เมนู

มีถันไม่คล้อยเป็นพรที่ 7 ไม่มีผมหงอกเป็นพรที่ 8 มีผิวละเอียดเป็นพรที่ 9
สามารถปล่อยนักโทษประหารได้เป็นพร 10.
ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า
แน่ะนางผู้งามทั่วองค์ พร 10 ประการเหล่าใด
ที่เราให้แก่เธอ เธอจงได้พรเหล่านั้นทั้งหมด ในแว่น
แคว้นของพระเจ้าสีวีราช.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ครั้นท้าววาสวะมฆสุชัมบดีเทวราชตรัสอย่างนี้แล้ว
ก็ทรงอนุโมทนาประทานพรแก่นางผุสดีเทพอัปสร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทิตฺถ ความว่า มีจิตบันเทิง
คือทรงโสมนัส. บทว่า สพฺเพ เต ลจฺฉสิ วเร ความว่า ย่อมได้พร
เหล่านั้นทั้งหมด.
ท้าวสักกเทวราชทรงประทานพร 10 ประการแล้ว เป็นผู้มีจิตบันเทิง
มีพระมนัสยินดีแล้วด้วยประการฉะนี้.
จบทศพรคาถา

หิมวันตวรรณนา


ผุสดีเทพกัญญารับพรทั้งหลายดังนี้แล้วจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้น บังเกิด
ในพระครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้ามัททราช ในวันขนานพระนามของพระนาง
นั้น พระญาติทั้งหลายขนานพระนามว่า ผุสดี ตามนามเดิมนั้น เพราะ
เมื่อพระนางประสูติ มีพระสรีระราวกะว่าประพรมด้วยจุรณแก่นจันทน์
ประสูติแล้ว พระนางผุสดีราชธิดานั้นทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่ ในกาลมี

พระชนม์ได้ 16 ปี ได้เป็นผู้ทรงพระรูปอันอุดม ครั้งนั้นพระเจ้าสีวีมหาราช
ทรงนำพระนางผุสดีมาเพื่อประโยชน์แก่พระเจ้าสญชัยกุมารราชโอรส ให้ยก
ฉัตรแก่ราชโอรสนั้น ให้พระนางผุสดีเป็นใหญ่กว่าเหล่านารีหมื่นหกพัน ทรง
ตั้งไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสีของสญชัยราชโอรส.
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
นางผุสดีนั้นจุติจากดาวดึงส์เทวโลกนั้นบังเกิดใน
ขัตติยสกุล ได้ทรงอยู่ร่วมด้วยพระเจ้าสญชัยในนคร
เชตุดร.

พระนางผุสดีได้เป็นที่รักที่เจริญใจแห่งพระเจ้าสญชัย ครั้งนั้น ท้าว
สักกเทวราชเมื่อทรงอาวัชนาการก็ทราบว่า บรรดาพรทั้ง 10 ประการที่
เราให้แก่นางผุสดี พร 9 ประการสำเร็จแล้ว จึงทรงดำริว่าโอรสอันประเสริฐ
เป็นพรข้อหนึ่งยังไม่สำเร็จก่อน เราจักให้พรนั้นสำเร็จแก่นาง ในกาลนั้น
พระมหาสัตว์อยู่ในดาวดึงส์เทวโลก อายุของมหาสัตว์นั้นสิ้นแล้วท้าวสักกะทรง
ทราบความนั้นจึงไปสู่สำนักของพระโพธิสัตว์ตรัสว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ควร
ที่ท่านจะไปสู่มนุษยโลก ควรถือปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งนางผุสดีอัครมเหสี
ของพระเจ้าสีวีราช ณ กรุงเชตุดร ตรัสฉะนี้แล้ว ถือเอาปฏิญญาแห่งพระ-
โพธิสัตว์ และเหล่าเทพบุตรหกหมื่นเหล่าอื่นผู้จะจุติ แล้วกลับทิพยวิมานที่
ประทับของตน ฝ่ายพระมหาสัตว์จุติจากเทวโลกนั้นเกิดในพระครรภ์แห่ง
พระนางผุสดี เทพบุตรหกหมื่นก็บังเกิดในเคหสถานแห่งอำมาตย์หกหมื่น ก็ใน
เมื่อพระมหาสัตว์เสด็จอยู่ในพระครรภ์พระมารดา พระนางผุสดีผู้มีพระครรภ์
เป็นผู้ทรงใคร่จะโปรดให้สร้างโรงทาน 6 แห่ง คือที่ประตูพระนครทั้ง 4 ที่
ท่ามกลางพระนคร 1 ที่ประตูพระราชวัง 1 ทรงสละพระราชทรัพย์หกแสน

กหาปณะทุกวัน ๆ บริจาคทาน ครั้นพระเจ้าสญชัยสีวีราชทรงทราบความ
ปรารถนาของพระนาง จึงให้เรียกพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้นิมิตมาทำสักการะใหญ่
แล้วตรัสถามเนื้อความนั้น พราหมณ์ผู้รู้นิมิตทั้งหลายจึงทูลพยากรณ์ว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ท่านผู้ยินดียิ่งในทานมาอุบัติในพระครรภ์แห่งพระราชเทวี
จักไม่อิ่มในทานบริจาค พระราชาได้ทรงสดับพยากรณ์นั้นก็มีพระหฤทัยยินดี
จึงโปรดให้สร้างโรงทาน 6 แห่งมีประการดังกล่าวมาแล้ว ให้เริ่มตั้งทานดัง
ประการที่กล่าวแล้ว จำเดิมแต่กาลที่พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ ส่วนอากรของ
พระราชาได้เจริญขึ้นเหลือประมาณ เหล่าพระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้นส่ง
เครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าสญชัย ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์
พระนางผุสดีราชเทวีมีบริวารใหญ่ เมื่อทรงพระครรภ์ครั้น 10 เดือนบริบูรณ์
มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรพระนคร จึงกราบทูลพระราชสวามี พระเจ้า-
กรุงสีวีจึงให้ตกแต่งพระนครดุจเทพนคร ให้พระราชเทวีทรงรถที่นั่งอัน
ประเสริฐทำประทักษิณพระนคร ในกาลเมื่อพระนางเสด็จถึงท่ามกลางถนน
แห่งพ่อค้า ลมกรรมชวาตก็ป่วนปั่น ราชบุรุษนำความกราบทูลพระราชา พระ -
ราชาทรงทราบความจึงให้ทำพลับพลาสำหรับประสูติแก่พระราชเทวีในท่าม
กลางวิถีแห่งพ่อค้า แล้วให้ตั้งการล้อมวงรักษาพระนางเจ้าผุสดีประสูติพระโอรส
ณ ที่นั้น.
พระนางเจ้าผุสดีทรงครรภ์ถ้วนทศมาส เมื่อทรง
ทำประทักษิณพระนคร ประสูติเราท่านกลางวิถีของ
พ่อค้าทั้งหลาย.

พระมหาสัตว์ประสูติจากพระครรภ์แห่งพระมารดา เป็นผู้บริสุทธิ์ ลืม
พระเนตรทั้งสองออกมา เมื่อออกมาก็เหยียดพระหัตถ์ต่อพระมารดาตรัสว่า

ข้าแต่พระแม่เจ้า หย่อมฉันจักบริจาคทาน มีทรัพย์อะไร ๆ บ้าง ครั้งนั้น
พระชนนีตรัสตอบว่า พ่อจงบริจาคทานตามอัธยาศัยของพ่อเถิด แล้ววางถุง
กหาปณะพันหนึ่งในพระหัตถ์ที่แบอยู่.
พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วได้ตรัสกับพระมารดา 3 คราว คือใน
อุมมังคชาดก (เสวยพระชาติเป็นมโหสถ) คราว 1 ในชาดกนี้คราว 1 ใน
อัตภาพมีในภายหลัง (คือเมื่อเป็นพระพุทธเจ้า) คราว 1.
ครั้งนั้น ในวันถวายพระนามพระโพธิสัตว์ พระประยูรญาติทั้งหลาย
ได้ขยายพระนามว่า เวสสันดร เพราะประสูติในถนนแห่งพ่อค้า เหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ชื่อของเราไม่ได้เกิดแต่พระมารดา ไม่ได้เกิด
แต่พระบิดา เราเกิดที่ถนนพ่อค้า เพราะเหตุนั้น เรา
จึงชื่อว่าเวสสันดร.

ก็ในวันที่พระโพธิสัตว์ประสูติ ช้างพังเชือกหนึ่งซึ่งเที่ยวไปได้ใน
อากาศ นำลูกช้างขาวทั้งตัวรู้กันว่าเป็นมงคลยิ่งมา ให้สถิตในสถานที่มงคล
หัตถีแล้วหลีกไป ชนทั้งหลายตั้งชื่อช้างนั้นว่า ปัจจัยนาค เพราะช้างนั้นเกิดขึ้น
มีพระมหาสัตว์เป็นปัจจัย พระราชาได้ประทานนางนม 64 นาง ผู้เว้นจาก
โทษมีสูงเกินไปเป็นต้น มีถันไม่ยาน มีน้ำนมหวาน แก่พระมหาสัตว์ ได้
พระราชทานนางนมคนหนึ่งๆ แก่เหล่าทารกหกหมื่นคนผู้เป็นสหชาติกับพระ-
มหาสัตว์ พระมหาสัตว์นั้นทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่กับด้วยทารกหกหมื่น
ครั้งนั้นพระราชาให้ทำเครื่องประดับสำหรับพระราชกุมารราคาแสนหนึ่ง พระ-
ราชทานแด่พระเวสสันดรราชกุมาร พระราชกุมารนั้นเปลื้องเครื่องประดับนั้น

ประทานแก่นางนมทั้งหลายในกาลเมื่อมีชนมพรรษา 4-5 ปี ไม่ทรงรับ
เครื่องประดับที่นางนมทั้งหลายเหล่านั้นถวายคืนอีก นางนมเหล่านั้นกราบทูล
ประพฤติเหตุแด่พระราชา พระราชาทรงทราบประพฤติเหตุนั้นก็ให้ทำเครื่อง
ประดับอื่นอีกพระราชทาน ด้วยทรงเห็นว่า อาภรณ์ที่ลูกเราให้แล้ว ก็เป็น
อันให้แล้วด้วยดีจงเป็นพรหมไทย พระราชกุมารก็ประทานเครื่องประดับ แก่
เหล่านางนม ในกาลเมื่อยังทรงพระเยาว์ถึง 9 ครั้ง ก็ในกาลเมื่อพระราชกุมาร
มีพระชนมพรรษา 8 ปี พระราชกุมารเสด็จไปสู่ปราสาทอันประเสริฐ ประทับ
นั่งบนพระยี่ภู่ทรงคิดว่า เราให้ทานภายนอกอย่างเดียว ทานนั้นหายังเราให้
ยินดีไม่ เราใคร่จะให้ทานภายใน แม้ถ้าใคร ๆ พึงขอหทัยของเรา เราจะพึง
ให้ผ่าอุระประเทศนำหทัยออกให้แก่ผู้นั้น ถ้าเขาขอจักษุทั้งหลายของเรา เราก็
จะควักจักษุให้ ถ้าเขาขอเนื้อในสรีระเราจะเชือดเนื้อแต่สรีระทั้งสิ้นให้ ถ้าแม้
ใคร ๆ พึงขอโลหิตของเรา เราก็จะพึงถือเอาโลหิตให้ หรือว่าใคร ๆ พึงกล่าว
กะเราว่า ท่านจงเป็นทาสของข้า เราก็ยินดียอมตัวเป็นทาสแห่งผู้นั้น.
เมื่อพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ทรงคำนึงถึงทานเป็นไปในภายใน ซึ่ง
เป็นพระดำริแล่นไปเองเป็นเองอย่างนี้ มหาปฐพีอันหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์
ก็ดังสนั่นหวั่นไหว ดุจช้างตัวประเสริฐตกมันอาละวาดคำรามร้องฉะนั้น เขา
สิเนรุราชก็โอนไปมามีหน้าเฉพาะเชตุดรนครตั้งอยู่ ดุจหน่อหวายโอนเอนไป
มาฉะนั้น ฟ้าก็คะนองลั่นตามเสียงแห่งปฐพี ยังฝนลูกเห็บให้ตก สายอสนีอัน
มีในสมัยมิใช่กาลก็เปล่งแสงแวบวาบ สาครก็เกิดเป็นคลื่นป่วนปั่น ท้าวสักก
เทวราชก็ปรบพระหัตถ์ ท้าวมหาพรหมก็ให้สาธุการ เสียงโกลาหลเป็นอัน
เดียวกันได้มีตลอดถึงพรหมโลก.

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ในกาลเมื่อเราเป็นทารก เกิดมาได้ 8 ปี เรานั่ง
อยู่บนปราสาทคิดเพื่อจะบริจาคทาน ว่าเราพึงให้หัวใจ
ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกาย ถ้าใครขอเราให้เราได้
ยิน เราก็พึงให้ เมื่อเราคิดถึงการบริจาคทานอันเป็น
ความจริง หฤทัยก็ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นอยู่ในกาลนั้น
แผ่นดินซึ่งมีเขาสิเนรุและหมู่ไม้เป็นเครื่องประดับ ก็
หวั่นไหว.

ในกาลเมื่อพระโพธิสัตว์มีพระชนมพรรษาได้ 16 ปี พระโพธิสัตว์
ได้ทรงศึกษาศิลปทั้งปวงสำเร็จ ครั้งนั้นพระราชบิดาทรงใคร่จะประทานราช-
สมบัติแก่พระมหาสัตว์ ก็ทรงปรึกษาด้วยพระนางเจ้าผุสดีผู้พระมารดา จึงนำ
ราชกัญญานานว่า มัทรี ผู้เป็นราชธิดาของพระมาตุละแต่มัททราชสกุล ให้
ดำรงอยู่ในที่อัครมเหสี ให้เป็นใหญ่กว่าสตรีหมื่นหกพัน อภิเษกพระมหาสัตว์
ในราชสมบัติ พระมหาสัตว์ทรงสละทรัพย์หกแสนยังมหาทานให้เป็นไป
ทุกวัน ๆ จำเดิมแต่กาลที่ดำรงอยู่ในราชสมบัติ.
สมัยต่อมาพระนางมัทรีประสูติพระโอรส พระญาติทั้งหลายรับพระ-
ราชกุมารนั้นด้วยข่ายทองคำ เพราะฉะนั้นจึงขนานพระนามว่า ชาลีราชกุมาร
พอพระราชกุมารนั้นทรงเดินได้ พระนางมัทรีก็ประสูติพระราชธิดา พระญาติ
ทั้งหลายรับพระราชธิดานั้นด้วยหนังหมี เพราะฉะนั้นจึงขนานพระนามว่า
กัณหาชินาราชกุมารี พระเวสสันดรโพธิสัตว์ประทับคอช้างตัวประเสริฐอัน
ตกแต่งแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรโรงทานทั้งหก เดือนละ 6 ครั้ง.

กาลนั้นในกาลิงครัฐเกิดฝนแล้ง ข้าวกล้าไม่สมบูรณ์ ภัยคือความ
หิวเกิดขึ้นมาก มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจเป็นอยู่ก็ทำโจรกรรม ชาวชนบทถูก
ทุพภิกขภัยเบียดเบียน ก็ประชุมกันติเตียนที่พระลานหลวง เมื่อพระราชาตรัส
ถามถึงเหตุ จึงกราบทูลเนื้อความนั้น ครั้งนั้นพระราชาตรัสว่า ดีละ ข้าจะยัง
ฝนให้ตก แล้วส่งชาวเมืองกลับไป ทรงสมาทานศีลรักษาอุโบสถศีลสิ้น 7 วัน
ก็ไม่ทรงสามารถให้ฝนตก พระราชาจึงให้ประชุมชาวเมืองแล้วตรับสั่งถามว่า
เราได้สมาทานศีลรักษาอุโบสถศีลสิ้น 7 วัน ก็ไม่อาจยังฝนให้ตก จะพึงทำ
อย่างไร ชาวเมืองกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าพระองค์ไม่สามารถให้ฝนตก
พระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยในกรุงเชตุดร ทรงนามว่าเวสสันดรนั้นทรง
ยินดีสิ่งในทาน มงคลหัตถีขาวล้วน ซึ่งไปถึงที่ใดฝนก็ตกของพระองค์มีอยู่
ขอพระองค์ส่งพราหมณ์ทั้งหลายไปทูลขอช้างเชือกนั้นนำมา พระราชาตรัส
ว่า สาธุ แล้วให้ประชุมเหล่าพราหมณ์ เลือกได้ 8 คน ชื่อรามะ 1 ธชะ 1
ลักขณะ 1 สุชาติมันตะ 1 ยัญญะ 1 สุชาตะ 1 สุยามะ 1 โกณฑัญญะ 1
พราหมณ์ชื่อรามะเป็นประมุขของพราหมณ์ทั้ง 7 ประทานเสบียงส่งไปด้วย
พระราชบัญชาว่า ท่านทั้งหลายจงไปทูลขอช้างพระเวสสันดรนำมา พราหมณ์
ทั้ง 8 ไปโดยลำดับลุถึงเชตุดรนคร บริโภคภัตในโรงทาน ใคร่จะทำสรีระของ
คนให้เปื้อนด้วยธุลี ไล้ด้วยฝุ่นแล้วทูลขอช้างพระเวสสันดร ในวันรุ่งขึ้นไปสู่
ประตูเมืองด้านปาจีนทิศ ในเวลาพระเวสสันดรเสด็จไปโรงทาน ฝ่ายพระราชา
เวสสันดรทรงรำพึงว่าเราจักไปดูโรงทาน จึงสรงเสวยโภชนะรสเลิศต่าง ๆ แต่
เช้า ประทับบนคอคชาธารตัวประเสริฐซึ่งประดับแล้ว เสด็จไปทางปาจีนทวาร
พราหมณ์ทั้ง 8 ไม่ได้โอกาสในที่นั้น จึงไปสู่ประตูเมืองด้านทักษิณทิศ ยืนอยู่

ณ สถานที่สูง ในเวลาเมื่อพระราชาทอดพระเนตรโรงทานทางปาจีนทวารแล้ว
เสด็จมาสู่ทักษิณทวาร ก็เหยียดมือข้างขวาออกกล่าวว่า พระเจ้าเวสสันดรราช
ผู้ทรงพระเจริญจงชนะ ๆ พระเวสสันดรมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์
ทั้งหลาย ก็บ่ายช้างที่นั่งไปสู่ที่พราหมณ์เหล่านั้นยืนอยู่ ประทับบนคอช้างตรัส
คาถาที่หนึ่งว่า
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีขนรักแร้ดก มีเล็บยาว มี
ขนยาวและฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เหยียดแขนขวา
จะขออะไรเราหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรุฬฺหกจฺฉนขโลมา ความว่า มีขน
รักแร้งดก มีเล็บงอก มีขนดก คือมีเล็บยาว มีขนยาว มีขนเกิดที่รักแร้,
รักแร้ด้วย เล็บด้วย ขนด้วย เรียกว่า กจฺฉนขโลมา รักแร้ เล็บ ขน
ของพราหมณ์เหล่าใดงอกแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีรักแร้ เล็บและ
ขนงอกแล้ว.
พราหมณ์ทั้ง 8 กราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะทูลขอ
รัตนะซึ่งยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ขอพระองค์
โปรดพระราชทานช้างตัวประเสริฐซึ่งมีงาดุจงอนไถ
สามารถเป็นราชพาหนะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุรุฬฺหวํ ได้แก่ สามารถเป็นราชพาหนะ
ได้.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราใคร่จะบริจาค
ทานเป็นไปภายใน ตั้งแต่ศีรษะเป็นต้น พราหมณ์เหล่านั้นมาขอทานเป็นไปภาย

นอกกะเรา แม้อย่างนั้นเราจะยังความปรารถนาของพราหมณ์เหล่านั้นให้
บริบูรณ์ ประทับอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ ตรัสคาถานี้ว่า
เราจะให้ช้างพลายซับมันตัวประเสริฐ เป็นช้าง
ราชพาหนะสูงสุด ที่พราหมณ์ทั้งหลายขอเรา เรามิได้
หวั่นไหว.

ครั้นตรัสปฏิญญาฉะนี้แล้ว
พระราชาผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญ มีพระหฤทัยน้อม
ไปในการบริจาคทาน เสด็จลงจากคอช้าง พระราช-
ทานทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปคุยฺหํ ได้แก่ ราชพาหนะ. บทว่า
จาคาธิมานโส ได้แก่ มีพระหฤทัยยิ่งด้วยการบริจาค. บทว่า อทา ความ
ว่า ได้พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.
พระมหาสัตว์ทรงทำประทักษิณช้าง 3 รอบ เพื่อทรงตรวจที่กายช้าง
ซึ่งประดับแล้ว ก็ไม่เห็นในที่ซึ่งยังมิได้ประดับ จึงทรงจับพระเต้าทองคำอัน
เต็มด้วยน้ำหอมเจือดอกไม้ ตรัสกะพราหมณ์ทั้งหลายว่า ดูก่อนมหาพราหมณ์
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาข้างนี้ ทรงวางงวงช้างซึ่งเช่นกับพวงเงินอันประดับ
แล้วในมือแห่งพราหมณ์เหล่านั้น หลั่งน้ำลง พระราชทานช้างอันประดับแล้ว
อลังการที่ 4 เท้าช้างราคา 4 แสน อลังการ 2 ข้างช้างราคา 2 แสน ข่าย
คลุมหลัง 3 คือข่ายแก้วมุกดา ข่ายแก้วมณี ข่ายทองคำ ราคา 3 แสน
กระดึงเครื่องประดับที่ห้อย 2 ข้างราคา 2 แสน ผ้ากัมพลลาดบนหลังราคา
1 แสน อลังการคลุมกะพองราคา 1 แสน สายรัด 3 สายราคา 3 แสน

พู่เครื่องประดับที่หูทั้ง 2 ข้าง ราคา 2 แสน ปลอกเครื่องประดับงาทั้ง 2
ราคา 2 แสน วลัยเครื่องประดับทาบที่งวงราคา 1 แสน อลังการที่หาง ราคา
1 แสน เครื่องประดับอันตกแต่งงดงามที่กายช้าง ยกภัณฑะไม่มีราคารวมราคา
22 แสน เกยสำหรับขึ้น ราคา 1 แสน อ่างบรรจุของบริโภคเช่นหญ้าและ
น้ำ ราคา 1 แสน รวมเข้าด้วยอีก เป็นราคา 24 แสน ยังแก้วมณีที่กำพู
ฉัตร ที่ยอดฉัตร ที่สร้อยมุกดา ที่ขอ ที่สร้อยมุกดาผูกคอช้าง ที่กะพองช้าง
และที่ตัวพระยาช้าง รวม 7 เป็นของหาค่ามิได้ ได้พระราชทานทั้งหมดแก่
พราหมณ์ทั้งหลาย และพระราชทานคนบำรุงช้าง 500 สกุล กับทั้งควาญช้าง
คนเลี้ยงช้างด้วย ก็มหัศจรรย์มีแผ่นดินไหวเป็นต้น ได้มีแล้วพร้อมกับพระ-
เวสสันดรมหาราชทรงบริจาคมหาทาน โดยนัยอันกล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระบรมกษัตริย์ พระราชทานช้างตัว
ประเสริฐแล้วในกาลนั้น ความน่าสะพึงกลัวขนพอง
สยองเกล้าได้เกิดมี เมทนีดลก็หวั่นไหว เมื่อบรม
กษัตริย์พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ในกาลนั้น ได้
เกิดมีความน่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้า ชาวพระ-
นครกำเริบ ในเมื่อพระเวสสันดรบรมกษัตริย์ผู้ยังชาว
สีพีให้เจริญ พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ชาวบุรีก็
เกลื่อนกล่น เสียงอันอื้ออึงก็แผ่ไปมากมาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตทาสิ ได้แก่ ได้มีในเวลานั้น . บทว่า
หตฺถินาเค ได้แก่ สัตว์ประเสริฐคือช้าง. บทว่า ขุภิตฺถ นครํ ตทา
ความว่า ได้กำเริบแล้ว.

ได้ยินว่าพราหมณ์ทั้งหลายได้ช้างแถบประตูด้านทักษิณทิศ นั่งบนหลัง
มีมหาชนแวดล้อม ขับไปท่ามกลางพระนคร มหาชนเห็นแล้วกล่าวกะพราหมณ์
เหล่านั้นว่า แน่ะเหล่าพราหมณ์ผู้เจริญ ท่านขึ้นช้างของเราทั้งหลาย ท่านได้
มาแต่ไหน พราหมณ์เหล่านั้นตอบว่า ช้างนี้พระเวสสันดรมหาราชเจ้าพระ-
ราชทานแก่พวกเรา เมื่อโต้ตอบกะมหาชนด้วยวิการแห่งมือเป็นต้น พลาง
ขับไปท่ามกลางพระนคร ออกทางประตูทิศอุดร ชาวพระนครโกรธพระบรม-
โพธิสัตว์ ด้วยสามารถเทวดาดลใจให้คิดผิด จึงชุมนุมกันกล่าวติเตียนใหญ่แทบ
ประตูวัง.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เมื่อพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นของชาวสีพีให้เจริญ
พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ชาวบุรีก็เกลื่อนกล่น
เสียงอันกึกก้องก็แผ่ไปมากมาย ครั้งนั้น เมื่อพระ-
เวสสันดรพระราชทานช้างตัวประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึง
น่ากลัวเป็นอันมากก็เป็นในนครนั้น ในกาลนั้นชาว
พระนครก็กำเริบ ครั้งนั้น ในเมื่อพระเวสสันดรผู้
ผดุงสีพีรัฐให้เจริญรุ่งเรือง พระราชทานช้างตัว
ประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึงน่ากลัวเป็นอันมากก็เป็นไป
ในนครนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โฆโส ได้แก่ เสียงติเตียน. บทว่า
วิปุโล ได้แก่ ไพบูลย์เพราะแผ่ออกไป. บทว่า มหา ได้แก่ มากมาย
เพราะไปในเบื้องบน. บทว่า สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเน ได้แก่ การทำความ
เจริญเเก่แว่นแคว้นของประชาชนผู้อยู่ในแว่นแคว้นสีพี.
ครั้งนั้นชาวเมืองมีจิตตื่นเต้นเพราะพระเวสสันดรพระราชทานช้าง
สำคัญของบ้านเมือง จึงกราบทูลพระเจ้าสญชัย.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตรทั้งหลาย พ่อ
ค้า ชาวนาทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง
กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น
ประชุมกันแล้ว เห็นช้างลูกพราหมณ์ทั้ง 8 นำไป พวก
เหล่านั้นจึงกราบทูลพระเจ้าสญชัยให้ทรงทราบว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์อันพระ-
เวสสันดรกำจัดเสียแล้ว พระเวสสันดรพระโอรสของ
พระองค์พระราชทานช้างตัวประเสริฐของเราทั้งหลาย
ซึ่งชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ด้วยเหตุไร พระเวสสันดร
พระราชทานช้างของเราทั้งหลาย ซึ่งมีงาดุจงอนไถ
เป็นราชพาหนะรู้ชัยภูมิแห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่ว
สรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลืองซับ
มัน อาจย่ำยีศัตรูได้ฝึกดีแล้ว พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี
มีกายสีขาวเช่นกับเขาไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตร
ทั้งเครื่องลาดอันงาม ทั้งหมอ ทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยาน
อันเลิศ เป็นช้างพระที่นั่ง พระราชทานให้เป็นทรัพย์
แก่พราหมณ์ทั้ง 8 เสียด้วยเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคา ได้แก่ เด่น คือ รู้กันทั่ว คือ
ปรากฏ. บทว่า นิคโม ได้แก่ คนมีทรัพย์ชาวนิคม. บทว่า วิธมํ เทว
เต รฏฺฐํ
ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์ถูกกำจัด
เสียแล้ว. บทว่า กถํ โน หตฺถินํ ทชฺชา ความว่า พระราชทานช้างที่รู้สึก
กันว่าเป็นมงคลยิ่งของเราทั้งหลาย แก่พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ ด้วยเหตุไร.
บทว่า เขตฺตญฺญุํ สพฺพยุทฺธานํ ความว่า ผู้สามารถรู้ความสำคัญของชัยภูมิ

แห่งการยุทธ์แม้ทุกอย่าง. บทว่า ทนฺตึ ได้แก่ ประกอบด้วยการฝึกจนใช้ได้
ตามชอบใจ. บทว่า สวาลวีชนึ ได้แก่ ประกอบด้วยพัดวาลวีชนี. บทว่า
สุปตฺเถยฺยํ ได้แก่ พร้อมด้วยเครื่องลาด. บทว่า สาถพฺพนํ ได้แก่
พร้อมด้วยหมอช้าง. บทว่า สหตฺถิปํ ความว่า พร้อมด้วยคนเลี้ยงคือคน
บำรุงช้างและคนดูแลรักษาช้าง 500. สกุล. ก็และครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว
ได้กล่าวอย่างนี้อีกว่า
พระเวสสันดรนั้นควรพระราชทานข้าวน้ำและ
ผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสนาสนะ เพราะว่าของนั้นสมควรแก่
พราหมณ์ทั้งหลาย พระเวสสันดรนี้เป็นพระราชาสืบ
วงศ์มาแต่พระองค์ เป็นผู้ทำความเจริญแก่สีพีรัฐ ข้าแต่
พระเจ้าสญชัย พระเวสสันดรผู้พระราชโอรสพระราช
ทานช้างเสียทำไม ถ้าพระองค์จักไม่ทรงทำตามคำอัน
นี้ของชาวสีพี ชะรอยชาวสีพีจักพึงทำพระองค์กับ
พระราชโอรสไว้ในเงื้อมมือของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วํสราชาโน ได้แก่ เป็นมหาราชมา
ตามเชื้อสาย. บทว่า ภาเชติ ได้แก่ พระราชทาน. บทว่า สิวิหตฺเถ กริสฺ-
สเร
ความว่า ชนชาวสีพีรัฐทั้งหลายจักทำพระองค์กับพระราชโอรสในมือ
ของตน.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น ทรงสำคัญว่าชาวเมืองเหล่านี้จักปลง
พระชนม์พระเวสสันดร จึงตรัสว่า
ถึงชนบทจะไม่มี และแม้แว่นแคว้นจักพินาศไปก็
ตามเถิด เราก็ไม่พึงเนรเทศพระโอรสผู้หาความผิดมิได้
จากแคว้นของตนตามคำของชาวเมืองสีพี เพราะลูก
เกิดแต่อุระของเรา และเราไม่พึงประทุษร้ายในโอรส

นั้น เพราะเธอเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรอันประ-
เสริฐ แม้คำติเตียนจะพึงมีแก่เรา และเราจะพึง
ได้บาปเป็นอันมาก ฉะนั้นเราจะฆ่าลูกเวสสันดรด้วย
ศัสตราได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสิ ตัดบทเป็น มา อโหสิ
ความว่า จงอย่าเป็น. บทว่า อริยสีเลวโต ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลและ
วัตรอันประเสริฐ คือสมาจารสมบัติอันประเสริฐ. บทว่า ฆาตยามเส ได้แก่
จักฆ่า. บทว่า ทุพฺเภยฺยํ ความว่า ลูกของเราไม่มีโทษ คือปราศจากความผิด.
ชาวสีพีได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า
พระองค์อย่าประหารพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อน
ไม้และศัสตรา เพราะพระปิโยรสนั้นหาควรแก่เครื่อง
พันธนาการไม่ พระองค์จงขับพระเวสสันดรนั้นเสีย
จากแคว้น พระเวสสันดรจงประทับอยู่ ณ เขาวงกต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา นํ ทณฺเฑน สตฺเถน ความว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าทรงประหารพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อนไม้หรือ
ด้วยศัสตรา. บทว่า น หิ โส พนฺธนารโห ความว่า พระเวสสันดรนั้น
เป็นผู้ไม่ควรแก่พันธนาการเลยทีเดียว.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนี้ จึงตรัสว่า
ถ้าชาวสีพีพอใจอย่างนี้ เราก็ไม่ขัดความพอใจ
ขอโอรสของเราจงอยู่ตลอดราตรีนี้ และจงบริโภค
กามารมณ์ทั้งหลาย แต่นั้นเมื่อราตรีสว่างแล้ว ดวง
อาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีจงพร้อมกันขับโอรสของเรา
จากแว่นแคว้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสตุ ความว่า พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
ลูกเวสสันดรจงอยู่ให้โอวาทแก่บุตรและทาระ พวกเจ้าจงให้โอกาสเธอราตรี
หนึ่ง.
ชาวเมืองสีพีรับพระราชดำรัสว่า พระโอรสนั้นจงยับยั้งอยู่สักราตรีหนึ่ง.
ลำดับนั้นพระเจ้าสญชัยส่งชาวเมืองเหล่านั้น ให้กลับไปแล้ว เมื่อจะส่งข่าวแก่
พระโอรสจึงตรัสเรียกนายนักการมาส่งไปสำนักพระโอรส นายนักการรับพระ-
ราชกระแสรับสั่งแล้วไปสู่พระนิเวศน์แห่งพระเวสสันดรกราบทูลประพฤติเหตุ.
เมื่อพระศาสดาจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แน่ะนายนักการ เจ้าจงลุก รีบไปบอกลูกเวสสันดร
ว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชาวสีพีและชาวนิคมขัดเคือง
พระองค์ มาประชุมกัน พวกคนที่มีชื่อเสียงและพระ-
ราชบุตรทั้งหลาย พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย
ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม
ชาวสีพีทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว
ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีทั้งหลายพร้อมกันขับ
พระองค์จากแว่นแคว้น นายนักการนั้นอันพระเจ้ากรุง
สีพีส่งไป ก็สวมสรรพาภรณ์ นุ่งห่มดีแล้ว ประพรม
ด้วยแก่นจันทน์ เขาสนานศีรษะในน้ำแล้วสวมกุณฑล
มณี ไปสู่วังอันน่ารื่นรมย์ซึ่งเป็นพระนิเวศนี้แห่งพระ
เวสสันดร เขาได้เห็นพระเวสสันดรรื่นรมย์อยู่ในวัง
ของพระองค์นั้น ซึ่งเกลื่อนไปด้วยเสวกามาตย์ ดุจท้าว
วาสวะของเทพเจ้าชาวไตรทศ นายนักการนั้นไป ณ ที่

นั้นได้กราบทูลพระเวสสันดรผู้รื่นรมย์อยู่ว่า ข้าแต่
พระจอมพล ข้าพระบาทจักทูลความทุกข์ของพระองค์
ขอพระองค์อย่ากริ้วข้าพระบาท นักการนั้นถวาย
บังคมแล้วร้องไห้ กราบทูลพระเวสสันดรว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยงข้าพระบาท เป็น
ผู้นำมาซึ่งรสคือความใคร่ทั้งปวง ข้าพระบาทจักกราบ
ทูลความทุกข์ของพระองค์ เมื่อข่าวแสดงความทุกข์
อันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาททรงยัง
ข้าพระบาทให้ยินดี ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ชาว
สีพีและชาวนิคมขัดเคืองพระองค์ มาประชุมกัน พวก
คนที่มีชื่อเสียง และพระราชบุตรทั้งหลาย และพวก
พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า
กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น ประชุม
กันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว
ชาวสีพีทั้งลาย พร้อมกันขับพระองค์จากแว่นแคว้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมารํ ได้แก่ พระราชาที่นับว่าเป็น กุมาร
เพราะยังมีพระมารดาและพระบิดา. บทว่า รมฺนานํ ได้แก่ ผู้ประทับนั่งตรัส
สรรเสริญทานที่พระองค์ให้แล้ว มีความโสมนัส. บทว่า อมจฺเจหิ ได้แก่
แวดล้อมไปด้วยเหล่าอำมาตย์ผู้สหชาติประมาณหกหมื่นคน ประทับนั่งเหนือ
พระราชอาสน์ภายใต้เศวตฉัตรยกขึ้นแล้ว. บทว่า เวทยิสฺสามิ ได้แก่
จักกราบทูล. บทว่า ตตฺถ อสฺสายนฺตุ มํ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ
เมื่อข่าวแสดงความทุกข์นั้นอันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาทโปรดยัง
ข้าพระองค์ให้ยินดี คือขอพระองค์โปรดตรัสกะข้าพระบาทว่า เจ้าจงกล่าว
ตามสบายเถิด นักการกล่าวอย่างนั้น ด้วยความประสงค์ดังนี้.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า
ชาวสีพีขัดเคืองเราผู้ไม่เห็นความผิดในเพราะ
อะไร แน่ะนักการ ท่านจงแจ้งความผิดนั้นแก่เรา
ชาวเมืองทั้งหลายจะขับไล่เราเพราะเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺมึ ได้แก่ ในเพราะเหตุอะไร. บทว่า
วิยาจิกฺข ความว่า จงกล่าวโดยพิสดาร.
นักการกราบทูลว่า
พวกคนมีที่ชื่อเสียงและพระราชบุตรทั้งหลาย
พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า
กองรถ กองราบ ขัดเคืองพระองค์เพราะพระราชทาน
คชสารตัวประเสริฐ ฉะนั้นพวกเขาจึงขับพระองค์เสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขียนฺติ แปลว่า ขัดเคือง.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงโสมนัสตรัสว่า
ดวงหทัยหรือจักษุ เราก็ให้ได้ จะอะไรกะทรัพย์
นอกกายของเรา คือ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์หรือ
แก้วมณี ในเมื่อยาจกมาแล้ว เราได้เห็นเขาแล้ว พึง
ให้พาหาเบื้องขวาเบื้องซ้ายก็ได้ เราไม่พึงหวั่นไหว
เพราะใจของเรายินดีในการบริจาค ปวงชาวสีพีจึงขับ
ไล่หรือฆ่าเราเสียก็ตาม พวกเขาจะตัดเราเสียเป็น 7
ท่อนก็ตามเถิด เราจักไม่งดเว้นจากการบริจาคเป็น
อันขาด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจกมาคเต ความว่า เมื่อยาจกมาแล้ว
ได้เห็นยาจกนั้น บทว่า เนว ทานา วิรมิสฺสํ ความว่า จักไม่งดเว้นจาก
การบริจาคเป็นอันขาด.

นักการได้ฟังดังนั้น เมื่อจะกราบทูลข่าวอย่างอื่นตามมติของตน ซึ่ง
พระเจ้าสญชัยหรือชาวเมืองมิได้ให้ทูลเลย จึงกราบทูลว่า
ชาวสีพีและชาวนิคมประชุมกันกล่าวอย่างนี้ว่า
พระเวสสันดรผู้มีวัตรอันงาม จงเสด็จไปสู่ภูผาอันชื่อ
ว่า อารัญชรคีรี ตามฝั่งแห่งแม่น้ำโกนติมารา ตาม
ทางที่พระราชาผู้ถูกขับไล่เสด็จไปนั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนฺติมาราย ได้แก่ ตามฝั่งแห่งแม่น้ำ
ชื่อว่าโกนติมารา. บทว่า คิริมารญฺชรํ ปติ ความว่า เป็นผู้มุ่งตรงภูผาชื่อว่า
อารัญชร. บทว่า เยน ความว่า นักการกราบทูลว่า ชาวสีพีทั้งหลายกล่าว
อย่างนี้ว่า พระราชาทั้งหลายผู้บวชแล้วย่อมไปจากแว่นแคว้นโดยทางใด แม้
พระเวสสันดรผู้มีวัตรงดงามก็จงเสด็จไปทางนั้น ได้ยินว่า นักการนั้นถูก
เทวดาดลใจจึงกล่าวคำนี้.
พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงมีพระราชดำรัสว่า สาธุ เราจักไป
โดยมรรคาที่เสด็จไปแห่งพระราชาทั้งหลายผู้รับโทษ ก็แต่ชาวเมืองทั้งหลายมิได้
ขับไบ่เราด้วยโทษอื่น ขับไล่เราเพราะเราให้คชสารเป็นทาน เมื่อเป็นเช่นนี้
เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทานสักหนึ่งวัน ชาวเมืองจงให้โอกาสเพื่อเราได้ให้
ทานสักหนึ่งวัน รุ่งขึ้นเราให้ทานแล้วจักไปในวันที่ 3 ตรัสฉะนี้แล้วตรัสว่า
เราจักไปโดยมรรคาที่พระราชาทั้งหลายผู้ต้อง
โทษเสด็จไป ท่านทั้งหลายงดโทษให้เราสักคืนกับ
วันหนึ่ง จนกว่าเราจะได้บริจาคทานก่อนเถิด.

นักการได้ฟังดังนั้นแล้วกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระบาท
จักแจ้งความนั้นแก่ชาวพระนครและแด่พระราชา ทูลฉะนี้แล้วหลีกไป
พระมหาสัตว์ส่งนักการนั้นไปแล้ว จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า
ดำรัสให้จัดสัตตสดกมหาทานว่า พรุ่งนี้เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทาน ท่าน

จงจัดช้าง 700 เชือก ม้า 700 ตัว รถ 700 คัน สตรี 700 คน โคนม
700 ตัว ทาส 700 คน ทาสี 700 คน จงตั้งไว้ซึ่งข้าวน้ำเป็นต้นมีประการ
ต่างๆ สิ่งทั้งปวงโดยที่สุดแม้สุราซึ่งเป็นสิ่งไม่ควรให้ แล้วส่งอำมาตย์ทั้งหลาย
ให้กลับ แล้วเสด็จไปที่ประทับพระนางมัทรีแต่พระองค์เดียว ประทับนั่งข้าง
พระยีภู่อันเป็นสิริ ตรัสกับพระนางนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ตรัสเรียกพระนางมัทรี
ผู้งามทั่วสรรพางค์นั้นมาว่า พัสดุอันใดอันหนึ่งที่ฉัน
ให้เธอ ทั้งทรัพย์อันประกอบด้วยสิริ เงิน ทอง มุกดา
ไพฑูรย์มีอยู่มาก และสิ่งใดที่เธอนำมาแต่พระชนก
ของเธอ เธอจงเก็บสิ่งนั้นไว้ทั้งหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิทเหยฺยาสิ ความว่า เธอจงเก็บขุม
ทรัพย์ไว้. บทว่า เปติกํ ได้แก่ ที่เธอนำมาแต่ฝ่ายพระชนก.
พระราชบุตรีพระนามว่ามัทรีผู้งามทั่วพระกายจึง
ทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ จะโปรดให้เก็บทรัพย์
ทั้งนั้นไว้ในที่ไหน ขอพระองค์รับสั่งแก่หม่อมฉันผู้
ทูลถามให้ทราบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ทูลกระหม่อม
เวสสันดรพระสวามีของเราไม่เคยตรัสว่า เธอจงเก็บทรัพย์ตลอดกาลมีประมาณ
เท่านี้ เฉพาะคราวนี้พระองค์ตรัส เราจักทูลถามทรัพย์นั้นจะโปรดให้เก็บ
ไว้ในที่ไหนหนอ พระนางมัทรีมีพระดำริดังนี้จึงได้ทูลถามดังนั้น.
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงบริจาคทานในท่าน
ผู้มีศีลทั้งหลายตามควร เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง
อย่างอื่นยิ่งกว่าทานการบริจาคย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺเชสิ ความว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ
เธออย่าได้เก็บทรัพย์ไว้ในที่มีพระคลังเป็นต้น เมื่อจะเก็บเป็นชุมทรัพย์ที่จะติด
ตามตัวไป พึงถวายในท่านผู้มีศีลทั้งหลายในแว่นแคว้นของเรา. บทว่า น หิ
ทานา ปรํ
ความว่า ขึ้นชื่อว่าที่พึ่งอาศัยที่ยิ่งในรูปกว่าทาน ย่อมไม่มี.
พระนางมัทรีรับพระดำรัสว่า สาธุ. ครั้งนั้นพระบรมโพธิสัตว์เมื่อจะ
ประทานพระราโชวาทแก่พระนางให้ยิ่งขึ้นจึงตรัสว่า
ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงเอ็นดูในโอรสและ
ธิดากับทั้งพระสัสสุและพระสสุระ กษัตริย์ใดมาสำคัญ
ว่าจะเป็นภัสดาเธอ เธอจงบำรุงกษัตริย์นั้นโดยเคารพ
ถ้าว่าไม่มีใครสำคัญว่าจะเป็นภัสดาเธอ เพราะเธอไม่
ได้อยู่กับฉัน เธอจงแสวงหาภัสดาอื่น เธออย่าลำบาก
เพราะพรากจากฉันเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทเยสิ ความว่า พึงเอ็นดูกระทำความ
เมตตา. บทว่า โย จ ตํ ภตฺตา มญฺเญยฺย ความว่า แน่ะนางผู้เจริญ
เมื่อฉันไปแล้วกษัตริย์ใดมาสำคัญว่า เราจักเป็นภัสดาของเธอ เธอพึงบำรุง
กษัตริย์แม้นั้นโดยเคารพ. บทว่า มยา วิปฺปวเสน เต ความว่า ถ้าใคร ๆ ไม่
สำคัญเธอว่า เราจักเป็นภัสดาของเธอ เพราะเธอไม่ได้อยู่กับฉัน เมื่อเป็น
เช่นนั้นเธอจงแสวงหาภัสดาอื่นด้วยตนเองนั่นแล. บทว่า มา กิลิตฺถ มยา
วินา
ความว่า เธอพรากจากฉันแล้วอย่าลำบาก คือจงอย่าลำบาก.
ครั้งนั้นพระนางมัทรีมีพระดำริว่า พระเวสสันดรผู้ภัสดาตรัสพระวาจา
เห็นปานนี้ เหตุเป็นอย่างไรหนอ จึงกราบทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์
ตรัสพระวาจาอันไม่สมควรตรัสนี้เพราะเหตุไร ลำดับนั้นพระเวสสันดรจึงตรัส
ตอบพระนางว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ ชาวสีพีขัดเคืองเพราะฉันให้ช้าง

จึงขับไล่ฉันจากแว่นแคว้น พรุ่งนี้ฉันจักให้สัตตสดกมหาทาน จักออกจาก
พระนครในวันที่ 3 ตรัสฉะนี้แล้ว ตรัสว่า
ฉันจักไปป่าที่น่ากลัว ประกอบด้วยพาลมฤค
ฉันผู้เดียวอยู่ในป่าใหญ่ มีชีวิตน่าสงสัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํสโย ความว่า เมื่อฉันผู้สุขุมาลชาติ
โดยส่วนเดียว อยู่ในป่าที่มีศัตรูไม่น้อยจะมีชีวิตอยู่แต่ไหน ฉันจักตายเสียเป็น
แน่ พระเวสสันดรตรัสอย่างนั้นด้วยความประสงค์ดังนี้
พระราชบุตรพระนามว่ามัทรีผู้งามทั่วสรรพางค์
ได้กราบทูลลามพระราชสวามีว่า พระองค์ตรัสพระวาจา
ซึ่งไม่เคยมีหนอ ตรัสวาจาชั่วแท้ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์เสด็จไปแต่พระองค์เดียวไม่สมควร แม้หม่อม
ฉันก็จักโดยเสด็จด้วย ความตายกับด้วยพระองค์ หรือ
พรากจากพระองค์เป็นอยู่ สองอย่างนี้ตายนั่นแลประ-
เสริฐกว่า พรากจากพระองค์เป็นอยู่จะประเสริฐอะไร
ก่อไฟให้ลุกโพลงมีเปลวเป็นอันเดียวกัน แล้วตายเสีย
ในไฟนั้นประเสริฐกว่า พรากจากพระองค์จะประเสริฐ
อะไร นางช้างพังไปตามช้างพลายตัวประเสริฐอยู่ในป่า
เที่ยวอยู่ตามภูผาทางกันดารสถานที่เสมอแลไม่เสมอ ฉัน
ใด หม่อนฉันจะพาบุตรและบุตรีตามเสด็จไปเบื้องหลัง
ฉันนั้น หม่อมฉันจักเป็นผู้ที่เลี้ยงง่ายของพระองค์ จัก
ไม่เป็นผู้ที่เลี้ยงยากของพระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภุมฺเม ความว่า พระองค์ตรัสแก่หม่อม
ฉันถึงพระวาจาซึ่งไม่เคยมีหนอ. บทว่า คจฺเฉยฺย แปลว่า เสด็จไป. บทว่า
เนส ธมฺโม ความว่า นั่นไม่ใช่สภาวะ คือนั่นมิใช่เหตุ. บทว่า ตเทว

ความว่า หม่อนฉันตายกับด้วยพระองค์นั่นแล ประเสริฐกว่า. บทว่า ตตฺถ
ได้แก่ ในเชิงตะกอนไม้ที่มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน. บทว่า เชสฺสนฺตํ แปล
ว่า เที่ยวไปอยู่.
พระนางมัทรีราชกัญญากราบทูลพระภัสดาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงพรรณนา
ถึงหิมวันตประเทศ ซึ่งเป็นประหนึ่งว่าได้เคยทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงตรัสว่า
เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกุมารทั้งสองนี้ ผู้
มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก นั่งอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า
เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ
เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มี
เสียงไพเรา พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จัก
ไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระ-
เนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มีเสียงไพเราะ พูดจา
น่ารัก ที่อาศรมรัมณียสถาน จักไม่ทรงระลึกถึงราช
สมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง
สองนี้ ผู้มีเสียงไพเราะ พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ ณ
อาศรมรัมณียสถาน จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ,
เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้
ทรงมาลาประดับพระองค์ ณ อาศรมรัมณียสถาน จัก
ไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระเนตร
เห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ทรงมาลาประดับพระองค์
เล่นอยู่ ณ อาศรมเป็นที่รื่นรมย์ จักไม่ทรงระลึกถึงราช
สมบัติ เมื่อใดพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกุญชรชาติ
มาตังคะ อายุล่วง 60 ปี เที่ยวอยู่ในป่าตัวเดียว เมื่อ
นั้นจักทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด พระองค์ทอด

พระเนตรเห็นกุญชรชาติมาตังคะ มีวัยล่วง 60 ปี
เที่ยวไปในเวลาเย็น ในเวลาเช้า เมื่อนั้นจักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด กุญชรชาติมาตังคะ มีวัย
ล่วง 60 ปี เดินนำหน้าโขลงช้างพังไป ส่งเสียงร้อง
กึกก้องโกญจนาท พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้องของ
ช่างที่บันลือก้องอยู่นั้น เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราช
สมบัติ, เมื่อใดพระองค์ผู้พระราชทานความใคร่แก่
หม่อมฉัน ทอดพระเนตรชัฏไพรเป็นหมู่ไม้ทั้ง 2 ข้าง
มรรคา อันเกลื่อนไปด้วยพาลมฤค เมื่อนั้นจักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ, พระองค์จักทอดพระเนตรเห็น
มฤคผู้มาเป็นแถว ๆ แถวละ 5 ตัว และเหล่ากินนร
ผู้ฟ้อนอยู่ในเวลาเย็น ก็จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ,
เมื่อใดพระองค์ได้ทรงฟังเสียงกึกก้องแห่งกระแสใน
แม่น้ำไหล และเสียงขับร้องแห่งฝูงกินนร เมื่อนั้น
พระองค์จักระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ทรง
สดับเสียงร้องของนกเค้าที่เที่ยวอยู่ตามซอกเขา เมื่อ
นั้นพระองค์จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด
พระองค์จักได้ทรงสดับเสียงแห่งสัตว์ร้ายในป่า คือ
ราชสีห์ เสือโคร่ง แรด โคลาน เมื่อนั้นก็จักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตร
เห็นนกยูงผู้ปกคลุมด้วยแพนทางจับอยู่ที่ยอดเขาเกลื่อน
ไปด้วยนางนกยูงทั้งหลายรำแพนอยู่ เมื่อนั้นจักไม่
ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระ-
เนตรนกยูงผู้เกลื่อนด้วยฝูงนางนกยูง มีแพนหางอัน

วิจิตรรำแพนอยู่ เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ,
เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรนกยูงมีขนคอเขียวมี
หงอนเลื่อนไปด้วยฝูงนางนกยูงรำแพนอยู่ เมื่อนั้น
ก็จักไม่ทรงระลึก ถึงราชสมบัติ. เมื่อใดพระองค์ทอด
พระเนตรเห็นเหล่าพฤกษชาติอันบานแล้ว ส่งกลิ่นหอม
ฟุ้งในเหมันตฤดู และพื้นดินเขียวชอุ่มปกคลุมไปด้วย
แมลงค่อมทองในเดือนเหมันต์ เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึก
ถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น
รุกขชาติอันมีดอกบานสะพรั่ง คืออัญชันเขียวที่กำลัง
ผลิยอดอ่อน ต้นโลท และบัวบกมีดอกบ้านสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมฟุ้งในเหมันตฤดู เมื่อนั้นก็จักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ. เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตร
เห็นหมู่ไม่มีดอกบานสะพรั่ง และปทุมชาติมีดอกร่วง
หล่นในเดือนฤดูเหมันต์ เมื่อนั้นก็จักไม่ทรงระลึก
ถึงราชสมบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺชุเก ได้แก่ มีเสียงไพเราะ มีถ้อย
คำไพเราะ. บทว่า กเรณุสํฆสฺส ได้แก่ หมู่ช้างพัง บทว่า ยูถสฺส ได้
แก่ ไปข้างหน้าโขลงช้าง. บทว่า อุภโต ได้แก่ ทั้งสองข้างมรรคา. บทว่า
วนวิกาเส ได้แก่ ชัฏไพร. บทว่า กามทํ ได้แก่ ผู้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทุก
อย่างแก่หม่อมฉัน. บทว่า สินฺธุยา ได้แก่ แม่น้ำ. บทว่า วสมานสฺสุ-
ลูกสฺส
ได้แก่ นกเค้าผู้อยู่. บทว่า พาฬานํ ได้แก่ พาลมฤคทั้งหลาย
ด้วยว่าเสียงของกินนรเหล่านั้นเป็นราวกะเสียงดนตรีเครื่อง 5 จักมีในเวลาเย็น
เพราะเหตุนั้นพระนางมัทรีจึงทูลว่า พระองค์ทรงสดับเสียงของกินนรเหล่านั้น
แล้วจักทรงลืมราชสมบัติ. บทว่า วรหํ ได้แก่ ปกคลุมด้วยแพนหาง บทว่า

มตฺถกาสินํ ได้แก่ จับอยู่ที่ยอดบรรพตเป็นนิจ. ปาฐะว่า มตฺตกาสินํ ก็
มี ความว่า เป็นผู้เมาด้วยความเมาในกามจับอยู่. บทว่า พิมฺพชาลํ ได้แก่
ใบอ่อนแดง. บทว่า โอปุปฺผานิ ได้แก่ มีดอกห้อยลง คือมีดอกร่วงหล่น.
พระนางมัทรีทรงพรรณนาถึงหิมวันตประเทศ. ด้วยคาถามีประมาณ
เท่านี้ ประหนึ่งพระองค์เคยเสด็จประทับอยู่ ณ หิมวันตประเทศแล้วฉะนั้น
ด้วยประการฉะนี้.
จบหิมวันตวรรณนา

ทานกัณฑ์


แม้พระนางผุสดีราชเทวีมีพระดำริว่า ข่าวเดือดร้อนมาถึงลูกของเรา
ลูกของเราจะทำอย่างไรหนอ เราจักไปให้รู้ความ จึงเสด็จไปด้วยสิวิกากาญจน์
ม่านปกปิดประทับที่ทวารห้องบรรทมอันมีสิริ ได้ทรงสดับเสียงสนทนาแห่ง
กษัตริย์ทั้งสองคือพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ก็พลอยทรงกันแสงคร่ำครวญ
อย่างน่าสงสาร
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระผุสดีราชบุตรีพระเจ้ามัททราช ผู้ทรงยศได้
ทรงสดับพระราชโอรสและพระสุณิสาทั้งสองปริเทวนา
การ ก็ทรงพลอยคร่ำครวญละห้อยไห้ว่า เรากินยาพิษ
เสียดีกว่า เราโดดเหวเสียดีกว่า เอาเชือกผูกคอตาย
เสียดีกว่า เหตุไฉนชาวสีพีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้
ไม่มีความผิด เหตุไฉนชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้า
เวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษไม่ผิด ผู้รู้ไตรเพทเป็นทาน
บดี ควรแก่การขอ ไม่ตระหนี่ เหตุไฉนชาวนครสีพี
จึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด อัน
พระราชาต่างด้าวทั้งหลายบูชา มีเกียรติยศ เหตุไฉน