เมนู

2. มหาชนกชาดก



ว่าด้วยพระมหาชนกทรงบำเพ็ญวิริยบารมี


[442] นี้ใคร เมื่อแลไม่เห็นฝั่งก็อุตสาหะ
พยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ท่านรู้อำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้นักหนา.

[443] ดูก่อนเทวดา เราไตร่ตรองเห็น
ปฏิปทาแห่งโลก และอานิสงส์แห่งความเพียร เพราะ
ฉะนั้น จึงจะมองไม่เห็นฝั่ง เราต้องพยายามว่ายอยู่
ในกลางมหาสมุทร.

[444] ฝั่งมหาสมุทรลึกจนประมาณไม่ได้
ย่อมไม่ปรากฏแก่ท่าน ความพยายามอย่างลูกผู้ชาย
ของท่านก็เปล่าประโยชน์ ท่านไม่ทันถึงฝั่งก็จักตาย.

[445] บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะ
ตายก็ชื่อว่าไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติ เทวดาและ
บิดามารดา อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อม
ไม่เดือดร้อนในภายหลัง.

[446] การงานอันใด ยังไม่ถึงที่สุดด้วยความ
พยายาม การงานอันนั้นก็ไร้ผล มีความลำบากเกิดขึ้น
การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรใด จน
ความตายปรากฏขึ้น ความพยายามในฐานะอันใน
สมควรนั้น จะมีประโยชน์อะไร.

[447] ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่า การงาน
ที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้จริง ๆ ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน
ถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผล
แห่งความเกียจคร้าน ดูก่อนเทวดา คนบางพวกใน
โลกนี้ เห็นผลแห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบ
การงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้น จะสำเร็จหรือไม่
ก็ตาม ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็นผลแห่งธรรมประจักษ์
แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่น ๆ จมในมหาสมุทรหมด
เราคนเดียวยังว่ายข้ามอยู่ และได้เห็นท่านมาสถิตอยู่
ใกล้ ๆ เรา เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำ
ความเพียรที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร

[448] ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดย
ธรรมไม่จมลงในห้วงมหรรณพ ซึ่งประมาณมิได้เห็น
ปานนี้ด้วยกิจคือความเพียรของบุรุษ ท่านนั้นจงไปใน
สถานที่ที่ใจของท่านยินดีนั้นเถิด.

[449] ขุมทรัพย์ใหญ่สิบหกขุมเหล่านี้ คือ
ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ตก
ขุมทรัพย์ภายใน ขุมทรัพย์ภายนอก ขุมทรัพย์ไม่ใช่
ภายในไม่ใช่ภายนอก ขุมทรัพย์ขาขึ้น ขุมทรัพย์ขาลง
ขุมทรัพย์ที่ไม้รังใหญ่ทั้งสี่ ขุมทรัพย์ในที่โยชน์หนึ่ง
โดยรอบ ขุมทรัพย์ที่ใหญ่ที่ปลายงาทั้งสอง ขุมทรัพย์
ที่ปลายขนหาง ขุมทรัพย์ที่น้ำ ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้

และธนูหนักพันแรงคนยก บัลลัง สี่เหลี่ยม หัวนอน
อยู่เหลี่ยมไหน และยังสีวลีราชเทวีให้ยินดี.

[450] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังเข้าไว้ ไม่
พึงเบื่อหน่าย เราเห็นการเป็นพระราชาสมปรารถนา
แก่ตน. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังเข้าไว้ ไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตัว ท่านจากน้ำขึ้นสู่บก. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึง
พยายามเรื่อยไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นการเป็น
พระราชาสมปรารถนาแก่ตน. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึง
พยายามเรื่อยไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตัวท่าน
จากน้ำขึ้นสู่บก. นรชนผู้มีปัญญาแม้ใกล้ถึงทุกข์แล้ว
ก็ไม่พึงตัดความหวังที่จะถึงความสู่ จริงอยู่ ต้นเป็น
อันมากถูกทุกข์กระทบกระทั่ง ก็ทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
ถูกสุขกระทบกระทั่ง ก็ทำสิ่งที่มีประโยชน์ คนเหล่า
นั้นไม่ตรึกถึงความข้อนี้ จึงถึงความตาย. สิ่งที่มิได้
คิดไว้ จะมีก็ได้ สิ่งที่คิดไว้ จะพินาศไปก็ได้ โภคะ
ทั้งหลายของหญิงก็ตาม ของชายก็ตาม มิได้สำเร็จ
ด้วยเพียงคิดเท่านั้น.

[451] พระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่เหมือนแต่ก่อน
เพราะบัดนี้ไม่ทรงตรวจตราเหล่าคนฟ้อนรำ ไม่ทรง
ใส่พระทัยเหล่าเพลงขับ ไม่ทอดพระเนตรสัตว์ทวิบท
จตุบาท ไม่ประพาสพระราชอุทยาน ไม่ทอดพระเนตร
หมู่หงส์ พระองค์เป็นประหนึ่งคนใบ้ ประทับนิ่งเฉย
ไม่ทรงว่าราชกิจอะไร ๆ.

[452] ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้ใคร่ความ
สุข มีศีลอันปกปิดแล้ว ปราศจากเครื่องผูกคือกิเลส
หนุ่มก็ตาม แก่ก็ตาม มีตัณหาอันก้าวล่วงแล้ว อยู่ที่
ไหนในวันนี้ ขอนอบน้อมแต่ท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น
ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ท่านผู้มีปัญญาเหล่าใดเป็นผู้ไม่
ขวนขวาย อยู่ในโลกที่มีความขวนขวาย ท่านผู้มี
ปัญญาเหล่านั้นตัดเสียซึ่งข่ายแห่งมัจจุซึ่งขึงไว้มั่น ผู้มี
มายาทำลายเสียด้วยญาณไปอยู่ ใครพึงนำเราไปสู่ภูมิ
ที่อยู่แห่งท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น.

[453] เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอัน
มั่งคั่ง ซึ่งนายช่างผู้ฉลาดจัดการสร้างจำแนกสถานที่
เป็นพระราชนิเวศเป็นต้น ปันส่วนออกเป็นประตูและ
ถนนตามส่วน ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จ
ได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง
กว้างขวางรุ่งเรืองด้วยประการทั้งปวง ออกบวช ความ
ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี
กำแพงและหอรบเป็นอันมาก ออกบวช ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี
ป้อมและซุ้มประตูมั่นคง ออกบวช ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี
ทางหลวงตัดไว้เรียบร้อย ออกบวช ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี
ร้านตลาดจัดไว้ในระหว่างอย่างดี ออกบวช ความ
ประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง
เบียดเสียดไปด้วยรถเทียมโคและม้า ออกบวช ความ
ประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ระเบียบแห่งหมู่ไม้ในที่เที่ยวสำราญ ออกบวช ความ
ประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี
ระเบียบแห่งหมู่ไม้ในพระราชอุทยาน ออกบวช ความ
ประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี
ระเบียบแห่งปราสาทอันประเสริญ ออกบวช ความ
ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี
ปราการสามชั้น พรั่งพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์
ซึ่งพระเจ้าวิเทหรัฐผู้ทรงยศพระนามว่า โสมนัส ทรง
สร้างไว้ ออกบวช ความประสงค์นั้น จะสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง ซึ่ง
พระเจ้าวิเทหรัฐ ทรงสะสมธัญญาหารเป็นต้น ทรง
ปกครองโดยธรรม ออกบวช ความประสงค์นั้นจัก
สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง หมู่
ปัจจามิตรผจญไม่ได้ ทรงปกครองโดยธรรม ออกบวช
ความประสงค์นั้นจะสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระราชมณเฑียรสถาน อันน่า
รื่นรมย์จำแนกเป็นสถานที่ไว้สมส่วน ออกบวช ความ
ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละมณเฑียรสถานอันน่ารื่นรมย์ ซึ่ง
ฉาบทาด้วยปูนขาวและดิน ออกบวช ความประสงค์
นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละมณเฑียรสถานอันน่ารื่นรมย์ มี
กลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจ ออกบวช ความประสงค์นั้น จัก
สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันจำแนกปัน
สมส่วน ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันฉาบทาด้วย
ปูนขาวและดิน ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จ
ได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอด อันมีกลิ่นหอม
ฟุ้งจรุงใจ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอด อันทาสีวิเศษ
สวยสด ลาดรดประพรมด้วยแก่นจันทน์ ออกบวช
ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละบัลลังก์ทอง ซึ่งลาดอย่างวิจิตร
ด้วยหนังโค ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละบัลลังก์แก้วมณีซึ่งลาดอย่างวิจิตร
ด้วยหนึ่งโค ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละผ้าฝ้ายผ่าไหม ผ้าอันเกิดแต่โขม-
รัฐและเกิดแต่โกทุมพรรัฐ ออกบวชความประสงค์นั้น
จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ ซึ่ง
นกจากพรากร่ำร้องแล้ว ดาดาษไปด้วยพรรณไม้น้ำ
ทั้งปทุมและอุบล ออกบวช ความประสงค์นั้นจัก
สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองช้างซึ่งประดับประดาไปด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง และเหล่าช้างมีสายรัดทองคำ
บริบูรณ์ด้วยเครื่องประดับศีรษะ และข่ายทองคำ เหล่า
ควาญที่ประจำ ก็ถือโตมรและของ้าว ออกบวช
ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองม้า ซึ่งประดับประดาด้วย
สรรพาลังการ และเหล่าสินธพชาติอาชาไนย ซึ่งเป็น
พาหนะเร็ว อันใดคนฝึกประจำถือดาบและแล่งศร
อยู่เป็นนิตย์ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง
ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับประ-
ดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำรถถือศรสวม
เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถทองคำ ซึ่งติดเครื่องรบ
ชักธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ
ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม
เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละรถเงินซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง
ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ
ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำรถถือศรสวม
เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จะสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถม้าซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง
ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ
ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั่นจักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละรถเทียมอูฐซึ่งติดเครื่องรบ ชัก
ธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ
ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม
เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้
เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองรถเทียมแพะ แกะ เนื้อ โค
ซึ่งติดเครื่องรบ ซักธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลือง
และเสือโคร่ง ประดับประดาด้วยอลังการอันวิจิตร
มีคนประจำถือศรสวมเกราะ ออกบวช ความประสงค์
นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองฝึกช้าง ถือโตมรและขอ
ง้าว กองฝึกม้าทรงเครื่องประดับทองคำ กองพลธนู
ถือคันธนูพร้อมทั้งแล่งธนู เหล่าราชบุตรทรงเครื่อง
ประดับทองคำ ทั้งสี่เหล่านี้ล้วนประดับด้วยเครื่อง
สรรพาลังการ เป็นผู้กล้าหาญสวมเกราะมีวรรณะเขียว
และราชบุตรสวมเกราะอันวิจิตรถือกริชทอง ออกบวช
ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละหมู่พราหมณ์ผู้ครองผ้าเครื่อง
บริขารครบครัน ทาตัวด้วยแก่นจันทน์สีเหลือง ทรง
ผ้ามาแต่แคว้นกาสีอันอุดม และนางสนมกำนัล
ประมาณ 700 คน ซึ่งประดับด้วยเครื่องสรรพาลังการ

เอวบาง สำรวมดีแล้ว เธอฟังคำสั่งพูดจาน่ารักออก
บวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละภาชนะทองคำน้ำหนักร้อยปัลละ
จำหลักลวดลายนับด้วยร้อย ออกบวช ความประสงค์
นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักละกองช้างซึ่งประดับประดาด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวงเป็นต้น จนถึงเหล่านางสนม
กำนัลผู้เชื่อฟังคำสั่ง พูดจาน่ารัก เป็นที่สุด ผู้ติดตาม
เราไป เขาจักไม่ติดตามเราอันใด ความที่พวกนั้น ๆ
ไม่ติดตามเรานั้น จักมีจักเป็นได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักได้ปลงผมห่มผ้าสังฆาฏิ อุ้มบาตร
เที่ยวบิณฑบาต จักทรงผ้าสังฆาฏิอันทำด้วยผ้าบังสุ-
กุลที่เขาทั้งไว้ตามถนนหนทาง เมื่อฝนตกเจ็ดวัน จัก
มีจีวรเปียกชุ่มเที่ยวบิณฑบาต จักจาริกไปตามต้นไม้
ราวป่า ทั้งกลางวันและกลางคืน เที่ยวไปโดยไม่
เหลียวแลถึงกิจการอันใดอันหนึ่ง จักละความกลัว
ความขลาดให้เด็ดขาด จักอยู่ผู้เดียวตามภูเขาและ
สถานที่อันลำบาก จักทำจิตให้ตรง ดุจคนดีดพิณ
ดีดสายทั้งเจ็ดให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ความประสงค์
นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.
เมื่อไรเราจักตัดเสียซึ่งกามสังโยชน์อันเป็นของ
ทิพย์และของมนุษย์ ดุจช่างรถตัดรองเท้าโดยรอบ
ฉะนั้น.

[454] พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้นประดับ
ด้วยสรรพาลังการ เอวบาง สำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ
พูดจาน่ารัก ประคองพาหาทั้งสองกันแสงคร่ำครวญ
ว่า พระองค์ละพวกข้าพระองค์เพราะเหตุไร พระราชา
ทรงละพระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ซึ่งประดับด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง เอวบาง สำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ
พูดจาน่ารัก เสด็จไปมุ่งการผนวกเป็นสำคัญ พระราชา
ทรงละภาชนะทองคำหนักร้อยปัลละ มีลวดลายนับ
ด้วยร้อย ทรงอุ้มบาตรดินนั้นให้เป็นอันอภิเษกครั้ง
ที่สอง.

[455] คลังทั้งหลาย คือคลังเงิน คลังทอง
คลังแก้วมุกดา คลังแก้วไพฑูรย์ คลังแก้วมณี คลัง-
สังข์ คลังไข่มุกดา คลังผ้า คลังจันทน์เหลือง คลัง
หนังเสือ คลังงาช้าง คลังพัสดุสิ่งของ คลังทองแดง
คลังเหล็กเป็นอันมาก มีเปลวไฟเสมอเป็นอันเดียวกัน
อย่างน่ากลัว แม้อยู่คนละส่วนก็ไหม้หมด ขอพระองค์
โปรดเสด็จกลับดับไฟเสียก่อน พระราชทรัพย์ของ
พระองค์นั้นอย่าได้ฉิบหายเสียเลย.

[456] เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิต
เป็นสุขดีหนอ เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่
ของอะไร ๆ ของเรามิได้ถูกเผาผลาญเลย.

[457] เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว ปล้นแว่นแคว้น
ของพระองค์ มาเถิดพระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จ
กลับเถิด แว่นแคว้นนี้อย่าพินาศเสียเลย.

[458] เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิต
เป็นสุขดีหนอ เมื่อแว่นแคว้นถูกโจรปล้น พวกโจร
มิได้นำอะไร ๆ ของเราไปเลย เราทั้งหลายผู้ไม่มี
ความกังวล มีชีวิตเป็นสุขดีหนอ เราทั้งหลายจักมีปีติ
เป็นภักษา เหมือนเทวดาชั้นอาภัสราฉะนั้น.

[459] ความถูกต้องของประชุมชนใหญ่นี้
เพื่ออะไร นั่นใครหนอมากับท่าน เหมือนเล่นกันอยู่
ในบ้าน สมณะ อาตมาขอถามท่าน ประชุมชนนี้
แวดล้อมท่านเพื่ออะไร.

[460] ประชุมชนนี้ตามข้าพเจ้าผู้ละพวกเขา
ไปในที่นี้ ข้าพเจ้าผู้ล่วงสีมาคือกิเลส ไปเพื่อถึง
มโนธรรม กล่าวคือญาณของมุนีผู้ไม่เกื้อกูลแก่เหย้า-
เรือน ผู้เจือด้วยความเพลิดเพลินทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้น
ในขณะนั้น ๆ อยู่ ท่านรู้อยู่ จะถามทำไม.

[461] พระองค์เสียงแต่ทรงสรีระนี้ จะ
สำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลส
นี้ จะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หาได้ไม่ เพราะยัง
มีอันตรายอยู่มาก.

[462] ข้าพเจ้าใดปรารถนาเฉพาะซึ่งกาม
ทั้งหลาย ในมนุษยโลกอันบุคคลเห็นแล้ว ก็หาไม่เลย
ในเทวโลกอันบุคคลไม่เห็นแล้ว ก็หาไม่ อันตราย
อะไรหนอจะพึงมีแก่ข้าพเจ้านั้น ซึ่งมีปกติอยู่ผู้เดียว
อย่างนี้.

[463] อันตรายมากทีเดียว คือ ความหลับ
ความเกียจคร้าน ความง่วงเหงา ความไม่ชอบใจ
ความเมาอาหาร ตั้งอยู่ในสรีระอาศัยอยู่.

[464] ข้าแต่พราหมณ์ ท่านผู้เจริญพร่ำสอน
ข้าพเจ้าดีนักหนา ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์นี่แหละ
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ.

[465] ชนทั้งหลายรู้จักอาตมาโดยนามว่า
นารทะ โดยโคตรว่า กัสสปะ ดังนี้ อาตมามาในสถาน
ใกล้พระองค์ผู้เจริญ ด้วยรู้สึกว่า การสมาคมด้วยสัต-
บุรุษทั้งหลาย ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ พระองค์จง
ทรงยินดีในบรรพชานี้ วิหารธรรมจงเถิดแก่พระองค์
กิจอันใดยังพร้องด้วยศีล การบริกรรม และฌาน
พระองค์จงทรงบำเพ็ญกิจอันนั้นให้บริบูรณ์ จง
ประกอบด้วยความอดทนและความสงบระงับ อย่าถือ
พระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ จงทรงคลายออกเสียซึ่งความ
ยุบลงและความฟูขึ้น จงทรงกระทำโดยเคารพซึ่งกุศล
กรรมบถวิชชาและสมณธรรม แล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์.

[466] พระองค์ทรงละช้างม้าชาวนครและ
ชาวชนบทเป็นอันมาก ผนวชแล้วทรงยินดีในบาตร
ชาวชนบท มิตร อมาตย์ และพระญาติเหล่านั้นได้
กระทำความผิดระหว่างพระองค์ละกระมัง เหตุไร
พระองค์จึงทรงละอิสริยสุข มาชอบพระทัยซึ่งบาตร
นั้น.

[467] ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้ามิได้ผจญ
ซึ่งญาติไร ๆ โดยส่วนเดียวในกาลไหน ๆ โดยอธรรม
แม้ญาติทั้งหลายก็มิได้ผจญซึ่งข้าพเจ้า.

[468] ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้าเห็น
ประเพณีของโลก เห็นโลกถูกกิเลสขบกัด ถูกกิเลส
ทำให้เป็นดังเปือกตม จึงได้ทำเหตุนี้ให้เป็นเครื่อง
เปรียบเทียบว่า ปุถุชนจมอยู่แล้วในกิเลสวัตถุใด สัตว์
เป็นอันมาก ย่อมถูกประหารและถูกฆ่าในกิเลสวัตถุ
นั้น ดังนี้จึงได้บวชเป็นภิกษุ.

[469] ใครหนอเป็นผู้จำแนกแจกอรรถ
สั่งสอนพระองค์ คำอันสะอาดนี้เป็นคำของใคร ดูก่อน
พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เพราะพระองค์มิได้ตรัสบอก
สมณะผู้มีวัตรปฏิบัติก้าวล่วงทุกข์ นอกจากกัปปสมณะ
หรือวิชชสมณะ.

[470] ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ถึงข้าพเจ้าจะ
เคารพสมณะหรือพราหมณ์โดยส่วนเดียวก็จริง แต่ก็
ไม่เคยเข้าใกล้ไต่ถามอะไร ๆ ในกาลไหน ๆ เลย
ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้านั้นรุ่งเรื่องด้วยสิริ ไปยัง
พระราชอุทยานด้วยอานุภาพใหญ่ เมื่อเจ้าพนักงาน
กำลังขับเพลงขับและประโคมดนตรีกันอยู่ ข้าพเจ้า
ได้เห็นมะม่วง มีผลภายนอกกำแพงพระราชอุทยาน
อันกึกก้องด้วยเสียงดนตรี พร้อมแล้วด้วยคนร้องและ
คนประโคม ข้าพเจ้าละต้นมะม่วงอันมีสิรินั้น ซึ่ง

เหล่ามนุษย์ผู้ต้องการผลฟาดตีอยู่ ลงจากคอช้างเข้าไป
ยังโคนต้นมะม่วง ซึ่งมีผลและไม่มีผล เห็นต้นมะม่วง
ที่มีผล ถูกคนเบียดเบียนกำจัดแล้ว ปราศจากใบและ
ก้าน แต่มะม่วงอีกต้นหนึ่งนี้ใบเขียวชอุ่มน่ารื่นรมย์
ศัตรูทั้งหลายจักฆ่าพวกเราผู้มีอิสระ มีศัตรูดุจหนาม
เป็นอันมาก เหมือนต้นมะม่วงมีผล ถูกคนหักโค่น
ฉะนั้น เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา
คนมีทรัพย์ถูกฆ่าเพราะทรัพย์ ใครเล่าจักฆ่าผู้ไม่มี
เหย้าเรือน ผู้ไม่มีสันถวะคือตัณหา มะม่วงต้นหนึ่ง
มีผล อีกต้นหนึ่งไม่มีผล ทั้งสองต้นนั้นเป็นผู้สั่งสอน
ข้าพเจ้า.

[471] ชนทั้งปวงคือกองช้าง กองม้า กองรถ
กองเดินเท้า ตกใจว่า พระราชาทรงผนวชเสียแล้ว
ขอพระองค์โปรดทำให้ชุมชนอุ่นใจ ตั้งความคุ้มครอง
ไว้ อภิเษกพระโอรสในราชสมบัติ แล้วจึงทรงผนวช
ต่อภายหลังเถิด.

[472] ดูก่อนปชาบดี ชาวชนบท มิตร
อมาตย์ และพระประยูรญาติทั้งหลาย เราและแล้ว
ทีฆาวุราชกุมารผู้ยังแว่นแคว้นให้เจริญ เป็นบุตรของ
ชาววิเทหรัฐ ชาววิเทหรัฐเหล่านั้น จักให้ครองราช
สมบัติในกรุงมิถิลา.

[473] มาเถิด อาตมาจะให้เธอศึกษาตามคำ
ที่อาตมาชอบ เมื่อเธอให้พระโอรสครองราชสมบัติ
ก็จักกระทำบาปทุจริตเป็นอันมาก ด้วยกายวาจาใจ
ซึ่งเป็นเหตุให้เธอไปสู่ทุคติ การที่เรายังอัตภาพให้เป็น
ไปด้วยก้อนข้าวที่ผู้อื่นให้ ซึ่งสำเร็จแต่ผู้อื่น นี้เป็น
ธรรมของนักปราชญ์.

[474] คนที่ฉลาดแม้ไม่ได้บริโภคอาหาร
สี่มื้อ ราวกะว่าจะตายด้วยความอด ก็ยอมตายเสียด้วย
ความอด เขาจะไม่ยอมบริโภคก้อนเนื้อคลุกฝุ่นไม่
สะอาดเลย ข้าแต่พระมหาชนก พระองค์สิเสวยได้
ซึ่งก้อนเนื้ออันเป็นเดนสุนัข ไม่สะอาดน่าเกลียดนัก.

[475] ดูก่อนพระนางสีวลี ก้อนเนื้อนั้นไม่
ซื่อว่าเป็นอาหารของอาตมาหามิได้ เพราะถึงจะเป็น
ของคนครองเรือนหรือของสุนัข ก็สละแล้ว ของ
บริโภคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่บุคคลได้มาแล้ว
โดยชอบธรรม ของบริโภคทั้งหมดนั้น กล่าวกันว่า
ไม่มีโทษ.

[476] แน่ะนางกุมาริกาผู้ยังนอนกับแม่ ผู้
ประดับกำไลมือเป็นนิตย์ กำไลมือของเจ้า ข้างหนึ่ง
มีเสียงดัง อย่างหนึ่งไม่มีเสียงดัง เพราะเหตุไร.

[477] ข้าแต่พระสมณะ เสียงเกิดแต่กำไล
สองอัน ที่สวนอยู่ในข้อมือของข้าพเจ้านี้กระทบกัน

ความที่กำไลทั้งสองกระทบกันนั้นเป็นเหตุแห่งเสียง
กำไลอันหนึ่งที่สวมอยู่ในข้อมือของข้าพเจ้านี้นั้น ไม่มี
อันที่สองจึงไม่ส่งเสียง เป็นเหมือนนักปราชญ์สงบนิ่ง
อยู่ บุคคลสองคนก็วิวาทกัน คนเดียวจักวิวาทกับ
ใครเล่า ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ จงชอบความเป็นผู้อยู่
คนเดียวเถิด.

[478] แน่ะสีวลี เธอได้ยินคาถาที่นาง
กุมาริกากล่าวแล้วหรือ นางกุมาริกาเป็นเพียงชั้นสาว
ใช้มาติเตียนเรา ความที่เราทั้งสองประพฤติ คือ
อาตมาเป็นบรรพชิต เธอเป็นสตรีเดินตามกันมา ย่อม
เป็นเหตุแห่งครหา บรรดาสองแพร่งนี้อันเราทั้งสอง
ผู้เดินทาง จงแยกกันไป เธอจงถือเอาทางหนึ่งไป
อาตมาก็จะถือเอาทางอื่นอีกทางหนึ่งไป เธออย่าเรียก
อาตมาว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมาก็จะไม่
เรียกเธอว่าเป็นมเหสีของอาตมาอีก เมื่อกษัตริย์ทั้งสอง
กำลังตรัสข้อความนี้อยู่ ได้เสด็จเข้าไปยังถูกนคร
เมื่อใกล้เวลาฉัน พระมหาสัตว์ประทับยืนอยู่ที่ซุ้ม
ประตูเรือนของช่างศร ช่างศรนั้น หลับตาข้างหนึ่ง
ใช้ตาอีกข้างหนึ่งเล็งลูกศรอันหนึ่งซึ่งคดอยู่ ดัดให้ตรง
ที่ซุ้มประตูนั้น.

[479] ดูก่อนช่างศร ท่านจงฟังอาตมา ท่าน
หลับจักษุข้างหนึ่ง เล็งดูลูกศรอันคดด้วยจักษุข้างหนึ่ง
ด้วยประการใด ท่านเห็นความสำเร็จประโยชน์ด้วย
ประการนั้นหรือหนอ.

[480] ข้าแต่พระสมณะ การเล็งด้วยจักษุ
ทั้งสอง ปรากฏว่าเหมือนพร่าไปไม่ถึงที่คดข้างหน้า
ย่อมไม่สำเร็จความดัดให้ตรง ถ้าหลับจักษุข้างหนึ่ง
เล็งดูที่คดด้วยจักษุอีกข้างหนึ่ง เล็งได้ถึงที่คดเบื้องหน้า
ย่อมสำเร็จความดัดให้ตรง บุคคลสองคนก็วิวาทกัน
คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ จง
ชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวเถิด.

[481] ดูก่อนนางสีวลี เธอได้ยินคาถาที่
ช่างศรกล่าวหรือยัง ช่างศรเป็นเพียงคนใช้ยังติเตียน
เราได้ ความที่เราทั้งสองประพฤตินั้น เป็นเหตุแห่ง
ความครหา ดูก่อนนางผู้เจริญ ทางสองแพร่งนี้อันเรา
ทั้งสองผู้เดินทางมา จงแยกกันไป เธอจงถือเอาทาง
หนึ่งไป อาตมาถือเอาทางอื่นอีกทางหนึ่งไป เธอ
อย่าเรียกอาตมาว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมา
จะไม่เรียกเธอว่าเป็นมเหสีของอาตมาอีก.

จบมหาชนกชาดกที่ 2

อรรถกถามหานิบาต



มหาชนกชาดก


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ
มหาภิเนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โก ยํ มชฺเฌ สมุทฺทสฺมึ
ดังนี้เป็นต้น.
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนามหาภิเนกขัมมบารมี
ของพระตถาคต ในโรงธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายประชุมเจรจากันถึงเรื่องอะไร เนื้อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้
เท่านั้น ที่ตถาคตออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ แม้ในกาลก่อน เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์
อยู่ ตถาคตก็ได้ออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่เหมือนกัน ตรัสดังนี้ แล้วทรงดุษณีภาพ
อยู่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงเล่าเรื่อง จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดง
ดังต่อไปนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า มหาชนก
ครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ พระเจ้ามหาชนกราชนั้น มีพระ-
ราชโอรสสองพระองค์ คือ อริฏฐชนกพระองค์หนึ่ง โปลชนกพระองค์หนึ่ง
ในสองพระองค์นั้น พระราชาพระราชทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส
องค์พี่ พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่พระราชโอรสองค์น้อง กาลต่อมา
พระมหาชนกราชสวรรคต พระอริฏรชนกได้ครองราชสนบัติ ทรงตั้งพระ-
โปลชนกผู้กนิษฐภาดาเป็นอุปราช อมาตย์คนหนึ่งผู้ใกล้ชิดพระราชา ไปเฝ้า
พระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ พระอุปราชใคร่จะปลงพระชนม์พระองค์