เมนู

อรรถกถามหานิบาต



มหาชนกชาดก


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ
มหาภิเนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โก ยํ มชฺเฌ สมุทฺทสฺมึ
ดังนี้เป็นต้น.
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนามหาภิเนกขัมมบารมี
ของพระตถาคต ในโรงธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายประชุมเจรจากันถึงเรื่องอะไร เนื้อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้
เท่านั้น ที่ตถาคตออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ แม้ในกาลก่อน เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์
อยู่ ตถาคตก็ได้ออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่เหมือนกัน ตรัสดังนี้ แล้วทรงดุษณีภาพ
อยู่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงเล่าเรื่อง จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดง
ดังต่อไปนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า มหาชนก
ครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ พระเจ้ามหาชนกราชนั้น มีพระ-
ราชโอรสสองพระองค์ คือ อริฏฐชนกพระองค์หนึ่ง โปลชนกพระองค์หนึ่ง
ในสองพระองค์นั้น พระราชาพระราชทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส
องค์พี่ พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่พระราชโอรสองค์น้อง กาลต่อมา
พระมหาชนกราชสวรรคต พระอริฏรชนกได้ครองราชสนบัติ ทรงตั้งพระ-
โปลชนกผู้กนิษฐภาดาเป็นอุปราช อมาตย์คนหนึ่งผู้ใกล้ชิดพระราชา ไปเฝ้า
พระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ พระอุปราชใคร่จะปลงพระชนม์พระองค์

พระอริฏฐชนกราชทรงสดับคำบ่อย ๆ ก็ทำลายความสิเนหาพระอนุชา ให้จำ
พระโปลชนกมหาอุปราชด้วยเครื่องจองจำ ให้อยู่ในคฤหาสน์หลังหนึ่งใกล้
พระราชนิเวศ มีผู้คุมรักษา พระกุมารโปลชนกทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้า
ข้าพเจ้าก่อเวรต่อพระเชษฐา เครื่องจองจำจงอย่าหลุดจากมือและเท้าของ
ข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงอย่าเปิด ถ้าข้าพเจ้ามิได้ก่อเวรต่อพระเชษฐา เครื่อง
จองจำจงหลุดจากมือและเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงเปิด เครื่องจองจำได้
หักเป็นท่อน ๆ แม้ประตูก็เปิดในทันใดนั้น ต่อนั้นพระโปลชนกก็เสด็จออก
ไปยังปัจจันตคามแห่งหนึ่ง ประทับอยู่ที่ปัจจันตคามนั้น ชาวปัจจันตคามจำ
พระองค์ได้ก็บำรุงพระองค์ ครั้งนั้น พระอริฏฐชนกราชไม่สามารถจะจับ
พระองค์ได้ พระโปลชนกนั้น ได้ทำปัจจันตชนบทให้อยู่ในอำนาจโดยลำดับ
เป็นผู้มีบริวารมาก ทรงคิดว่า เมื่อก่อนเรามีได้ก่อเวรต่อพระเชษฐาของเรา
แต่บัดนี้เราจะก่อเวรละ ทรงให้ประชุมพลนิกาย แวดล้อมไปด้วยมหาชน
ออกจากปัจจันตคามถึงกรุงมิถิลาโดยลำดับ ให้ตั้งค่ายพักแรมกองทัพอยู่นอก
พระนคร ครั้งนั้น เหล่าทหารชาวมิถิลานครทราบว่า พระโปลชนกเสด็จมา
ก็ขนยุทโธปกรณ์มีพาหนะช้างเป็นต้น มายังสำนักของพระโปลชนกนั้น โดยมาก
แม้ชาวนครคนอื่น ๆ ก็พากันมาเข้าด้วย พระโปลชนกส่งสาส์นไปถวายพระ-
เชษฐาว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์มิได้ก่อเวรต่อพระองค์ แต่บัดนี้ ข้าพระองค์
จะก่อเวรละ พระองค์จะประทานเศวตฉัตรแก่ข้าพระองค์ หรือจะรบ พระราชา
อริฏฐชนกทรงสดับดังนั้น ปรารถนาจะรบ จึงตรัสเรียกพระอัครมเหสีมาตรัส
ว่า ที่รัก ในการรบชนะหรือแพ้ ไม่อาจจะรู้ได้ ถ้าฉันมีอันตราย เธอพึง
รักษาครรภ์ให้ดี ตรัสฉะนี้แล้วเสด็จกรีธาทัพออกจากพระนคร ครั้งนั้นทหาร
ของพระโปลชนกยังพระอริฏฐชนกราชให้ถึงชีพตักษัยในที่รบ ชาวพระนคร

ทั้งสิ้นรู้ว่า พระราชาสวรรคตแล้ว ก็เกิดโกลาหลกันทั่วไป ฝ่ายพระเทวีทรง
ทราบว่า พระราชสวามีสวรรคตแล้ว ก็รีบเก็บสิ่งของสำคัญมีทองเป็นต้น ใส่ใน
กระเช้า เอาผ้าเก่า ๆ ปูปิดไว้แล้วใส่ข้าวสารข้างบน ทรงนุ่งภูษาเก่าเศร้าหมอง
ปลอมพระกายของพระองค์ วางกระเช้าบนพระเศียร เสด็จออกจากพระนครแต่
กลางวันทีเดียว ไม่มีใครจำพระนางได้ พระนางเสด็จออกทางประตูทิศอุดร
ไม่รู้จักมรรคา เพราะไม่เคยเสด็จไปในที่ไหน ๆ ไม่อาจกำหนดทิศ จึงประทับ
ที่ศาลาแห่งหนึ่งคอยตรัสถามว่า มีคนเดินทางไปนครกาลจัมปากะไหม เพราะ
เคยทรงสดับว่า มีนครกาลจัมปากะเท่านั้น ก็สัตว์ในครรภ์ของพระเทวีนั้น
มิใช่สัตว์สามัญ แต่เป็นพระมหาสัตว์ผู้มีพระบารมีเต็มแล้วมาบังเกิด ด้วย
เดชานุภาพแห่งพระมหาสัตว์นั้น บันดาลให้ภพของท้าวสักกเทวราชสำแดง
อาการร้อน ท้าวสักกเทวราชทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุนั้น ทรงดำริว่า
สัตว์ที่บังเกิดในพระครรภ์ของพระเทวีมีบุญมาก เราควรจะไปในที่นั้น จึง
เนรมิตเกวียนมีเครื่องปกปิด จัดตั้งเตียงไว้ในเกวียนนั้น เนรมิตตนเหมือน
คนแก่ ขับเกวียนไปหยุดอยู่ที่ประตูศาลาที่พระเทวีประทับอยู่. ทูลถามพระเทวี
ว่า มีผู้ที่จะไปนครกาลจัมปากะบ้างไหม พระเทวีได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าจักไป ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น แม่จงขึ้นนั่งบนเกวียน
เถิด พระเทวีเสด็จออกมาตรัสว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้ามีครรภ์แก่ ไม่อาจจะ
ขึ้นเกวียนไปได้ จักขอเดินตามพ่อไปเท่านั้น แต่พ่อช่วยรับกระเช้าของข้าพเจ้านี้
ขึ้นเกวียนไปด้วย ท้าวสักกะตรัสว่า แม่พูดอะไร คนที่รู้จักขับเกวียนเช่น
ข้าพเจ้าไม่มี แม่อย่ากลัวเลย ขึ้นนั่งบนเกวียนเถิดแม่ ด้วยอานุภาพแห่ง
พระโอรสของพระองค์ ในกาลที่พระเทวีจะเสด็จขึ้นเกวียน แผ่นดินได้นูนขึ้น
ดุจผิวละออง เต็มด้วยลมฟุ้งขึ้นฉะนั้น ตั้งจดท้ายเกวียน พระเทวีเสด็จขึ้น
บรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ ทรงทราบว่า นี้จักเป็นเทวดา พระนางได้
หยั่งลงสู่นิทรา เพราะได้บรรทมบนพระที่อันเป็นทิพย์.

ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงขับเกวียนถึงแม่น้ำ แห่งหนึ่ง ไกลราว
สามสิบโยชน์ จึงปลุกพระเทวีแล้วตรัสว่า แม่จงลงจากเกวียนนี้อาบน้ำในแม่
น้ำ จงนุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง ที่วางอยู่เหนือศีรษะนั้น จงหยิบของกินที่มีอยู่ภายใน
เกวียนนั้นมากินเถิด พระเทวีทรงทำตามอย่างนั้น แล้วบรรทมต่อไปอีก ก็ลุ
ถึงนครกาลจัมปากะในเวลาเย็น ทอดพระเนตรเห็นประตูหอรบและกำแพง
พระนคร จงตรัสถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พ่อ เมืองนี้ชื่ออะไร ท้าวสักกะตรัส
ตอบว่า นครกาลจัมปากะ แม่ พระเทวีตรัสค้านว่า พูดอะไร พ่อ นคร-
กาลจัมปากะอยู่ห่างจากนครของพวกเราถึงหกสิบโยชน์มิใช่หรือ ท้าวสักกะ
ตรัสว่า ถูกแล้ว แม่ แต่ตารู้จักหนทางตรง ครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชให้พระ
เทวีลงจากเกวียน ณ ที่ใกล้ประตู ด้านทิศทักษิณ ตรัสบอกว่า บ้านของตา
อยู่ข้างหน้า แต่แม่จงเข้าไปสู่นครนี้ ตรัสดังนี้แล้วเสด็จไปเหมือนไปข้างหน้า
ได้หายตัวไปยังที่ประทับของพระองค์ ส่วนพระเทวีก็ประทับนั่งอยู่ที่ศาลาแห่ง
หนึ่ง.
ขณะนั้น มีพราหมณ์ผู้เพ่งมนต์คนหนึ่งชาวนครกาลจัมปากะ เป็นทิศา-
ปาโมกข์ มาณพประมาณห้าร้อยคน แวดล้อมเดินไปเพื่ออาบน้ำ แลดูมา
แต่ไกลเห็นพระเทวีนั้น มีพระรูปงามยิ่งสมบูรณ์ด้วยความงามเป็นเลิศ ประทับ
นั่งอยู่ ณ ศาลานั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ผู้บังเกิดในพระครรภ์ของ
พระเทวี พอเห็นเท่านั้น ก็เกิดสิเนหาราวกะว่าเป็นน้องสาวของตน จึงให้
เหล่ามาณพพักอยู่ภายนอก เข้าไปในศาลาแต่ผู้เดียวถามว่า น้องหญิง แม่เป็น
ชาวบ้านไหน พระเทวีตรัสตอบว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าเป็นอัครมเหสีของพระ
อริฏฐชนกราช กรุงมิถิลา พราหมณ์ถามว่า แม่มาที่นี้ทำไม พระเทวีตรัส
ตอบว่า พระอริฏฐชนกราชถูกพระโปลชนกปลงพระชนม์ เมื่อเป็นเช่นนี้
ข้าพเจ้ากลัวภัยจึงหนีมา ด้วยคิดว่า จักรักษาครรภ์ไว้ พราหมณ์ถามว่า ก็ใน

พระนครนี้ มีใครที่เป็นพระญาติของเธอหรือ พระเทวีตรัสตอบว่า ไม่มี พ่อ
พราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธออย่าวุ่นใจไปเลย ข้าพเจ้าอุทิจจพราหมณ์
มหาศาล
เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ข้าพเจ้าจักตั้งเธอไว้ ในที่เป็นน้องสาว
ปฏิบัติดูแลเธอ เธอจงกล่าวกะข้าพเจ้าว่า ท่านเป็นพี่ชาย แล้วจับที่เท้าทั้ง
สองของข้าพเจ้าคร่ำครวญเถิด พระเทวีรับคำแล้ว เปล่งเสียงดังทอดพระองค์
ลงจับเท้าทั้งสองของพราหมณ์ ทั้งสองต่างก็คร่ำครวญกันอยู่ ครั้งนั้นเหล่าอัน-
เตวาสิก ได้ยินเสียงของพราหมณ์ จึงพากันวิ่งเข้าไปยังศาลา ถามว่า ท่าน
อาจารย์ เกิดอะไรแก่ท่านหรือ พราหมณ์กล่าวว่า พ่อทั้งหลาย หญิงนี้เป็น
น้องสาวของฉัน พลัดพรากจากฉัน ไปแต่ครั้งโน้น เหล่าอันเตวาสิกกล่าวว่า
จำเดิมแก่กาลที่ท่านทั้งสองได้พบกันแล้ว ขออย่าได้วิตกเลย พราหมณ์ให้นำ
ยานที่ปกปิดมา ให้พระเทวีประทับนั่งในยานนั้น กล่าวกะเหล่ามาณพว่า เจ้า
ทั้งหลายจงบอกแก่นางพราหมณีว่า หญิงนี้เป็นน้องสาวของเรา แล้วจงบอก
นางพราหมณีเพื่อทำกิจทั้งปวงแก่นาง กล่าวฉะนี้แล้วส่งพระเทวีไปสู่เรือน
ลำดับนั้น นางพราหมณีให้พระนางสรงสนานด้วยน้ำร้อนแล้ว แต่งที่บรรทม
ให้บรรทม แม้พราหมณ์อาบน้ำแล้วก็กลับมาสู่เรือน สั่งให้เชิญพระนางมาใน
เวลาบริโภคอาหาร ด้วยคำว่า จงเชิญน้องสาวของเรามา แล้วบริโภคร่วมกับ
พระนาง ได้ปรนนิบัติพระนางในนิเวศของตน ไม่นานนักพระนางก็ประสูติ
พระโอรสมีวรรณะดังทอง พระเทวีขนานพระนามพระโอรส เหมือนพระ-
อัยกาว่า มหาชนกกุมาร พระกุมารนั้นทรงเจริญวัยก็เล่นอยู่กับพวกเด็ก
เด็กพวกใดรบกวนทำให้พระกุมารขัดเคือง พระกุมารก็จับเด็กพวกนั้นให้มั่น
แล้วตี ด้วยพระองค์มีพระกำลังมาก และด้วยความเป็นผู้กระด้างเพราะมานะ
เพราะพระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ที่ไม่เจือปน พวกเด็กเหล่านั้นร้องไห้เสียง
ดัง เมื่อถูกถามว่า ใครตี ก็บอกว่า บุตรหญิงหม้ายตี พระกุมารทรงคิดว่า

พวกเด็กว่า เราเป็นบุตรหญิงหม้าย อยู่เนือง ๆ ช่างเถอะ เราจักถามมารดาของเรา
วันหนึ่ง พระกุมารจึงทูลถามพระมารดาว่า ข้าแต่พระมารดา ใครเป็นบิดาของ
ฉัน พระนางตรัสลวงพระกุมารว่า พราหมณ์เป็นบิดาของลูก วันรุ่งขึ้นพระ
กุมารตีเด็กทั้งหลาย เมื่อเด็กทั้งหลายกล่าวว่า บุตรหญิงหม้ายตี จึงตรัสว่า
พราหมณ์เป็นบิดาของเรามิใช่หรือ ครั้น พวกเด็กถามว่า พราหมณ์เป็นอะไรกับ
เธอ จึงทรงคิดว่า เด็กเหล่านั้นกล่าวว่า พราหมณ์เป็นอะไรกับเธอ มารดาของ
เราไม่บอกเหตุการณ์นี้ตามจริง ท่านไม่บอกแก่เราตามใจของท่าน ยกไว้เถิด เรา
จักให้ท่านบอกความจริงให้ได้ เมื่อพระกุมารดื่มน้ำนมพระมารดาจึงกัดพระถัน
พระมารดาไว้ ตรัสว่า ข้าแต่แม่ แม่จงบอกบิดาแก่ฉัน ถ้าแม่ไม่บอก ฉันจัก
กัดพระถันของแม่ให้ขาด พระนางไม่อาจตรัสลวงพระโอรส จึงตรัสบอกว่า พ่อ
เป็นโอรสของพระเจ้าอริฏฐมหาชนก ในกรุงมิถิลา พระบิดาของพ่อถูกพระ
โปลชนกปลงพระชนม์ แม่ตั้งใจรักษาตัวพ่อ จึงมาสู่นครนี้ พราหมณ์นี้ตั้ง
แม่ไว้ในที่เป็นน้องสาว ปฏิบัติดูแลแม่ ตั้งแต่นั้นมา แม้ใครว่าเป็นบุตรหญิง
หม้าย พระกุมารก็ไม่กริ้ว พระกุมารทรงเรียนไตรเพทและศิลปศาสตร์ทั้งปวง
ในภายในพระชนม์ 16 ปี เมื่อมีพระชนม์ได้ 16 ปี เป็นผู้ทรงพระรูป
โฉมอันอุดม พระองค์ทรงคิดว่า เราจักเอาราชสมบัติซึ่งเป็นของพระบิดา จึง
ทูลถามพระมารดาว่า ข้าแต่พระมารดา ทรัพย์อะไร ๆ ที่พระมารดาได้มามี
บ้างหรือไม่ ฉันจักค้าขายให้ทรัพย์เกิดขึ้นแล้วจักเอาราชสมบัติซึ่งเป็นของพระ
บิดา พระนางตรัสตอบว่า ลูกรัก แม่ไม่ได้มามือเปล่า สิ่งอันเป็นแก่นสาร
ของเรามีอยู่สามอย่าง คือ แก้วมณี แก้วมุกดา แก้ววิเชียร ในสามอย่างนั้น
แต่ละอย่างพอจะเป็นกำลังเอาราชสมบัติได้ พ่อจงรับแก้วสามอย่างนั้น คิด
อ่านเอาราชสมบัติเถิด อย่าทำการค้าขายเลย พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระมารดา
ขอพระมารดาจงประทานทรัพย์นั้นกึ่งหนึ่ง แก่หม่อมฉัน จะเอาไปเมือง

สุวรรณภูมิ นำทรัพย์เป็นอันมากมาแล้วเอาราชสมบัติ ซึ่งเป็นของพระบิดา
ทูลดังนี้แล้ว ให้พระมารดาประทานทรัพย์กึ่งหนึ่ง จำหน่ายออกเป็นสินค้า
แล้วให้ขนขึ้นเรือ พร้อมกับพวกพาณิชที่จะเดินทางไปสุวรรณภูมิ แล้วกลับ
มาถวายบังคมลาพระมารดา ทูลว่า ข้าแต่พระมารดา หม่อมฉันจักไปเมือง
สุวรรณภูมิ พระนางตรัสห้ามว่า ลูกรัก ขึ้นชื่อว่ามหาสมุทร สำเร็จประโยชน์
น้อย มีอันตรายมาก อย่าไปเลย ทรัพย์ของพ่อมีมากพอประโยชน์ เอาราช
สมบัติแล้ว พระกุมารทูลว่า หม่อมฉันจักไปแท้จริง ทูลลาพระมารดาถวาย
บังคม กระทำประทักษิณ แล้วออกไปขึ้นเรือ ในวันนั้นได้เกิดพระโรคขึ้น
ในพระสรีระของพระเจ้าโปลชนกราช บรรทมแล้ว เสด็จลุกขึ้นอีกไม่ได้ พวก
พาณิชประมาณเจ็ดร้อยคนขึ้นสู่เรือ เรือแล่นไปได้เจ็ดร้อยโยชน์ ใช้เวลาเจ็ด
วัน เรือแล่นไปด้วยกำลังคลื่นที่ร้ายกาจ ไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ แผ่นกระดานก็
แตกด้วยกำลังคลื่น น้ำเข้ามาแต่ที่นั้น ๆ เรือก็จมลงในกลางมหาสมุทร
มหาชนกลัวมรณภัย ร้องไห้คร่ำครวญกราบไหว้เทวดาทั้งหลาย แต่พระมหา-
สัตว์ไม่ทรงกันแสง ไม่ทรงคร่ำครวญ ไม่ไหว้เทวดาทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบ
ว่าเรือจะจม จึงคลุกน้ำตาลกรวดกับเนยเสวยจนเต็มท้อง แล้วชุบผ้าเนื้อ
เกลี้ยงสองผืนด้วยน้ำมันจนชุ่ม ทรงนุ่งให้มั่น ประทับยืน เกาะเสากระโดง
บนยอดเสากระโดงเวลาเรือจม มหาชนเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า น้ำโดยรอบ
มีสีเหมือนโลหิต พระมหาสัตว์ประทับยืนที่ยอดเสากระโดง ทรงกำหนดทิศว่า
เมืองมิถิลาอยู่ทิศนี้ ก็กระโดดจากยอดเสากระโดง ล่วงพ้นฝูงปลาและเต่า ไป
ตกในที่สุด อุสภะหนึ่ง เพราะพระองค์มีพระกำลังมาก พระเจ้าโปลชนกราช
ได้สวรรคตในวันนั้นเหมือนกัน จำเดิมแต่นั้น พระมหาสัตว์เป็นไปอยู่ในคลื่น
ซึ่งมีสีดังแก้วมณี เหมือนท่อนต้นกล้วยทอง ข้ามมหาสมุทรด้วยกำลังพระพาหา
พระมหาสัตว์ทรงว่ายข้ามมหาสมุทรอยู่เจ็ดวัน เหมือนว่ายข้ามวันเดียว พระ

องค์ทรงสังเกตเวลานั้นว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ จึงบ้วนพระโอฐด้วยน้ำเค็ม
ทรงสมาทานอุโบสถศีล ก็ในกาลนั้น ท้าวโลกบาลทั้งสี่มอบให้เทพธิดา
ชื่อมณีเมขลา เป็นผู้ดูแลรักษาสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีบำรุงมารดา
เป็นต้น เป็นผู้ไม่สมควรจะตายในมหาสมุทร นางมณีเมขลามิได้ตรวจตรา
มหาสมุทรเป็นเวลาเจ็ดวัน เล่ากันว่า นางเสวยทิพยสมบัติเพลินก็เผลอสติมิได้
ตรวจตรา บางอาจารย์กล่าวว่า นางเทพธิดาไปเทพสมาคมเสีย นางคิดได้ว่า
วันนี้เป็นวันที่เจ็ดที่เรามิได้ตรวจความหาสมุทร มีเหตุอะไรบ้างหนอ เมื่อนาง
ตรวจดูก็เห็นพระมหาสัตว์ จึงคิดว่า ถ้ามหาชนกกุมารจักตายในมหาสมุทร
เราจักไม่ได้เข้าเทวสมาคม คิดฉะนั้นแล้ว ตกแต่งสรีระ สถิตอยู่ในอากาศไม่
ไกลพระมหาสัตว์ เมื่อจะทดลองพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาแรกว่า
นี้ใคร เมื่อแลไม่เห็นฝั่งก็อุตสาหพยายามว่าย
อยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ท่านรู้อำนาจประโยชน์อะไร
จึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้นักหนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปสฺสนฺตีรํ แปลว่า แลไม่เห็นฝั่งเลย.
บทว่า อายุเห ได้แก่ กระทำความเพียร.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราว่ายข้ามมหาสมุทรมาได้เจ็ดวัน
เข้าวันนี้ ไม่เคยเห็นเพื่อนสองของเราเลย นี่ใครหนอมาพูดกะเรา เมื่อแลไป
ในอากาศก็ทอดพระเนตรเห็นนางมณีเมขลา จึงตรัสคาถาที่สองว่า
ดูก่อนเทวดา เราไตร่ตรองเห็นปฏิปทาแห่งโลก
และอานิสงส์แห่งความเพียร เพราะฉะนั้น ถึงจะมองไม่
เห็นฝั่ง เราก็ต้องพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิสมฺม วตฺตํ โลกสฺส ความว่า
เรานั้นไตร่ตรอง คือใคร่ครวญวัตรคือ ปฏิปทาของโลกอยู่. บทว่า วายมสฺส จ
ความว่า พระมหาสัตว์แสดงความว่า เราไตร่ตรองคือเห็นอานิสงส์แห่งความ
เพียรอยู่. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเราไตร่ตรองอยู่ คือรู้ว่า ชื่อว่า
ความเพียรของบุรุษย่อมไม่เสียหาย ย่อมให้ตั้งอยู่ในความสุข ฉะนั้น แม้จะ
มองไม่เห็นฝั่งก็ต้องพยายาม คือกระทำความเพียร อธิบายว่า เราจะไม่คำนึง
ถึงข้อนั้นได้อย่างไร.
นางมณีเมขลาปรารถนาจะฟังธรรมกถาของพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถา
อีกว่า
ฝั่งมหาสมุทรลึกจนประมาณไม่ได้ ย่อมไม่
ปรากฏแก่ท่าน ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่าน
ก็เปล่าประโยชน์ ท่านไม่ทันถึงฝั่งก็จักตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปตฺวา ว ความว่า ยังไม่ทันถึงฝั่งเลย
ท่านก็จักตาย.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะนางมณีเมขลาว่า ท่านพูดอะไรอย่างนั้น
เราทำความพยายาม แม้ตายก็จักพ้นครหา ตรัสฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า
บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ชื่อว่า
ไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติเทวดา และบิดามารดา
อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อน
ในภายหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อณโน ความว่า ดูก่อนเทวดา บุคคล
เมื่อกระทำความเพียร แม้จะตาย ก็ย่อมไม่เป็นหนี้ คือไม่ถูกติเตียน ในระหว่าง
ญาติทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย และพรหมทั้งหลาย.

ลำดับนั้น เทวดากล่าวคาถากะพระมหาสัตว์ว่า
การงานอันใด ยังไม่ถึงที่สุดด้วยความพยายาม
การงานอันนั้นก็ไร้ผล มีความลำบากเกิดขึ้น การทำ
ความพยายามในฐานะอันไม่สมควรใด จนความตาย
ปรากฏขึ้น ความพยายามในฐานะอันไม่สมควรนั้นจะ
มีประโยชน์อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปารเณยฺยํ ความว่า ยังไม่ถึงที่สุด
ด้วยความพยายาม. บทว่า มจฺจุ ยสฺสาภินิปฺผตํ ความว่า การทำความ.
พยายามในฐานะอันไม่สมควรใด จนมัจจุคือความตายนั่นแลปรากฏขึ้น ความ
พยายามในฐานะอันไม่สมควรนั้น จะมีประโยชน์อะไร.
เมื่อนางมณีเมขลากล่าวอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์เมื่อจะทำนางมณี
เมขลาให้จำนนต่อถ้อยคำ จึงได้ตรัสคาถาต่อไปว่า
ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำ จะไม่
ลุล่วงไปได้จริง ๆ ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้น
ละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่ง
ความเกียจคร้าน ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้
เห็นผลแห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงาน
ทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม
ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็นผลแห่งกรรมประจักษ์แก่ตน
แล้วมิใช่หรือ คนอื่น ๆ จมในมหาสมุทรหมด เรา
คนเดียวยังว่ายข้ามอยู่ และได้เห็นท่านมาสถิตอยู่ใกล้ ๆ
เรา เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำความเพียร
ที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจนฺตํ ความว่า ผู้ใครรู้แจ้งการงาน
นี้ว่า แม้ทำความเพียรก็ไม่อาจให้สำเร็จได้ ไม่ลุล่วงไปได้จริง ๆ ทีเดียว ดังนี้
ไม่นำช้างดุร้ายและช้างตกมันเป็นต้นออกไปเสีย ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน.
บทว่า ชญฺญา โส ยทิ หาปเย ความว่า ถ้าผู้นั้น ละความเพียรในฐานะ
เช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่งความเกียจคร้านนั้น คำที่ท่านกล่าวนั้น ๆ
ไร้ประโยชน์ พระมหาสัตว์ทรงชี้แจงดังนี้ ก็บทที่เขียนไว้ในบาลีว่า ชญฺญา
โส ยทิ หาปเย
นั้น ไม่มีในอรรถกถา. บทว่า อธิปฺปายผลํ ความว่า
คนบางพวกเห็นผลแห่งความประสงค์ของตน ประกอบการงานมีกสิกรรมและ
พาณิชกรรมเป็นต้น . บทว่า ตานิ อิชฺฌนฺติ วา น วา ความว่า พระมหาสัตว์
แสดงความว่า เมื่อบุคคลกระทำความเพียรทางกายและความเพียรทางใจว่า
เราจักไปในที่นี้ จักเรียนสิ่งนี้ การงานเหล่านั้น ย่อมสำเร็จทีเดียว เพราะฉะนั้น
จึงควรทำความเพียรแท้. บทว่า สนฺนา อญฺเญ ตรามหํ ความว่า คนอื่น ๆ
จม คือ จมลงในมหาสมุทร คือเมื่อไม่ทำความเพียร ก็เป็นภักษาแห่งปลาและ
เต่ากันหมด แต่เราคนเดียวเท่านั้นยังว่ายข้ามอยู่. บทว่า ตญฺจ ปสฺสามิ
สนฺติเก
ความว่า ท่านจงดูผลแห่งความเพียรของเราแม้นี้ เราไม่เคยเห็น
เทวดาโดยอัตภาพนี้เลย เรานั้นก็ได้เห็นท่านมาสถิตอยู่ใกล้ ๆ เรา โดยอัตภาพ
ทิพย์นี้. บทว่า ยาถาสติ ยถาพลํ ความว่า สมควรแก่สติแสะกำลังของตน
บทว่า กาสํ แปลว่า จักกระทำ.
เทวดาได้สดับพระวาจาอันมั่นคงของพระมหาสัตว์นั้น เมื่อจะสรรเสริญ
มหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาว่า
ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดยธรรม ไม่
จมลงในห้วงมหรรณพ ซึ่งประมาณนี้ได้ เห็นปานนี้
ด้วยกิจคือความเพียรของบุรุษ ท่านนั้นจงไปในสถานที่
ที่ใจของท่านยินดีนั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ คเต ความว่า ในห้วงน้ำซึ่ง
ประมาณมิได้เห็นปานนี้ คือในมหาสมุทรทั้งลึกทั้งกว้าง. บทว่า ธมฺมวายาม-
สมฺปนฺโน
ความว่า ประกอบด้วยความพยายามอันชอบธรรม. บทว่า กมฺมุนา
นาวสีทสิ ความว่า ท่านไม่จมลงด้วยกิจ คือความเพียรของบุรุษของตน
บทว่า ยตฺถ เต ความว่า ใจของท่านยินดีในสถานที่ใด ท่านจงไปใน
สถานที่นั้นเถิด.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นางมณีเมขลาได้ถามว่า ข้าแต่ท่าน
บัณฑิตผู้มีความบากบั่นมาก ข้าพเจ้าจักนำท่านไปที่ไหน เมื่อพระมหาสัตว์
ตรัสว่า มิถิลานคร นางจึงอุ้มพระมหาสัตว์ขึ้น ดุจคนยกกำดอกไม้ ใช้แขน.
ทั้งสองประคองให้นอนแนบทรวง พาเหาะไปในอากาศเหมือนคนอุ้มลูก
ฉะนั้น พระมหาสัตว์มีสรีระเศร้าหมองด้วยน้ำเค็มตลอดเจ็ดวัน ได้สัมผัสทิพย-
ผัสสะก็บรรทมหลับ ลำดับนั้น นางมณีเมขลานำพระมหาสัตว์ถึงมิถิลานคร
ให้บรรทมโดยเบื้องขวาบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคลในสวนมะม่วง มอบให้
หมู่เทพเจ้าในสวนคอยอารักขาพระมหาสัตว์แล้วไปสู่ที่อยู่ของตน.
ในกาลนั้น พระเจ้าโปลชนกราชไม่มีพระโอรส มีแต่พระธิดาองค์หนึ่ง
พระนามว่าสีวลีเทวีเป็นหญิงฉลาดเฉียบแหลม อมาตย์ทั้งหลายได้ทูลถามพระเจ้า
โปลชนกราชเมื่อบรรทมอยู่บนพระแท่นมรณมัญจอาสน์ว่า ข้าแต่พระมหาราช
เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว เหล่าข้าพระบาทจักถวายราชสมบัติแก่ใคร
พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงมอบราชสมบัติให้แก่ท่านที่สามารถยังสีวลีเทวี
ธิดาของเราให้ยินดี หรือผู้ใดรู้หัวนอนแห่งบัลลังก์สี่เหลี่ยม หรือผู้ใดอาจยก
สหัสสถามธนูขึ้นได้ หรือผู้ใดอาจนำขุมทรัพย์ใหญ่สิบหกแห่งออกมาได้ ท่าน
ทั้งหลายจงมอบราชสมบัติให้แก่ผู้นั้น อมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ
ขอพระองค์โปรดตรัสอุทานปัญหาแห่งขุมทรัพย์เหล่านั้นแก่พวกข้าพระองค์.

พระราชาจงตรัสอุทานปัญหาของสิ่งอื่น ๆ พร้อมกับขุมทรัพย์ทั้งหลาย
ไว้ว่า
ขุมทรัพย์ใหญ่สิบหกขุมเหล่านี้ คือ ขุมทรัพย์ที่
ดวงอาทิตย์ขึ้น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ตก ขุมทรัพย์
ภายใน ขุมทรัพย์ภายนอก ขุมทรัพย์ไม่ใช่ภายใน
ไม่ใช่ภายนอก ขุมทรัพย์ขาขึ้น ขุมทรัพย์ขาลง ขุม
ทรัพย์ที่ไม้รังใหญ่ทั้งสี่ ขุมทรัพย์ในที่โยชน์หนึ่งโดย
รอบ ขุมทรัพย์ใหญ่ ที่ปลายงาทั้งสอง ขุมทรัพย์ที่
ปลายหนหาง ขุมทรัพย์ที่น้ำ ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ และ
ธนูหนักพันแรงคนยก บัลลังก็สี่เหลี่ยมหัวนอนอยู่
เหลี่ยมไหน และยังสีวลีราชเทวีให้ยินดี.

เมื่อพระเจ้าโปลชนกราชสวรรคต ถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว
อมาตย์ทั้งหลายได้ประชุมปรึกษากันในวันที่เจ็ด ถึงเรื่องที่พระราชาตรัสไว้ว่า
ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านที่สามารถให้พระธิดาของพระองค์ยินดี ก็ใครเล่าจัก
สามารถให้พระราชธิดานั้นยินดี อมาตย์เหล่านั้น เห็นกันว่า เสนาบดีเป็นผู้
สนิทชิดแห่งพระราชาจักสามารถ จึงส่งข่าวให้เสนาบดีนั้นทราบ เสนาบดีนั้น
ได้ฟังข่าว รับแล้วไปสู่ประตูพระราชวังเพื่อต้องการราชสมบัติ ให้ทูลความ
ที่ตนมาแด่พระราชธิดา พระราชธิดาทรงทราบว่า เสนาบดีนั้นมา หวังจะทรง
ทดลองเสนาบดีว่า จะมีปัญญาทรงสิริแห่งเศวตฉัตรหรือไม่ จึงรับสั่งว่าจงมา
โดยเร็ว เสนาบดีได้ฟังข่าวนั้นแล้ว ประสงค์จะให้พระราชธิดาโปรดปราน
จึงไปโดยเร็วตั้งแต่เชิงบันไดไปยืนอยู่ที่ใกล้พระราชธิดา ลำดับนั้น พระราชธิดา
เมื่อทรงทดลองเสนาบดีนั้น จึงตรัสสั่งว่า จงวิ่งไปโดยเร็วในพระตำหนัก
เสนาบดีคิดว่าจักยังพระราชธิดาให้ยินดี จึงวิ่งไปโดยเร็ว พระราชธิดารับสั่ง

กะเสนาบดีว่า จงมาอีก เสนาบดีก็มาโดยเร็วอีก พระราชธิดาทรงทราบว่า
เสนาบดีนั้นหาปัญญามิได้ จึงตรัสว่า จงมานวดเท้าของเรา เสนาบดีก็นั่งลง
นวดพระบาทของพระราชธิดาเพื่อให้ทรงโปรดปราน ลำดับนั้น พระราชธิดา
ก็ถีบเสนาบดีนั้นที่อกให้ล้มหงาย แล้วประทานสัญญาแก่นางข้าหลวงทั้งหลาย
ด้วยพระดำรัสว่า พวกเจ้าจงตีบุรุษไร้ปัญญาอันธพาลคนนี้ ลากคอออกไปเสีย
นางข้าหลวงทั้งหลายก็ทำตามรับสั่ง เสนาบดีนั้นใครถามว่าเป็นอย่างไร ก็
ตอบว่า พวกท่านอย่าถามเลย พระราชธิดานี้ไม่ใช่หญิงมนุษย์ จักเป็นยักขินี
แต่นั้นอมาตย์ผู้รักษาคลังไปเพื่อให้พระราชธิดาทรงยินดี พระราชธิดาก็ให้ได้
รับความอับอายขายหน้า เช่นเดียวกับเสนาบดี ได้ยังชนทั้งปวง คือเศรษฐี
เจ้าพนักงานเชิญเครื่องสูง เจ้าพนักงานเชิญพระแสง ให้ได้รับความอับอาย
ขายหน้าเหมือนกัน ครั้งนั้นมหาชนปรึกษากันแล้วกล่าวว่า ไม่มีผู้สามารถให้
พระราชธิดาโปรดปราน ท่านทั้งหลายจงมอบราชสมบัติแก่ผู้สามารถยกธนูที่มี
น้ำหนักพันแรงคนยก ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะยกธนูนั้นขึ้น แต่นั้นมหาชน
จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงนอบราชสมบัติแก่ผู้รู้จักหัวนอนแห่งบัลลังก์สี่เหลี่ยม
ก็ไม่มีใครรู้จักอีก แต่นั้น มหาชนจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงมอบราชสมบัติ
แก่ผู้สามารถนำขุมทรัพย์สิบหกแห่งออกมาได้ ก็ไม่มีใครสามารถอีก แต่นั้น
เสนาอมาตย์ทั้งหลายปรึกษากันว่า เราทั้งหลายไม่อาจรักษาแว่นแคว้นที่หา
พระราชามิได้ไว้ จะพึงทำอย่างไรกันหนอ ลำดับนั้น ปุโรหิตจึงกล่าวกะ
เสนามาตย์เหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าวิตกเลย ควรจะปล่อยผุสสรถไป เพราะ
พระราชาที่เชิญเสด็จหาได้ด้วยผุสสรถเป็นผู้สามารถครองราชสมบัติในชมพู
ทวีปทั้งสิ้น เหล่าเสนามาตย์ต่างเห็นพร้อมกัน จึงให้ตกแต่งพระนคร แล้ว
ให้เทียมม้าสี่ตัวมีสีดุจดอกกุมุทในราชรถอันเป็นมงคล ลาดเครื่องลาดอันวิจิตร
เบื้องบน ให้ประดิษฐานเบญจราชกกุธภัณฑ์ แวดล้อมด้วยจตุรงคเสนา ชน

ทั้งหลายประโคมเครื่องดนตรีข้างหน้าราชรถที่พระราชาเป็นเจ้าของ ประโคม
เบื้องหลังราชรถที่ไม่มีเจ้าของ เพราะฉะนั้น ปุโรหิตจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย
จงประโคมดนตรีทั้งปวงเบื้องหลังราชรถ แล้วรดสายหนังเชือกแอก ประตัก
ด้วยพระเต้าทองคำ แล้วสั่งราชรถว่า ผู้ใดมีบุญที่จะได้ครองราชสมบัติ ท่าน
จงไปสู่สำนักของผู้นั้น แล้วปล่อยราชรถนั้นไป ลำดับนั้น ราชรถก็ทำประทักษิณ
พระราชนิเวศแล้วขึ้นสู่ถนนใหญ่แล่นไปโดยเร็ว ชนทั้งหลายมีเสนาบดี
เป็นต้น นึกหวังว่า ขอผุสสรถจงมาสู่สำนักเรา รถนั้นแล่นล่วงเลยเคหสถาน
ของชนทั้งปวงไป ทำประทักษิณพระนครแล้ว ออกทางประตูด้านตะวันออก
บ่ายหน้าตรงไปอุทยาน ครั้งนั้น ชนทั้งหลายเห็นราชรถแล่นไปโดยเร็ว จึง
กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงยังราชรถนั้นให้กลับ ปุโรหิตห้ามว่า อย่าให้กลับเลย
ถึงแล่นไปสิ้นร้อยโยชน์ก็อย่าให้กลับ รถเข้าไปสู่อุทยาน ทำประทักษิณแผ่น-
ศิลามงคลแล้ว หยุดอยู่เตรียมรับเสด็จขึ้น ปุโรหิตเห็นพระมหาสัตว์บรรทม
จึงเรียกเหล่าอมาตย์มากล่าวว่า ท่านผู้หนึ่งนอนบนแผ่นศิลามงคลปรากฏอยู่
แต่ว่าพวกเรายังไม่รู้ว่า ท่านผู้นั้นจะมีปัญญาสมควรแก่เศวตฉัตรหรือไม่มี
ถ้าว่าท่านมีปัญญา จักไม่ลุกขึ้นจักไม่แลดู ถ้าเป็นคนกาลกรรณีจักกลัวจักตกใจ
ลุกขึ้นสะทกสะท้านแลดูแล้วหนีไป ท่านทั้งหลายจงประโคมดนตรีขึ้นทั้งหมด
โดยเร็ว ชนทั้งปวงก็ประโคมดนตรีเป็นร้อย ๆ ขึ้นขณะนั้น เสียงของดนตรี
เหล่านั้น ได้เป็นเหมือนกึกก้องไปทั่วท้องสาคร พระมหาสัตว์ตื่นบรรทมด้วย
เสียงนั้น เปิดพระเศียรทอดพระเนตรเห็นมหาชนแล้ว ทรงจินตนาการว่า
เศวตฉัตรมาถึงเรา ดังนี้แล้ว คลุมพระเศียรเสียอีก พลิกพระองค์บรรทม
ข้างซ้าย ปุโรหิตเปิดพระบาทแห่งพระมหาสัตว์ตรวจดูพระลักษณะแล้วกล่าวว่า
อย่าว่าแต่ทวีปหนึ่งนี้เท่านั้นเลย ท่านผู้นี้สามารถครองราชสมบัติในมหาทวีป
ทั้งสี่ได้ กล่าวฉะนั้นแล้วให้ประโคมดนตรีอีก ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงเปิด

พระพักตร์อีก พลิกพระองค์บรรทมข้างขวา ทอดพระเนตรมหาชน ปุโรหิต
ให้บริษัทถอยออกไปแล้ว ประคองอัญชลีก้มหน้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ ขอได้โปรดเสด็จลุกขึ้นเถิด ราชสมบัติมาถึงพระองค์ ลำดับนั้น
พระมหาสัตว์ตรัสถามปุโรหิตว่า พระราชาของพวกท่านเสด็จไปไหน ครั้น
ปุโรหิตกราบทูลว่า เสด็จสวรรคต จึงตรัสถามว่า พระราชโอรสหรือพระราช-
ภาดาของพระราชานั้นไม่มีหรือ ปุโรหิตกราบทูลว่า ไม่มีพระเจ้าข้า มีแต่
พระราชธิดาองค์หนึ่ง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงสดับคำของปุโรหิตนั้นแล้ว
จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว เราจักครองราชสมบัติ ตรัสฉะนี้แล้ว เสด็จ
ลุกขึ้นประทับนั่งโดยบัลลังก์ ณ แผ่นมงคลศิลา ต่อนั้น ชนทั้งหลายมีอมาตย์
และปุโรหิตเป็นต้น ก็ถวายอภิเษกพระมหาสัตว์ ณ สถานที่นั้นทีเดียว พระ-
มหาสัตว์นั้น ได้ทรงพระนามว่า มหาชนกราช พระองค์เสด็จขึ้นสู่ราชรถอัน
ประเสริฐเข้าพระนครด้วยสิริราชสมบัติอันสิริโสภาคใหญ่ ขึ้นสู่พระราชนิเวศ
ทรงพิจารณาว่า ตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นนั้น ๆ ยกไว้ก่อน แล้วเสด็จขึ้น
พระที่นั่งข้างใน.
ฝ่ายพระราชธิดา ตรัสสั่งราชบุรุษคนหนึ่งเพื่อจะทรงทดลองพระ
มหาสัตว์นั้นโดยสัญญาที่มีมาก่อนว่า เจ้าจงเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า
พระนางสีวลีเทวีรับสั่งให้หา จงรีบเสด็จไปเฝ้า อมาตย์นั้นก็ไปกราบทูล
พระราชาดังนั้น พระราชาแม้ได้ทรงฟังคำอมาตย์นั้น ก็แสร้งเป็นเหมือนไม่
ได้ยิน ตรัสชมปราสาทเสียว่า โอ ปราสาทงาม ดังนี้ เพราะความที่พระองค์
เป็นบัณฑิต ราชบุรุษนั้น เมื่อไม่อาจให้พระราชาทรงสดับคำนั้น จึงกลับมาทูล
พระราชธิดาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระราชาไม่ทรงฟังคำของพระแม่เจ้า มัวแต่
ทรงชมปราสาท ไม่สนพระทัยพระวาจาของพระแม่เจ้า เหมือนคนไม่สนใจ
ต้นหญ้าฉะนั้น พระราชธิดาทรงคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอัธยาศัยใหญ่ ส่งราช

บุรุษให้เชิญเสด็จมาอีกถึงสองครั้งสามครั้งทีเดียว แม้พระราชาก็เสด็จไปโดย
ปกติ ตามความพอพระราชหฤทัยของพระองค์ ขึ้นสู่ปราสาทเหมือนพระยา
ราชสีห์เดินออกจากถ้าฉะนั้น เมื่อเสด็จใกล้เข้ามา พระสีวลีเทวีราชธิดาไม่อาจ
ดำรงพระองค์อยู่ได้ด้วยพระเดชานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ จึงเสด็จมาถวายให้
เกี่ยวพระกร พระมหาสัตว์ก็ทรงรับเกี่ยวพระกรพระราชธิดาขึ้นยัง พระที่นั่ง
ประทับ ณ ราชบัลลังก์ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร ตรัสเรียกอมาตย์ทั้งหลาย
มารับสั่งถามว่า ดูก่อนอมาตย์ทั้งหลาย เมื่อพระราชาของพวกท่านจะเสด็จ
สวรรคต ได้ตรัสสั่งอะไรไว้บ้าง เมื่ออมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ได้ตรัส สั่ง
ไว้บ้าง จึงโปรดให้อมาตย์เล่าถวาย อมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลว่า พระราชา
ของข้าพระองค์ทั้งหลายได้ตรัสสั่งไว้ดังนี้.
1. ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านผู้ที่ทำให้พระราชธิดาพระนานว่าสีวลีเทวี
โปรดปรานได้.
พระราชาตรัสว่า พระนางสีวลีราชธิดาเสด็จมาถวายให้เกี่ยวพระกร
ของเธอแล้ว ข้อนี้เป็นอันว่า เราได้ให้พระราชธิดาโปรดปรานแล้ว ท่านจง
กล่าวข้ออื่นต่อไป.
2. ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านผู้สามารถทราบหัวนอนแห่งบัลลังก์
สี่เหลี่ยมว่าอยู่ด้านไหน.
พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ข้อนี้รู้ยาก แต่ก็อาจรู้ได้โดยอุบาย จึงทรง
ถอดเข็มทองคำบนพระเศียร ประทานที่พระหัตถ์พระนางสีวลี มีรับสั่งว่า
เธอจงวางเข็มทองคำนี้ไว้ พระนางสีวลีราชธิดาทรงรับเข็มทองคำไปวางไว้
เบื้องหัวนอนแห่งบัลลังก์นั้น บางอาจารย์กล่าวว่า พระมหาสัตว์ประทาน
พระขรรค์ให้พระราชธิดาไปวาง พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า ข้างนี้เป็นหัวนอน
ด้วยความหมายนั้น ทรงทำเป็นยังไม่ได้ยินถ้อยคำนั้น จึงตรัสถามว่า ท่านว่า

กระไร ครั้นหมู่อมาตย์กราบทูลข้าให้ทรงทราบแล้ว จึงรับสั่งว่า การรู้จัก
หัวนอนบัลลังก์สี่เหลี่ยมไม่อัศจรรย์ ด้านนี้เป็นหัวนอน ท่านทั้งหลายจงกล่าว
ข้ออื่นต่อไป.
3. ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านผู้ยกธนูอันมีน้ำหนักพันแรงคนยกขึ้นได้.
พระมหาสัตว์ตรัสสั่งให้นำธนูนั้นมา แล้วประทับ ณ ราชบัลลังก์นั้น
เอง ทรงยกสหัสสถานธนูนั้นขึ้น ดุจกงดีดฝ้ายของหญิงทั้งหลายฉะนั้น แล้ว
โปรดให้เล่าข้ออื่นต่อไป.
4. ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านผู้นำขุมทรัพย์สิบหกแห่งออกให้ปรากฏ.
พระมหาสัตว์ตรัสถามว่า ปัญหาอะไร ๆ เกี่ยวกับขุมทรัพย์นั้น มีอยู่
หรือไม่ เมื่อพวกอมาตย์กราบทูลปัญหาเกี่ยวกับขุมทรัพย์ว่า มีขุมทรัพย์ที่
ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นต้น พอพระองค์ได้ทรงสดับปัญหานั้นแล้ว เนื้อความก็
ปรากฏเหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญลอยเด่นอยู่ ณ ท้องฟ้าฉะนั้น ครั้นแล้ว
พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า วันนี้หมดเวลาแล้ว พรุ่งนี้เราจักชี้ขุมทรัพย์ในที่
ทั้งหลายนั้น ๆ รุ่งขึ้นพระมหาสัตว์ให้ประชุมเหล่าอมาตย์แล้ว ตรัสถามว่า
พระราชาของพวกท่านนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าให้มาฉันบ้างหรือไม่กราบทูล
ว่า เคยนิมนต์ให้มาฉันบ้าง ขอเดชะ พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ดวงอาทิตย์
มิใช่ดวงอาทิตย์ที่มองเห็นนี้ ดวงอาทิตย์หมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะ
มีคุณเช่นดวงอาทิตย์ ขุมทรัพย์คงมีในสถานที่ต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านั้น พระมหาสัตว์จึงตรัสถามว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา
พระราชาเสด็จไปต้อนรับตรงไหน เมื่ออมาตย์กราบทูลว่า ตรงนั้น ขอเดชะ
ก็ตรัสสั่งให้ขุดที่นั้น นำขุมทรัพย์มาได้ จึงตรัสถามต่อไปว่า เมื่อเสด็จไปส่ง
พระปัจเจกพุทธเจ้าเวลากลับ เสด็จประทับยืนตรงไหน เมื่อทรงทราบว่าที่ใด
แล้ว ก็โปรดให้ขุดที่นั้นนำขุมทรัพย์ออกมาได้.

มหาชนก็โห่ร้องเซ็งแซ่ถวายสาธุการสรรเสริญพระปัญญา รู้สึกปีติ
โสมนัสว่า ชนทั้งหลายเทียวขุด ณ ทิศที่ดวงอาทิตย์ขึ้น เพราะปัญหากล่าวว่า
ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น และเที่ยวขุดในทิศที่ดวงอาทิตย์ตก เพราะปัญหากล่าวว่าที่
ดวงอาทิตย์ตก แต่ขุมทรัพย์มีอยู่ในที่นี้เอง โอ อัศจรรย์หนอ แปลกหนอ
พระมหาสัตว์ตรัสให้ขุดนำขุมทรัพย์มาแต่ภายในกรณี แห่งพระทวารใหญ่ของ
พระราชฐานได้ เพราะปัญหาว่าขุมทรัพย์ภายใน ให้ขุดนำขุมทรัพย์มาแต่ภาย
นอกธรณีแห่งพระทวารใหญ่ของพระราชฐานได้ เพราะปัญหาว่าขุมทรัพย์ภาย
นอก ให้ขุดนำขุมทรัพย์มาแต่ข้างล่างพระธรณี แห่งพระทวารใหญ่ของพระ-
ราชฐานได้ เพราะปัญหาว่า ขุมทรัพย์ไม่ใช่ภายในได้ใช่ภายนอก ให้ขุดนำ
ขุมทรัพย์มาแต่ที่เกยทอง ในเวลาเสด็จขึ้นประทับมงคลหัตถีได้ เพราะปัญหา
ว่าขุมทรัพย์ขาขึ้น ให้ขุดนำขุมทรัพย์มาแต่ที่เสด็จลงจากคอช้างได้ เพราะ
ปัญหาว่าขุมทรัพย์ขาลง ให้ขุดนำหม้อทรัพย์ทั้งสี่หม้อมาแต่ภายใต้ต้นรังทั้งสี่
แห่ง อันเป็นเท้าพระแท่นบรรทม อันเป็นสิริซึ่งตั้งขึ้นมาแต่พื้นดินได้ เพราะ
ปัญหาว่า ขุมทรัพย์ทั้งสี่ ให้ขุดน้ำหม้อทรัพย์ทั้งหลายมาแต่ที่ประมาณชั่วแอก
โดยรอบพระที่สิริไสยาสน์ โดยวิธีนับชั่วแอกรถประมาณโยชน์หนึ่งได้ เพราะ
ปัญหาว่าขุมทรัพย์ในที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ ให้ขุดหม้อทรัพย์ทั้งสองในสถานที่
มงคลหัตถี แต่ที่เฉพาะหน้าแห่งงาทั้งสองแห่งช้างนั้นนาได้ เพราะปัญหาว่า
ขุมทรัพย์ใหญ่ที่ปลายงาทั้งสอง ให้ขุดขุมทรัพย์ในสถานที่มงคลหัตถีแห่งที่
เฉพาะหน้าแห่งปลายหางของช้างนั้นมาได้ เพราะปัญหาว่า ขุมทรัพย์ที่ปลาย
หาง ให้วิดน้ำในสระมงคลโบกขรณีแสดงขุมทรัพย์ เพราะปัญหาว่าขุมทรัพย์
ที่น้ำ ให้ขุดหม้อขุมทรัพย์มาแต่ภายในเงาไม้รัง มีปริมณฑลเวลาเที่ยงวัน
ตรงที่โคนไม้รังใหญ่ในพระราชอุทยานได้ เพราะปัญหาว่าขุมทรัพย์ใหญ่ที่
ปลายไม้ พระราชาให้นำขุมทรัพย์ใหญ่ทั้งสิบหกมาได้แล้ว ตรัสถามว่า

ปัญหาอื่นอะไรยังมีอีกหรือไม้ อมาตย์ทั้งหลาย กราบทูลว่า ไม่มีแล้ว พระ-
เจ้าข้า มหาชนต่างร่าเริงแล้ว ยินดีแล้วว่า โอ อัศจรรย์ พระราชาองค์นี้
เป็นบัณฑิตจริง ๆ.
ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราจักบริจาคทรัพย์นี้ในทานมุข จึง
โปรดให้สร้างศาลาโรงทานหกหลัง คือท่ามกลางพระนครหนึ่ง ที่ประตูพระ-
นครทั้งสี่ และที่ประตูพระราชนิเวศหนึ่ง โปรดให้เริ่มตั้งทานวัตร พระราชา
โปรดให้เชิญพระมารดาและพราหมณ์มาแต่กาลจัมปากนคร ทรงทำสักการะ
สมโภชเป็นการใหญ่ เมื่อพระมหาสัตว์ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ ในกาลเมื่อ
พระองค์ยังทรงเป็นดรุณราชกุมาร ชาววิเทหรัฐทั้งสิ้นเอิกเกริกกัน เพื่อจะได้
เห็นพระองค์ ด้วยคิดว่า พระราชโอรสพระเจ้าอริฏฐชนกราช ทรงพระนาม
ว่า มหาชนกราช ครองราชสมบัติเป็นพระราชาผู้บัณฑิต เฉลียวฉลาดใน
อุบาย เราทั้งหลายจักเห็นพระองค์ แต่นั้นมา ชนเป็นอันมากพร้อมกันนำ
เครื่องบรรณาการถวาย มีมหรสพใหญ่ในพระนคร ลาดเครื่องลาดที่ทำด้วย
ฝีมือเป็นต้นในพระราชนิเวศ ห้อยพวงของหอมพวงดอกไม้เป็นต้น โปรย
ปรายข้าวตอก ทำเครื่องอุปกรณ์ดอกไม้ เครื่องอบธูปและเครื่องหอม จัดตั้ง
ไว้ซึ่งน้ำและโภชนาหารมีประการต่าง ๆ ในภาชนะเงิน ภาชนะทองคำ เพื่อ
เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายพระมหาสัตว์เจ้า ยืนแวดล้อมอยู่ในที่นั้น ๆ
หมู่อมาตย์เฝ้าอยู่ ณ ปะรำหนึ่ง หมู่พราหมณ์เฝ้าอยู่ ณ ปะรำหนึ่ง หมู่
เศรษฐีเป็นต้น ปะรำหนึ่ง เหล่านางสนมทรงรูปโฉม ปะรำหนึ่ง ฝ่ายพราหมณ์
ทั้งหลายก็พร้อมกันสาธยายมนต์ เพื่ออำนวยสวัสดี เหล่าผู้กล่าวชัยมงคลด้วย
ปากก็พร้อมกันร้อง ถวายชัยมงคลกึกก้อง เหล่าผู้ชำนาญการขับร้องเป็นต้น
ก็พร้อมกันขับเพลงถวายอยู่อึงมี่ ชนทั้งหลายก็บรรเลงดนตรีเป็นร้อย ๆ อย่าง
อยู่ครามครัน พระราชนิเวศวังสถาน ก็บันลือลั่นสนั่นศัพท์สำเนียงเป็นเสียง

เดียวกัน ปานต้องมหาสมุทรถูกลมพัดมาแต่ขุนเขายุคนธรฟัดฟาดแล้วฉะนั้น
สถานที่ซึ่งพระมหาสัตว์ ทอดพระเนตรแล้ว ๆ ก็กัมปนาทหวั่นไหว.
พระมหาสัตว์ประทับ พระราชอาสน์ ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร
ทอดพระเนตรสิริวิลาสอันใหญ่เพียงดังสิริของท้าวสักกเทวราช ก็ทรงอนุสรณ์
ถึงความพยายาม ที่พระองค์ได้ทรงทำในมหาสมุทร เมื่อท้าวเธอทรงอนุสรณ์
ถึงความพยายามเช่นนั้นแล้ว จึงทรงมนสิการว่า ชื่อว่าความเพียร ควรทำแท้
ถ้าเราไม่ได้ทำความเพียรในมหาสมุทร เราจักไม่ได้สมบัตินี้ เนื้อทรงอนุสรณ์
ถึงความเพียรนั้น ก็เกิดพระปีติโสมนัสซาบซ่าน จึงทรงเปล่งพระอุทานด้วย
กำลังพระปีติ ตรัสว่า
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังเข้าไว้ ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นการเป็นพระราชาสมปรารถนาแก่ตน. บุรุษผู้เป็น
บัณฑิตพึงหวังเข้าไว้ ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตัวท่าน
จากน้ำขึ้นสู่บก. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามเรื่อยไป
ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นการเป็นพระราชาสมปรารถนา
แก่ตน. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามเรื่อยไป ไม่พึง
เบื่อหน่าย เราเห็นตัวท่านจากน้ำขึ้นสู่บก. นรชนผู้มี
ปัญญาแม้ใกล้ถึงทุกข์แล้ว ก็ไม่พึงตัดความหวังที่จะ
ถึงความสุข จริงอยู่ คนเป็นอันมากถูกทุกข์ กระทบ-
กระทั่ง ก็ทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ถูกสุขกระทบกระทั่ง
ก็ทำสิ่งที่มีประโยชน์ คนเหล่านั้นไม่ตรึกถึงความข้อนี้
จึงถึงความตาย. สิ่งที่นี้ได้คิดไว้ จะมีก็ได้ สิ่งที่คิดไว้
จะพินาศไปก็ได้ โภคะทั้งหลายของหญิงก็ตาม ของ
ชายก็ตาม มิได้สำเร็จด้วยเพียงคิดเท่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึเสเถว ความว่า ไม่ตัดความหวัง
เสีย ทำความหวังการงานของตนร่ำไป. บทว่า น นิพฺพินฺเทยฺย ความว่า
พึงกระทำความเพียรไม่เบื่อหน่าย คือไม่เกียจคร้าน. บทว่า ยถา อิจฺฉึ
ความว่า เราได้เป็นพระราชาดังที่เราปรารถนาทีเดียว. บทว่า อุพฺภตํ ได้แก่
นำเข้าไปใกล้ คือนำเข้าไปแล้ว บทว่า ทุกฺขูปนีโตปิ ความว่า แม้ความ
ทุกข์ทางกายและทางใจถูกต้องแล้ว. บทว่า อหิตา หิตา จ ความว่า ผู้ที่
มีทุกข์สัมผัสย่อมไม่ทำสิ่งที่มีประโยชน์ ผู้ที่มีสุขสัมผัส ย่อมทำสิ่งที่มีประโยชน์.
บทว่า อวิตกฺกิตาโร ได้แก่ ไม่ตรึก คือไม่คิด ท่านอธิบายว่า บรรดา
ผัสสะเหล่านั้น เหล่าสัตว์ที่ผัสสะไม่มีประโยชน์ถูกต้อง ไม่คิดว่า แม้ผัสสะที่
มีประโยชน์ ก็มีอยู่ ผู้ทำความเพียรย่อมบรรลุผัสสะแม้นั้น ไม่คิดดังนี้จึงไม่
ทำความเพียร สัตว์เหล่านั้นไม่ตรึกคือไม่คิดเนื้อความนี้ จึงไม่ได้สัมผัสที่มี
ประโยชน์ ย่อมเข้าถึงมัจจุ คือถึงความตาย เพราะฉะนั้น ชื่อว่าความเพียร
ควรกระทำแท้. บทว่า อจินฺติตมฺปิ ความว่า แม้สิ่งที่สัตว์เหล่านี้มิได้คิดไว้
ก็ย่อมมีได้. บทว่า จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ ความว่า ก็เรื่องที่ว่า เราจะ
ครองราชสมบัติโดยไม่ต้องรบเลยนี้ เรานี้ได้คิดไว้ เรื่องที่ว่า เราจักขนทรัพย์
แต่สุวรรณภูมิมารบแล้ว ครองราชสมบัติ นี้เราคิดไว้ แต่ทั้งสองเรื่องนั้น
บัดนี้ เรื่องที่เราคิดไว้ หายไปแล้ว เรื่องที่เรามิได้คิดไว้เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า
น หิ จินฺตามยา โภคา ความว่า ด้วยว่าโภคะของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า
สำเร็จด้วยความคิดหามิได้ เพราะมิได้สำเร็จด้วยความคิด ฉะนั้น ควรทำ
ความเพียรทีเดียว เพราะสิ่งที่มิได้คิดไว้ ย่อมมีแก่ผู้มีความเพียร.
ตั้งแต่นั้นมา พระมหาสัตว์ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรม ครองราช
สมบัติโดยธรรม ทรงบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. กาลต่อมา พระนาง
สีวลีเทวีประสูติพระราชโอรส ซึ่งสมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งความมั่งคั่งและความ

มีบุญ พระชนกและพระชนนี ทรงขนานพระนามว่า ทีฆาวุราชกุมาร เมื่อ
ทีฆวุราชกุมารทรงเจริญวัย พระราชาประทานอุปราชาภิเษกแล้ว ครองราช
สมบัติอยู่เจ็ดพันปี.
วันหนึ่ง เมื่อนายอุทยานบาลนำผลไม้น้อยใหญ่ต่าง ๆ และดอกไม้
ต่าง ๆ มาถวาย พระมหาชนกราชมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นของเหล่านั้น
ทรงยินดี ทรงยกย่องนายอุทยานบาลนั้น ตรัสว่า ดูก่อนนายอุทยานบาล เรา
ใคร่จะเห็นอุทยาน ท่านจงตกแต่งไว้ นายอุทยานบาล รับพระราชดำรัสแล้ว
ตามรับสั่ง แล้วกราบทูลให้ทรงทราบ พระมหาสัตว์ประทับบนคอช้างเสด็จ
ออกจากพระนครด้วยราชบริพารเป็นอันมาก ถึงประตูพระราชอุทยาน ที่ใกล้
ประตูพระราชอุทยานนั้น มีต้นมะม่วงสองต้นมีใบเขียวชอุ่ม ต้นหนึ่งไม่มีผล
ต้นหนึ่งมีผล ผลนั้นมีรสหวานเหลือเกิน ใคร ๆ ไม่อาจเก็บผลจากต้นนั้น
เพราะผลซึ่งมีรสเลิศอันพระราชายังมิได้เสวย พระมหาสัตว์ประทับบนคอช้าง
ทรงเก็บเอาผลหนึ่งเสวย ผลมะม่วงนั้นพอตั้งอยู่ที่ปลายพระชิวหาของพระมหา
สัตว์ปรากฏดุจโอชารสทิพย์ พระมหาสัตว์ทรงคิดว่า เราจักกินให้มาก
เวลากลับ แล้วเสด็จเข้าสู่พระราชอุทยาน คนอื่น ๆ มีอุปราชเป็นต้น
จนถึงคนรักษาช้าง รักษาม้า รู้ว่าพระราชาเสวยผลมีรสเลิศแล้ว ก็เก็บเอา
ผลมากินกัน ฝ่ายคนเหล่าอื่นยังไม่ได้ผลนั้น ก็ทำลายกิ่งด้วยท่อนไม้ ทำเสีย
ไม่มีใบ ต้นก็หักโค่นลง มะม่วงอีกต้นหนึ่งตั้งอยู่งดงาม ดุจภูเขามีพรรณดัง
แก้วมณี พระราชาเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น
จึงตรัสถามเหล่าอมาตย์ว่า นี่อะไรกัน เหล่าอมาตย์กราบทูลว่า มหาชนทราบ
ว่า พระองค์เสวยผลมีรสเลิศแล้ว ต่างก็แย่งกันกินผลมะม่วงนั้น พระราชา
ตรัสถามว่า ใบและวรรณะของต้นนี้สิ้นไปแล้ว ใบและวรรณะของต้นนอกนี้
ยังไม่สิ้นไป เพราะเหตุไร อมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ใบและวรรณะของอีก

ต้นหนึ่งไม่สิ้นไป เพราะไม่มีผล พระราชาทรงสดับดังนั้น ได้ความสังเวช
ทรงดำริว่า ต้นนี้มีวรรณะสดเขียวตั้งอยู่แล้ว เพราะไม่มีผล แต่ต้นนี้ถูกหัก
โค่นลง เพราะมีผล แม้ราชสมบัตินี้ก็เช่นกับต้นไม้มีผล บรรพชาเช่นกับ
ต้นไม้หาผลมิได้ ภัยย่อมมีแก่ผู้มีความกังวล ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีความกังวล
ก็เราจักไม่เป็นเหมือนต้นไม้มีผล จักเป็นเหมือนต้นไม่หาผลมิได้ เราจักสละ
ราชสมบัติออกบวช ทรงอธิษฐานพระมนัสมั่น เสด็จเข้าสู่พระนคร เสด็จขึ้น
ปราสาทประทับที่พระทวารปราสาท ให้เรียกเสนาบดีมาตรัสสั่งว่า จำเดิมแต่
วันนี้ ชนเหล่าอื่นนอกจากผู้บำรุงปฏิบัติผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เชิญเครื่องเสวยมา
และเป็นผู้ถวายน้ำบ้วนพระโอฐและไม้สีพระทนต์ อย่ามาหาเราเลย ท่านทั้งหลาย
จงถือตามเหล่าอมาตย์ ผู้วินิจฉัยคนเก่าว่ากล่าวราชกิจ ตั้งแต่วันนี้ไป เราจัก
เจริญสมณธรรมในพระตำหนักชั้นบน ตรัสสั่งดังนี้แล้ว เสด็จขึ้นสู่ปราสาท
เจริญสมณธรรมพระองค์เดียวเท่านั้น เมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ มหาชนประชุม
กันที่พระลานหลวง ไม่เห็นพระมหาสัตว์ ก็กล่าวว่า พระราชาของพวกเรา
ไม่เหมือนพระองค์เก่า แล้วกล่าวคาถา 2 คาถาว่า
พระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่เหมือนแต่ก่อน เพราะ
บัดนี้ ไม่ทรงตรวจตราเหล่าคนฟ้อนรำ ไม่ทรงใส่
พระทัยเหล่าเพลงขับ ไม่ทอดพระเนตรสัตว์ทวิบทจตุ-
บาท ไม่ประพาสพระราชอุทยาน ไม่ทอดพระเนตร
หมู่หงส์ พระองค์เป็นประหนึ่งคนใบ้ ประทับนั่งเฉย
ไม่ทรงว่าราชกิจอะไร ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิเค เป็นคำกล่าวรวมถึงสัตว์ทั้งปวง
อธิบายว่า เมื่อก่อนทรงให้ช้างชนกัน ทรงให้แพะขวิดกัน ทรงให้เหล่ามฤค
ต่อสู้กัน วันนี้ พระองค์ไม่ทอดพระเนตรสัตว์แม้เหล่านั้น. บทว่า อุยฺยาเน

ความว่า ไม่โปรดแม้กีฬาในพระราชอุทยาน. บทว่า หํเส ความว่า ไม่ทอด
พระเนตรหมู่หงส์ ในสระโบกขรณีในพระราชอุทยาน ซึ่งดาดาษไปด้วยบัว
เบญจพรรณ. บทว่า มูโคว ความว่า ได้ยินว่าพวกเขาเหล่านั้น ถามผู้เชิญ
เครื่องเสวยและผู้ปฏิบัติบำรุงว่า พระราชาทรงปรึกษาข้อความอะไร ๆ กับ พวก
ท่านบ้าง เขากล่าวว่ามิได้ทรงปรึกษาเลย เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.
พระราชาทรงมีพระมนัสไม่พัวพันในกามทั้งหลาย น้อมพระทัยไปใน
วิเวก ทรงระลึกถึงเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้คุ้นเคยในราชสกุล ทรงดำริว่า
ใครหนอจักบอกสถานที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล
เป็นต้น ผู้หากังวลมิได้เหล่านั้นแก่เรา แล้วทรงเปล่งอุทานด้วยคาถา 3 คาถา
ไว้ว่า
ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้ใคร่ความสุข มีศีลอัน
ปกปิดแล้ว ปราศจากเครื่องผูกคือกิเลส หนุ่มก็ตาม
แก่ก็ตาม มีตัณหาอันก้าวล่วงแล้ว อยู่ที่ไหนในวันนี้
ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น ผู้แสวงหาคุณ
ใหญ่ ท่านผู้มีปัญญาเหล่าใดเป็นผู้ไม่ขวนขวาย อยู่ใน
โลกที่มีความขวนขวาย ท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น ตัดเสีย
ซึ่งข่ายแห่งมัจจุซึ่งขึงไว้มั่น ผู้มีมายาทำลายเสียด้วย
ญาณไปอยู่ ใครพึงนำเราไปสู่ภูมิที่อยู่แต่งท่านผู้มี
ป่าเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขกามา ได้แก่ ผู้ใคร่ความสุข คือ
พระนิพพาน. บทว่า รโหสีลา ความว่า มีศีลอันปกปิดแล้ว คือประกาศ
คุณหาที่สุดมิได้. บทว่า วคฺคพนธา ได้แก่ เครื่องผูกคือกิเลส. บทว่า อุปารุตา
แปลว่า ไปปราศแล้ว. บทว่า ทหรา วุฑฺฒา จ แปลว่า หนุ่มก็ตาม
แก่ก็ตาม. บทว่า อจฺฉเร แปลว่า ย่อมอยู่ เมื่อพระราชาทรงอนุสรณ์ถึงคุณ

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เกิดพระปีติอย่างมาก ครั้งนั้น พระราชา
เสด็จลุกจากบัลลังก์ทรงเปิดสีหบัญชรด้านทิศอุดร ผินพระพักตร์ไปทางทิศอุดร
ประดิษฐานอัญชลีไว้เหนือพระเศียร เมื่อทรงนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง-
หลายผู้ประกอบด้วยคุณอันอุดมเห็นปานนี้ จึงตรัสว่า อติกฺกนฺตวกา เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกฺกนฺตวถา ได้แก่ ผู้ละตัณหาได้แล้ว.
บทว่า มเหสินํ ได้แก่ ผู้แสวงหาคุณมีสีลขันธ์เป็นต้นเป็นอันมากดำรงอยู่.
บทว่า อุสฺสุกฺกมฺหิ ได้แก่ ผู้ถึงความขวนขวายจากราคะเป็นต้น . บทว่า
มจฺจุโน ชาลํ ได้แก่ ข่ายคือตัณหาอันกิเลสมารขึงไว้. บทว่า ตนฺตํ มายาวิโน
ความว่า. ผู้มีมายายิ่งทั้งหลาย กำจัดคือทำลายด้วยญาณของตนไปอยู่. บทว่า
โก เตสํ คติมานเย ความว่า ใครจะพึงให้เราถึง คือพาเราไปยังนิวาสสถาน
ของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น.
เมื่อพระมหาสัตว์ทรงเจริญสมณธรรมอยู่บนประสาทนั่นแล เวลาล่วง
ไปสี่เดือน ลำดับนี้ ๆ. พระหฤทัยของพระองค์ได้น้อมไปในบรรพชาอย่างยิ่ง
พระราชนิเวศปรากฏดุจโลกันตนรก ภพทั้งสามปรากฏแก่พระองค์เหมือนถูก
ไฟไหม้ พระมหาสัตว์มีพระหฤทัยมุ่งเฉพาะต่อบรรพชา ทรงจินตนาการว่า
เมื่อไรหนอ กาลเป็นที่ละกรุงมิถิลา ซึ่งประดับตกแต่งดังพิภพแห่งท้าวสักกเทว-
ราชนี้ แล้วไปสู่ป่าหิมวันต์ทรงเพศบรรพชิต จักมีแก่เรา ทรงคิดฉะนี้แล้ว
ทรงเริ่มพรรณนากรุงมิถิลาว่า
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง ซึ่ง
นายช่างผู้ฉลาดจัดการสร้างจำแนกสถานที่เป็นพระราช
นิเวศเป็นต้น ปันส่วนออกเป็นประตูและถนนตามส่วน
ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง
กว้างขวางรุ่งเรืองด้วยประการทั้งปวง ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่งมี
กำแพงและหอรบเป็นอันมาก ออกบวช ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ป้อมและซุ้มประตูมั่นคง ออกบวช ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ทางหลวงตัดไว้เรียบร้อย ออกบวช ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ร้านตลาดในระหว่างจัดไว้อย่างดี ออกบวช ความ
ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง
เบียดเสียดไปด้วยรถเทียมโคและม้า ออกบวช ความ
ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ระเบียบแห่งหมู่ไม้ในที่เที่ยวสำราญ ออกบวช ความ
ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ระเบียบแห่งหมู่ไม้ในพระราชอุทยาน ออกบวช
ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจัก ละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ระเบียบแห่งปราสาทอันประเสริฐ ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ปราการสามชั้น พรั่งพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์
ซึ่งพระเจ้าวิเทหรัฐผู้ทรงยศ พระนามว่าโสมนัส ทรง
สร้างไว้ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง ซึ่ง
พระเจ้าวิเทหรัฐทรงสะสมธัญญาหารเป็นต้น ทรงปก-
ครองโดยธรรม ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จ
ได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่งอัน
หมู่ปัจจามิตรผจญไม่ได้ ทรงปกครองโดยธรรม ออก
บวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระราชมณเฑียรสถาน อันน่า
รื่นรมย์ จำแนกปันสถานที่ไว้สมส่วน ออกบวช ความ
ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระราชมณเฑียรสถาน อันน่า
รื่นรมย์ ซึ่งฉาบทาด้วยปูนขาวและดิน ออกบวช
ความประสงค์นั้นจัดสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระราชมณเฑียรสถาน อันน่า
รื่นรมย์ มีกลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจ ออกบวช ความประ
สงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันจำแนกปัน
สมส่วน ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันฉาบทาด้วย
ปูนขาวและดิน ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จ
ได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันมีกลิ่นหอม
ฟุ้งจรุงใจ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันทาสีวิเศษ
สวยสด ลาดรดประพรมด้วยแก่นจันทน์ ออกบวช
ความประสงค์นั้นจัดสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละบัลลังก์ทอง ซึ่งลาดอย่างวิจิตร
ด้วยหนังโค ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละบัลลังก์แก้วมณี ซึ่งลาดอย่าง
วิจิตรด้วยหนังโค ออกบวช ความประสงค์นั้นจัก
สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละผ้าฝ้ายผ้าไหม ผ้าอันเกิดแต่
โขมรัฐและเกิดแต่โกทุมพรรัฐ ออกบวช ความประ
สงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ ซึ่ง
นกจากพรากร่ำร้องแล้ว ดาดาษไปด้วยพรรณไม้น้ำ
ทั้งปทุมและอุบล ออกบวช ความประสงค์
สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองช้างซึ่งประดับประดาไปด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง และเหล่าช้างมีสายรัดทองคำ
บริบูรณ์ด้วยเครื่องประดับศีรษะและข่ายทองคำ เหล่า
ควาญที่ประจำก็ถือโตมรและของ้าว ออกบวช ความ
ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองม้า ซึ่งประดับประดาด้วย
สรรพาลังการ และเหล่าสินธพชาติอาชาไนย ซึ่งเป็น
พาหนะเร็ว อันเหล่าคนฝึกประจำถือดาบและแล่งศร
อยู่เป็นนิตย์ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง
ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ
ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำรถถือศร
สวมเกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถทองคำซึ่งติดเครื่องรบชัก
ธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ
ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม
เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละรถเงิน ซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง
ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำรถถือศร
สวมเกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถม้า ซึ่งติดเครื่องรบชักธง
ประจำ หุ้มหนึ่งเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ
ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม
เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถเทียมอูฐ ซึ่งติดเครื่องรบ
ชักธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ
ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม
เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถเทียมแพะ แกะ เนื้อ โค
ซึ่งติดเครื่องรบ ชักธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและ
เสือโคร่ง ประดับประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคน
ประจำถือศรสวมเกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น
จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองฝึกช้าง ถือโตมรและของ้าว
กองฝึกม้าทรงเครื่องประดับทองคำ กองพลธนูถือ
คันธนูพร้อมทั้งแล่งธนู เหล่าราชบุตรทรงเครื่อง
ประดับทองคำ ทั้งสี่เหล่านี้ล้วนประดับด้วยเครื่อง
สรรพาลังการ เป็นผู้กล้าหาญสวมเกราะมีวรรณะเขียว

ส่วนราชบุตรสวมเกราะอันวิจิตรถือกริชทอง ออกบวช
ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละหมู่พราหมณ์ผู้ครองผ้าเครื่อง
บริขารครบครัน ทาตัวด้วยแก่นจันทน์เหลือง ทรงผ้า
มาแต่แคว้นกาสีอันอุดม และนางสนมกำนัลประมาณ
700 คน ซึ่งประดับด้วยเครื่องสรรพาลังการ เอวบาง
สำรวมดีแล้ว เมื่อฟังคำสั่ง พูดจาน่ารัก ออกบวช
ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละภาชนะทองคำน้ำหนักร้อยปัลละ
จำหลักลวดลายนับด้วยร้อย ออกบวช ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรกองช้างซึ่งประดับประดาด้วยเครื่อง
อลังการทั้งปวงเป็นต้น จนถึงเหล่านางสนมกำนัลผู้
เชื่อฟังคำสั่ง พูดจาน่ารัก เป็นที่สุด ผู้ติดตามเราไป
เขาจักไม่ติดตามเราอันใด ความที่พวกนั้น ๆ ไม่ติด
ตามเรานั้น จักมีจักเป็นได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักได้ปลงผมห่มผ้าสังฆาฏิ อุ้มบาตร
เที่ยวบิณฑบาต จักทรงผ้าสังฆาฏิอันทำด้วยผ้าบังสุกุล
ที่เขาทิ้งไว้ตามถนนหนทาง เมื่อฝนตกเจ็ดวัน จักมี
จีวรเปียกซุ่มเที่ยวบิณฑบาต จักจาริกไปตามต้นไม้
ตามราวป่า ทั้งกลางวันและกลางคืน เที่ยวไปโดยไม่
เหลียวแลถึงกิจการอันใดอันหนึ่ง จักละความกลัว
ความขลาดให้เด็ดขาด จักอยู่ผู้เดียวตามภูเขาและ

สถานที่อันลำบาก จักทำจิตให้ตรง ดุจคนดีดพิณ
ดีดสายทั้งเจ็ดให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักตัดเสียซึ่งกามสังโยชน์ อันเป็นของ
ทิพย์และของมนุษย์ ดุจช่างรถตัดรองเท้าโดยรอบ
ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทา เป็นบทกำหนดเวลา. บทว่า ผิตํ
ความว่า แพร่ คือเต็มด้วยผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น. บทว่า วิภตฺตํ
ภาคโส มตํ
ความว่า อันนายช่างผู้สร้างพระนครผู้ฉลาด แบ่งสถานที่เป็น
พระราชนิเวศเป็นต้น ปันส่วนเป็นประตูและถนน. บทว่า ตํ กทา สุ
ภวิสฺสติ
ความว่า การละพระนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้น จักมีได้เมื่อไร.
บทว่า สพฺพโต ปภํ ความว่า ประกอบด้วยแสงสว่างแห่งเครื่องประดับ
โดยรอบ. บทว่า พหุปาการโตรณํ ความว่า ประกอบด้วยกำแพงหนาแน่น
และประตูหอรบ. บทว่า ทฬฺหมฏฏาลโกฏฺฐกํ ความว่า ประกอบด้วยป้อม
และซุ้มประตูมั่นคง. บทว่า ปีฬิตํ ความว่า เกลื่อนกล่น. บทว่า ติปุรํ
ความว่า ประกอบด้วยกำแพงสามชั้น คือ มีกำแพงสามชั้น อีกอย่างหนึ่ง
ความว่า ล้อมรอบสามรอบ. บทว่า ราชพนฺธนึ ความว่า เป็นเมืองที่เต็น
ไปด้วยพระบรมวงศานุวงศ์สามชั้นทีเดียว บทว่า โสมนสฺเสน ความว่า
พระเจ้าวิเทหราชมีพระนามอย่างนี้. บทว่า นิจฺจิเต ได้แก่ สะสมธัญญาหาร
เป็นต้นอุดมสมบูรณ์. บทว่า อชฺเชยฺย ได้แก่ หมู่ปัจจามิตรเอาชนะไม่ได้.
บทว่า จนฺทนโผสิเต ได้แก่ ประพรมด้วยจันทน์แดง. บทว่า โขมโกทุมฺ-
พรานิ
ได้แก่ ผ้าที่เกิดแต่โขมรัฐและโกทุมพรรัฐ. บทว่า หตฺถิคุมฺเพ
ได้แก่ โขลงช้าง. บทว่า เหมกปฺปนิวาสเส ได้แก่ ประกอบด้วยของสำเร็จ

รูปกล่าวคือเครื่องประดับศีรษะล้วนแล้วไปด้วยทอง และข่ายทอง บทว่า
คามนีเยภิ ได้แก่ เหล่าหัตถาจารย์. บทว่า อาชานีเย จ ชาติเย ได้แก่
ฝูงม้าทั้งหลายเช่นนั้น ชื่ออาชาไนย เพราะรู้เหตุและมิใช่เหตุ ชื่อมีชาติ
เพราะสมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า คามนีเยภิ ได้แก่ เหล่าอัศวาจารย์. บทว่า
อินฺทิยา จาปธาริภิ ได้แก่ ทรงไว้ซึ่งดาบและแล่งศร. บทว่า รถเสนิโย
ได้แก่ เวยฺยคฺเฆ บทว่า สนฺนทฺเธ ได้แก่ สวมเกราะด้วยดี. บทว่า ทีเป
อโถปิ เวยฺยคฺเฆ ได้แก่ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง. บทว่า คามนีเยภิ
ได้แก่ เหล่ารถาจารย์. บทว่า สชฺฌุรเถ ได้แก่ รถเงิน ประกอบรถ
เทียมแพะ รถเทียมแกะ รถเทียมเนื้อ เพื่อความงดงาม. บทว่า อริยคเฆ
ได้แก่ หมู่พราหมณ์ ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีวาจาระประเสริฐใน
เวลานั้น เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวถึงพราหมณ์เหล่านั้นอย่างนี้
บทว่า หริจนฺทนลิตฺตงฺเค ได้แก่ มีสรีระไล้ทาด้วยจันทน์สีทอง พระ-
มหาสัตว์กล่าวว่า สตฺตสตา หมายเอาเฉพาะภริยาที่รักเท่านั้น บทว่า
สุสญฺญา ได้แก่ สำรวมแล้วด้วยดี. บทว่า อสฺสวา ได้แก่ ทำตามถ้อยคำ
บทว่า สตปลฺลํ ได้แก่ สร้างด้วยทองคำหนักร้อยปัสละ. บทว่า กํสํ ได้แก่
ถาด. บทว่า สตราชิกํ ได้แก่ ประกอบด้วยลวดลายด้านหลังร้อยลาย บทว่า
ยนฺตํ มํ ความว่า ผู้ติดตามทั้งหลาย เมื่อไรจักไม่ติดตามเราผู้ไปไพรสณฑ์
คนเดียวเท่านั้น. บทว่า สตฺตาหํ เมเฆ ได้แก่ เมื่อเมฆฝนตั้งขึ้นตลอด
เจ็ดวัน ความว่า เวลาฝนตกตลอดเจ็ดวัน. บทว่า สพฺพณฺหํ แปลว่า
ตลอดคืนตลอดวัน. บทว่า วีณรุชฺชโก แปลว่า ผู้บรรเลงพิณ. บทว่า
กามสํโยชเน ได้แก่ กามสังโยชน์. บทว่า ทิพฺเพ แปลว่า เป็นของทิพย์
บทว่า มานุเส แปลว่า เป็นของมนุษย์.

ได้ยินว่า พระมหาสัตว์บังเกิดในกาลที่คนมีอายุหมื่นปี เสวยราชสมบัติ
เจ็ดพันปี ได้ทรงผนวชในเมื่อพระชนมายุยังเหลืออยู่ประมาณสามพันปี ก็เมื่อ
จะทรงผนวช ได้เสด็จอยู่ในฆราวาสวิสัยสี่เดือน จำเดิมแต่กาลที่ได้ทอด-
พระเนตรเห็นต้นมะม่วงที่ประตูพระราชอุทยาน ทรงดำริว่า เพศแห่งบรรพชิต
ประเสริฐกว่าเพศแห่งพระราชานี้ เราจักบวช จึงตรัสสั่งราชบุรุษผู้รับใช้เป็น
ความลับว่า เจ้าจงนำผ้าย้อมฝาดและบาตรดินมาแต่ร้านตลาด อย่าให้ใคร ๆ รู้
ราชบุรุษนั้นได้ทำตามรับสั่ง พระราชาโปรดให้เรียกเจ้าพนักงานภูษามาลามา
ให้ปลงพระเกศาและพระมัสสุ พระราชทานบ้านส่วยแก่ภูษามาลาแล้วโปรดให้
กลับไป ทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง ทรงพาดผืนหนึ่งที่พระ-
อังสา สวมบาตรดินในถุงคล้องพระอังสา ทรงธารพระกรสำหรับคนแก่แต่
ที่นั้น เสด็จจงกรมไปมาในปราสาทด้วยปัจเจกพุทธลีลาสิ้นวันเล็กน้อย ทรง
เปล่งอุทานว่า โอ บรรพชาเป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นสุขอันประเสริฐ.
พระมหาสัตว์เสด็จประทับอยู่ในปราสาทนั้นแล ตลอดวันนั้น วัน
รุ่งขึ้นทรงปรารภจะเสด็จลงจากปราสาทในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น คราวนั้น
พระนางสีวลีเทวีตรัสเรียกสตรีคนสนิทเจ็ดร้อยเหล่านั้นมารับสั่งว่า พวกเราไม่
ได้เห็นพระราชาของเราทั้งหลาย ล่วงมาได้สี่เดือนแล้ว วันนี้เราทั้งหลายจัก
พากันไปเฝ้าท้าวเธอ ท่านทั้งหลายพึงตกแต่งด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง แสดง
เยื้องกรายมีกิริยาอาการร่าเริง เพ็ดทูล ขับร้องอย่างสตรีเป็นต้นตามกำลัง
พยายามผูกพระองค์ไว้ด้วยเครื่องผูกดือกิเลส แม้พระเทวีก็ทรงประดับตกแต่ง
พระองค์ แล้วเสด็จขึ้นปราสาทกับด้วยสตรีเหล่านั้น ด้วยทรงคิดว่า จักเฝ้า
พระราชา แม้ทอดพระเนตรเห็นพระราชาเสด็จลงอยู่ ก็ทรงจำไม่ได้ ถวาย
บังคมพระราชาแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยทรงสำคัญว่า

บรรพชิตนี้จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามาถวายโอวาทพระราชา ฝ่ายพระมหาสัตว์
เสด็จลงจากปราสาท ฝ่ายพระเทวีเมื่อเสด็จในรูปยังปราสาท ทอดพระเนตร
เห็นพระเกศาของพระราชามีสีดุจปีกแมลงภู่ บนหลังพระที่สิริไสยาสน์ และ
ห่อเครื่องราชาภรณ์ จึงตรัสว่า บรรพชิตนั้น ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า จัก
เป็นพระราชสวามีที่รักของพวกเรา มาเถิดท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายจักทูล
วิงวอนพระองค์ให้เสด็จกลับ จึงเสด็จลงจากปราสาทตามไปทันพระราชาที่หน้า
พระลาน ครั้นถึงจึงสยายเกศาเรี่ยรายเบื้องพระปฤษฎางค์ กับด้วยสตรีทั้งปวง
เหล่านั้น ข้อนทรวงด้วยพระหัตถ์ทั้งสองกราบทูลว่า พระองค์ทรงทำการ
อย่างนี้ เพราะเหตุไร พระเจ้าข้า ทรงคร่ำครวญติดตามพระราชาไปอย่าง
น่าสงสารยิ่ง.
ครั้งนั้น พระนครทั้งสิ้นก็เอิกเกริกโกลาหล ฝ่ายชาวเมืองเหล่านั้น
กล่าวว่า ได้ยินว่า พระราชาของพวกเราทรงผนวชเสียแล้ว พวกเราจักได้
พระราชาผู้ดำรงอยู่ในยุติธรรมเห็นปานนี้แต่ไหนอีกเล่า แล้วต่างร้องให้ที่ความ
พระราชาไป.
พระบรมศาสดาเมื่อทรงทำให้แจ้งซึ่งเสียงคร่ำครวญของหญิงเหล่านั้น
และความที่พระราชาทรงละหญิงแม้ที่กำลังคร่ำครวญอยู่เหล่านั้นเสีย เสด็จไป
เพราะเหตุการณ์นั้น จึงตรัสว่า
พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ประดับด้วย
สรรพาลังการ เอวบางสำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ พูดจา
น่ารัก ประคองพาหาทั้งสองกันแสง คร่ำครวญว่า
พระองค์ละพวกข้าพระองค์ เพราะเหตุไร พระราชา
ทรงละพระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ซึ่งประดับด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง เอวบางสำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ

พูดจาน่ารัก เสด็จไปมุ่งการผนวชเป็นสำคัญ พระราชา
ทรงละภาชนะทองคำหนักร้อยปัลละ มีลวดลายนับ
ด้วยร้อย ทรงอุ้มบาตรดินนั้น ให้เป็นอันอภิเษกครั้ง
ที่สอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปคฺคยฺห ได้แก่ ยกขึ้นแล้ว. บทว่า
สมฺปทวี ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้ามหาชนกราชนั้นทรงทิ้ง
พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้นซึ่งรำพันเพ้ออยู่ว่า พระองค์ละพวกข้าพระองค์
เสด็จไปแต่ผู้เดียวทำไม ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความผิดอะไรหรือ พระองค์
มุ่งเสด็จไปดุจถูกท้วงว่า พระองค์ปราศจากสมบัติเสด็จออกผนวช. บทว่า ตํ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น ทรงอุ้มบาตรดินนั้นให้
เป็นอันอภิเษกครั้งที่สอง เสด็จออกอยู่.
พระนางสีวลีเทวีแม้ทรงคร่ำครวญอยู่ก็ไม่อาจยังพระราชาให้เสด็จกลับ
ได้ ทรงคิดว่า มีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า แล้วตรัสสั่ง
ว่า ท่านจงจุดไฟเผาเรือนเก่าศาลาเก่า ในส่วนทิศเบื้องหน้าที่พระราชาเสด็จไป
จงรวบรวมหญ้าและใบไม้นำมาสุมให้เป็นควันมากในที่นั้น ๆ มหาเสนาคุตได้
ทำอย่างนั้น พระนางสีวลีเทวีเสด็จไปสู่สำนักของพระราชา หมอบแทบพระ
ยุคลบาทกราบทูลความที่ไฟไหม้กรุงมิถิลา ตรัสสองคาถาว่า
คลังทั้งหลาย คือคลังเงิน คลังทอง คลังแก้ว
มุกดา คลังแก้วไพฑูรย์ คลังแก้วมณี คลังสังข์คลัง
ไข่มุกค์ คลังผ้า คลังจันทน์เหลือง คลังหนังเสือ
คลังงาช้าง คลังพัสดุสิ่งของ คลังทองแดง คลังเหล็ก
เป็นอันมาก มีเปลวไฟเสมอเป็นอันเดียวกันอย่างน่า

กลัว แม้อยู่คนละส่วนก็ไหม้หมด ของพระองค์โปรด
เสด็จกลับดับไฟเสียก่อน พระราชทรัพย์ของพระองค์
นั้นอย่าได้ฉิบหายเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เภสฺมา แปลว่า น่ากลัว. บทว่า
อคฺคิสมาชาลา ความว่า เรือนทั้งหลายของมนุษย์ นั้น ๆ อันไฟไหม้อยู่
ไฟรุ่งเรื่องด้วยเปลวเสมอเป็นอันเดียวกัน. บทว่า โกสา ได้แก่ เรือนคลัง
เงินเป็นต้น. บทว่า ภาคโส ความว่า พระนางสีวลีเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ คลังของเราทั้งหลายเหล่านั้น แม้แบ่งไว้เป็นส่วน ๆ ก็ถูกไฟไหม้
หมด. บทว่า โลหํ ได้แก่ ทองแดงเป็นต้น. บทว่า มา เต ตํ วินสฺสา
ธนํ
ความว่า ขอทรัพย์ของพระองค์นั้นจงอย่าพินาศ อธิบายว่า มาเถิด
ขอพระองค์จงดับไฟนั้น พระองค์จะเสด็จไปภายหลัง พระองค์จักถูกครหาว่า
เสด็จออกไปโดยไม่เหลียวแลพระนครที่กำลัง ถูกไฟไหม้อยู่เลย พระองค์จักมี
ความวิปฏิสารเพราะความละอายนั้น มาเถิด พระองค์โปรดสั่งเหล่าอมาตย์ให้
ดับไฟเถิด พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะพระนางสีวลีว่า พระเทวี เธอตรัส
อะไรอย่างนั้น ความกังวลด้วยของเหล่าใดมีอยู่ ความกังวลนั้นด้วยของเหล่า
นั้นเพลิงเผาผลาญอยู่ แต่เราทั้งหลายหาความกังวลมิได้ เมื่อจะทรงแสดงข้อ
ความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิตเป็นสุขดี
หนอ เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่ ของอะไร ๆ
ของเรามิได้ถูกเผาผลาญเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ กิญฺจนํ ความว่า ความกังวล
กล่าวคือกิเลสเครื่องกังวลของเราทั้งหลายเหล่าใด ไม่มี เราทั้งหลายเหล่านั้น
มีชีวิตเป็นสุข เป็นสุขดีหนอ เพราะไม่มีความกังวลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระ
มหาสัตว์จึงตรัสว่า เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่ ของอะไร ๆ ของเรา
มิได้ถูกเผาผลาญเลย ความว่า เราไม่เห็นสิ่งของส่วนตัวของเราแม้หน่อยหนึ่ง
ถูกเผาผลาญ.
ก็แลครั้น ตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ได้เสด็จออกทางประตูทิศอุดร
พระสนมกำนัลใน ทั้งเจ็ดร้อยแม้เหล่านั้นก็ออกตามเสด็จไป พระนางสีวลีเทวี
ทรงคิดอุบายอีกอย่างหนึ่ง จึงตรัสสั่งอมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงแสดงเหตุ
การณ์ให้เป็นเหมือนโจรฆ่าชาวบ้านและปล้นแว่นแคว้น อมาตย์ได้จัดการตาม
กระแสรับสั่ง ขณะนั้น คนทั้งหลายก็แสดงพวกคนถืออาวุธวิ่งแล่นไป ๆ แต่
ที่นั้น ๆ เป็นราวกะว่าปล้นอยู่ รดน้ำครั่งลงในสรีระเป็นราวกะว่าถูกประหาร
ให้นอนบนแผ่นกระดาน เป็นราวกะว่า ตายถูกน้ำพัดไป ต่อพระราชา มหาชน
ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พวกโจรปล้นแว่นแคว้น ฆ่าข้าแผ่นดินของ
พระองค์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่ แม้พระเทวี ก็ถวายบังคม
พระราชา ตรัสคาถาเพื่อให้เสด็จกลับว่า
เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว ปล้นแว่นแคว้นของพระองค์
มาเถิด พระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด แว่น
แคว้นนี้ อย่าพินาศเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏวิโย ความว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อ
พระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่นี่แหละ เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว. บทว่า รฏฐํ ความว่า
พวกโจรทำลายแว่นแคว้นของพระองค์ อันธรรมรักษาแล้วเห็นปานนั้น มา

เถิด พระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด แว่นแคว้นของพระองค์นี้ จง
อย่าพินาศ.
พระราชาทรงสดับ ดังนี้นั้นแล้วมีพระดำริว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ จะไม่
เกิดโจรปล้นทำลายแว่นแคว้นเลย นี้จักเป็นการกระทำของพระสีวลิเทวี เมื่อ
จะทรงทำให้พระนางจำนนต่อถ้อยคำ จึงตรัสว่า
เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิตเป็นสุขดี
หนอ เมื่อแว่นแคว้นถูกโจรปล้น พวกโจรมิได้นำ
อะไร ๆ ของเราไปเลย เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล
มีชีวิตเป็นสุขดีหนอ เราทั้งหลายจักมีปีติเป็นภักษา
เหมือนเทวดาชั้นอาภัสรา ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิลุมฺปมานมฺหิ ได้แก่ ถูกโจรปล้น อยู่.
บทว่า อากสฺสรา ยถา ความว่า พรหมเหล่านั้นเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา
ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในสมาบัติ ฉันใด เราทั้งหลายจักยังเวลาให้
ล่วงไป ฉันนั้น.
แม้เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว มหาชนก็ยังติดตามพระองค์ไปอยู่
นั่นเอง พระมหาสัตว์มีพระดำริว่า มหาชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะกลับ เราจักให้
มหาชนนั้นกลับ เมื่อทรงดำเนินทางไปได้กึ่งคาวุต พระองค์ จึงทรงหยุดพัก
ประทับยืนในทางใหญ่ ตรัสถามอมาตย์ทั้งหลายว่า ราชสมบัตินี้ของใครอมาตย์
ทั้งหลายกราบทูลว่า ของพระองค์ ท้าวเธอจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย
จงลงราชทัณฑ์แก่ผู้ทำรอยขีดนี้ให้ขาด ตรัสฉะนี้แล้วทรงเอาธารพระกรลากให้
เป็นรอยขีดขวางทาง ใคร ๆ ไม่สามารถทำรอยขีด ที่พระราชาผู้มีพระเดชา-
นุภาพได้ทรงขีดไว้ให้ขาดลบเลือน มหาชนทำรอยขีดเหนือศีรษะคร่ำครวญกัน

อย่างเหลือเกิน แม้พระนางสีวลีเทวีก็ไม่ทรงสามารถทำรอยขีดนั้นให้เลือนหาย
ได้ ทอดพระเนตรเห็นพระราชาหันพระปฤษฎางค์เสด็จไปอยู่ ไม่สามารถจะ
กลั้นโศกาดูร ก็ข้อนพระอุระล้มขวางทางใหญ่กลิ้งเกลือกไปมาล่วงเลยรอยขีด
นั้นเสด็จไป มหาชนเข้าใจว่า เจ้าของรอยขีดได้ทำลายเจ้าของรอยขีดแล้ว จึง
พากัน โดยเสด็จไปตามบรรดาที่พระเทวีเสด็จไป พระมหาสัตว์ทรงบ่ายพระ
พักตร์เสด็จไปหิมวันตประเทศทางทิศอุดร ฝ่ายพระนางสีวลีเทวีก็พาเสนาพล
พาหนะทั้งปวง ตามเสด็จไปด้วย พระราชาไม่อาจที่จะให้มหาชนกลับ ได้เสด็จ
ไปสิ้นทางประมาณหกสิบโยชน์.
ในกาลนั้น มีดาบสรูปหนึ่งชื่อนารทะ อยู่ที่สุวรรณดูหาในหิมวันต
ประเทศ ให้เวลาล่วงไปด้วยสุขเกิดแต่ฌานอันสัมปยุตด้วยอภิญญาห้า ล่วง
เจ็ดวันก็ออกจากสุขเกิดแต่ฌาน เปล่งอุทานว่า โอ เป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง
ดาบสนั้นตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุว่า ใคร ๆ ในพื้นชมพูทวีปแสวงหา
สุขนี้ มีบ้างหรือหนอ ก็เห็นพระมหาชนกผู้พุทธางกูร จึงคิดว่า พระมหา-
ชนกนั้นเป็นพระราชาออกมหาภิเนษกรมณ์ ไม่สามารถจะยังมหาชนราชบริ-
พาร มีพระนางสีวลีเทวีเป็นประมุขให้กลับพระนครได้ ข้าราชบริพารนั้นพึง
ทำอันตรายแก่พระองค์ เราจักถวายโอวาทแก่พระองค์ เพื่อให้ทรงสมาทาน
มั่น โดยยิ่งโดยประมาณ จึงไปด้วยกำลังฤทธิ์ สถิตอยู่ในอากาศตรงเบื้องพระ
พักตร์พระราชา กล่าวคาถาให้พระองค์เกิดอุทสาหะว่า
ความกึกก้องของประชุมชนใหญ่นี้ เพื่ออะไร
นั่นใครหนอมากับท่าน เหมือนเล่นกันอยู่ในบ้าน
สมณะ อาตมาขอถามท่าน ประชุมชนนี้แวดล้อมท่าน
เพื่ออะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมฺเหโส ความว่า ความกึกก้องแห่ง
ประชุมชนหมู่ใหญ่มีโขลงช้างเป็นต้นนี้ ในเพราะเหตุอะไร. บทว่า กานุ
คาเมว กีฬิยา
ความว่า นั่นใครหนอมากับท่าน ราวกะว่าเล่นกีฬากันอยู่
ในบ้าน. บทว่า กตฺเถโส ได้แก่ มหาชนนี้เพื่ออะไร. บทว่า อภิสโฏ
ความว่า มหาชนประชุมกันแวดล้อมท่านมา นารทดาบสถามดังนี้.
พระราชาตรัสตอบว่า
ประชุมชนนี้ตามข้าพเจ้า ผู้ละพวกเขาไปในที่นี้
ข้าพเจ้าผู้ล่วงสีมาคือกิเลสไปเพื่อถึงมโนธรรม กล่าว
คือญาณของมุนีผู้ไม่เกื้อกูลแก่เหย่าเรือน ผู้เจือด้วย
ความเพลิดเพลินทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ
อยู่ ท่านรู้อยู่ จะถามทำไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มมํ ความว่า ข้าพเจ้าละชนไป ซึ่ง
ข้าพเจ้านั้นผู้ละไป. บทว่า เอตฺถ ความว่า มหาชนนี้ห้อมล้อมแล้ว คือ
ติดตามมาในที่นี้. บทว่า สีมาติกฺกมนํ ยนฺตํ ความว่า ทำไมท่านจึงถาม
ข้าพเจ้า ผู้ล่วงสีมาคือกิเลส ไปคือบวชเพื่อถึงมโนธรรมกล่าวคือญาณของมุนี
ผู้ไม่เกื้อกูลแก่เหย้าเรือน. บทว่า มิสฺสํ นนฺทีหิ คจฺฉนฺตํ ความว่า
ท่านรู้หรือว่าไม่รู้ว่าข้าพเจ้าบวชแล้ว จึงถามข้าพเจ้าผู้ยังไม่ละความเพลิดเพลิน
เจือด้วยความเพลิดเพลินทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ ไปอยู่ คือท่านไม่
ได้ฟังข่าวบ้างหรือว่า ได้ยินว่า พระมหาชนกทั้งวิเทหรัฐบวช.
ลำดับนั้น นารทดาบสกล่าวคาถาอีก เพื่อต้องการให้พระมหาสัตว์
สมาทานมั่น ว่า

พระองค์เพียงแต่ทรงสรีระนี้ จะสำคัญว่า เรา
ข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ จะพึง
ข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หาได้ไม่ เพราะยังมีอัน-
ตรายอยู่มา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสฺสุ ติณฺโณ อมญฺญิตฺโถ ความว่า
ท่านทรงสรีระนี้ คือ ครองบรรพชิตบริขารและผ้ากาสาวะ อย่าได้เข้าใจว่า
เราข้ามแล้ว คือ ก้าวล่วงแล้วซึ่งแดนคือกิเลส ด้วยเหตุเพียงถือเพศบรรพชิตนี้.
บทว่า อติรเณยฺยมิทํ ความว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้ ไม่ใช่จะข้ามได้ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้. บทว่า พหู หิ ปริปนฺถโย ความว่า เพราะว่าอันตรายคือ
กิเลสของท่าน ที่ตั้งกั้นทางสวรรค์ ยังมีอยู่มาก.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า
ข้าพเจ้าใดปรารถนาเฉพาะ ซึ่งกามทั้งหลาย ใน
มนุษยโลกอันบุคคลเห็นแล้ว ก็หาไม่เลย ในเทวโลก
อันบุคคลไม่เห็นแล้ว ก็หาไม่ อันตรายอะไรหนอจะ
พึงมีแก่ข้าพเจ้านั้น ซึ่งมีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เนว ทิฏฺเฐ นาทิฏฺเฐ ความว่า
ข้าพเจ้าใดปรารถนาเฉพาะซึ่งกามทั้งหลาย ในมนุษยโลกอัน บุคคลเห็นแล้ว
ก็หามิได้เลย ในเทวโลกอันบุคคลไม่เห็นแล้ว ก็หามิได้เลย อันตรายอะไรหนอ
จะพึงมีแก่ข้าพเจ้านั้น ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้ พระมหาสัตว์ตรัสดังนี้.
ลำดับนั้น นารทดาบสเมื่อจะแสดงอันตรายทั้งหลายแก่พระมหาสัตว์
นั้น จึงกล่าวคาถาว่า
อันตรายมากทีเดียว คือ ความหลับ ความ
เกียจคร้าน ความง่วงเหงา ความไม่ชอบใจ ความ
เมาอาหาร ตั้งอยู่ในสรีระ อาศัยอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิทฺทา ได้แก่ หลับอย่างลิง. บทว่า
ตนฺทิ ได้แก่ ความเกียจคร้าน. บทว่า อรติ ได้แก่ ความกระสัน. บทว่า
ภตฺตสมฺมโท ได้แก่ ความกระวนกระวายเพราะภัตตาหาร ท่านอธิบายไว้
ดังนี้ ดูก่อนสมณะ พระองค์เป็นผู้มีพระรูปงามน่าเลื่อมใส มีผิวพรรณดุจ
ทองคำ เนื้อพระองค์รับสั่งว่า อาตมาละราชสมบัติออกทรงผนวช คนทั้งหลาย
จักถวายบิณฑบาตอันโอชาประณีตแก่พระองค์ พระองค์ทรงรับพอเต็มบาตร
เสวยพอควรแล้วเข้าสู่บรรณศาลา บรรทม ณ ที่สาดไม้ หลับกรนอยู่ตื่นในระหว่าง
พลิกกลับไปกลับมา ทรงเหยียดพระหัตถ์และพระบาท ลุกขึ้นจับราวจีวร
เกียจคร้านไม่จับ ไม้กวาดกวาดอาศรม ไม่นำน้ำดื่มมา บรรทมหลับอีก ตรึก
ถึงกามวิตก กาลนั้นก็ไม่พอพระทัยในบรรพชา ความกระวนกระวายเพราะ
ภัตตาหารจักมีแต่พระองค์ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อาวสนฺติ สรีรฏฺฐา
ความว่า อันตรายเหล่านั้นมีประมาณเท่านี้ ตั้งอยู่ในสรีระของท่านอาศัยอยู่ คือ
บังเกิดในสรีระของท่านนี่แหละ นารทดาบสแสดงดังนี้.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะตรัสชมนารทดาบสนั้น จึงตรัสคาถาว่า
ข้าแต่พราหมณี ท่านผู้เจริญพร่ำสอนข้าพเจ้า
ดีนักหนา ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์นี่แหละ ข้าแต่
ท่านผู้นิรทุกะ ท่านเป็นใครหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณ อนุสาสสิ ความว่า
ข้าแต่พราหมณ์ ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้าดีนักหนา.
ลำดับนั้น นารทดาบสกล่าวว่า
ชนทั้งหลายรู้จักอาตมาโดยนามว่า นารทะ โดย
โคตรว่า กัสสปะ ดังนี้ อาตมามาในสถานใกล้พระ-
องค์ผู้เจริญ ด้วยรู้สึกว่า การสมาคมด้วยสัตบุรุษ

ทั้งหลาย ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ พระองค์จงทรง
ยินดีในบรรพชานี้ วิหารธรรมจงเกิดแก่พระองค์ กิจ
อันใดยังพร่องด้วยศีล การบริกรรมและฌาน พระองค์
จงทรงบำเพ็ญกิจอันนั้นให้บริบูรณ์ จงประกอบด้วย
ความอดทนและความสงบระงับ อยู่ถือพระองค์ว่า
เป็นกษัตริย์ จงทรงคลายออกเสียซึ่งความยุบลงและ
ความฟูขึ้น จงทรงกระทำโดยเคารพซึ่งกุศลกรรมบถ
วิชชาและสมณธรรม แล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิทู ความว่า ชนทั้งหลายรู้จักอาตมา
โดยชื่อและโคตรว่า กัลสปะ. บทว่า สพฺภิ ความว่า ขึ้นชื่อว่าการสมาคม
กับด้วยบัณฑิตทั้งหลายเป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะเหตุนั้น อาตมา
จึงมา. บทว่า อานนฺโท ความว่า ความเพลิดเพลิน คือความยินดี ความ
ชอบใจ ในบรรพชานี้ จงมีแก่ท่านนั้น อย่าเบื่อหน่าย. บทว่า วิหาโร
ได้แก่ พรหมวิหารธรรมสี่อย่าง. บทว่า อุปวตฺตตุ ได้แก่ จงบังเกิด.
บทว่า ยทูนํ ความว่า กิจด้วยศีล ด้วยกสิณบริกรรม ด้วยฌานนั้นใดยัง
หย่อน พระองค์จงยังกิจนั้นให้บริบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า
ขนฺตยา อุปสเมน จ ความว่า ท่านอย่ามีมานะว่าเราเป็นพระราชาบวช
จงเป็นผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติและความสงบระงับกิเลส. บทว่า ปสารย
ความว่า อย่ายกตน อย่าถือพระองค์. บทว่า สนฺนตฺตญฺจ อุนฺนตฺตญฺจ
ความว่า จงคลายอวมานะที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า เรามีชาติตระกูลหรือ
และอติมานะที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่าเราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า กมฺมํ
ได้แก่ กุศลกรรมบถสิบ. บทว่า วิชฺชํ ได้แก่ ญาณที่เป็นไปในอภิญญาห้า

และสมาบัติแปด. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ สมณธรรมกล่าวคือกสิณบริกรรม
บทว่า สกฺกตฺวาน ปริพฺพช ความว่าจงทำโดยเคารพซึ่งคุณธรรมเหล่านั้นเป็น
ไปหรือจงทำโดยเคารพซึ่งคุณธรรมเหล่านี้ สมาทานให้มั่นบำเพ็ญพรหมจรรย์
คือจงรักษาบรรพชา อย่าเบื่อหน่าย.
นารทดาบสนั้นถวายโอวาทพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว กลับไปที่อยู่ของ
ตนทางอากาศ.
เมื่อนารทดาบสไปแล้ว มีดาบสอีกรูปหนึ่งชื่อมิคาชินะ ออกจาก
สมาบัติตรวจดูโลกเห็นพระมหาสัตว์ จึงมาแล้วดุจกัน ด้วยคิดว่า เราจักถวาย
โอวาทพระมหาสัตว์เพื่อประโยชน์ให้มหาชนกลับพระนคร จึงสถิตอยู่ ณ
อัมพรวิถี สำแดงตนให้ปรากฏแล้วกล่าวว่า
พระองค์ทรงละช้างม้าชาวนครและชาวชนบท
เป็นอันมาก ผนวชแล้วทรงยินดีในบาตร ชาวชนบท
มิตรอมาตย์และพระญาติเหล่านั้นได้กระทำความผิด
ระหว่างพระองค์ละกระมัง เหตุไร พระองค์จึงละอิส-
ริยสุขมาชอบพระทัยซึงบาตรนั้น.

บทว่า กปลฺเล ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมายถึงบาตรดิน มีคำ
อธิบายว่า เมื่อมิคาชินดาบสถานถึงเหตุแห่งบรรพชาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อน
มหาชนก ท่านละความเป็นใหญ่เห็นปานนี้ผนวชแล้ว ท่านยินดีในบาตรดิน
บทว่า ทูภึ ความว่า พวกเขาเหล่านั้นได้กระทำความผิดอะไร ๆ ในระหว่าง
ต่อท่านบ้างหรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงละอิสริยสุขเห็นปานนี้ มาชอบพระ-
บาตรดินใบนี้เท่านั้น.
แต่นั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า

ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้ามิได้ผจญซึ่งญาติ
ไร ๆ โดยส่วนเดียวในกาลไหน ๆ โดยอธรรม แม้
ญาติทั้งหลายก็มิได้ผจญซึ่งข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มิคาชน ได้แก่ ข้าแต่ท่านนิคาชินะ
ผู้เจริญ. บทว่า ชาตุจฺเฉ แปลว่า โดยส่วนเดียวนั่นเทียว. บทว่า อหํ
กิญฺจิ ลุทาจนํ
ความว่า ข้าพเจ้ามิได้ผจญซึ่งญาติไร ๆ ในกาลไร ๆ โดย
อธรรม แม้ญาติเหล่านั้นก็มิได้ผจญซึ่งข้าพเจ้าโดยอธรรม อธิบายว่า ไม่มี
ญาติคนไหนได้กระทำความผิดในข้าพเจ้า ด้วยประการฉะนี้.
พระมหาสัตว์ทรงห้ามปัญหาแห่งมิคาชินดาบสนั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งการทรงผนวชจึงตรัสว่า
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้าเห็นประเพณีของ
โลก เห็นโลกถูกกิเลสขบกัด ถูกกิเลสทำให้เป็นดัง
เปือกตม จึงได้ทำเหตุนี้ให้เป็นเครื่องเปรียบเทียบว่า
ปุถุชนจมอยู่แล้วในกิเลสวัตถุใด สัตว์เป็นอันมากย่อม
ถูกประหารและถูกฆ่าในเพราะกิเลสวัตถุนั้น ดังนี้จึง
ได้บวชเป็นภิกษุ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกวตฺตนฺตํ ความว่า ข้าพเจ้าได้เห็น
วัตร คือ ประเพณีของสัตวโลกผู้โง่เขลา ผู้ไปตามวัฏฏะ เพราะเห็นดังนั้น
ข้าพเจ้าจึงบวช พระมหาสัตว์ทรงแสดงดังนี้. บทว่า ขชฺชนฺตํ กทฺทมีกตํ
ความว่า เห็นสัตวโลกถูกกิเลสขบกัด และถูกกิเลสเหล่านั้นแหละทำให้เป็นดัง
เปือกตม. บทว่า ยตฺถ สนฺโน ความว่า ปุถุชนจม คือ ข้อง คือ จมลง
ในกิเลสวัตถุใด สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมากต้องอยู่ในกิเลสวัตถุนั้น ย่อมถูกฆ่าบ้าง
ย่อมคิดอยู่ในเครื่องผูกมีโซ่และเรือนจำเป็นต้นบ้าง. บทว่า เอตาหํ ความว่า

หากแม้ข้าพเจ้าจักติดอยู่ในกิเลสวัตถุนี้ ข้าพเจ้าก็จักถูกฆ่าและถูกจองจำเหมือน
สัตว์เหล่านั้น ดังนั้นจึงทำเหตุการณ์นั่นแหละเป็นอุปมาแห่งคนแล้วบวชเป็นภิกษุ
พระมหาสัตว์เรียกดาบสนั้นว่า มิคาชินะ พระมหาสัตว์ทรงทราบชื่อของดาบส
นั้นได้อย่างไร ทรงทราบ เพราะทรงถามไว้ก่อนในเวลาปฏิสันถาร.
ดาบสใคร่จะฟังเหตุการณ์นั้นโดยพิสดาร จึงกล่าวคาถาว่า
ใครหนอเป็นผู้จำแนกแจกอรรถสั่งสอนพระองค์
คำอันสะอาดนี้เป็นคำของใคร ดูก่อนพระองค์ผู้เป็น
จอมทัพ เพราะพระองค์มิได้ตรัสบอกสมณะผู้มีวัตร
ปฏิบัติก้าวล่วงทุกข์ นอกจากกัปปสมณะหรือวิชชสม-
ณะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺเสตํ ความว่า คำอันสะอาดนี้ คือ
ที่ท่านกล่าว เป็นคำของใคร. บทว่า กปฺปํ ได้แก่ ดาบสผู้เป็นกรรมวาที
ผู้ได้อภิญญาสมาบัติอันสำเร็จเป็นไปแล้ว. บทว่า วิชฺชํ ได้แก่ พระปัจเจก-
พุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยวิชชาคืออาสวักขยญาณ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ มิคาชิน-
ดาบสเรียกพระเจ้ามหาชนกราชว่า รเถสภ เพราะพระเจ้ามหาชนกราชมิได้
ตรัสบอกสมณะผู้มีวัตรปฏิบัติโดยประการที่ก้าวล่วงทุกข์ได้ นอกจากกัปปสมณะ
หรือวิชชสมณะ คือเว้นโอวาทของท่านเสีย ใคร ๆ ได้ฟังคำของท่านเหล่านั้น
แล้วสามารถที่จะปฏิบัติได้อย่างนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ใครหนอเป็นผู้จำแนก
แจกอรรถสั่งสอนพระองค์.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวก็ดาบสนั้นว่า
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ถึงข้าพเจ้าจะเคารพสมณะ
หรือพราหมณ์โดยส่วนเดียวก็จริง แต่ก็ไม่เคยเข้าใกล้
ไต่ถามอะไร ๆ ในกาลไหน ๆ เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกตฺวา ได้แก่ บูชาเพื่อต้องการจะ
ถามคุณแห่งการบรรพชา. บทว่า อนุปาวิสึ ความว่า พระมหาสัตว์ตรัสว่า
ข้าพเจ้าไม่เคยเข้าใกล้ใคร ๆ ไม่ถามสมณะไร ๆ เลย เพราะพระมหาสัตว์นี้
แม้ฟังธรรมในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่ถามคุณแห่งการ
บรรพชาโดยเฉพาะในกาลไหน ๆ เลย ฉะนั้นท่านจึงตรัสอย่างนี้.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงตรัสคาถาเพื่อทรงแสดง
เหตุที่ทรงผนวชตั้งแต่ต้นว่า
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้านั้นรุ่งเรืองด้วยสิริ
ไปยังพระราชอุทยานด้วยอานุภาพใหญ่ เมื่อเจ้าพนัก-
งานกำลังขับเพลงขับและประโคมดนตรีกันอยู่ ข้าพเจ้า
ได้เห็นมะม่วงมีผลภายนอกกำแพงพระราชอุทยานอัน
กึกก้องด้วยเสียงดนตรี พร้อมแล้วด้วยคนร้องและคน
ประโคม ข้าพเจ้าละต้นมะม่วงอันมีสิรินั้นซึ่งเหล่า
มนุษย์ผู้ต้องการผลฟาดตีอยู่ ลงจากคอช้างเข้าไปโคน
ต้นมะม่วง ซึ่งมีผลและไม่มีผล เห็นต้นมะม่วงที่มีผล
ถูกคนเบียดเบียนกำจัดแล้ว ปราศจากใบและก้าน แต่
มะม่วงอีกต้นหนึ่งมีใบเขียวชอุ่มน่ารื่นรมย์ ศัตรูทั้ง-
หลายจักฆ่าพวกเราผู้มีอิสระ มีศัตรูดุจหนามเป็นอัน
มาก เหมือนต้นมะม่วงมีผล ลุกคนหักโค่นฉะนั้น
เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา คน
มีทรัพย์ถูกฆ่าเพราะทรัพย์ ใครเล่าจักฆ่าผู้ไม่มีเหย้า
เรือน ผู้ไม่มีสันถวะคือตัณหา มะม่วงต้นหนึ่งมีผล
อีกต้นหนึ่งไม่มีผล ทั้งสองต้นนั้นเป็นผู้สั่งสอน
ข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วคฺคุสุ ความว่า เมื่อดนตรีมีเสียง
ไพเราะอันบุคคลประโคมอยู่. บทว่า ตุริยตาลิตสํฆุฏฺเฐ ความว่า ในพระราช
อุทยานที่กึกก้องด้วยเสียงดนตรีทั้งหลาย. บทว่า สมฺมาตาลสมาหิเต ความว่า
ประกอบด้วยคนขับร้องและคนประโคมทั้งหลาย. บทว่า สมิคาชิน ความว่า
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้านั้นได้เห็นแล้ว. บทว่า ผลึ อมฺพํ ความว่า
มะม่วงมีผลคือต้นมะม่วงที่ผลิตผล. บทว่า ติโรจฺฉทํ ความว่า ได้เห็นต้น
มะม่วงภายนอกกำแพง คือ เกิดอาศัยอยู่นอกกำแพงซึ่งตั้งอยู่ในภายในพระราช
อุทยานนั่นแหละ. บทว่า ตุทมานํ แปลว่า ถูกฟาดอยู่. บทว่า โอโรหิตฺวา
ความว่า ลงจากคอช้าง. บทว่า วินลีกตํ แปลว่า ทำให้ปราศจากใบไร้ก้าน
บทว่า เอวเนว แปลว่าฉันนั้นนั่นเที่ยว. บทว่า ผโล แปลว่า สมบูรณ์
ด้วยผล. บทว่า อชินมฺหิ ได้แก่ เพื่อต้องการหนัง คือ มีหนึ่งเป็นเหตุ.
บทว่า ทนฺเตสุ ความว่า ถูกฆ่าเพราะงาทั้งสองของตน คือถูกฆ่าเพราะงา
เป็นเหตุ. บทว่า หนฺติ แปลว่า ถูกฆ่า. บทว่า อนิเกตมสนฺถวํ ความว่า
ก็ผู้ใดชื่อว่า อนิเกตะ เพราะละเหย้าเรือนบวช ชื่อว่าอสันถวะ เพราะไม่มี
สันถวะ คือ ตัณหาซึ่งเป็นวัตถุแห่งสังขารทั้งปวง อธิบายว่า ใครจักฆ่าผู้นั้น
ซึ่งไม่มีเหย้าเรือนไม่มีสันถวะ. บทว่า เตสตฺถาโร ความว่า พระมหาสัตว์
กล่าวว่า ต้นไม้สองต้นเหล่านั้นเป็นผู้สั่งสอนเรา.
มิคาชินดาบสได้ฟังดังนั้น แล้ว จึงถวายโอวาทแด่พระราชาว่า ขอพระ-
องค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด มหาบพิตร แล้วกลับ ไปยังที่อยู่ของตนทีเดียว.
เมื่อมิคาชินดาบสไปแล้ว พระนางสีวลีเทวีหมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระราชา กราบทูลว่า

ชนทั้งปวงคือกองช้าง กองม้า กองรถ กอง
เดินเท้า ตกใจว่าพระราชาทรงผนวชเสียแล้ว ขอพระ-
องค์โปรดทำให้ชุมชนอุ่นใจ ตั้งความคุ้มครองไว้
อภิเษกพระโอรสในราชสมบัติแล้ว จึงทรงผนวชต่อ
ภายหลังเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺยถิโต ได้แก่ กลัว คือ หวาดสะดุ้ง.
บทว่า ปฏิจฺฉทํ ความว่า ตั้งกองอารักขาไว้คุ้มครองมหาชนที่สะดุ้งกลัวว่า
พระราชามิได้ทรงเหลียวแลพวกเราที่ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกปล้นบ้าง. บทว่า
ปุตฺตํ ความว่า ขอพระองค์ได้อภิเษกพระโอรสคือทีฆาวุกุมารไว้ในราชสมบัติ
แล้ว จึงทรงผนวชต่อภายหลังเถิด.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า
ดูก่อนปชาบดี ชาวชนบท มิตรอมาตย์และพระ
ประยูรญาติทั้งหลาย เราสละแล้ว ทีฆาวุราชกุมารผู้ยัง
แว่นแคว่นให้เจริญเป็นบุตรของชาววิเทหรัฐ ชาววิเท-
หรัฐเหล่านั้นจักให้ครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ปุตฺตา ความว่า ดูก่อนพระ-
เทวีสีวลี ธรรมดาสมณะทั้งหลายย่อมไม่มีบุตร แต่ทีฆาวุกุมารเป็นบุตรของ
ชาววิเทหรัฐ ชาววิเทหรัฐเหล่านั้นจักให้ครองราชสมบัติ พระมหาสัตว์ตรัส
เรียกพระเทวีว่า ปชาปติ.
ลำดับนั้น พระนางสีวลีเทวีกราบทูลพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์
พระองค์ทรงผนวชเสียก่อนแล้ว ก็หม่อมฉันจะการทำอย่างไร พระมหาสัตว์
จึงตรัสก็พระนางว่า ดูก่อนพระเทวี อาตมาจะให้เธอสำเหนียกตาม เธอจง
ทำตามคำของอาตมา แล้วตรัสว่า

มาเถิด อาตมาจะให้เธอศึกษาตามคำที่อาตมา
ชอบ เมื่อเธอให้พระโอรสครองราชสมบัติ ก็จักกระ-
ทำบาปทุจริตเป็นอันมากด้วยกายวาจาใจ ซึ่งเป็นเหตุ
ให้เธอไปสู่ทุคติ การที่เรายังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
ก้อนข้าวที่ผู้อื่นให้ซึ่งสำเร็จแต่ผู้อื่น นี้เป็นธรรมของ
นักปราชญ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุวํ ความว่า เธอให้ยกเศวตฉัตรขึ้นแก่
พระโอรส พร่ำสอนเรื่องราชสมบัติ ด้วยคิดว่า ลูกของเราเป็นพระราชา
จักกระทำบาปเป็นอันมาก. บทว่า คจฺฉสิ ความว่า เธอจักไปสู่ทุคติด้วยบาป
เป็นอันมากที่การทำด้วยกายเป็นต้นใด. บทว่า สธีรธมฺโม ความว่า ความ
ประพฤติที่ว่าพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยคำข้าวที่ได้มาด้วยลำแข้งนี้ เป็นธรรม
ของนักปราชญ์ทั้งหลาย.
พระมหาสัตว์ได้ประทานโอวาทแก่พระนางนั้นด้วยประการฉะนี้ เมื่อ
กษัตริย์ทั้งสองตรัสโต้ตอบกันและกันและเสด็จดำเนินไป พระอาทิตย์ก็อัสดงคต
พระเทวีมีพระเสาวนีย์ให้ตั้งค่ายในที่อันสมควร พระมหาสัตว์เสด็จประทับแรม
ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ตลอดราตรี รุ่งขึ้นทรงทำสรีรกิจแล้ว
เสด็จไปตามมรรคา ฝ่ายพระเทวีตรัสสั่งให้เสนาตามมาภายหลัง แล้วเสด็จไป
เบื้องหลังแห่งพระมหาสัตว์ ทั้งสองพระองค์นั้นเสด็จถึงถูนนครในเวสาภิกขาจาร
ขณะนั้น มีบุรุษคนหนึ่งภายในเมือง ซื้อเนื้อก้อนใหญ่มาแต่เขียงขายเนื้อ เสียบ
หลาวย่างบนถ่านเพลิงให้สุกแล้ว วางไว้ที่กระดานเพื่อให้เย็นได้ยืนอยู่ เมื่อบุรุษ
นั้นส่งใจไปที่อื่น สุนัขตัวหนึ่งคาบก้อนเนื้อนั้นหนีไป บุรุษนั้นรู้แล้วไล่ตาม
สุนัขนั้นไปเพียงนอกประตูด้านทักษิณ เบื่อหน่ายหมดอาลัยก็กลับบ้าน พระราชา

กับพระเทวีเสด็จมาข้างหน้าสุนัขตามทางสองแพร่ง สุนัขนั้นทิ้งก้อนเนื้อหนีไป
ด้วยความกลัว พระมหาสัตว์ทอดพระนครเห็นก้อนเนื้อนั้น ทรงจินตนาการว่า
สุนัขนี้ทิ้งก้อนเนื้อนี้ไม่เหลียวแลเลยหนีไปแล้ว แม้คนอื่นผู้เป็นเจ้าของก็ไม่
ปรากฏ อาหารเห็นปานนี้หาโทษมิได้ ชื่อว่าบังสุกุลบิณฑบาต เราจักบริโภค
ก้อนเนื้อนั้น พระองค์จึงนำบาตรดินออก ถือเอาเนื้อก้อนนั้นปัดฝุ่นแล้วใส่
ลงในบาตร เสด็จไปยังที่มีน้ำบริบูรณ์ ทรงพิจารณาแล้ว เริ่มเสวยเนื้อก้อนนั้น
ลำดับนั้น พระเทวีทรงดำริว่า ถ้าพระราชานี้มีพระราชประสงค์ราชสมบัติ จะไม่
พึงเสวยก้อนเนื้อเห็นปานนี้ ซึ่งน่าเกลียด เปื้อนฝุ่น เป็นเดนสุนัข บัดนี้
พระองค์จักมิใช่พระราชสวามีของเรา ทรงดำริฉะนี้แล้ว กราบทูลพระองค์ว่า
ข้าแต่พระมหาราชพระองค์ช่างเสวยเนื้อที่น่าเกลียดเห็นปานนี้ได้ พระมหาสัตว์
ตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี เธอไม่รู้จักความวิเศษของบิณฑบาตนี้เพราะเขลา
ตรัสฉะนี้แล้วทรงพิจารณาสถานที่ก้อนเนื้อนั้นตั้งอยู่ เสวยก้อนเนื้อนั้นดุจเสวย
อมตรส บ้วนพระโอฐล้างพระหัตถ์และพระบาทแล้ว ขณะนั้นพระเทวีเมื่อจะ
ทรงตำหนิพระราชา จึงตรัสว่า
คนที่ฉลาดแม้ไม่ได้บริโภคอาหารสี่มื้อ ราวกะ
ว่าจะตายด้วยความอด ก็ยอมตายเสียด้วยความอด เขา
จะไม่ยอมบริโภคก้อนเนื้อคลุกฝุ่นไม่สะอาดเลย ข้าแต่
พระมหาชน พระองค์สิเสวยได้ซึ่งก้อนเนื้ออันเป็น
เดนสุนัข ไม่สะอาดน่าเกลียดนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌุฏฺฐมาริว ความว่า เหมือนใกล้
จะตาย. บทว่า ลุลิตํ ได้แก่ คลุกฝุ่น. บทว่า อนริยํ ได้แก่ ไม่ดี นุ
อักษรในบทว่า นุ เสเว เป็นนิบาตลงในอรรถถามโต้ตอบ มีคำอธิบายว่า

แม้ถ้าจะไม่ได้บริโภคอาหารสี่มื้อ หรือจะตายเสียด้วยความอด แม้เมื่อเป็น
อย่างนั้น คนฉลาดก็ไม่ยอมบริโภคอาหารเห็นปานนี้เลย คือไม่บริโภคอย่าง
พระองค์. บทว่า ตยิทํ แปลว่า นี้นั้น.
พระมหาสัตว์ ตรัสตอบว่า
ดูก่อนพระนางสีวลี ก้อนเนื้อนั้น ไม่ชื่อว่าเป็น
อาหารของอาตมาหามิได้ เพราะถึงจะเป็นของคน
ครองเรือนหรือของสุนัข ก็สละแล้ว ของบริโภค
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ที่บุคคลได้มาแล้วโดยชอบ
ธรรม ของบริโภคทั้งหมดนั้น กล่าวกันว่า ไม่มีโทษ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภกฺโข ความว่า บิณฑบาตนั้นจะไม่
ชื่อว่าเป็นภักษาหารของอาตมาหามิได้. บทว่า ยํ โหติ ความว่า ของสิ่งใด
ที่คฤหัสถ์หรือสุนัขสละแล้ว ของสิ่งนั้น ชื่อว่าบังสุกุล เป็นของไม่มีโทษเพราะ
ไม่มีเจ้าของ. บทว่า เย เกจิ ความว่า เพราะฉะนั้น โภคะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
แม้อื่น ๆ ที่ได้มาโดยชอบธรรม. บทว่า สพฺโพ โส ภกฺโข อนวโย
ความว่า ไม่มีโทษ คือแม้จะมีคนดูอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่บกพร่อง บริบูรณ์ด้วยคุณ
ไม่มีโทษ แต่ลาภที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรม ถึงจะมีค่าตั้งแสน ก็น่าเกลียดอยู่
นั้นเอง.
เมื่อกษัตริย์สององค์ตรัสสนทนากะกันอยู่อย่างนี้ พลางเสด็จดำเนินไป
ก็ลุถึงประตูถูนนคร เมื่อทารกทั้งหลายในนครนั้นกำลังเล่นกันอยู่ มีนางกุมา-
ริกาคนหนึ่งเอากระด้งน้อยฝัดทรายเล่นอยู่ กำไลอันหนึ่งสวมอยู่ในข้อมือข้าง-
หนึ่งของนาง กำไลสองอันสวมอยู่ในข้อมือข้างหนึ่ง กำไลสองอันนั้น กระทบ
กันมีเสียง กำไลอีกอันหนึ่งไม่มีเสียง พระราชาทรงทราบเหตุนั้น มีพระดำริว่า

บัดนี้ พระนางสีวลีตามหลังเรามา ขึ้นชื่อว่าสตรีย่อมเป็นมลทินของบรรพชิต
ชนทั้งหลายเห็นนางตามเรามา จักติเตียนเราว่า บรรพชิตนี้แม้บวชแล้ว ก็ยัง
ไม่สามารถจะละภรรยาได้ ถ้านางกุมารีนี้ฉลาด จักพูดถึงเหตุให้นางสีวลีกลับ
เราจักฟังถ้อยคำของนางกุมารีนี้แล้วส่งนางสีวลีกลับ มีพระดำริฉะนั้นแล้ว เสด็จ
เข้าไปใกล้นางกุมารีนั้น เมื่อจะตรัสถามจึงตรัสคาถาว่า
แน่ะนางกุมาริกาผู้ยังนอนกับแม่ ผู้ประดับกำไล
มือเป็นนิตย์ กำไลมือของเจ้าข้างหนึ่งมีเสียงดัง อีก
ข้างหนึ่งไม่มีเสียงดัง เพราะเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปเสนิเย ความว่า เข้าไปนอนใกล้
มารดา. บทว่า นิคฺคลมณฺฑิเต ความว่า พระมหาสัตว์ตรัสว่า มีปกติ
ประดับด้วยเครื่องประดับชั้นยอด. บทว่า สุณติ ได้แก่ ทำเสียง.
นางกุมาริกากล่าวว่า
ข้าแต่พระสมณะ เสียงเกิดแต่กำไลสองอันที่
สวมอยู่ในข้อมือของข้าพเจ้านี้กระทบกัน ความที่
กำไลทั้งสองกระทบกันนั้นเป็นเหตุแห่งเสียง กำไล
อันหนึ่งที่สวมอยู่ในข้อมือของข้าพเจ้านี้นั้น ไม่มีอัน
ที่สอง จึงไม่ส่งเสียง เป็นเหมือนนักปราชญ์สงบนิ่ง
อยู่ บุคคลสองคนก็วิวาทกัน คนเดียวจักวิวาทกับ
ใครเล่า ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ จงชอบความเป็นผู้อยู่
คนเดียวเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุนีวารา แปลว่า กำไลสองอัน. บทว่า
สํฆฏา ความว่า เพราะกระทบกัน คือเสียดสีกัน. บทว่า คติ ได้แก่ ความ

สำเร็จ ด้วยว่า กำไลอันที่สองย่อมมีความสำเร็จเห็นปานนี้. บทว่า โส ได้แก่
กำไลนั้น. บทว่า มุนิภูโตว ความว่า ราวกะว่าพระอริยบุคคลผู้ละกิเลสได้
หมดแล้ว ดำรงอยู่. บทว่า วิวาทปฺปตฺโต ความว่า ข้าแต่พระสมณะ
ขึ้นชื่อว่าคนที่สองย่อมวิวาทกัน คือ ทะเลาะกัน ถือไปต่าง ๆ กัน. บทว่า
เกเนโก ความว่า ก็คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า. บทว่า เอกตฺตมุปโรจตํ
ความว่า ท่านจงชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวเถิด ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
นางกุมาริกานั้นได้กล่าวอย่างนี้อีก คือกล่าวสอนพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่พระผู้-
เป็นเจ้า ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมจะไม่พาแม้น้องสาวเที่ยวไปเลย แต่
เหตุไร ท่านจึงพาภริยาซึ่งทรงรูปอันอุดมเห็นปานนี้เที่ยวไป ภริยานี้จักทำ
อันตรายแก่ท่าน ท่านจงนำภริยานี้ออกไปอยู่ผู้เดียวเท่านั้น บำเพ็ญสมณธรรม
ให้สมควรเถิด.
พระมหาสัตว์ได้สดับคำของกุมาริกาสาวนั้นแล้ว ทรงได้ปัจจัย เนื้อจะ
ตรัสกับพระเทวี จึงตรัสว่า
แน่ะสีวลี เธอได้ยินคาถาที่นางกุมาริกากล่าว
แล้วหรือ นางกุมาริกาเป็นเพียงชั้นสาวใช้มาติเตียนเรา
ความที่เราทั้งสองประพฤติ คืออาตมาเป็นบรรพชิต
เธอเป็นสตรีเดินตามกันมา ย่อมเป็นเหตุแห่งครหา
บรรดาสองแพร่งนี้ อันเราทั้งสองผู้เดินทางจงแยกกัน
ไป เธอจงถือเอาทางหนึ่งไป อาตมาก็จะถือเอาทาง
อื่นอีกทางหนึ่งไป เธออย่าเรียกอาตมว่าเป็นพระ-
สวามีของเธอ และอาตมาก็จะไม่เรียกเธอว่าเป็นมเหสี
ของอาตมาอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมาริยา ได้แก่ ที่นางกุมาริกากล่าวแล้ว.
บทว่า เปสิยา ความว่า ถ้าเรายังครองราชสมบัติอยู่ กุมาริกาคนนี้ก็เป็น
คนใช้คือทำคามรับสั่งของเรา แม้แต่จะแลดูเรา เธอก็ไม่อาจ แต่บัดนี้เธอติเตียน
คือกล่าวสอนเราเหมือนคนใช้และเหมือนทาสของตนว่า ทุติยสฺเสว สา คติ
ดังนี้. บทว่า อนุจิณฺโณ ได้แก่ เดินตามกันไป. บทว่า ปถาวิหิ แปลว่า
ผู้เดินทาง. บทว่า เอกํ ความว่า เธอจงถือเอาทางหนึ่งซึ่งเป็นที่ชอบใจของ
เธอ ส่วนอาตมาก็จักถือเอาอีกทางหนึ่งที่เหลือลงจากที่เธอถือเอา. บทว่า มา
จ มํ ตวํ
ความว่า แน่ะสีวลี ตั้งแต่นี้ไป เธออย่าเรียกอาตมาว่าเป็น
พระสวามีของเราอีก และอาตมาก็จะไม่เรียกเธอว่า เป็นมเหสีของเรา.
พระนางสีวลีเทวีได้ทรงฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้ว กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ พระองค์เป็นกษัตริย์สูงสุด จงถือเอาทางเบื้องขวา ส่วนข้า-
พระองค์เป็นสตรีชาติต่ำ จักถือเอาทางเบื้องซ้าย กราบทูลฉะนี้แล้ว ถวายบังคม
พระมหาสัตว์แล้วเสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง ไม่สามารถจะกลั้นโศกาดูรไว้ได้ก็เสด็จ
มาอีก โดยเสด็จไปกับพระราชาเข้าถูนนครด้วยกัน.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสครึ่งคาถาว่า
กษัตริย์ทั้งสองกำลังตรัสข้อความนี้อยู่ ได้เสด็จ
เข้าไปยังถูนนคร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครมุปาคมุํ ความว่า เสด็จเข้าไปแล้ว
สู่นคร.
ก็แลครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว พระมหาสัตว์เสด็จเที่ยวบิณฑบาต เสด็จ
ถึงประตูเรือนของช่างศร แม้พระนางสีวลีเทวีก็เสด็จตามไปเบื้องหลัง ประทับ
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สมัยนั้น ช่างศรกำลังลนลูกศรนั้นกระเบื้องถ่านเพลิง
เอาน้ำข้าวทาลูกศร หลับตาข้างหนึ่ง เล็งดูด้วยตาข้างหนึ่ง ดัดลูกศรให้ตรง

พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น มีพระดำริว่า ถ้าช่างศรผู้นี้จักเป็นคน
ฉลาด จักกล่าวเหตุอย่างหนึ่งแก่เรา เราจักถามเขาดู จึงเสด็จเข้าไปหาช่างศร
แล้วตรัสถาม.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อใกล้เวลาฉัน พระมหาสัตว์ประทับยืนอยู่ที่
ซุ้มประตูเรือนของช่างศร ช่างศรนั้นหลับตาข้างหนึ่ง
ใช้ตาอีกข้างหนึ่งเล็งลูกศรอันหนึ่งซึ่งคดอยู่ดัดให้ตรง
ที่ซุ้มประตูนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกฏฺฐเก ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระราชาพระองค์นั้น เมื่อใกล้เวลาเสวยของพระองค์ ได้ประทับยืนอยู่ที่ซุ้ม
ประตูของช่างศร. บทว่า ตตฺร จ ได้แก่ ที่ซุ้มประตูนั้น. บทว่า นิคฺคยฺห
แปลว่า หลับแล้ว. บทว่า ชิมฺหเมเกน ความว่า ใช้จักษุข้างหนึ่งเล็งดู.
ลูกศรที่คด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้ตรัสกะช่างศรนั้นว่า
ดูก่อนช่างศร ท่านจงฟังอาตมา ท่านหลับจักษุ
ข้างหนึ่ง เล็งดูลูกศรอันคดด้วยจักษุข้างหนึ่ง ด้วย
ประการใด ท่านเห็นความสำเร็จประโยชน์ ด้วย
ประการนั้นหรือหนอ.

คำที่เป็นคาถานั้นมีเนื้อความว่า แน่ะเพื่อนช่างศร ท่านหลับตาข้างหนึ่ง
เล็งดูลูกศรที่คดด้วยตาข้างหนึ่ง ด้วยประการใด ท่านเห็นความสำเร็จประโยชน์
ด้วยประการนั้นหรือหนอ.

ลำดับนั้น เมื่อช่างศรจะทูลแก่พระมหาสัตว์นั้น จึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระสมณะ การเล็งด้วยจักษุทั้งสอง
ปรากฏว่าเหมือนพร่าไปไม่ถึงที่คดข้างหน้า ย่อมไม่
สำเร็จความดัดให้ตรง ถ้าหลับจักษุข้างหนึ่ง เล็งดูที่
คดด้วยจักษุอีกข้างหนึ่ง เล็งได้ถึงที่คดเบื้องหน้า
ย่อมสำเร็จความดัดให้ตรง บุคคลสองคนก็วิวาทกัน
คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ จง
ชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสาลํ วิย ความว่า ย่อมปรากฏเหมือน
พร่าไป. บทว่า อปฺปตฺวา ปรมํ ลิงฺคํ ความว่า ไม่ถึงที่คดข้างหน้า.
บทว่า นุชฺชุภาวาย ได้แก่ ไม่สำเร็จความดัดให้ตรง มีคำอธิบายว่า เมื่อ
ความพร่าปรากฏ ก็จักไม่ถึงที่ตรงข้างหน้า เมื่อไม่ถึงคือไม่ปรากฏ กิจด้วย
ความตรงจักไม่สำเร็จ คือไม่ถึงพร้อม. บทว่า สมฺปตฺวา ความว่า ถึง
คือเห็นด้วยจักษุ. บทว่า วิวาทปฺปตฺโต ความว่า เมื่อลืมตาที่สอง ที่คด
ย่อมไม่ปรากฏ คือแม้ที่คดก็ปรากฏว่าตรง แม้ที่ตรงก็ปรากฏว่าคด ความ
วิวาทย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฉันใด แม้สมณะมีสองรูปก็ฉันนั้น ย่อมวิวาทกัน
คือ ทะเลาะกัน ถือเอาต่าง ๆ กัน. บทว่า เกเนโก ความว่า คนเดียวจัก
วิวาทกับ ใครเล่า. บทว่า เอกตฺตมุปโรจตํ ความว่า ท่านจงชอบใจความ
เป็นผู้อยู่คนเดียว ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมจะไม่พาแม้น้องสาวเที่ยวไปเลย
แต่เหตุไรท่านจึงพาภริยาซึ่งทรงรูปอันอุดมเที่ยวไป ภริยานี้จักทำอันตรายแก่
ท่าน ท่านจงนำภริยานี้ออกไปอยู่ผู้เดียวเท่านั้น บำเพ็ญสมณธรรมให้สมควร
เถิด ช่างศรกล่าวสอนพระมหาสัตว์ ด้วยประการฉะนี้ ช่างศรถวายโอวาท

แด่พระมหาสัตว์อย่างนี้แล้วก็นิ่งอยู่ พระมหาสัตว์เสด็จเที่ยวบิณฑบาต ได้
ภัตตาหารที่เจือปนแล้วเสด็จออกจากพระนคร ประทับนั่งเสวยในที่มีน้ำสมบูรณ์
พระองค์เสร็จเสวยพระกระยาหารแล้ว บ้วนพระโอฐ ล้างบาตรนำเข้าถุงแล้ว
ตรัสเรียกพระนางสีวลีมาตรัสว่า
ดูก่อนนางสีวลี เธอได้ยินคาถาที่ต่างศรกล่าว
หรือยัง ช่างศรเป็นเพียงคนใช้ยังติเตียนเราได้ ความ
ที่เราทั้งสองประพฤตินั้นเป็นเหตุแห่งความครหา
ดูก่อนนางผู้เจริญ ทางสองแพร่งนี้อันเราทั้งสองผู้เดิน
ทางมาจงแยกกันไป เธอจงถือเอาทางหนึ่งไป อาตมา
ก็จะถือเอาทางอื่นอีกทางหนึ่งไป เธออย่าเรียกอาตมา
ว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมาก็จะไม่เรียกเธอ
ว่าเป็นมเหสีของอาตมาอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุณสิ ความว่า เธอฟังคาถาหรือ
พระมหาสัตว์ตรัสพระดำรัสว่า เปสิโย มํ นี้ ทรงหมายถึงโอวาทของช่าง
นั่นเอง.
ได้ยินว่า พระนางสีวลีเทวีนั้น แม้ถูกพระมหาสัตว์ตรัสว่า เธออย่า
เรียกอาตมาว่าเป็นพระสวามีของเธอดังนี้ ก็ยังเสด็จติดตามพระมหาสัตว์อยู่
นั่นเอง พระราชาก็ไม่สามารถให้พระนางสีวลีนั้นเสด็จกลับได้ แม้มหาชนก็
ตามเสด็จพระองค์อยู่นั่นเอง ก็แต่ที่นั้นมีดงแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ลำดับนั้น
พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นแนวป่าเขียวชอุ่ม มีพระราชประสงค์จะให้
พระนางเสด็จกลับ เมื่อดำเนินไปได้ทอดพระเนตรเห็นหญ้ามุงกระต่ายในที่ใกล้
ทาง พระองค์จึงทรงถอนหญ้ามุงกระต่ายนั้น ตรัสเรียกพระเทวีมาตรัสว่า

แน่ะสีวลีผู้เจริญ เธอจงดูหญ้ามุงกระต่ายนี้ ก็หญ้ามุงกระต่ายนี้จะไม่อาจสืบต่อ
ในกอนี้ได้อีก ฉันใด ความอยู่ร่วมกับเธอของอาตมา ก็ไม่อาจจะสืบต่อกัน
ได้อีก ฉันนั้น แล้วได้ตรัสกึ่งคาถาว่า
หญ้ามุงกระต่ายที่ติดกันอยู่แต่เดิม ซึ่งอาตมา
ถอนแล้วนี้ ไม่อาจสืบต่อกันไปได้อีก ฉันใด ความ
อยู่ร่วมกันระหว่างเธอกับอาตมา ก็ไม่อาจสืบต่อได้อีก
ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เธอจงอยู่ผู้เดียว อาตมาก็จะ
อยู่ผู้เดียวเหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกา ความว่า แน่ะสีวลีผู้เจริญ หญ้า
มุงกระต่ายที่ติดกันอยู่แต่เดิม อันอาตมาถอนแล้ว ไม่อาจสืบต่อได้อีก ฉันใด
การอยู่ร่วมกันระหว่างเธอกับอาตมา ก็ไม่อาจทำได้แม้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
เราจักอยู่ผู้เดียวน๊ะสีวลี แม้เธอก็จงอยู่ผู้เดียวเหมือนกัน พระมหาสัตว์ได้
ประทานพระโอวาทแก่พระนางสีวลีเทวี ด้วยประการฉะนี้.
พระนางได้ฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้วตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป
เราจะไม่ได้อยู่ร่วมกับ พระมหาชนกนรินทรราชอีก พระนางไม่อาจะทรงกลั้น
โศกาดูร ก็ข้อนทรวงด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง ทรงปริเทวนาการกำไรอยู่เป็นอัน
มาก ถึงวิสัญญีภาพล้มลงที่หนทางใหญ่ พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า พระนาง
ถึงวิสัญญีภาพ ก็สาวพระบาทเสด็จเข้าสู่ป่า ขณะนั้น หมู่อมาตย์มาสรงพระสรีระ
แห่งพระนางนั้น ช่วยกันถวายอยู่งานที่พระหัตถ์และพระบาท พระนางได้สติ
เสด็จลุกขึ้นตรัสถามว่า พระราชาเสด็จไปข้างไหน หมู่อมาตย์ย้อนทูลถามว่า
พระแม่เจ้าก็ไม่ทรงทราบดอกหรือ พระนางตรัสให้เที่ยวค้นหา พวกนั้นพากัน
วิ่งไปข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ก็ไม่พบพระราชา พระนางทรงปริเทวนาการ
มากมาย แล้วให้สร้างพระเจดีย์ตรงที่พระราชาประทับยืน บูชาด้วยของหอม

และดอกไม้เป็นต้น แล้วเสด็จกลับกรุงมิถิลา ฝ่ายพระมหาสัตว์เสด็จเข้าป่า
หิมวันต์ ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดภายในเจ็ดวัน มิได้เสด็จมาสู่ถิ่นมนุษย์
อีก ฝ่ายพระนางสีวลีเทวีเสด็จกลับแล้ว โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลายองค์ ณ
ที่ที่พระมหาสัตว์ตรัสกับช่างศร ตรัสกะนางกุมารี เสวยเนื้อที่สุนัขทิ้ง ตรัสกับ
มิคาชินดาบส และตรัสกับนารทดาบส ทุกตำบลแล้ว บูชาด้วยของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้น ทรงแวดล้อมไปด้วยเสนางคนิกร ภายหลังเสด็จไปถึงมิถิลานคร
ทรงอภิเษกพระราชโอรส ณ พระราชอุทยานอัมพวัน ทรงส่งพระราชโอรส
อันหมู่เสนาแวดล้อมแล้วเข้าพระนคร พระองค์เองทรงผนวชเป็นดาบสินี
ประทับอยู่ ณ พระราชอุทยานนั้น ทรงทำกสิณบริกรรมก็ได้บรรลุฌาน ไม่
เสื่อมจากฌาน เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้าในที่สุดแห่งพระชนมายุ
ฝ่ายพระมหาสัตว์ก็ไม่เสื่อมจากฌาน ได้เข้าถึงพรหมโลกเหมือนกัน.
พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้ เท่านั้น ออกมหาภิเนษกรมณ์ แม้ในกาลก่อน
ตถาคตก็ออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า ท้าวสักก-
เทวราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะในบัดนี้ พราหมณ์ทิศาปาโมกข์ได้
มาเป็นพระกัสสปะ นางมณีเมขลาเทพธิดาผู้รักษาสมุทร ได้มาเป็นอุบลวรรณา
ภิกษุณี นารทดาบสได้นาเป็นพระสารีบุตร มิคาชินดาบสได้มาเป็นพระโมค-
คัลลานะ นางกุนาริกาได้มาเป็นนางเขมาภิกษุณี ช่างศรได้มาเป็นพระอานนท์
ราชบริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท สีวลีเทวีได้มาเป็นราหุลมารดา
ฑีฆาวุกุมาร
ได้มาเป็นราหุล พระชนกพระชนนีได้มาเป็นมหาราชศักยสกุล
ส่วนพระมหาชนกนรินทรราช คือเราผู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เอง.
จบ มหาชนกชาดก

3. สุวรรณสามชาดก



ว่าด้วยสุวรรณสามบำเพ็ญเมตตาบารมี


[482] ใครหนอใช้ลูกศรยิงเรา ผู้ประมาทกำ-
ลังแบกหม้อน้ำ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ คนไหน
ยิงเรา ซ่อนกายอยู่ เนื้อของเราก็กินไม่ได้ หนังก็ไม่
มีประโยชน์นี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาเข้าใจว่าเราเป็นผู้ควร
ยิง ด้วยเหตุอะไรหนอ ท่านคือใคร หรือเป็นบุตร
ของใคร เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร ดูก่อนสหาย เรา
ถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเถิด ทำไมท่านจึงยิงเรา
แล้วซ่อนตัวเสีย.

[483] เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียก
เราว่า พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหา
มฤคเพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์
ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศรของ
เรา ก็ไม่พึงพ้นไปได้ ท่านคือใคร หรือเป็นบุตร
ของใคร พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร ท่านจงแจ้ง
ชื่อและโคตรของบิดาท่านและของตัวท่าน.

[484] ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์เป็น
บุตรของนายพราน ญาติทั้งหลาย เรียกข้าพระองค์
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ว่า สามะ วันนี้ข้าพระองค์ถึงปาก
มรณะนอนอยู่อย่างนี้ ข้าพระองค์ถูกพระองค์ยิงด้วย