่อยมีแด่พระชนกพระ-
ชนนีทั้งสองนั้น.
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเสด็จไปขุดมัน
กระชากมันอ่อน มันมือเสือ มันนก และนำผลกะเบา
ผลจาก มะนาว มาเลี้ยงกัน.

พระชนนีเป็นผู้หามูลผลในป่า ทรงนำมาซึ่งมูล
ผลใด หม่อมฉันทั้งหลายประชุมพร้อมกันเสวยมูลผล
นั้นในเวลากลางคืน ไม่ได้เสวยในเวลากลางวัน.
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเป็นสุขุมาลชาติ
ต้องทรงหาผลไม้ในป่ามาเลี้ยงกัน จนทรงซูบมีพระ
ฉวีเหลืองเพราะลมและแดด ดุจดอกปทุมอยู่ในกำมือ.
เมื่อพระชนนีเสด็จเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งเกลื่อน
ไปด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัย พระ-
เกสาก็ยุ่งเหยิง พระองค์เกล้าพระชฎาบนพระเกสา
ทรงเปรอะเปื้อนที่พระกัจฉประเทศ.
พระชนกทรงเพศบรรพชิตผู้ประเสริฐ ทรงถือ
ไม้ขอ ภาชนะเครื่องบูชาเพลิงและชฎา ทรงหนังเสือ
เหลืองเป็นพระภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดินนมัส-
การเพลิง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนนฺตาลุกลมฺพานิ ความว่า พระชาลี
ราชกุมารทรงพรรณนาถึงชีวิตลำเค็ญของพระชนกชนนี ด้วยคำว่า ขุดมันมือ
เสือ มันนกเป็นต้น. บทว่า โน ในบทว่า ตนฺโน นี้ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า ปทุมํ หตฺถคตมิว ความว่า เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ.
บทว่า ปตนูเกสา ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อพระชนนีของหม่อมฉัน
เสด็จเที่ยวไปหามูลผลาหารในป่าใหญ่ พระเกศาซึ่งดำมีสีเหมือนขนปีกแมลงภู่
ถูกกิ่งไม้เป็นต้นเกี่ยวเสียยุ่งเหยิง. บทว่า ชลฺลมธารยิ ความว่า มีพระกัจฉ-
ประเทศทั้งสองข้างเปรอะเปื้อน เสด็จเที่ยวไปด้วยเครื่องแต่งองค์ปอน ๆ.

พระชาลีราชกุมารกราบทูลถึงความที่พระชนนีมีความทุกข์ยากอย่างนี้
แล้ว เมื่อจะทูลท้วงพระอัยกา จึงตรัสว่า
ลูกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลก ย่อมเป็นที่รักของ
มนุษย์ผู้เป็นพ่อแม่ทั้งหลาย พระอัยกาของหม่อมฉัน
ทั้งสอง คงไม่เกิดเสน่หาในพระโอรสเป็นแน่ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทปชฺชึสุ ความว่า ย่อมเกิดขึ้น
ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อชี้โทษของพระองค์ จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระหลานน้อย จริงทีเดียว การที่ปู่ให้
ขับไล่พระบิดาของเจ้าผู้ไม่มีโทษเพราะถ้อยคำของชาว
สีพีนั้น ชื่อว่าปู่ได้กระทำกรรมอันชั่วช้า ทำกรรมอัน
ทำลายความเจริญแก่พวกเรา สิ่งใด ๆ ของปู่ที่อยู่ใน
นครนี้ก็ดี ทรัพย์และธัญชาติที่มีอยู่ก็ดี ปู่ขอยกให้แก่
พระบิดาของเจ้าทั้งสิ้น ขอให้เวสสันดรจงมาเป็นราชา
ปกครองในสีพีรัฐเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปต ความว่า ดูก่อนชาลีกุมารหลาน
น้อย นั่นเป็นกรรมที่พวกเราทำไว้ชั่ว. บทว่า ภูนหจฺจํ ได้แก่ เป็นกรรม
ที่ทำลายความเจริญ. บทว่า ยํ เน กิญฺจิ ความว่า สิ่งอะไร ๆ ของปู่มีอยู่
ในพระนครนี้ สิ่งนั้นทั้งหมดปู่ยกให้แก่พระบิดาของหลาน. บทว่า สิวิรฏฺเฐ
ปสาสตุ ความว่า ขอพระเวสสันดรนั้นจงเป็นราชาปกครองในพระนครนี้.
พระชาลีราชกุมารกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระชนกของหม่อมฉันคงจัก
ไม่เสด็จมาเป็นพระราชาของชาวสีพี เพราะถ้อยคำ

ของหม่อมฉัน ขอพระองค์เสด็จไปอภิเษกพระราช
โอรสด้วยราชสมบัติ ด้วยพระองค์เองเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิสุตฺตโม ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐที่
สุดของชาวสีพี. บทว่า สิญฺจ ความว่า อภิเษกด้วยราชสมบัติ เหมือนมหาเมฆ
โปรยหยาดน้ำฝนฉะนั้น.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับฟังพระชาลีตรัส จึงมีพระราชดำรัสเรียกหา
เสนาคุตอมาตย์มาสั่งให้ตีกลองใหญ่ป่าวประกาศทั่วเมือง
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระเจ้าสญชัยบรมกษัตริย์ตรัสกะเสนาบดี
ว่า กองทัพ คือกองช้าง กองม้า กองม้า กองราบ
จงผูกสอดศัสตราวุธ ชาวนิคม พราหมณ์ปุโรหิตจง
ตามข้าไป แต่นั้นอมาตย์หกหมื่นผู้สหชาตของบุตรเรา
งามน่าดู ประดับแล้วด้วยผ้าสีต่าง ๆ พวกหนึ่งทรงผ้า
สีเขียว พวกหนึ่งทรงผ้าสีเหลือง พวกหนึ่งทรงผ้าสี
แดงเป็นดุจอุณหิส พวกหนึ่งทรงผ้าสีขาว ผูกสอด
ศัสตราวุธจงมาโดยพลัน เขาหิมวันต์ เขาคันธรและ
เขาคันธมาทน์ ปกคลุมด้วยนานาพฤกษชาติ เป็นที่อยู่
แห่งหมู่ยักษ์ยังทิศทั้งหลายให้รุ่งเรืองฟุ้งตลบไปด้วย
ทิพยโอสถ ฉันใด โยธาทั้งหลายผูกศัสตราวุธแล้ว จง
มาพลันจงยังทิศทั้งหลายให้รุ่งเรืองฟุ้งตลบไปฉันนั้น
จงผูกช้างหมื่นสี่พันเชือกให้มีสายรัดแล้วด้วยทองแท่ง
เครื่องประดับแล้วด้วยทอง อันเหล่าควาญช้างถือโตมร

และขอขึ้นขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว มีอลังการปรากฏ
บนคอช้าง จงรีบมา แต่นั้นจงผูกม้าหมื่นสี่พันตัว
ที่เป็นชาติอาชาไนยสินธพมีกำลัง อันควาญม้าถือดาบ
และแล่งธนูขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว ประดับกายแล้ว
อยู่บนหลังม้า จงรีบมาแต่นั้น จงเทียมรถหมื่นสี่พัน
คัน ซึ่งมีกงรถแล้วด้วยเหล็ก มีเรือนรถขจิตด้วยทอง
จงยกขึ้นซึ่งธง โล่ เขน แล่งธนู ในรถนั้น เป็นผู้
มีธรรมมั่นคง มุ่งประหารข้าศึก ผูกสอดศัสตราวุธ
แล้ว เป็นช่างรถอยู่ในรถ จงรีบมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนาหยนฺตุ ได้แก่ จงผูกสอดอาวุธ
ทั้งหลาย. บทว่า สฏฐีสหสฺสานิ ได้แก่ อมาตย์หกหมื่นผู้เป็น
สหชาติกับบุตรของเรา. บทว่า นีลวตฺถาธราเนเก ความว่า พวกหนึ่งทรง
ผ้าสีเขียว คือเป็นผู้นุ่งห่มผ้าสีเขียวจงมา. บทว่า มหาภูตคณาลโย ได้แก่
เป็นที่อยู่ของหมู่ยักษ์ทั้งหลาย. บทว่า ทิสา ภนฺตุ ปวนฺตุ จ ความว่า
จงให้รุ่งเรืองและฟุ้งตลบไปด้วยอาภรณ์และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย. บทว่า
หตฺถิกฺขนฺเธหิ ความว่า ควาญช้างเหล่านั้นจงขี่คอช้างรีบมา. บทว่า ทสฺสิตา
ได้แก่ มีเครื่องประดับปรากฏ. บทว่า อโยสุกตเนมิโย ได้แก่ มีกงรถที่
ใช้เหล็กหุ้มอย่างดี. บทว่า สุวณฺณจิตฺรโปกฺขเร ความว่า พระเจ้าสญชัย
ตรัสว่า จงเทียมรถหมื่นสี่พันคันปานนี้ ซึ่งมีเรือนรถขจิตด้วยทอง. บทว่า
วิปฺผาเลนฺตุ ได้แก่ จงยกขึ้น.
พระเจ้าสญชัยจัดกองทัพอย่างนี้แล้ว ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงตกแต่ง
มรรคาเป็นที่มา ให้มีพื้นเรียบ กว้างแปดอุสภะ ตั้งแต่เชตุดรราชธานีจนถึงเขา
วงกต แล้วทำสิ่งนี้ด้วย ๆ เพื่อต้องการตกแต่งบรรดาให้งดงาม แล้วตรัสว่า

พวกเจ้าจงจัดบุปผชาติทั้งระเบียบดอกไม้ของ
หอมเครื่องทา กับทั้งข้าวตอกเรี่ยรายลง ทั้งบุปผชาติ
และรัตนะอันมีค่า จัดหม้อสุราเมรัย 100 หม้อทุก
ประตูบ้าน จัดมังสะ ขนม ขนมทำด้วยงา ขนมกุมมาส
ประกอบด้วยปลา และจัดเนยใส น้ำมัน น้ำส้ม นม
สด สุราทำด้วยแป้งข้าวฟ่างให้มาก แล้วจงยืนอยู่ ณ
ทางที่พ่อเวสสันดรลูกข้าจะมา. ให้มีคนหุงต้ม พ่อครัว
คนฟ้อนรำ คนโลดเต้น และคนขับร้องเพลง ปรบ
มือ กลองยาว คนขับเสียงแจ่มใส คนเล่นกลสามารถ
กำจัดความโศกได้ จงนำพิณทั้งปวง และกลอง ทั้ง
มโหระทึกมา จงเป่าสังข์ ตีกลองหน้าเดียว จงประโคม
ตะโพน บัณเฑาะว์ สังข์ และดุริยางค์ 4 คือ โคธะ
กลองใหญ่ กลองรำมะนา กุฏุมพะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลาชา โอโลกิยา ปุปฺผา ความว่า
พระเจ้าสญชัยมีรับสั่งว่า จงจัดโปรยดอกไม้ดอกกับข้าวตอกทั้งหลาย ซึ่งชื่อว่า
ดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ห้า โปรยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ใน
มรรคาห้อยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ที่เพดาน. บทว่า อคฺฆิยานิ จ
ความว่า จงตั้งบุปผชาติและรัตนะอันมีค่าในทางที่ลูกของเราจะมา. บทว่า
คาเม คาเม ได้แก่ ตั้งไว้ทุก ๆ ประตูบ้าน. บทว่า ปติตา ฐนฺตุ ความ
ว่า จงจัดแจงตั้งหม้อสุราเมรัยเป็นต้น เพื่อผู้ระหายจะได้ดื่ม. บทว่า มจฺฉ-
สํยุตา
ได้แก่ ประกอบด้วยปลาทั้งหลาย. บทว่า กงฺคุปิฏฺฐา ได้แก่ สำเร็จด้วย
แป้งข้าวฟ่าง. บทว่า มุทฺทิกา ได้แก่ คนขับร้องเสียงใส. บทว่า โสกชฺ-
ฌายิกา
ความว่า พวกเล่นกล หรือแม้คนอื่น ๆ ใครก็ตามที่สามารถระงับ

ความโศกที่เกิดขึ้นเสียได้ ท่านเรียกว่า โสกชฺฌายิกา. บทว่า ขรมุขานิ
ได้แก่ สังข์ใหญ่เกิดแต่สมุทรเป็นทักษิณาวัฏ. บทว่า สํขา ได้แก่ สังข์สอง
ชนิดคือ สังข์รูปกำมือ และสังข์รูปขวด ดนตรี 4 อย่างเหล่านี้คือ โคธะ
กลองใหญ่ กลองรำมะนา และกุฏุมพะ.
พระเจ้าสญชัยทรงสั่งจัดการประดับบรรดาด้วยประการฉะนี้ กาลนั้น
ฝ่ายชูชกบริโภคอาหารเกินประมาณ ไม่อาจให้อาหารที่บริโภคนั้นย่อยได้ ก็
ทำกาลกิริยาในที่นั้นเอง. ครั้งนั้นพระเจ้าสญชัยให้ทำฌาปนกิจชูชก ให้ตีกลอง
ใหญ่ป่าวประกาศในพระนครว่า คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นญาติของชูชก จงเอา
สมบัติที่พระราชทานเหล่านั้นไป ครั้นไม่พบคนที่เป็นญาติของชูชก จึงโปรดให้
ขนทรัพย์ทั้งปวงคืนเข้าพระคลังหลวงอีกตามเดิม.
ครั้งนั้น พระเจ้าสญชัยจัดประชุมกองทัพทั้งปวงประมาณ 12 อักโขภิณี
สิ้น 7 วัน พระบรมกษัตริย์พร้อมด้วยราชบริพารใหญ่ ยกกองทัพออกจาก
พระนคร ให้พระชาลีราชกุมารเป็นผู้นำทางเสด็จ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
กองทัพใหญ่นั้น เป็นพาหนะของชนชาวสีพี
ควบคุมกัน มีพระชาลีราชกุมารเป็นผู้นำทางไปสู่เขา
วงกต ช้างพลายกุญชรมีอายุ 60 ปี พอควาญช้างผูก
สายรัดก็บันลือโกญจนาท ม้าอาชาไนยทั้งหลายก็ร่าเริง
เสียงกงรถก็เกิดดังกึกก้อง ธุลีละอองก็ฟุ้งปิดนภากาศ
เมื่อกองทัพพาหนะของชาวสีพีควบคุมกันยกไป กอง
ทัพใหญ่นั้นควบคุมกัน นำสิ่งที่ควรนำไป มีพระชาลี
ราชกุมารเป็นผู้นำทางไปสู่เขาวงกต โยธาทั้งหลายเข้า

ไปสู่ป่าใหญ่อันมีกิ่งไม้มาก มีน้ำมาก ดาดาษไปด้วย
ไม้ดอกและไม้ผลทั้งสองอย่าง เสียงหยาดน้ำไหลใน
ไพรสณฑ์นั้นดังลั่น นกทั้งหลายเป็นอันมากมีพรรณ
ต่าง ๆ กัน เข้าไปร่ำร้องกะนกที่ร่ำร้องอยู่ที่แถวไม้อัน
มีดอกบานตามฤดูกาล กษัตริย์ทั้ง 4 องค์ เสด็จทาง
ไกลล่วงวันและคืน ก็ลุถึงประเทศที่พระเวสสันดร
ประทับอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหตี ได้แก่กองทัพนับประมาณ 12
อักโขภิณี. บทว่า อุยฺยุตฺตา ได้แก่ ควบคุมกัน. บทว่า โกญฺจํ นทติ
ความว่า ในกาลนั้น พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ เมื่อฝนตกในแคว้นของตนแล้ว
ก็นำช้างปัจจัยนาคตัวประเสริฐนั้นมาถวายคืนแด่พระเจ้าสญชัย ช้างนั้นดีใจว่า
จักได้พบนายละหนอ จึงได้บันลือโกญจนาท ท่านกล่าวคำนี้หมายเอาช้างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺฉาย ความว่า พอควาญช้างผูกสายรัดทองคำ
ก็ดีใจบันลือโกญจนาท. บทว่า หสิสฺสนฺติ ได้แก่ ได้ส่งเสียงดัง. บทว่า
หาริหารินี ได้แก่ สามารถนำสิ่งที่พึงนำไป. บทว่า ปาวึสุ ได้แก่ เข้า
ไปแล้ว. บทว่า พหุสาขํ ได้แก่ มีกิ่งไม้มาก. บทว่า ทีฆมทฺธานํ ได้
แก่ ทางประมาณ 60 โยชน์. บทว่า อุปาคญฺฉุํ ความว่า ลุถึงประเทศที่
พระเวสสันดรประดับอยู่.
จบมหาราชบรรพ

ฉขัตติยบรรพ


ฝ่ายพระชาลีราชกุมารให้ตั้งค่ายแทบฝั่งสระมุจลินท์ ให้กลับรถหมื่น
สี่พันคัน ตั้งให้มีหน้าเฉพาะทางที่มา แล้วให้จัดการรักษาสัตว์ร้ายมีราชสีห์
เสือโคร่งเสือเหลืองและแรดเป็นต้นในประเทศนั้น ๆ เสียงพาหนะทั้งหลาย
มีช้างเป็นต้นอื้ออึงสนั่น ครั้งนั้น พระเวสสันดรมหาสัตว์ได้ทรงสดับเสียงนั้น
ก็ทรงกลัวแต่มรณภัย ด้วยเข้าพระทัยว่า เหล่าปัจจามิตรของเราปลงพระชนม์
พระชนกของเราแล้วมาเพื่อต้องการตัวเรากระมังหนอ จึงพาพระนางมัทรีเสด็จ
ขึ้นภูผาทอดพระเนตรดูกองทัพ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรราชฤาษีได้ทรงสดับเสียงกึกก้อง
แห่งกองทัพเหล่านั้น ก็ตกพระหฤทัย เสด็จขึ้นสู่
บรรพต ทอดพระเนตร ดูกองทัพด้วยความกลัว ตรัส
ว่า แน่ะพระน้องมัทรี เธอจงพิจารณาสำเนียงกึกก้องใน
ป่าฝูงม้าอาชาไนยร่าเริง ปลายธงปรากฏไสว พวกที่มา
เหล่านี้ ดุจพวกพรานล้อมฝูงมฤคชาติในป่าไว้ด้วยข่าย
ต้อนให้ตกในหลุมก่อน แล้วทิ่มแทงด้วยหอกสำหรับ
ฆ่ามฤคชาติอันคม เลือกฆ่าเอาแต่ที่มีเนื้อล่ำ ๆ เราทั้ง
หลายผู้หาความผิดมิได้ ต้องเนรเทศมาอยู่ป่า ถึงความ
ฉิบหายด้วยมือมิตร เธอจงดูคนฆ่าคนไม่มีกำลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ตักเตือน.
บทว่า นิสาเมหิ ความว่า เธอจงดู คือใคร่ครวญดูว่า กองทัพของเราหรือ