เมนู

อรรถกถามหานิบาต



เนมิราชชาดก


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระราชอุทยานอัมพวัน ของพระเจ้า
มฆเทวราช ทรงอาศัยกรุงมิถิลาเป็นที่ภิกษาจาร ทรงปรารภการทำความแย้ม
พระโอฐให้ปรากฏ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อจฺเฉรํ วต โลกสฺมึ ดังนี้
เป็นต้น.
เรื่องย่อมีว่า วันหนึ่ง พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จจาริก
ไปในอัมพวันนั้นในเวลาเย็น ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศแห่งหนึ่งเป็นรมณี-
ยสถาน ทรงใคร่จะตรัสบุรพจริยาของพระองค์ จึงทรงแย้มพระโอฐ ท่านพระ
อานนทเถระ กราบทูลถามเหตุที่ทรงแย้มพระโอฐ จึงมีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อน
อานนท์ ภูมิประเทศนี้เราเคยอาศัยอยู่ เจริญฌานในกาลที่เราเสวยชาติเป็นมฆ-
เทวราชา
ตรัสดังนี้แล้วก็ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลวิงวอน
เพื่อให้ทรงแสดง จึงประทับนั่ง ณ บวรพุทธาสนะที่ปูลาดไว้ ทรงนำอดีต
นิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ณ กรุงมิถิลา แคว้นวิเทหรัฐ ได้
มีพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่ามฆเทวราช พระองค์ทรงเล่นอย่างราชกุมาร
อยู่ 84,000 ปี ครองไอศวรรย์ 84,000 ปี เมื่อเสวยราชย์เป็นพระราชา-
ธิราชได้ 84,000 ปี มีพระราชดำรัสกะเจ้าพนักงานภูษามาลาว่า เมื่อใด
เจ้าเห็นผมหงอกในศีรษะเรา เจ้าจงบอกข้าเมื่อนั้น ครั้นกาลต่อมา เจ้าพนัก
งานภูษามาลาได้เห็นเส้นพระศกหงอก จึงกราบทูลแด่พระราชา พระองค์
ตรัสสั่งให้ถอนด้วยแหนบทองคำ ให้วางไว้ในพระหัตถ์ ทอดพระเนตรพระศก

หงอก ทรงพิจารณาเห็นมรณะเป็นประหนึ่งว่ามาของอยู่ที่พระนลาต มีพระ-
ดำริว่า บัดนี้เป็นกาลที่จะผนวช จึงพระราชทานบ้านส่วยแก่เจ้าพนักงานภูษา
มาลา แล้วตรัสเรียกพระเชษฐโอรสมา มีพระดำรัสว่า พ่อจงรับครองราชสมบัติ
พ่อจักบวช พระราชโอรสทูลถามถึงเหตุที่จะทรงผนวช เมื่อจะตรัสบอกเหตุ
แก่พระราชโอรส จึงตรัสคาถานี้ว่า
ผมหงอกที่งอกบนศีรษะของพ่อนี้ นำความหนุ่ม
ไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว คราวนี้จึงเป็นคราว
ที่พ่อจะบวช.

ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็อภิเษกพระราชโอรสในราชสมบัติ แล้วพระราช-
ทานพระโอวาทว่า แม้ตัวเธอเห็นผมหงอกอย่างนี้แล้ว ก็พึงบวช ตรัสฉะนี้
แล้ว เสด็จออกจากพระนคร ทรงผนวชเป็นฤๅษี เจริญพรหมวิหาร 4 ตลอด
84,000 ปี บังเกิดในพรหมโลก แม้พระราชโอรสของพระเจ้า
มฆเทวราชก็ทรงผนวชโดยอุบายนั้นแหละ ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้อง
หน้า กษัตริย์ผู้เป็นพระราชโอรสของพระราชาเป็นลำดับมานับได้ 84,000
องค์ หย่อน 2 องค์ ทอดพระเนตรเห็นเส้นพระศกหงอกบนพระเศียร แล้ว
ทรงผนวชในพระราชอุทยานอัมพวันนี้ เจริญพรหมวิหาร 4 บังเกิดใน
พรหมโลก บรรดากษัตริย์เหล่านั้น กษัตริย์มีพระนามว่ามฆเทวะบังเกิด
ในพรหมโลกก่อนกว่ากษัตริย์ทั้งปวง สถิตอยู่ในพรหมโลกนั่นแหละ ตรวจดู
พระวงศ์ของพระองค์ ทอดพระเนตรเห็นกษัตริย์ 84,000 องค์ หย่อน 2
องค์ ผู้บวชแล้ว ก็มีพระมนัสยินดี ทรงพิจารณาว่า เบื้องหน้าแต่นี้ วงศ์
ของเราจักเป็นไป หรือจักไม่เป็นไปหนอ ก็ทรงทราบว่าจักไม่เป็นไป จึง
ทรงคิดว่า เรานี่แหละจักสืบต่อวงศ์ของเรา ก็จุติจากพรหมโลกนั้นลงมาถือ

ปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของพระราชาในกรุงมิถิลา กาลล่วงไป
10 เดือน ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา พระราชาตรัสเรียกพราหมณ์
ทั้งหลายผู้รู้ทำนาย มาถามเหตุการณ์ ในวันขนาน พระนามพระราชกุมาร
พราหมณ์ทั้งหลายตรวจดูพระลักษณะแล้ว กราบทูลว่า พระราชกุมารนี้สืบต่อ
วงศ์ของพระองค์เกิดแล้ว ด้วยว่าวงศ์ของพระองค์เป็นวงศ์บรรพชิต ท่อแต่
พระกุมารนี้ไปเบื้องหน้า จักไม่มี พระราชาทรงสดับดังนั้น มีพระดำริว่า
พระราชโอรสนี้สืบต่อวงศ์ของเรามาเกิด ดุจวงล้อรถ ฉะนั้น เราจักขนานนาม
พระโอรสนั้นว่า เนมิกุมาร ทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงพระราชทานพระนาม
พระโอรสว่า เนนิกุมาร. พระเนมิกุมารนั้นเป็นผู้ทรงยินดีในการบำเพ็ญรักษา
ศีลและอุโบสถกรรม จำเดิมแค่ยังทรงพระเยาว์ ลำดับนั้น พระราชาผู้พระชนก
ของเนมิราชกุมารนั้น ทอดพระเนตรเห็นเส้นพระศกบนพระเศียรหงอก ก็
พระราชทานบ้านส่วยแก่เจ้าพนักงานภูษามาลา แล้วมอมราชสมบัติแก่พระ
ราชโอรส ทรงผนวชในพระราชอุทยานอัมพวันนั่นเอง เป็นผู้มีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า โดยนัยหนหลังนั่นแล.
ฝ่ายพระเจ้าเนมิราชโปรดให้สร้างโรงทาน 5 แห่ง คือ ที่ประตู
พระนคร 4 แห่ง ท่ามกลางพระนคร 1 แห่ง ยังมหาทานให้เป็นไปด้วยความ
เป็นผู้มีพระอัธยาศัยในทาน พระราชทานทรัพย์ที่โรงทานแห่งละ 100,000
ทรงบริจาคทรัพย์วันละ 500,000 กหาปณะ ทุก ๆ วัน ทรงเบญจศีลเป็นนิจ
ทรงสมาทานอุโบสถทุกวันปักษ์ ทรงชักชวนมหาชนในการบำเพ็ญบุญมีให้
ทานเป็นต้น ทรงแสดงธรรมสอนให้ทราบทางสวรรค์ คุกคามประชุมชนให้
กลัวนรก ประชุมชนตั้งอยู่ในพระโอวาทของพระองค์ บำเพ็ญบุญมีให้ทาน
เป็นต้น จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก เทวโลกเต็ม นรกเป็นดุจ
ว่างเปล่า กาลนั้นหมู่เทวดาในดาวดึงสพิภพ ประชุมกัน เทวสถาน ชื่อ

สุธรรมา กล่าวสรรเสริญคุณของพระมหาสัตว์ว่า โอ พระเจ้าเนมิราช
เป็นพระอาจารย์ของพวกเรา ชาวเราทั้งหลายอาศัยพระองค์ จึงได้เสวยทิพย-
สมบัตินี้ แม้พระพุทธญาณก็มิได้กำหนด แม้ในมนุษยโลก มหาชนกสรรเสริญ
คุณของพระมหาสัตว์ คุณกถาแผ่ทั่วไป ราวกะน้ำมันที่เทราดลงบนหลัง
มหาสมุทร ฉะนั้น.
พระศาสดาเนื้อตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ทรงทำเนื้อความนั้นให้แจ้งชัด จึง
ตรัสว่า
เมื่อใดพระเจ้าเนมิราชผู้เป็นบัณฑิต มีพระประ-
สงค์ด้วยกุศล เป็นพระราชาผู้ปราบข้าศึก ทรงบริจาค
ทานแก่ชาววิเทหะทั้งปวง เมื่อนั้นบุคคลผู้ฉลาดก็ย่อม
เกิดขึ้นในโลก ความเกิดขึ้นของท่านเหล่านั้น น่า
อัศจรรย์หนอ เมื่อพระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญทานนั้น
อยู่ ก็เกิดพระราชดำริขึ้นว่า ทานหรือพรหมจรรย์
อย่างไหนมีผลานิสงส์มาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา อหุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดพระเจ้าเนมิราชผู้เป็นบัณฑิต มีพระประสงค์ด้วยกุศลเพื่อพระองค์ด้วย
เพื่อชนเหล่าอื่นด้วย เนื้อนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวคุณกถาของ
พระเจ้าเนมิราชนั้น อย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์หนอ ที่พุทธญาณยังไม่เกิด ก็
มีตนฉลาดสามารถยังพุทธกิจให้สำเร็จแก่มหาชนเห็นปานนี้เกิดขึ้นในโลก.
ว่า ยถา อหุ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า พระเจ้าเนมิราชเป็นบัณฑิต มี
พระประสงค์ด้วยกุศลเท่านั้น ฉันใด คนฉลาดทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น
ยังพุทธกิจให้สำเร็จแก่มหาชน การเกิดขึ้นของคนฉลาดเหล่านั้น นั้นน่า

อัศจรรย์ในโลกหนอ. พระศาสดาทรงเป็นอัจฉริยะเองทีเดียว จึงตรัสอย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สพฺพวิเทหานํ ได้แก่ ชาววิเทหรัฐทั้งปวง. บทว่า
กตมํ สุ ความว่า บรรดาทานและพรหมจรรย์สองอย่างนี้ อย่างไหนหนอมี
ผลมาก.
ได้ยินว่า พระเจ้าเนมิราชนั้นทรงสมาทานอุโบสถศีล ในวันอุโบสถ
15 ค่ำ ทรงเปลื้องราชาภรณ์ทั้งปวง บรรทมบนพระยี่ภู่มีสิริ หยั่งลงสู่
นิทรารมณ์ตลอดสองยาม ตื่นบรรทมในปัจฉิมยาม ทรงคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ
ทรงดำริว่า เราให้ทานไม่มีปริมาณแก่ประชุมชนและรักษาศีล ผลแห่งทาน
บริจาคมีมาก หรือแห่งพรหมจริยาวาสมีผลมากหนอ ทรงดำริฉะนี้ก็ไม่ทรง
สามารถตัดความสงสัยของพระองค์ได้.
ขณะนั้น พิภพแห่งท้าวสักกเทวราชก็แสดงอาการเร่าร้อน ท้าวสักกะ
เทวราชทรงอาวัชนาการเหตุนั้น ก็ทรงเห็นพระเจ้าเนมิราชกำลังทรงปริวิตกอยู่
อย่างนั้น จึงคิดว่า เราจักตัดความสงสัยของเธอ จึงเสด็จมาโดยพลันแต่
พระองค์เดียว ทำสกลราชนิเวศน์ให้มีรังสิโยภาสเป็นอันเดียวกัน เข้าสู่ห้อง
บรรทมอันมีสิริ แผ่รัศมีสถิตอยู่ในอากาศ ทรงพยากรณ์ปัญหาที่พระเจ้าเนมิราช
ตรัสถาม.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวมฆวานเทพกุญชรสหัสสเนตรทรงทราบ
พระดำริของพระเจ้าเนมิราช ทรงกำจัดความมืดด้วย
รัศมีปรากฏขึ้น พระเจ้าเนมิราชจอมมนุษย์มีพระโลม
ชาติชูชัน ได้ตรัสกะท้าววาสวะว่า ท่านเป็นเทวดา
หรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้ทานในก่อน
รัศมีของท่านเช่นนั้น ข้าพเจ้ายังไม่เคยเห็น หรือ

ไม่ได้ยินมาเลย ขอท่านจงแจ้งตัวท่านแก่ข้าพเจ้า ขอ
ความเจริญจงมีแก่ท่าน พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร.
ท้าววาสวะทรงทราบว่าพระเจ้าเนมิราชมีพระโลมชาติ
ชูชัน ได้ตรัสตอบว่า หย่อมฉัน เป็นท้าวสักกะจอม
เทพ มาสู่สำนักพระองค์ท่าน ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอม
มนุษย์ พระองค์อย่าทรงสยดสยองเลย เชิญตรัสถาม
ปัญหาที่ต้องพระประสงค์เถิด. พระเจ้าเนมิราชทรงได้
โอกาสฉะนั้นแล้ว จึงตรัสถามท้าววาสวะว่า ข้าแต่
เทวราชผู้เป็นอิสระแห่งปวงภูต หม่อมฉันขอทูลถาม
พระองค์ท่าน ทานหรือพรหมจรรย์อย่างไหนมีผลา-
นิสงส์มาก. อมรินทรเทพเจ้าอันนรเทพเนมิราชตรัส
ถามดังนี้ พระองค์ทรงทราบวิบากแห่งพรหมจรรย์
จึงตรัสบอกแก่พระเจ้าเนมิราชผู้ยังไม่ทรงทราบว่า
บุคคลย่อมบังเกิดในขัตติยสกุล เพราะประพฤติพรหม-
จรรย์อย่างต่ำ บุคคลได้เป็นเทพเจ้า เพราะประพฤติ
พรหมจรรย์ปานกลาง บุคคลย่อมหมดจดวิเศษเพราะ
ประพฤติพรหมจรรย์สูงสุด หมู่พรหมเหล่านั้น อัน
ใคร ๆ จะพึงได้เป็นด้วยการประพฤติวิงวอน ก็หาไม่
ต้องเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือนบำเพ็ญตบธรรม จึงจะได้
บังเกิดในหมู่พรหม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สโลมหฏฺโฐ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าเนมิราชนั้นทอดพระเนตรเห็นแสงสว่าง จึงทรงแลไปใน

อากาศ ก็ทอดพระเนตรเห็นท้าวสักกเทวราชนั้น ประดับด้วยทิพยาภรณ์ มี
พระโลมชาติชูชันเพราะความกลัว จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นเทวดาหรือ ดังนี้
เป็นต้น . บทว่า อโลมหฏฺโฐ ความว่า พระองค์อย่าทรงกลัว อย่าทรงมี
พระโลมชาติชูชันเลย จงถามเถิด มหาราช. บทว่า วาสวํ อวจ ความว่า
ทรงมีพระทัยยินดีได้ตรัสแล้ว. บทว่า ชานํ อกฺขาสิชานโต ความว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราชนั้น ทรงทราบวิบากแห่งพรหมจรรย์ ซึ่ง
เคยทรงเห็นประจักษ์ด้วยพระองค์เองในอดีตภพ จึงได้ตรัสบอกแก่พระเจ้า
เนมิราชผู้ยังไม่ทรงทราบ.
ในบทว่า หีเนน เป็นต้นมีวินิจฉัยว่า ในลัทธิเดียรถีย์โดยมาก
ศีลเพียงเมถุนวิรัติ ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างต่ำ ผู้บำเพ็ญย่อมเกิดในขัตติยสกุล
ควายพรหมจรรย์อย่างต่ำนั้น การได้อุปจารฌาน ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างกลาง
ผู้บำเพ็ญย่อมเกิดเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลางนั้น ก็การให้สมาบัติ
แปดเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างสูงสุด ผู้บำเพ็ญย่อมบังเกิดในพรหมโลกด้วย
พรหมจรรย์อย่างสูงสุดนั้น ชนภายนอกพระพุทธศาสนากล่าวพรหมจรรย์อย่าง
สูงสุดนั้น ว่านิพพาน ผู้บำเพ็ญย่อมบริสุทธิ์ ด้วยนิพพานนั้น.
แต่ในพระพุทธศาสนานี้ ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาเทพนิกาย
อย่างใดอย่างหนึ่ง พรหมจรรย์ของเธอชื่อว่าต่ำ เพราะเจตนาต่ำ เธอย่อม
บังเกิดในเทวโลกตามผลที่เธอปรารถนานั้น ก็การที่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ยัง
สมาบัติแปดให้บังเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างกลาง เธอย่อมบังเกิดในพรหมโลก
ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลางนั้น การที่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์เจริญวิปัสสนายัง
อรหัตมรรคให้บังเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างสูงสุด เธอย่อนบริสุทธิ์ด้วย
พรหมจรรย์อย่างสูงสุดนั้น.

บทว่า กายา ได้แก่ หมู่พรหม. บทว่า ยาจโยเคน ได้แก่
ด้วยประกอบการขอร้อง หรือด้วยประกอบการวิงวอน อธิบายว่าด้วย
ประกอบการบูชายัญ บทนี้เป็นชื่อของผู้ให้นั่นเอง แม้ด้วยประการทั้งสอง.
บทว่า ตปสฺสิโน ได้แก่ ผู้อาศัยตบะ.
ท้าวสักกเทวราชตรัสสรรเสริญว่า ดูก่อนพระมหาราช การประพฤติ
พรหมจรรย์เป็นคุณมีผลมากกว่าทาน ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า ด้วยประการฉะนี้
ครั้น ทรงแสดงควานที่การอยู่พรหมจรรย์เป็นคุณมิผลมากด้วยคาถาแม้ นี้แล้ว
บัดนี้จะทรงแสดงพระราชาทั้งหลายในอดีต ผู้บริจาคมหาทานแล้วไม่สามารถ
จะก้าวล่วงกามาพจรไปได้ จึงตรัสว่า
พระราชาเหล่านี้ คือ พระเจ้าทุทีปราช พระเจ้า
สาครราช พระเจ้าเสลราช พระเจ้ามุจลินทราช
พระเจ้าภคีรสราช พระเจ้าอุสินนรราช พระเจ้า
อัตถกราช พระเจ้าอัสสถราช พระเจ้าปุถุทธนราช
และกษัตริย์เหล่าอื่นกับพราหมณ์เป็นอันมาก บูชายัญ
มากมาย ก็ไม่ล่วงพ้นความละโลกนี้ไป.

คาถานั้นมีความว่า ดูก่อนมหาราช พระราชาพระนามว่า ทุทีปราช
ณ กรุงพาราณสีในกาลก่อน ทรงบริจาคทานเป็นอันมาก สวรรคตแล้วบังเกิด
ในสวรรค์ชั้นกามาพจรนั่นแล พระราชาแปดองค์มีพระเจ้าสาครราชเป็นต้น
ก็เหมือนกัน ก็พระราชามหากษัตริย์และพราหมณ์อื่น ๆ เหล่านั้นมากมาย ได้
บูชายัญเป็นอันมาก บริจาคทานมีประการไม่น้อย ก็ไม่ล่วงพ้นความละโลกนี้
กล่าวคือกามาวจรภูมิไปได้ จริงอยู่เหล่าเทพชั้นกามาพจร เรียกกัน ว่า เปตะ
เพราะสำเร็จได้โดยอาศัยผู้อื่น เพราะเหตุกิเลสวัตถุมีรูปเป็นต้น สมด้วย
พระพุทธภาษิตว่า

ชนเหล่าใดไม่มีเพื่อนสอง อยู่คนเดียว ย่อมไม่
รื่นรมย์ ย่อมไม่ได้ปีติเกิดแต่วิเวก ชนเหล่านั้นถึงจะ
มีโภคสมบัติเสมอด้วยพระอินทร์ ก็ชื่อว่าเป็นคนเข็ญใจ
เพราะได้ความสุขที่ต้องอาศัยผู้อื่น.

ท้าวสักกเทวราชทรงแสดงความที่ผลแห่งพรหมจรรย์นั่นแล เป็นของ
มากกว่าผลแห่งทาน แม้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงดาบสผู้ก้าวล่วง
เปตภพด้วยการอยู่พรหมจรรย์ บังเกิดในพรหมโลก จึงตรัสว่า
ฤๅษีผู้ไม่มีเหย้าเรือนเหล่านี้บำเพ็ญตบธรรม ได้ก้าว-
ล่วงกามาวจรภพแล้วโดยแท้ คือ ฤๅษี ตน อันมี
นามว่า ยามหนุฤๅษี โสมยาคฤๅษี มโนชวฤาษี
สมุททฤๅษี มาฆฤๅษี ภรตฤๅษี และกาลปุรักตฤๅษี
และฤๅษีอีก 4 ตน คือ อังคีรสฤๅษี กัสสปฤๅษี
กีสวัจฉฤๅษี และอกันติฤๅษี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติวตฺตึสุ ได้แก่ ก้าวล่วงกามาวจรภพ.
บทว่า ตปสฺสิโน ความว่า อาศัยตบะคือศีล และตบะคือสมาบัติแปด. บทว่า
สตฺติสโย ท่านกล่าวหมายเอาฤๅษีพี่น้องกัน 7 ตน มียามหนุฤๅษีเป็นต้น
ฤๅษีเหล่านี้กับฤๅษี 4 ตน มีอังคีรสฤๅษีเป็นต้น รวมเป็นฤๅษี
ท้าวสักกเทวราชตรัสสรรเสริญพรหมจริยวาสว่ามีผลมาก ตามที่ได้
สดับมาอย่างนี้ก่อน บัดนี้ เมื่อทรงนำเรื่องที่เคยทรงเห็นด้วยพระองค์เองมา
จึงตรัสว่า

แม่น้ำชื่อสีทามีอยู่ทางด้านทิศอุดร เป็นแม่น้ำลึก
ข้ามยาก กาญจนบรรพตมีสีประหนึ่งไฟที่ไหม้ไม้อ้อ
โชติช่วงอยู่ในกาลทุกเมื่อ ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น มีต้นกฤษณา
งอกงาม มีภูเขาอื่นอีกมีป่าไม้งอกงาม แต่ก่อนมามี
ฤๅษีเก่าแก่ประมาณหมื่นตน อาศัยอยู่ในภูมิประเทศ
นั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยทาน ด้วย
สัญญมะและทมะ หม่อมฉันอุปัฏฐากดาบสเหล่านั้น
ผู้ปฏิบัติวัตรจริยาไม่มีวัตรอื่นยิ่งกว่า ละหมู่คณะไปอยู่
ผู้เดียว มีจิตมั่นคง หม่อมฉันจักนมัสการนรชนผู้
ปฏิบัติตรง จะมีชาติก็ตาม ไม่มีชาติก็ตาม เป็นนิตย
กาล เพราะสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นเผ้าพันธ์
วรรณะทั้งปวงตั้งอยู่ในอธรรม ย่อมตกนรกเบื้องต่ำ
วรรณะทั้งปวงย่อมบริสุทธิ์ เพราะประพฤติธรรม
สูงสุด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตเรน ความว่า ดูก่อนมหาราช
ในอดีตกาล มีแม่น้ำชื่อว่าสีทาไหลมาระหว่างสุวรรณบรรพตทั้งสอง ใน
หิมวันตประเทศด้านทิศอุดร เป็นแม่น้ำลึก ยานมีเรือเป็นต้นข้ามยาก เพราะ
เหตุไร เพราะแม่น้ำนั้นมีน้ำใสยิ่ง แม้เพียงแต่แววหางนกยูงตกในแน่น้ำนั้น
ก็ไม่ลอยอยู่ จมลงถึงพื้นทีเดียวเพราะน้ำใส ด้วยเหตุนั้นแหละ แม่น้ำนี้จึงมี
ชื่อว่า สีทา ก็กาญจนบรรพตเหล่านั้นใกล้ฝั่งแห่งแม่น้ำนั้นมีพรรณดุจไฟไหม้
ไม้อ้อโชติช่วง คือ สว่างอยู่ทุกเมื่อ. บทว่า ปรุฬฺหคจฺฉา ตครา ความว่า
ริมฝั่งแม่น้ำนั้นมีต้นกฤษณางอกงาม เป็นกฤษณาที่มีกลิ่นหอม. บทว่า

ปรุฬฺหคจฺฉา วนา นคา ความว่า ภูผาอื่น ๆ ในที่นั้นมีพื้นที่งอกงามไป
ด้วยหมู่ไม้ อธิบายว่า ปกคลุมไปด้วยพฤษชาติทรงดอกและผล. บทว่า ตตฺราสุํ
ความว่า มีฤๅษีนับด้วยหมื่นอาศัยอยู่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์นั้น ท่านเหล่านั้น
ทั้งหมดล้วนได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 บรรดาฤๅษีเหล่านั้น ถึงเวลาภิกษาจาร
บางพวกไปถึงอุดรกุรุทวีป บางพวกนำผลชมพู่ใหญ่มา บางพวกนำผลไม้
น้อยใหญ่ที่มีรสหวานในหิมวันตประเทศมาฉัน บางพวกไปสู่นครนั้น ๆ ใน
พื้นชมพูทวีป แม้คนหนึ่งที่ถูกตัณหาในรสครอบงำ ก็ไม่มี ท่านเหล่านั้นยัง
กาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในฌานเท่านั้น.
ครั้งนั้น มีดาบสรูปหนึ่งมาสู่กรุงพาราณสีทางอากาศ นุ่งห่มเรียบร้อย
เที่ยวบิณฑบาตถึงประตูเรือนแห่งปุโรหิต ปุโรหิตนั้นเลื่อมใสในความสงบของ
ท่าน นำท่านมาสู่ที่อยู่ของตนให้ฉันแล้ว ปฏิบัติอยู่สองสามวัน เมื่อเกิดความ
คุ้นเคยกันจึงถามว่า ผู้เป็นเจ้าอยู่ที่ไหน ท่านตอบว่าอยู่ในที่โน้น ปุโรหิต
จึงถามต่อไปว่า ผู้เป็นเจ้าอยู่ในที่นั้นรูปเดียว หรือรูปอื่น ๆ ก็มีอยู่ ท่าน
ตอบว่า พูดอะไร ฤๅษีนับด้วยหมื่นอยู่ในที่นั้น ล้วนแต่ได้อภิญญา 5 สมาบัติ
8 กันทั้งนั้น ปุโรหิตได้ฟังคุณสมบัติของฤๅษีเหล่านั้น จากดาบสรูปนั้น จิตก็
น้อมไปในบรรพชา จึงกล่าวกะดาบสนั้นว่า ขอผู้เป็นเจ้าโปรดพาข้าพเจ้าไป
บวชในที่นั้นเถิด ท่านกล่าวว่า เธอเป็นราชบุรุษ อาตมาไม่อาจให้บวชได้
ปุโรหิตจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น วันนี้ข้าพเจ้าจะทูลลาพระราชา พรุ่งนี้ผู้เป็นเจ้า
โปรดมาที่นี้ ดาบสนั้นรับคำ ฝ่ายปุโรหิตบริโภคอาหารเช้าแล้วเข้าเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า ข้าพระบาทปรารถนาจะบวช พระราชาตรัสถามว่า ท่านอาจารย์
จะบวชด้วยเหตุไร ปุโรหิตกราบทูลว่า ด้วยเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็น
อานิสงส์ในเนกขัมม์ พระราชาทรงอนุญาตว่า ถ้าเช่นนั้น จงบวชเถิด แม้

บวชแล้วจงมาเยี่ยมเราบ้าง ปุโรหิตรับพระโองการแล้วถวายบังคมพระราชา
กลับไปสู่เรือนของตน พร่ำสอนบุตรภรรยา มอบสมบัติทั้งปวง ถือบรรพชิต
บริขารเพื่อตนนั่งคอยดาบสมา ฝ่ายดาบสมาทางอากาศเข้าภายในพระนครเข้า
เรือนของปุโรหิต ปุโรหิตนั้นอังคาสดาบสนั้นโดยเคารพแล้วแจ้งว่า ข้าพเจ้า
จะพึงปฏิบัติอย่างไร ดาบสนั้น นำปุโรหิตไปนอกเมือง ใช้มือจับนำไปที่อยู่
ของตนด้วยอานุภาพของตนให้บวชแล้ว วันรุ่งขึ้นให้พราหมณ์ผู้บวชแล้วยับยั้ง
อยู่ในที่นั้น นำภัตตาหารมาให้บริโภค แล้วบอกกสิณบริกรรม ดาบสที่บวช
ใหม่นั้น ทำอภิญญาและสมาบัติ 8 ให้เกิดโดยวันล่วงไปเล็กน้อย ก็เที่ยวบิณฑบาต
มาฉันได้เอง.
กาลต่อมา ดาบสนั้นคิดว่า เราได้ถวายปฏิญญาเพื่อไปเฝ้าพระราชา
เราจะไปเฝ้าตามปฏิญญาไว้ จึงไหว้ดาบสทั้งหลายไปสู่กรุงพาราณสีทางอากาศ
เที่ยวบิณฑบาตลุถึงพระราชทวาร พระเจ้าพาราณสีทอดพระเนตรเห็นฤๅษีนั้น
ทรงจำได้ นิมนต์ให้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ทรงทำสักการะแล้วตรัสถามว่า
ผู้เป็นเจ้าอยู่ที่ไหน ฤๅษีนั้นทูลตอบว่า อาตมาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสีทาอันอยู่ใน
ระหว่างกาญจนบรรพตในหิมวันตประเทศ ด้านทิศอุดร พระราชาตรัสถาม
ท่านอยู่ในที่นั้นรูปเดียว หรือมีดาบสอื่น ๆ ในที่นั้นด้วย ฤๅษีนั้นทูลตอบว่า
พระองค์ตรัสอะไร ดาบสนับด้วยหมื่นรูปอยู่ในที่นั้น และท่านเหล่านั้นทั้งหมด
ล้วนได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 ทั้งนั้น พระราชาทรงสดับคุณสมบัติแห่งดาบส
เหล่านั้น ทรงประสงค์จะถวายภิกษาหารแก่ดาบสทั้งหมด จึงตรัสกะดาบสนั้น
ว่า ข้าพเจ้าใคร่จะถวายภิกษาหารแก่ฤๅษีเหล่านั้น ผู้เป็นเจ้าจงนำท่านเหล่านั้น
มาในที่นี้ ดาบสนั้นทูลว่า ฤๅษีเหล่านั้นไม่ยินดีในรสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
อาตมาไม่อาจจะนำมาในที่นี้ได้ พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า ข้าพเจ้าจักอาศัย
เป็นเจ้าให้ฤๅษีเหล่านั้นโภค ขอผู้เป็นเจ้าจงบอกอุบายแก่ข้าพเจ้า ดาบส

ทูลว่า ถ้าพระองค์ประสงค์จะถวายทานแก่ฤาษีเหล่านั้น จงเสด็จออกจากเมือง
นี้ไปประทับแรมอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสีทา แล้วทรงถวายทานแก่ท่านเหล่านั้น
พระราชาทรงรับคำ โปรดให้ถืออุปกรณ์ทั้งปวงเสด็จออกจากพระนครกับด้วย
จตุรงคินีเสนา เสด็จลุถึงสุดแดนราชอาณาเขตของพระองค์ ลำดับนั้น ดาบส
จึงนำพระราชาไปที่ฝั่งสีทานทีพร้อมด้วยเสนาด้วยอานุภาพของตน ให้ตั้งค่าย
ริมฝั่งแม่น้ำ ทูลเตือนพระราชามิให้ทรงประมาท แล้วเหาะไปยังที่อยู่ของตน
กลับมาในวันรุ่งขึ้น ลำดับนั้น พระราชาให้ดาบสนั้นฉันโดยเคารพแล้วตรัสว่า
พรุ่งนี้ผู้เป็นเจ้าจงพาฤาษีหมื่นรูปมาในที่นี้ ดาบสนั้นรับพระราชดำรัสแล้วกลับ
ไป วันรุ่งขึ้นในเวลาภิกษาจาร แจ้งแก่ฤาษีทั้งหลายว่า พระเจ้าพาราณสีมี
พระราชประสงค์จะถวายภิกษาหารแก่ท่านทั้งหลาย เสด็จมาประทับอยู่แถบฝั่ง
สีทานที พระองค์อาราธนาท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงไปยังค่ายหลวงรับ
ภิกษาเพื่ออนุเคราะห์พระองค์ ฤๅษีเหล่านั้นรับคำ จึงเหาะลงมาที่ใกล้ค่ายหลวง
ลำดับนั้น พระราชาเสด็จต้อนรับฤๅษีเหล่านั้น แล้วอาราธนาให้เข้าในค่าย
หลวง ให้นั่ง ณ อาสนะที่แต่งไว้เลี้ยงดูหมู่ฤๅษีให้อิ่มหนำด้วยอาหารประณีต
ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของฤๅษีเหล่านั้น จึงนิมนต์ให้ฉันในวันพรุ่งนี้อีก ได้
ทรงถวายทานแก่ดาบสหมื่นรูป โดยอุบายนี้ ตลอดหมื่นปี ก็แลเมื่อทรงถวาย
โปรดให้สร้างนครในประเทศนั้นทีเดียว ให้ทำกสิกรรม.
ดูก่อนมหาราช ก็พระเจ้าพาราณสีในกาลนั้น มิใช่ผู้อื่น คือหม่อมฉัน
นี่เอง หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐด้วยทานในครั้งนั้นโดยแท้ เพราะว่าครั้งนั้น
หม่อมฉันนี่แหละเป็นผู้ประเสริฐด้วยทาน ได้บริจาคมหาทานนั้น ก็หาสามารถ
จะก้าวล่วงเปตโลกนี้บังเกิดในพรหมโลกไม่ แต่ฤๅษีเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแล
บริโภคทานที่หม่อมฉันบริจาค ก้าวล่วงกามาวจรภพบังเกิดในพรหมโลก ก็
พรหมจริยวาสเป็นคุณธรรม มีผลานิสงส์มากอย่างใด ขอพระองค์ทรงทราบ

อย่างนั้น ด้วยอุทาหรณ์ที่แสดงมาแล้วนี้ ท้าวสักกเทวราชประกาศความที่
พระองค์เป็นผู้ประเสริฐด้วยทานอย่างนี้แล้ว ประกาศคุณธรรมแห่งฤาษีเหล่า
นั้นด้วยบทสามบทนอกนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญเมน ได้แก่ ด้วยศีล. บทว่า
ทเมน ได้แก่ ด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า อนุตฺตารํ ความว่า ประพฤติ
วัตรสมาทานอันอุดมเนืองนิจด้วยคุณธรรมเหล่านี้. บทว่า ปกีรจารี ความว่า
กระจัดกระจาย คือซัดไป คือละหมู่คณะ เที่ยวไปผู้เดียว คือถึงความเป็นผู้
ผู้เดียว. บทว่า สมาหิเต ได้แก่ผู้มีจิตคงมั่นด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนา-
สมาธิ ท้าวสักกเทวราชทรงแสดงว่า หม่อมฉันบำรุงดาบสผู้มีตบะเห็นปานนะ
บทว่า อหมุขุคตํ ความว่า ดูก่อนมหาราช ฤๅษีทั้งหมื่นรูปเหล่านั้น
หม่อมฉันมิได้เลือกแม้สักรูปหนึ่ง ซึ่งดำเนินตรง เพราะไม่มีคดกายเป็นต้น
โดยชาติ คือมีชาติต่ำ หรือสมบูรณ์ด้วยชาติเป็นต้น มีใจเลื่อมใสในคุณสมบัติ
ของท่านเหล่านั้น นมัสการท่านเหล่านี้ทั้งหมดเกินเวลา คือนมัสการตลอดกาล
เป็นนิจทีเดียว ท้าวสักกเทวราชตรัสดังนี้. เพราะเหตุไร. เพราะสัตว์มี
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ อธิบายว่า เพราะเหตุว่าขึ้นชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้มี
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย. บทว่า สพฺเพ วณฺณา พึงทราบ
ด้วยเหตุนี้นั้นแล.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกเทวราช ทรงโอวาทพระเจ้าเนมิ-
ราชนั้นว่า ดูก่อนมหาราช พรหมจริยวาสเป็นธรรมมีผลมากกว่าทานโดยแท้
ถึงอย่างนั้น ธรรมทั้งสองนั้นก็เป็นมหาปุริสวิตก เพราะฉะนั้น พระองค์จงอย่า
ประมาทในธรรมทั้งสอง จงทรงบริจาคทานด้วย จงทรงรักษาศีลด้วย ตรัส
ฉะนี้แล้ว เสด็จไปสู่ทิพยสถานวิมานของพระองค์นั่นแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมํ ความว่า ท่านทั้งหลายจงตั้งใจสดับ
คือจงฟังซึ่งคุณที่ควรพรรณนาสูงด้วยอำนาจศีล ต่ำด้วยอำนาจทานเป็นอันมาก
นี้ ของมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรม คือผู้มีกัลยาณธรรม อันเรากล่าว
อยู่. บทว่า ยถา อยํ ความว่า อย่างพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นบัณฑิต คือ
เป็นบัณฑิตอย่างแท้จริง.
ท้าวสักกเทวราชตรัสคุณที่ควรพรรณนาของพระเจ้าเนมิราชอย่างไม่
บกพร่องด้วยประการฉะนี้.
หมู่เทวดาได้ฟังท้าวเธอตรัสดังนี้ ก็ใคร่จะเห็นพระเจ้าเนมิราช จึง
ทูลว่า ข้าแต่มหาเทวราช พระเจ้าเนมิราช เป็นพระอาจารย์ของพวกข้าพระเจ้า
พวกข้าพระเจ้าตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ อาศัยพระองค์จึงได้ทิพยสมบัตินี้
ข้าพระเจ้าทั้งหลายใคร่จะเห็นพระองค์ ขอองค์มหาเทวราชเชิญเสด็จพระองค์
มา ท้าวสักกเทวราชทรงรับคำ จึงมีเทวบัญชามาตลีเทพสารถีว่า ท่านจง
เทียมเวชยันตรถไปกรุงมิถิลา เชิญเสด็จพระเจ้าเนมิราชขึ้นทิพยานนำเสด็จมา
เทวสถานนี้ มาตลีเทพบุตรรับเทพโองการแล้วเทียมเทพรถขับไป ก็เมื่อ
ท้าวสักกะมีเทพดำรัสอยู่กับเทวดาทั้งหลาย ตรัสเรียกมาตลีเทพสารถีมาตรัสสั่ง
และเมื่อมาตลีเทพสารถีเทียมเวชยันตราชรถ ล่วงไปหนึ่งเดือน โดยกำหนด
นับวันในมนุษย์. เมื่อพระเจ้าเนมิราชทรงรักษาอุโบสถศีลในวันเพ็ญ เปิด
สีหบัญชรด้านทิศตะวันออกประทับนั่งอยู่ในพระตำหนัก คณะอมาตย์แวดล้อม
ทรงพิจารณาศีลอยู่ เวชยันตราชรถนั้นปรากฏพร้อมกับจันทรมณฑลอันขึ้น
แต่ปราจีนโลกธาตุ ชนทั้งหลายกินอาหารเย็นแล้ว นั่งที่ประตูเรือนของตน ๆ
พูดกันถึงถ้อยคำอันให้เกิดความสุข ก็พูดกันว่า วันนี้พระจันทร์ขึ้นสองดวง
ลำดับนั้น เทพรถนั้นก็ได้ปรากฏแก่ประชุมชนผู้สังสนทนากันอยู่ มหาชน

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า
องค์มฆวาสุชัมบดีเทวราชตรัสอย่างนี้แล้ว ทรง
อันศาสนาพระเจ้าวิเทหรัฐ แล้วเสด็จหลีกไปสู่หมู่เทพ
ในสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปกฺกมิ แปลว่า หลีกไปแล้ว อธิบาย
ว่า ท้าวสักกเทวราชแสดงพระองค์แก่หมู่เทพสองหมู่ผู้นั่งอยู่ในเทวสภา ชื่อ
สุธรรมา.
ลำดับนั้น หมู่เทพยดาได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์
ไม่ปรากฏ เสด็จไปไหนหนอ ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์
ความกังขาอันหนึ่งเกิดขึ้นแก่พระเจ้าเนมิราช กรุงมิถิลา ข้าจึงไปกล่าวปัญหา
ทำให้เธอหายกังขาแล้วกลับมา.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกเทวราช เพื่อตรัสเหตุนั้นอีกด้วย
คาถา จึงตรัสว่า
ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายที่มาประชุม
ในที่นี้มีประมาณเพียงไร จงตั้งใจสดับคุณที่ควร
พรรณนา ทั้งสูงทั้งต่ำเป็นอันมากนี้ ของมนุษย์ทั้ง
หลายผู้ประกอบด้วยธรรม อย่างพระเจ้าเนมิราชนี้
เป็นบัณฑิต มีพระราชประสงค์ด้วยกุศล พระองค์
เป็นราชาของท้าววิเทหรัฐทั้งปวง ทรงปราบข้าศึก
พระราชทานไทยธรรม เมื่อพระองค์ทรงบริจาคทาน
อยู่นั้น เกิดพระดำริขึ้นว่า ทานหรือพรหมจรรย์อย่าง
ไหน ผลมากหนอ.

กล่าวว่า นั่นไม่ใช่พระจันทร์ รถนะ ในเมื่อเวชยันตรถเทียมสินธพนับด้วย
พันมีมาตลีเทพบุตรขับ ปรากฏแล้วในขณะนั้น จึงคิดกันว่า ทิพยานนี้มา
เพื่อใครหนอ ลงความเห็นว่า ไม่ใช่มาเพื่อใครอื่น พระราชาของพวกเรา
เป็นธรรมิกราช องค์สักกเทวราชจะส่งมาเพื่อพระราชานั้นนั่นเอง เทพรถนี้
สมควรแก่พระราชาของพวกเราแท้ เห็นฉะนั้นแล้วก็ร่าเริงยินดี กล่าวคาถาว่า
เกิดพิศวงขนพองขึ้นในโลกแล้วหนอ รสทิพย์
ปรากฏแก่พระเจ้าวิเทหรัฐ ผู้มียศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพฺภูโต ได้แก่ ไม่เคยมีแล้ว อีกอย่าง
หนึ่ง ได้แก่ อัศจรรย์ ประชาชนกล่าวอย่างนี้ด้วยความพิศวง.
ก็เมื่อประชาชนกล่าวกันอย่างนี้ มาตลีเทพบุตรมาโดยเร็ว กลับรถ
จอดท้ายรถที่พระสีหบัญชร ทำการจัดแจงให้เสด็จขึ้นแล้ว ได้เชิญพระเจ้า
เนมิราชเสด็จขึ้นทรง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า
เทพบุตรมาตลีผู้เป็นเทพสารถีมีฤทธิ์มาก อัญ-
เชิญเสด็จพระเจ้าวิเทหรัฐ ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมือง
มิถิลาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ใน
ทิศ ขอเชิญเสด็จมาทรงรถนี้ เทพเจ้าสาวดาวดึงส์
พร้อมด้วยพระอินทร์ใคร่จะเห็นพระองค์ ประชุมคอย
เฝ้าอยู่ ณ เทพสภา ชื่อสุธรรมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิถิลคฺคหํ ความว่า ผู้มีปราสาท
ประดิษฐานอยู่ในกรุงมิถิลา ทรงสงเคราะห์ชาวมิถิลา ด้วยสังคหวัตถุ 4.
บทว่า สมจฺฉเร ความว่า นั่งกล่าวสรรเสริญคุณของพระองค์.

พระเจ้าเนมิราชได้ทรงสดับคำนั้น มีพระดำริว่า เราจักได้เห็นเทวโลก
ซึ่งยังไม่เคยเห็น มาตลีเทพบุตรจักสงเคราะห์เรา เราจักไป ตรัสเรียกนางใน
และมหาชนมาตรัสว่า เราจักไปไม่นานนัก ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท จง
กระทำบุญทั้งหลายมีการให้ทานเป็นต้น ตรัสขึ้นแล้ว เสด็จขึ้นทิพยรถ
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหรัฐผู้สงเคราะห์ชาวมิถิลา
ผู้เป็นประมุข รีบเสด็จลุกจากอาสน์ขึ้นสู่รถ มาตลี
เทพสารถี ได้ทูลถามพระเจ้าวิเทหราชผู้เสด็จขึ้นทรง
ทิพยรถแล้วว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่
ในทิศ ทางไปสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบาปทาง
หนึ่งทางไปสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบุญทางหนึ่ง
จะโปรดให้ข้าพระองค์นำเสด็จไปทางไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมุโข ความว่า เป็นผู้สูงสุด หรือเป็น
หัวหน้าทรงหันพระปฤษฎางค์ต่อมหาชนแล้วเสด็จขึ้น. บทว่า เยน วา ความว่า
บรรดาทางเหล่านี้ คือ ทางที่บุคคลไปแล้วสามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้
ทำบาปหนึ่ง ทางที่บุคคลไปแล้วสามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบุญ
หนึ่งจะโปรดให้ข้าพระองค์นำเสด็จทางไหนก่อน มาตลีเทพสารถีนั้น แม้ท้าวสัก
กะมิได้สั่งถึงข้อนี้ ก็ทูลเพื่อแสดงถึงความวิเศษแห่งทูตของตน.
ลำดับนั้น พระราชามีพระดำริว่า สถานที่ทั้งสองเรายังไม่เคยเห็น
เราจักดูทั้งสองแห่ง จึงตรัสว่า
ดูก่อนมาตลีเทพสารถี ท่านจงนำเราไปโดยทาง
ทั้งสอง คือทางไปที่อยู่ของผู้ทำบาป และทางไปที่อยู่
ของผู้ทำบุญ

ลำดับนั้น มาตลีเทพบุตรทูลว่า ข้าพระองค์ไม่อาจจะแสดงสถานที่
ทั้งสองในขณะเดียวกัน จึงได้ทูลถามพระองค์ เมื่อจะทูลถามจึงกล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นไปในทิศ
ทางหนึ่งไปที่อยู่ของผู้ทำบาป ทางหนึ่งไปที่อยู่ของ
ทำบุญ จะโปรดให้ข้าพระองค์นำเสด็จไปทางไหน
ก่อน.

ลำดับนั้น พระราชามีพระดำริว่า เราจักไปเทวโลกแน่ แต่จักดูนรก
ก่อน จึงตรัสคาถาคิดต่อกันไปว่า
เราจะดูนรกอันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบาป
สถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมหยาบช้า และคติ
ของเหล่าชนผู้ทุศีลก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺสีลานํ ได้แก่ ของคฤหัสถ์ทุศีล
ของสมณะทุศีล ผู้ทำบาปด้วยอำนาจอกุศลกรรมบถสิบ. บทว่า ยา คติ
ความว่า เราจักดูที่เกิดของคนทุศีลเหล่านั้น.
ลำดับนั้น มาตลีเทพสารถีได้แสดงแม่น้ำชื่อเวตรณี แด่พระเจ้า
เนมิราชก่อน.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า
มาตลีเทพสารถี ได้แสดงแม่น้ำเวตรณี ซึ่งข้าม
ยาก ประกอบด้วยน้ำแสบเผ็ดร้อนเดือดพล่าน เปรียบ
ดังเปลวเพลิง แด่พระเจ้าเนมิราช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวตรณึ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มาตลีเทพสารถีได้ฟังพระราชดำรัสแห่งพระเจ้าเนมิราช จึงขับรถตรงไปนรก

แสดงแม่น้ำเวตรณีที่ตั้งขึ้นด้วยฤดูโดยกรรมปัจจัยก่อน นายนิรยบาลทั้งหลาย
ในนรกนั้นถือศัสตราวุธ มีดาบ มีด โตนร หอก และไม้ค้อนเป็นต้นอัน
ลุกโพลง ประหารแทงโบยตีสัตว์นรกทั้งหลาย สัตว์นรกเหล่านั้นทนต่อทุกข์นั้น
ไม่ได้ ก็ตกลงในเวตรณีนที.
เวตรณีนทีนั้นดาดาษไปด้วยเครือเลื้อยอันมีหนามประมาณเท่าหอก
มีเพลิงลุกโพลงข้างบน สัตว์นรกเหล่านั้นต้องอยู่ในเวตรณีนทีนั้นหลายพันปี
เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ในเพราะเถาวัลย์มีหนามแหลมมีคมอันคมกริบ มีเพลิง
ลุกโชติช่วง มีหลาวเหล็กลุกโพลงประมาณเท่าลำตาล ตั้งขึ้นภายใต้เถาวัลย์
เหล่านั้น สัตว์นรกทั้งหลายยังกาลให้ล่วงไปนานมาก พลาดจากเถาวัลย์ตกลง
ที่ปลายหลาว มีร่างกายถูกหลาวแทงไหม้อยู่ในหลาวนาน ดุจปลาที่เสียบไว้ใน
ไม้แหลมย่างไฟ หลาวทั้งหลายลุกเป็นไฟ สัตว์นรกทั้งหลายก็ลุกเป็นไฟ ก็
ภายใต้หลาวทั้งหลาย มีใบบัวเหล็กแหลมคมดุจมีดโกนลุกเป็นไฟอยู่หลังน้ำ
สัตว์นรกเหล่านั้นพลาดจากหลาวทั้งหลายตกลงในใบบัวเหล็ก เสวยทุกขเวทนา
นาน แต่นั้นสัตว์นรกเหล่านั้นก็ตกในน้ำแสบ แม้น้ำก็ลุกเป็นไฟ แม้สัตว์นรก
ทั้งหลายก็ลุกเป็นไฟ แม้ควันก็ตั้งขึ้น ก็พื้นแม่น้ำภายใต้น้ำดาดาษไปด้วยเครื่อง
ประหารอันคมกริบ สัตว์นรกเหล่านั้นจมลงในน้ำ ด้วยคิดว่าใต้น้ำจะเป็นเช่น
ไรหนอ ก็เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่เพราะเครื่องประหารอันคมกริบ สัตว์นรก
เหล่านั้นไม่สามารถจะอดกลั้นทุกข์ใหญ่นั้น ก็ร่ำร้องน่ากลัวมาก กระแสน้ำ
บางครั้งก็ไหลลอยไปตามกระแส บางครั้งก็ทวนกระแส ลำดับนั้น นายนิรยบาล
ผู้อยู่ที่ฝั่ง ก็ซัดลูกศร มีด โตมร หอก แทงสัตว์นรกเหล่านั้นดุจปลา สัตว์นรก
เหล่านั้นถึงทุกขเวทนาก็ร้องกันลั่น ลำดับนั้น นายนิรยบาลก็เอาเบ็ดเหล็กที่ลุก
เป็นไฟเกี่ยวสัตว์นรกเหล่านั้นขึ้น คร่ามาให้นอนบนแผ่นดินเหล็กที่ลุกเป็นไฟ
โชติช่วง ยัดก้อนเหล็กที่ลุกแดงเข้าปาก.

พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นเหล่าสัตว์ถูกทุกข์ใหญ่เบียดเบียน
ในเวตรณีนที ก็สะดุ้งกลัว ตรัสถามมาตลีเทพสารถีว่า สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาป
กรรมอะไรไว้ มาตลีเทพสารถีได้ทูลถวายพยากรณ์ให้ทรงทราบ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า
พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นชนซึ่งตกอยู่
ในเวตรณีนทีภาค ซึ่งยากจะข้ามได้ จึงตรัสกะมาตลี-
เทพสารถีว่า แนะนายสารถี ความกลัวมากปรากฏ
แก่เรา เพราะเห็นสัตว์ตกอยู่ในแม่น้ำเวตรณี แน่ะ
มาตลี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้
จึงได้ตกในเวตรณีนที.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม
ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่
พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน
มนุษยโลกเป็นผู้มีกำลัง มีบาปกรรมเบียดเบียน
ด่ากระทบผู้ที่หากำลังมิได้ สัตว์เหล่านั้นมีกรรม
หยาบช้ากระทำบาป จึงตกลงในเวตรณีนที.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินฺทติ ความว่า เราไม่มีอิสระแก่ตัว
เป็นเหมือนมีความกลัว. บทว่า ทิสฺวา ความว่า เห็นเหล่าสัตว์ตกไปอยู่ คือ
เห็นสัตว์นรกเหล่านั้นตกแม่น้ำเวตรณี. บทว่า ชานํ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มาตลีเทพสารถีนั้นรู้อยู่เอง จึงได้ทูลบอกแด่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่
ทรงทราบ. บทว่า ทุพฺพเล ได้แก่ เว้นจากกำลังร่างกาย กำลังโภคะ และ
กำลังอำนาจ. บทว่า พลวนฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยกำลังเหล่านั้น. บทว่า
หึเสนฺติ ได้แก่ ทำให้ลำบากด้วยประหารด้วยฝ่ามือเป็นต้น. บทว่า โรเสนฺติ

ได้แก่ ด่ากระทบโดยประการต่าง ๆ บทว่า ปสเวตฺวา ความว่า ให้เกิด
คือกระทำ.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์ปัญหาแด่พระเจ้าเนมิราชอย่างนี้แล้ว
พระเจ้าเนมิราชได้ทอดพระเนตรเห็นเวตรณีนรกแล้ว ก็ทำประเทศนั้น ให้
อันตรธานไปแล้วขับรถไปข้างหน้า แสดงที่เป็นที่สัตว์ มีสุนัขเป็นต้นเคี้ยวกิน
อันพระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสถานที่นั้นแล้วก็ทรงกลัว ตรัสถามปัญหา
ได้ทูลพยากรณ์แล้ว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า
พระราชาตรัสว่า สุนัขแดง สุนัขด่าง ฝูงแร้ง
ฝูงกา น่ากลัว เคี้ยวกินสัตว์นรก ความกลัวปรากฏ
แก่เรา เพราะเห็นสัตว์เหล่านั้นเคี้ยวกินสัตว์นรก เรา
ขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ที่ฝูงกาเคี้ยวกิน ได้ทำบาป
อะไรไว้.

มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถาม
แล้ว ได้ทูลพยากรณ์วิบากของเหล่าสัตว์ทำบาป
ตามที่ได้ทราบ แด่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่ทรงทราบว่า
สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น มี
บาปธรรม มักบริภาษเบียดเบียนด่ากระทบสมณ
พราหมณ์ สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้ากระทำบาป
จึงถูกฝูงกาเคี้ยวกิน.

ปัญหาอื่นจากนี้ และการพยากรณ์ก็มีนัยนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามา ได้แก่ มีสีแดง. บทว่า โสณา
แปลว่า สุนัข. บทว่า สวลา ความว่า มีสีต่าง และมีสีขาว ดำ เหลือง

ท่านแสดงสุนัขไว้ 5 สีอย่างนี้ ได้ยินว่า สุนัขเหล่านั้นตัวโตเท่าช้าง ไล่ติดตาม
สัตว์นรกที่แผ่นดินเหล็กอันลุกโพลง ดุจไล่เนื้อ กัดเนื้อเป็นชิ้นแล้วยังสรีระ
3 คาวุตแห่งสัตว์นรกให้ล้มลงบนแผ่นดินเหล็กอันลุกโพลง เอาขาหน้าทั้งสอง
เหยียบอกของสัตว์นรกผู้ร้องลั่นอยู่ ทิ้งเนื้อกินให้เหลือแต่เยื่อในกระดูก แห่ง
สัตว์ผู้มีบาปธรรม. บทว่า คิชฺฌา ได้แก่ ฝูงแร้งมีจะงอยปากเป็นโลหะ
ตัวใหญ่เท่าเกวียนสินค้า แรงเหล่านั้น ทำลายกระดูกด้วยจะงอยปากเช่นกับ
ปลายทวน เคี้ยวกินเยื่อในกระดูก. บทว่า โกกาลุสงฺฆา ได้แก่ ฝูงกามี
จะงอยปากเป็นโลหะ น่ากลัวยิ่ง เคี้ยวกินสัตว์นรกที่มันเห็นแล้ว ๆ. บทว่า
เยเม ชเน ความว่า ถามว่า สัตว์นรกเหล่านี้ ที่ถูกฝูงกาเคี้ยวกิน ได้ทำ
บาปกรรมอะไรไว้. บทว่า มจฺฉริโน ได้แก่ ผู้ไม่ให้อะไรแก่ผู้อื่น ชื่อว่า
ตระหนี่. บทว่า ทรยา ได้แก่ กระด้างและตระหนี่ ห้ามผู้อื่นแม้กำลัง
บริจาคทาน. บทว่า สมณพฺราหฺมณานํ ได้แก่ ผู้ระงับบาปลอยบาปแล้ว.
แต่นั้นมาตลีเทพสารถี ยังประเทศนั้นให้อันตรธานขับรถไปข้างหน้า
สัตว์นรกทั้งหลายเหยียบแผ่นดินเหล็ก 9 โยชน์ลุกโชติช่วง นายนิรยบาลติด
ตามไป ประหารแข้งด้วยท่อนเหล็กอันลุกโพลง ประมาณเท่าลำตาลล้มลงโบย
ด้วยท่อนเหล็กนั้นให้เรี่ยรายเป็นจุรณวิจุรณ พระราชาเนมิราชทอดพระเนตร
เห็นดังนั้น ทรงสะดุ้งกลัว เมื่อจะตรัสถามมาตลีเทพสารถี จึงตรัสคาถาว่า
สัตว์นรกเหล่านี้มีร่างลายลุกโพลง เดินเหยียบ
แผ่นดินเหล็ก และนายนิรยบาลโบยด้วยท่อนเหล็ก
แดง ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็น
ไปของสัตว์นรกเหล่านั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เรา
ขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ทำบาปอะไรไว้ จึงถูก

เบียดเบียนด้วยท่อนเหล็กนอนอยู่.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม
ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระ-
ราชาผู้ไม่ทรงทราบว่าสัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษย-
โลก เป็นผู้มีบาปธรรมเบียดเบียนด่ากระทบชายหญิง
ผู้มีกุศลธรรม สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำ
บาปกรรมแล้ว จึงถูกเบียดเบียนด้วยท่อนเหล็กนอนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺโชติภูตา ได้แก่ มีสรีระลุกโพลง
บทว่า ปฐวึ ความว่า ก้าวคือเหยียบแผ่นดินเหล็ก 9 โยชน์ที่ลุกโพลง. บทว่า
ขนฺเธหิ จ โปถยนติ ความว่า เหล่าสัตว์นรกมีร่างกายลุกโพลง ถูกนาย
นิรยบาลติดตามประหารที่แข้งทั้งสอง ด้วยท่อนเหล็กลุกโพลงเท่าลำตาลให้ล้ม
แล้วล้อมโบยด้วยท่อนเหล็กเหล่านั้นแหละให้เรี่ยรายเป็นจุรณวิจุรณ เหมือน
ต้อนตีโคไม่เข้าคอกฉะนั้น. บทว่า สุปาปธมฺมิโน ได้แก่ เป็นผู้ธรรมอัน
ลามกด้วยดีสำหรับตน. บทว่า อปาปธมฺมํ ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลและ
อาจาระเป็นต้น หรือปราศจากความผิด.
มาตลีเทพสารถีขับรถไปข้างหน้า นายนิรยบาลทั้งหลายทิ่มแทง
สัตว์นรกด้วยอาวุธอันลุกโพลง สัตว์นรกเหล่านั้นก็ตกลงในหลุมถ่านเพลิง
เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นจมอยู่ในหลุมถ่านเพลิงเพียงเอว นายนิรยบาลก็เอา
กระเช้าเหล็กใหญ่ตักถ่านเพลิงโปรยลงบนศีรษะสัตว์นรกเหล่านั้น สัตว์นรก
เหล่านั้นไม่อาจรับถ่านเพลิงก็ร้องไห้ มีกายไฟไหม้ทั่วดิ้นรนอยู่ พระเจ้า
เนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า
สัตว์เหล่าอื่นร้องไห้มีกายไฟไหม้ทั่วดิ้นรนอยู่ใน
หลุมถ่านเพลิง ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะเห็น

กิริยานี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์
นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงมาร้องไห้ ดิ้นรนอยู่
ในหลุมถ่านเพลิงนี้.
มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถาม
แล้ว ได้ทูลพยากรณ์วิบากของเหล่าสัตว์ผู้ทำบาป
ตามที่ได้ทราบ แด่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่ทรงทราบ
ว่า สัตว์นรกเหล่านี้ยังหนี้ให้เกิด เพราะสร้างพยาน
โกงเหตุแห่งทรัพย์ของประชุมชน ยังหนี้ให้เกิดแก่
ประชุมชน มีกรรมหยาบช้าทำความชั่ว จึงมาร้องไห้
ดิ้นรนอยู่ในหลุมถ่านเพลิง พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคารกาสุํ ความว่า แน่ะสหายมาตลี
ไฉนสัตว์บางพวกนี้จึงถูกนายนิรยบาลล้อมทิ่มแทงด้วยอาวุธอันลุกโพลง เหมือน
ต้อนโคที่ไม่เข้าคอก ตกลงในหลุมถ่านเพลิง และนายนิรยบาลทั้งหลายถือเอา
กระเช้าเหล็กใหญ่โปรยถ่านเพลิงลงบนสัตว์เหล่านั้น ที่จมอยู่ในหลุมถ่านเพลิง
แค่เอว คราวนั้นเหล่าสัตว์ไม่อาจรับถ่านเพลิงทั้งหลายได้ จึงร้องไห้มีกาย
ไฟไหม้ทั่วคร่ำครวญดิ้นรนอยู่ อธิบายว่า โปรยคือโรยถ่านเพลิงลงบนศีรษะ
ของตน ด้วยกำลังแห่งกรรมบ้าง ด้วยตนเองบ้าง. บทว่า ปูคาย ธนสฺส
ความว่า เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นของประชุมชนที่ตนเรี่ยไรเมื่อมีโอกาสว่า พวก
เราจักถวายทานบ้าง จักทำการบูชาบ้าง จักสร้างวิหารบ้าง บทว่า ชาปยนฺติ
ความว่า ใช้จ่ายทรัพย์นั้นตามชอบใจ ตัดสินพวกหัวหน้าคณะสร้างพยานโกงว่า
พวกเราทำการขวนขวายในที่โน้นไปเท่านี้ ให้ในที่โน้นไปเท่านี้ ทำทรัพย์นั้น
ให้เสื่อมคือให้พินาศไป.

มาตลีเทพสารถีขับรถไปข้างหน้า เหล่าสัตว์ถูกนายนิรยบาลที่น่ากลัว
จับเอาเท้าขึ้นบนเอาศีรษะลงล่างโยนไปตกในหม้อโลหะอันร้อนแรง พระเจ้า
เนมิราชทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสว่า
หม้อโลหะใหญ่ไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วง ย่อม
ปรากฏ ความกลัวย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความ
เป็นไปนี้ แน่ะมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์
นรกเหล่านี้ทำบาปอะไรไว้จึงตกในโลหกุมภี.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม
ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระ-
ราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีบาปธรรม
เบียดเบียนด่ากระทบสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีศีล สัตว์
เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้ว จึง
ตกในโลหลุมภี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทิตฺตา แปลว่า อันไฟติดทั่วแล้ว.
บทว่า มหตี ความว่า ประมาณเท่าภูเขาตั้งอยู่เป็นกัป เต็มไปด้วยแร่โลหะ
บทว่า อวํสิรา ความว่า เหล่าสัตว์ถูกนายนิรยบาลจับเอาเท้าขึ้นบนเอาศีรษะ
ลงล่าง โยนไปตกลงในโลหกุมภีนั้น ๆ. บทว่า สีลวํ แปลว่า ผู้มีศีล คือ
ถึงพร้อมด้วยคุณคืออาจาระ.
มาตลีเทพสารถีขับรถไปข้างหน้า นายนิรยบาลเอาเชือกเหล็กลุกโพลง
ผูกคอสัตว์นรก ให้ก้มหน้า ดึงขึ้นมาตัดคอให้ชุ่มในน้ำร้อนแล้วโบยตี พระเจ้า
เนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า

นายนิรยบาลผูกคอสัตว์นรกด้วยเชือกเหล็กลุก
โพลง แล้วตัดศีรษะโยนลงไปในน้ำร้อน ความกลัว
เกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลี
เทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาป
อะไรไว้ จึงมีศีรษะขาดนอนอยู่.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชาผู้
ไม่ทรงทราบว่า ข้าแต่พระองค์เป็นจอมประชาชน
สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก มีบาปธรรม จับ
นกมาฆ่า สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้ากระทำบาป
จึงมีศีรษะขาดนอนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุญฺจนฺติ ได้แก่ เพิกขึ้น. บทว่า
อถ เวฐยิตฺวา ความว่า เอาเชือกโลหะอันลุกโพลงผูกคอให้ก้มหน้า. บทว่า
อุโณฺหทกสฺมึ ได้แก่ ในน้ำโลหะที่ตั้งมาเป็นกัป. บทว่า ปกิเลทยิตฺวา
ได้แก่ ให้ชุ่ม คือโยนลงไป มีคำอธิบายว่า แน่ะสหายมาตลี นายนิรยบาล
เหล่านี้เอาเชือกเหล็กลูกโพลงผูกคอของสัตว์เหล่าใด แล้วโน้มสรีระซึ่งมี
ประมาณสามคาวุตลง ควั่นคอต้อนไปด้วยท่อนเหล็กลุกโพลง ใส่เข้าในน้ำ
โลหะที่ลุกโพลงแห่งหนึ่ง แล้วยินดีร่าเริง และเมื่อคอนั้นขาดแล้ว มีคออื่น
พร้อมกับศีรษะเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นอีกทีเดียว สัตว์เหล่านั้นได้กระทำกรรม
อะไรไว้ ความกลัวเกิดแก่ข้าพเจ้า เพราะเห็นสัตว์เหล่านั้น. บทว่า ปกฺขี
คเหตฺวาน วิเหฐยนฺติ
ความว่า ข้าแต่มหาราช สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน
มนุษยโลก จับนกมาตัดปีกผูกคอฆ่ากินบ้าง ชายบ้าง สัตว์เหล่านั้นนั่นมีศีรษะ
ขาดอยู่ในที่นี้.

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป ได้ยินว่า ในประเทศนั้นมีแน่น้ำมีน้ำเจิ่ง
น่ารื่นรมย์ไหลอยู่โดยปกติ สัตว์นรกไม่อาจทนความกระหายเพราะเร่าร้อนด้วย
เพลิง จึงเดินย่ำแผ่นดินโลหะลุกโพลงลงสู่แม่น้ำนั้น ทันใดนั้นเองฝั่งน้ำทั้งสอง
ก็ลุกโพลงทั่ว น้ำควรดื่มก็กลายเป็นแกลบและใบไม้ลุกโพลง สัตว์นรกไม่อาจ
จะทนความกระหาย ก็เคี้ยวแกลบ และใบไม้อันลุกโพลงกินแทนดื่มน้ำ แกลบ
และใบไม้นั้นก็เผาสรีระทั้งสิ้นออกทางส่วนเบื้องต่ำ สัตว์นรกไม่สามารถจะอด
กลั้นทุกข์นั้นก็ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็น
ดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า
แม่น้ำนี้มีน้ำมาก มีตลิ่งไม่สูง มีท่าอันดี ไหล
อยู่เสมอ สัตว์นรกเหล่านั้นเร่าร้อนเพราะความร้อน
แต่งไฟ จะดื่มน้ำ ก็แต่เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นจะดื่มน้ำ
ก็กลายเป็นแกลบไป ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา
เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ แน่ะมาตลีเทพสารถี
ข้าพเจ้าขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่ามิได้ทำบาปอะไร
ไว้ เมื่อจะดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็นแกลบไป.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม
ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา
ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดมีการงานไม่บริสุทธิ์
ขายข้าวเปลือกแท้เจือด้วยข้าวลีบแกลบแก่ผู้ซื้อ เมื่อ
สัตว์เหล่านั้น มีความร้อนยิ่งเพราะความร้อนแห่งไฟ
กระหายน้ำ จะดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็นแกลบไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิขาตกูลา ได้แก่ มีฝั่งไม่ลึก. บท
ว่า สุปติตฺถา ได้แก่ ประกอบด้วยท่าน้ำงาม ๆ. บทว่า ถุสํ โหติ ความว่า

ข้าวเปลือกกลายเป็นแกลบ. บทว่า ปานิ ได้แก่ น้ำดื่ม ได้ยินว่า ในประเทศ
นั้น มีแน่น้ำมีน้ำเจิ่งน่ารื่นรมย์ไหลอยู่เป็นปกติ สัตว์นรกเร่าร้อนเพราะความ
ร่อนแห่งไฟ ไม่อาจจะทนความกระหายได้ จึงเดินย่ำแผ่นดินโลหะที่ลุกโพลง
ลงสู่แม่น้ำนั้น ทันใดนั้นเองฝั่งน้ำทั้งสองก็ลุกโพลงทั่ว น้ำควรดื่มถูกลายเป็น
แกลบและใบไม้ลุกโพลง สัตว์นรกไม่อาจทนความกระหาย ก็เคี้ยวกินแกลบ
และใบไม้อันลุกโพลงนั้น แกลบและใบไม้นั้นแก่เผาสรีระทั้งสิ้นของสัตว์เหล่า
นั้นลุกโพลงทั่วออกทางส่วนเบื้องต่ำ สัตว์นรกเหล่านั้นไม่สามารถจะอดกลั้น
ทุกข์นั้น ก็ประคองแขนทั้งสองร้องไห้. บทว่า สุทฺธธญฺญํ ในคาถานั้น ได้
แก่ ธัญชาติบริสุทธิ์ 7 อย่าง มีข้าวเปลือกเป็นต้น. บทว่า ปลาเสน
มิสฺสํ
ความว่า เอาใบไม้บ้าง แกลบบ้าง ทรายและดินเป็นต้นบ้าง ผสม
กัน. บทว่า อสุทฺธกมฺมา ได้แก่ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เศร้า
หมอง. บทว่า กยิโน ความว่า พูดว่าเราจักให้ข้าวเปลือกที่ดี ๆ แก่ท่าน
รับเงินแต่มือของผู้ซื้อแล้วให้ข้าวเปลือกที่ไม่ดีเห็นปานนั้น.
มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป นายนิรยบาลทั้งหลายล้อมเหล่าสัตว์นรก
ในนิรยาบายนั้น เหมือนนายพรานล้อมฝูงมฤคในป่าไว้ แล้วทิ่มแทงข้างทั้ง 2
แห่งสัตว์นรกเหล่านั้นด้วยอาวุธต่าง ๆ มีเครื่องประหาร คือลูกศรเป็นต้น ร่างกาย
ของสัตว์นรกเหล่านั้น ปรากฏเป็นช่องปรุไปหมดเหมือนใบไม้แก่ฉะนั้น พระ-
เจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น เนื้อจะตรัสถามมาตลีเทพสารถี จึงตรัส
คาถาว่า
นายนิรยบาลแทงข้างทั้ง 2 แห่งสัตว์นรกผู้
ร้องไห้อยู่ ด้วยถูกศร หอก โตมร ความกลัวปรากฏ
แต่เราเพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลีเทพ-

สารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่ามิได้ทำบาป
อะไรไว้ จึงถูกฆ่าด้วยหอกนอนอยู่.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ทำบาปทั้งหลาย แต่พระราชาผู้
ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใด เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
เป็นผู้มีกรรม ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ถือเอาของที่
เจ้าของไม่ให้ คือ ธัญชาติ ทรัพย์ เงิน ทอง แพะ
แกะ ปสุสัตว์ และกระบือ มาเลี้ยงชีวิต สัตว์เหล่านั้น
เป็นผู้มีกรรมหยาบช้าทำบาป จึงถูกฆ่าด้วยหอกนอน
อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภยานิ ได้แก่ข้างทั้งสอง. บทว่า
ตุทนฺติ แปลว่า ย่อมแทง. บทว่า กนฺทตํ แปลว่า ร้องไห้อยู่ นายนิรยบาล
ผู้หยาบช้าล้อมแทงข้างทั้ง 2 ด้วยอาวุธต่าง ๆ มีลูกศรเป็นต้น เหมือนนายพราน
ล้อมหมู่มฤคในป่า สรีระปรากฏเป็นช่องปรุเหมือนใบไม้เก่า. บทว่า อทินฺน-
มาทาย
ได้แก่ สวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกพรัพย์ที่เป็นของผู้อื่น สัตว์
นรกเหล่านั้น ถือเอาทรัพย์นั้นด้วยการตัดที่ต่อเป็นต้น และด้วยการลวงด้วย
ประการต่าง ๆ เลี้ยงชีวิต.
มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป แสดงนิรยาบายอื่นอีก นายนิรยบาลผูก
คอสัตว์นรกในนรกนั้นด้วยเชือกเหล็กลุกโพรงใหญ่ คร่าตัวมาให้ล้มลงบนแผ่น
ดินเหล็กลุกโพลง เที่ยวทุบตีด้วยอาวุธต่างๆ พระเจ้าเนมิราช เมื่อจะตรัสถาม
มาตลีเทพสารถีถึงเหตุนั้น จึงตรัสคาถาว่า

สัตว์นรกเหล่านี้นายนิรยบาลผูกคอไว้เพราะเหตุ
อะไร ยังพวกอื่นอีกพวกหนึ่ง อันนายนิรยบาลตัดทำ
ให้เป็นชิ้น ๆ นอนอยู่ ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา
เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี
เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ทำบาปอะไรไว้ จึง
ลูกทำให้เป็นชิ้น ๆ นอนอยู่.
มาตลีเทพสารถี ทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม
ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชาผู้
ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่านี้เคยเป็นผู้ฆ่าแกะ
ฆ่าสุกร ฆ่าปลา ครั้น ฆ่าสัตว์ของเลี้ยง ระบือ
แพะ แกะ แล้ววางไว้ในร้านที่ฆ่าสัตว์ขายเนื้อ เป็นผู้
มีกรรมหยาบช้าทำบาปจึงถูกตัดเป็นชิ้น ๆ นอนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คีวาย พนฺธา ความว่า เหล่าสัตว์
นรกถูกนายนิรยบาลผูกคอด้วยเชือกเหล็กลุกโพลงใหญ่ คร่าตัวมาให้ล้มลงบน
แผ่นดินเหล็ก ทุบตีด้วยอาวุธต่าง ๆ อันลุกโพลง พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตร
เห็นสัตว์นรกเหล่านั้น จึงตรัสถาม. บทว่า อญฺเญ วิกนฺตา ความว่า
สัตว์นรกเหล่าอื่นถูกตัดเป็นชิ้น ๆ. บทว่า วิลกตา ความว่า สัตว์นรกเหล่า
อื่นถูกนายนิรยบาลวางไว้บนแผ่นเหล็กลุกโพลง เอามีดเชือดเนื้อสับเหมือนสับ
เนื้อที่เป็นก้อน ๆ นอนอยู่. บทว่า มจฺฉิกา แปลว่า ฆ่าปลา. บทว่า ปสุํ
ได้แก่ แม่โค. บทว่า สูเณสุ ปสารยึสุ ความว่า วางไว้ในร้านฆ่าสัตว์
ขายเนื้อ เพื่อประโยชน์แก่การขายเนื้อเลี้ยงชีพ.

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป แสดงนิรยาบายอื่นอีก พระเจ้าเนมิราช
ทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกเหล่านั้นกินมูตรและคูถ เมื่อจะตรัสถามมาตลีเทพ-
สารถี จึงตรัสคาถาว่า
ห้วงน้ำนี้เต็มด้วยมูตรและคูถ มีกลิ่นเหม็น
ไม่สะอาด เน่า ฟุ้งไป สัตว์นรกมีความหิวครอบงำ
ก็กินมูตรและคูถนั้น ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะ
ได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เรา
ขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึง
มีมูตรและคูถเป็นอาหาร.

มาตลีเทพสารถีทูลถวายพยากรณ์พระดำตรัสถาม
ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระ-
ราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใดก่อทุกข์
เบียดเบียนมิตรสหายเป็นต้น ตั้งมั่นอยู่ในความเบียด
เบียนผู้อื่นทุกเมื่อ สัตว์นรกเหล่านั้น มีกรรมหยาบช้า
เป็นพาลประทุษร้ายมิตร จึงต้องกินมูตรและคูถ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขุทาปเรตา มนุชา อเทนฺติ ความ
ว่า สัตว์นรกเหล่านี้อันความหิวถูกต้อง ไม่อาจอดกลั้นความหิวได้ จึงทำคูถ
เก่าซึ่งตั้งอยู่เป็นกัป เดือดพล่าน ควันอบ ลุกโพลง เป็นก้อน ๆ เคี้ยวกิน.
บทว่า การณิกา แปลว่า ก่อทุกข์. บทว่า วิโรสิกา ได้แก่ ผู้เบียดเบียน
แม้มิตรสหายเป็นต้น. บทว่า มิตฺตทฺทโน ความว่า สัตว์เหล่าใดเป็นพาล
เคี้ยวกิน คือบริโภคข้าวปลาอาหารในบ้านของตนนั้น ๆ นั่งนอนบนอาสน์ที่
เขาปูลาดไว้ ยังรับจ้างขโมยมาสกและกหาปณะอีก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ประทุษ
ร้ายมิตร เป็นพาล จึงเคี้ยวกินก้อนคูถเห็นปานนี้ พระเจ้าข้า.

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป ในนรกอื่น ๆ สัตว์นรกเหล่านี้อันความ
หิวถูกต้อง ไม่อาจอดกลั้นความหิวได้ จึงทำเลือดและหนองเป็นก้อน ๆ เคี้ยว
กิน พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า
ห้วงน้ำนี้เต็มด้วยเลือดและหนอง มีกลิ่นเหม็น
ไม่สะอาด เน่า ฟุ้งไป สัตว์นรกถูกความร้อนแผดเผา
แล้ว ย่อมดื่มเลือดและหนองกิน ความกลัวย่อม
ปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อน
มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้
ทำบาปอะไรไว้จึงมีเลือดและหนองเป็นอาหาร.

มาตลีเทพสารถีทูลถวายพยากรณ์พระดำรัสถาม
ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระ-
ราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน
มนุษยโลกฆ่ามารดาบิดาแลพระอรหันต์ ชื่อว่าต้อง
ปาราชิกในคิหิเพศ สัตว์นรกเหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า
ทำบาปจึงมีเลือดและหนองเป็นอาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆมฺมาภิตตฺตา ได้แก่ ถูกความร้อน
เบียดเบียน. บทว่า ปาราชิกา ความว่า เป็นผู้พ่าย คือ ฆ่าบิดามารดา
ต้องปาราชิกในความเป็นคฤหัสถ์นั่นแล. บทว่า อรหนฺเต ได้แก่ ผู้สมควร
แก่บูชาพิเศษ. บทว่า หนนฺติ ความว่า ฆ่าบิดามารดาผู้ทำกรรมทีทำได้
ด้วยยาก อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า อรหนฺเต ท่านสงเคราะห์แม้พุทธสาวก
ทั้งหลายเข้าด้วย.

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป นายนิรยบาลที่อุสสุทนรกอื่นอีก เอา
เบ็ดเหล็กลุกโพลงโตเท่าลำตาลเกี่ยวลิ้นสัตว์นรก คร่ามาให้สัตว์นรกเหล่านั้น
ล้มลงบนแผ่นดินโลหะที่ลุกโพลง ให้นอนแผ่ เอาขอเหล็กสับดุจสับหนังโค
ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้น ดิ้นรนเหมือนปลาดิ้นอยู่บนบก ไม่อาจทนทุกข์นั้น
ร้องไห้เขฬะไหล พระเจ้าเนมิราชเมื่อจะแสดงแก่มาตลีเทพสารถีนั้น ได้ตรัสว่า
ท่านจงดูลิ้นของสัตว์นรกที่เกี่ยวด้วยเบ็ด และ
หนังที่แผ่ไปด้วยของสัตว์นรกย่อมดิ้นรน เหมือนปลา
ที่โยนไปบนบกย่อมดิ้นรนฉะนั้น ร้องไห้ น้ำลายไหล
เพราะธรรมอะไร ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา เพราะ
ได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอ
ถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงกลืน
เบ็ดนอนอยู่.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา
ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็น
มนุษย์อยู่ในตำแหน่งผู้ตีราคา ยังราคาซื้อให้เสื่อมไป
ด้วยราคา ทำกรรมอันโกงด้วยความโกง เหตุโลภ
ทรัพย์ปกปิดไว้ ดุจคนเข้าไปใกล้ปลาเพื่อจะฆ่าเอา
เหยื่อเกี่ยวเบ็ดปิดเบ็ดไว้ฉะนั้น บุคคลจะป้องกันช่วย
คนทำความโกงผู้อันกรรมของคนหุ้มห่อไว้ ไม่มีเลย
สัตว์นรกเหล่านั้นมีกรรมหยาบช้าทำบาป จึงมากลืน
เบ็ดนอนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิเมเต ความว่า เพราะเหตุไร สัตว์นรก
เหล่านั้น. บทว่า วงฺกฆสฺตา แปลว่า กลืนเบ็ด. บทว่า สณฺฐานคตา
ความว่า ผู้ถึงตำแหน่งคือชอบเขต คือดำรงอยู่ในตำแหน่งตีราคาสินค้า. บทว่า
อคฺเฆน อคฺฆํ ความว่า รับราคาสินค้านั้น ๆ เป็นสินบนแล้วลดราคา
วิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์นั้น ๆ มีช้างม้าเป็นต้น หรือเงินทอง
เป็นต้น. บทว่า กยํ ความว่า เมื่อลดราคานั้น ๆ ย่อมลดราคาซื้อจากราคา
นั้น แก่ผู้ซื้อทั้งหลาย เมื่อควรจะให้ 100 ก็ให้แค่ 50 เมื่อควรจะให้ 50 บาท
ก็ให้แค่ 25 ฝ่ายผู้ซื้อนอกนี้ก็แบ่งกับผู้ตีราคาเหล่านั้น ถือเอาราคานั้น. บทว่า
กูเฏน กูฏํ ได้แก่ การโกงนั้น ๆ มีโกงด้วยตาชั่งเป็นต้น . บทว่า ธนโลภเหตุ
ความว่า กระทำการโกงนั้น ๆ เพราะเหตุโลภทรัพย์. บทว่า ฉนฺนํ ยถา วาริจรํ
วธาย
ความว่า ก็สัตว์เหล่านั้น แม้เมื่อทำการงานนั้น ก็ปกปิดการโกงที่คน
ทำไว้อย่างนั้น ด้วยวาจาอ่อนหวาน คนเข้าไปใกล้ปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำ เพื่อจะ
ฆ่า ก็เอาเหยื่อหุ้มเบ็ดฆ่าปลานั้น ฉันใด การปกปิดทำการงานนั้น ฉันนั้น.
บทว่า น หิ กูฏการิสฺส ความว่า ด้วยว่า ชื่อว่าการป้องกันย่อมไม่มี
แก่ผู้ที่ทำการโกง แม้สำคัญอยู่ว่า กรรมของเราที่ปกปิดไว้นั้นไม่มีใครรู้.
บทว่า สเกหิ กมฺเมหิ ปุรกฺขิตสฺส ความว่า ผู้นั้นอันกรรมของตน
หุ้มห่อไว้ ก็ไม่ได้ที่พึ่ง.
นาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป สัตว์นรกในนรกนั้น ตั้งอยู่ในหลุมใหญ่
เห็นด้วยถ่านเพลิงที่ลุกโพลง ได้ยินว่า สัตว์นรกเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลถือ
อาวุธต่าง ๆ แทง เข้าถึงนรกนั้น เหมือนนายโคบาลแทงฝูงโคที่ไม่เข้าคอก
ฉะนั้น นายนิรยบาลจับสัตว์นรกเหล่านั้นเอาเข้าขึ้นบนโยนไปในนรกนั้น
พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกตกนรกอย่างนั้น เมื่อจะตรัสถาม
มาตลีเทพสารถี จึงตรัสคาถาว่า

หญิงนรกเหล่านี้มีร่างกายแตกทั่ว มีชาติทราม
มีแมลงวันตอม เปรอะเปื้อนด้วยเลือดและหนอง มี
ศีรษะขาด เหมือนฝูงโคที่ศีรษะขาดบนที่ฆ่า ประคอง
แขนทั้งสองร้องไห้ หญิงนรกเหล่านั้นจมอยู่ในภูมิภาค
เพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาไฟตั้งมาแต่สี่ทิศ ลุกโพลงกลิ้ง
มาบดหญิงนรกเหล่านั้นให้ละเอียด ความกลัวปรากฏ
แก่เราเพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพ
สารถี เราขอถามท่าน หญิงนรกเหล่ามิได้ทำบาป
อะไรไว้ จึงต้องมาจมอยู่ในภูมิภาคเพียงเอวทุกเมื่อ
ภูเขาไฟลุกโพลงตั้งมาแต่สี่ทิศบดให้ละเอียด.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำตรัสถาม ตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา
ผู้ไม่ทรงทราบว่า หญิงนรกเหล่านั้นเป็นกุลธิดา เมื่อ
ยังอยู่ในมนุษยโลก มีการงานไม่บริสุทธิ์ ได้ประพฤติ
ไม่น่ายินดี เป็นหญิงนักเลง ละสามีเสียได้ คบหา
ชายอื่นเพราะเหตุยินดีและเล่น หญิงเหล่านั้นเมื่อยัง
อยู่ในมนุษยโลก ยังจิตของตนให้ยินดีในชายอื่นจึงถูก
ภูเขาไฟอันลุกโพลงตั้งมาแต่สี่ทิศ บดให้ละเอียด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นารี ได้แก่ หญิงทั้งหลาย. บทว่า
สมฺปริภินฺนคตฺตา ความว่า มีตัวแตก คือมีสรีระขาดโดยรอบด้วยดี. บทว่า
รุชจฺจา แปลว่า มีชาติทราม คือมีรูปแปลก อธิบายว่า น่าเกลียด. บทว่า
วิกนฺตา ความว่า มีตัวเปรอะเปื้อนหนองและเลือด เหมือนโคทั้งหลาย

ที่หัวขาด. บทว่า สทา นิขาตา ความว่า จมลงในแผ่นดินเหล็กที่ลุกโพลง
เป็นนิจเข้าไปแต่เอวตั้งอยู่เหมือนใครวางไว้. บทว่า ขนฺธาติวตฺตนฺติ ความว่า
แน่ะสหายมาตลี ภูเขาเหล่านั้นกลิ้งทับหญิงเหล่านั้น ได้ยินว่า ในเวลาที่หญิง
เหล่านั้นจมเข้าไปแค่เอวอย่างนี้ ภูเขาเหล็กลุกโพลงตั้งขึ้นทางทิศตะวันออก
คำรามดุจสายฟ้ามา เป็นราวกะว่าบดสรีระให้แหลกละเอียดไป เมื่อภูเขาลูกนั้น
กลิ้งไปตั้งอยู่ทางข้างทิศตะวันตกสรีระของหญิงเหล่านั้นก็ปรากฏขึ้นอีก หญิง
เหล่านั้นไม่อาจอดกลั้นทุกข์นั้นได้ จึงประคองแขนทั้งสองร้องไห้ แม้ภูเขาที่
ตั้งขึ้นในทิศที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยอย่างนี้แล ภูเขาสองลูกตั้งขึ้นบดสรีระของ
หญิงเหล่านั้นเหมือนหีบอ้อยเลือดหลั่งไหลไป บางครั้งภูเขาสามลูก บางคราว
สี่ลูก ตั้งขึ้นบดสรีระของหญิงเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ขนฺธา-
ติวตฺตนฺติ.

บทว่า โกลิตฺถิยาโย ได้แก่ เป็นกุลธิดาดำรงอยู่ในตระกูล. บทว่า
อยุตฺตํ อจารํ ความว่า ได้กระทำกรรมที่ไม่ลำรวม. บทว่า ธุตฺตรูปา
ความว่า เป็นหญิงมีรูปไม่งาม คือมีรูปชั่ว มีชาติเป็นนักเลง. บทว่า ปติ
วปฺปหาย
ความว่า ละสามีของตนเสีย. บทว่า อจารุํ ความว่า ได้ถึงชายอื่น.
บทว่า รติขิฑฺฑเหตุ ความว่า เหตุกามคุณห้า และเหตุเล่น. บทว่า
รมาปยิตฺวา ความว่า ยังจิตของตนให้รื่นรมย์กับเหล่าชายอื่น เกิดขึ้นในที่นี้
อธิบายว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นภูเขามีไฟลุกโชติช่วงเหล่านั้น จึงบดสรีระของหญิง
เหล่านั้นด้วยอาการอย่างนี้.
มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป สัตว์นรกในนรกนั้นตั้งอยู่ในบ่อใหญ่
เต็มด้วยถ่านเพลิงลุกโพลง ได้ยินว่า สัตว์นรกเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลถืออาวุธ
ต่าง ๆ แทง เหมือนนายโคบาลแทงฝูงโคที่ไม่เข้าคอก เข้าถึงนรกนั้นด้วย
ประการนั้น ลำดับนั้น นายนิรยบาลจับสัตว์นรกเหล่านั้นให้มีเท้าขึ้นข้างบนโยน

ลงในบ่อใหญ่นั้น พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกตกลงในนรก
อย่างนั้น เมื่อจะตรัสถามมาตลีเทพสารถี จึงตรัสคาถาว่า
เพราะเหตุไร นายนิรยบาลทั้งหลายจึงจับสัตว์
นรกเหล่านี้อีกพวกหนึ่งที่เท้าเอาหัวลงโยนลงไปใน
นรก ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ
เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน
สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงลูกโยนให้ตกไป
ในนรก.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา
ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
เป็นผู้มีกรรมไม่ดี ล่วงเกินภรรยาทั้งหลายของชายอื่น
สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ลักภัณฑะอันอุดมเช่นนั้น จึงมาตก
นรก เสวยทุกขเวทนาในนรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก
บุคคลผู้ช่วยป้องกันบุคคลผู้มักทำบาป ผู้อันกรรมของ
ตนหุ้มห่อไว้ ไม่มีเลย สัตว์นรกเหล่านั้นมีกรรม
หยาบช้าทำบาป จึงมาตกอยู่ในนรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรเก ได้แก่ ในบ่อใหญ่เต็มด้วย
ถ่านเพลิงอันลุกโพลง ได้ยินว่า สัตว์นรกเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลถืออาวุธ
ต่าง ๆ ทิ่มแทงโบยตี ราวกะนายโคบาลแทงโคทั้งหลายที่ไม่เข้าคอกฉะนั้น
เข้าถึงนรกนั้นเห็นปานนั้น ลำดับนั้น นายนิรยบาลทั้งหลายทำสัตว์นรกเหล่านั้น
ให้มีเท้าขึ้นข้างบนมีศีรษะลงข้างล่าง แล้วโยนลงในบ่อใหญ่นั้น พระเจ้าเนมิราช

ทอดพระเนตรเห็นเหล่าสัตว์นรกกำลังตกลงไปอย่างนั้น เมื่อจะตรัสถามจึงตรัส
อย่างนี้. บทว่า อุตฺตมภณฺฑเถนา ได้แก่ ผู้ขโมยภัณฑะอันประเสริฐที่
มนุษย์ทั้งหลายพึงรัก.
ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว มาตลีผู้สังคาหกะได้ยังนรกนั้นให้อันตรธาน
ไป ขับรถต่อไป แสดงนรกเป็นที่หมกไหม้แห่งพวกมิจฉาทิฏฐิ ได้พยากรณ์
ข้อที่พระเจ้าเนมิราชตรัสถามว่า
สัตว์นรกเหล่านี้ ทั้งน้อยใหญ่ต่างพวกประกอบ
เหตุการณ์ มีรูปร่างพิลึก ปรากฏอยู่ในนรก ความกลัว
ย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น
ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรก
เหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงได้เสวยทุกขเวทนาอัน
ลำแข็งเผ็ดร้อนมีประมาณยิ่ง.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม
ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา
ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
เป็นผู้มีความเห็นเป็นบาป หลงทำกรรมอันทำด้วย
ความคุ้นเคย และชักชวนผู้อื่นในทิฏฐิเช่นนั้น สัตว์
เหล่านั้นเป็นผู้มีทิฏฐิอันลามกทำบาป จึงต้องเสวยทุกข์
เวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อน ประมาณยิ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจาวจาเม ได้แก่ สัตว์นรกเหล่านี้
ทั้งสูงและต่ำ อธิบายว่า ทั้งน้อยและใหญ่. บทว่า อุปกฺกมา ได้แก่ ผู้
ประกอบเหตุการณ์. บทว่า สุปาปทิฏฺฐิโน ความว่า เป็นผู้มีธรรมลามก

ด้วยดี ด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 คือ ทานที่ให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล
การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี มารดาไม่มี บิดา
ไม่มี สมณพราหมณ์ไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี.
บทว่า วิสฺสาสกมฺมานิ ความว่า เป็นผู้อาศัยกรรมที่ทำด้วยความคุ้นเคย
กระทำกรรมลามกมีอย่างต่าง ๆ ด้วยมิจฉาทิฏฐินั้น. บทว่า เตเม ความว่า
ชนเหล่านี้นั้น ย่อมเสวยทุกข์เห็นปานนี้.
มาตลีเทพสารถีทูลบอกนรกเป็นที่หมกไหม้ ของพวกมิจฉาทิฏฐิ
ทั้งหลาย แด่พระเจ้าเนมิราชด้วยประการฉะนี้.
แม้หมู่เทวดาในเทวโลกก็ได้นั่งประชุมกันในเทวสภาชื่อสุธรรมานั่นแล
คอยพระเจ้าเนมิราชเสด็จมา ฝ่ายท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดูว่า ทำไม
มาตลีจึงไปช้านัก ก็ทราบเหตุนั้น จึงทรงจินทนาการว่า มาตลีเทพบุตรเที่ยว
แสดงนรกทั้งหลายว่า สัตว์เกิดในนรกโน้น เพราะทำกรรมโน้น ดังนี้ เพื่อ
แสดงความเป็นทูตพิเศษของคน แต่ชนมายุของพระเจ้าเนมิราชซึ่งมีอยู่น้อย
จะพึงสิ้นไป ชนมายุนั้นจะไม่พึงถึงที่สุดแห่งการแสดงนรก ทรงดำริฉะนี้แล้ว
จึงส่งเทพบุตรองค์หนึ่งซึ่งมีความเร็วมาก ด้วยเทพบัญชาว่า ท่านจงไปแจ้งแก่
มาตลีว่า จงเชิญเสด็จพระเจ้าเนมิราชมาโดยเร็ว เทพบุตรนั้นมาแจ้งโดยเร็ว
มาตลีเทพสารถีได้สดับคำเทพบุตรนั้นแล้ว จึงทูลพระเจ้าเนมิราชว่า ช้าไม่ได้
แล้ว พระเจ้าข้า แล้วแสดงนรกเป็นอันมากใน 4 ทิศพร้อมกันทีเดียว แด่
พระเจ้าเนมิราช กล่าวคาถาว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงทราบสถานที่อยู่
ของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมหยาบช้า และทรงทราบคติของ
เหล่าสัตว์ผู้ทุศีลแล้ว เพราะได้ทอดพระเนตรเห็น
นิรยาบายอันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์นรกผู้มีกรรมอัน

ลามก ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ บัดนี้
ขอพระองค์เสด็จขึ้นไปในสำนักของท้าวสักกเทวราช
เถิด.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงทราบสถาน
ที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมหยาบช้า เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นนิรยาบายอัน
เป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์นรกผู้มีกรรมอันลามกนี้. บทว่า ทุสฺสีลานญฺจ ยา
คติ
ความว่า ความสำเร็จแม้นั้น พระองค์ก็ทรงทราบแล้ว บัดนี้ ขอเชิญ
พระองค์เสด็จขึ้นไปชมทิพยสมบัติ ในสำนักของท้าวสักกเทวราชเถิด
พระเจ้าข้า.
จบ กัณฑ์นรก
ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีก็ขับรถมุ่งไปเทวโลก พระ-
เจ้าเนมิราชเมื่อเสด็จไปเทวโลก ทอดพระเนตรเห็นวิมานอันประดิษฐานออยู่ใน
อากาศของเทพธิดา นามว่าวรุณี มียอด 5 ยอด แล้วไปด้วยแก้วมณี ใหญ่
12 โยชน์ ประดับด้วยอลังการทั้งปวง สมบูรณ์ด้วยอุทยานและสระโบกขรณี
มีต้นกัลปพฤกษ์แวดล้อม และทอดพระเนตรเห็นเทพธิดานั้น นั่งอยู่เหนือหลัง
ที่ไสยาสน์ภายในกูฏาคาร หมู่อัปสรพันหนึ่งแวดล้อม เปิดมณีสีหบัญชรแลดู
ภายนอก จึงตรัสคาถาถามมาตลีเทพสารถี แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้
พยากรณ์แด่พระองค์
วิมาน 5 ยอดนี้ปรากฏอยู่ เทพธิดาผู้มีอานุภาพ
มาก ประดับดอกไม้ นั่งอยู่กลางที่ไสยาสน์ แสดง
ฤทธิ์ได้ต่าง ๆ สถิตอยู่ในวิมานนั้น ความปลื้มใจ
ปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อน

มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน เทพธิดามิได้ทำ
กรรมดีอะไรไว้ จึงได้ถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม
ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา
ผู้ไม่ทรงทราบว่า ก็เทพธิดาที่พระองค์ทรงหมายถึง
นั้น ชื่อวรุณี เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็นทาสีเกิด
แต่ทาสีในเรือนของพราหมณ์ นางรู้แจ้งซึ่งแขกคือ
ภิกษุผู้มีกาลอันถึงแล้ว นิมนต์ให้นั่งในเรือนของ
พราหมณ์ ยินดีต่อภิกษุนั้นเป็นนิตย์ ดังมารดายินดี
ต่อบุตรผู้จากไปนานกลับมาถึงฉะนั้น นางอังคาส
ภิกษุนั้นโดยเคารพ ได้ถวายสิ่งของของตนเล็กน้อย
เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจ ถูปํ ความว่า ประกอบด้วยกูฏาคาร
5. บทว่า มาลาปิลนฺธา ความว่า ประดับด้วยสรรพาภรณ์ มีเครื่องประดับ
และดอกไม้เป็นต้น. บทว่า ตตฺถจฺฉติ ความว่า อยู่ในวิมานนั้น. บทว่า
อุจฺจาวจํ อิทฺธิวิกุพฺพมานา ความว่า แสดงเทพฤทธิ์มีประการต่าง ๆ.
บทว่า ทิสฺวา ความว่า เราผู้เห็นความเป็นไปนั้นดำรงอยู่. บทว่า วตฺตี
แปลว่า ความยินดี. บทว่า วินฺทติ ได้แก่ ย่อมได้เฉพาะ อธิบายว่า เรามี
ความปลื้มใจราวกะว่าของมีอยู่ คืออันความยินดีครอบงำแล้ว. บทว่า
อามายทาสี ความว่า เป็นทาสีเกิดในครรภ์ของทาสีในเรือน. บทว่า อหุ
พฺราหฺมณสฺส
ความว่า เทพธิดานั้นได้เป็นทาสีของพราหมณ์คนหนึ่ง ใน
กาลแห่งพระกัสสปทศพล. บทว่า สา ปตฺตกาลํ ความว่า พราหมณ์นั้น

ได้บริจาคสลากภัตแปดแด่พระสงฆ์ พราหมณ์นั้นไปเรือนเรียกภริยามาสั่งว่า
แน่ะนางผู้เจริญ พรุ่งนี้ เธอจงลุกขึ้นแต่เช้า จัดสลากภัตแปดทำให้มีราคา-
กหาปณะหนึ่งสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง ๆ พราหมณีปฏิเสธว่า ข้าแต่นาย ขึ้นชื่อว่า
ภิกษุทั้งหลายเป็นนักเลง ดิฉันไม่อาจ ธิดาทั้งหลายของพราหมณ์นั้นก็ปฏิเสธ
อย่างนั้น เหมือนกัน พราหมณ์กล่าวกะทาสีว่า เจ้าอาจไหมแม่หนู ทาสีนั้น
รับคำว่า อาจเจ้าค่ะ แล้วจัดยาคูของเคี้ยวและภัตตาหารเป็นต้นโดยเคารพ
ได้สลากแล้วรู้แจ้งแขกผู้ได้เวลาซึ่งมาแล้ว นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
ซึ่งไล้ทาด้วยโคมัยสดทำดอกไม้ยื่นไว้ข้างหน้าในเรือน. บทว่า มาตาว ปุตฺตํ
ความว่า ทาสีนั้นเพลิดเพลินยิ่งตลอดกาลเป็นนิตย์ อังคาสโดยเคารพ ได้ถวาย
อะไร ๆ ซึ่งเป็นของของตน เหมือนมารดาเพลิดเพลินยิ่ง ครั้งเดียวต่อบุตรผู้
จากไปนานกลับมาแล้ว ฉะนั้น. บทว่า สญฺญมา สํวิภาคา จ ความว่า
ทาสีนั้นได้เป็นผู้มีศีลและมีจาคะ เพราะเหตุนั้น จึงบันเทิงอยู่ในวิมานนี้
ด้วยศีลและจาคะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สญฺญมา ความว่า ประกอบ
ด้วยการผูกอินทรีย์.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีได้ขับรถต่อไป แสดง
วิมานทอง 7 ของเทพบุตรชื่อโสณทินนะ พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็น
วิมานเหล่านั้น และสิริสมบัติของโสณทินนเทพบุตรนั้น จึงตรัสถามถึงกรรม
ที่เทพบุตรนั้นได้ทำไว้ แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์
วิมานทั้ง 7 โชติช่วง อันบุญญานุภาพตกแต่ง
ส่องแสงสว่างดั่งดวงอาทิตย์อ่อน ๆ เทพบุตรในวิมาน
นั้นมีฤทธิ์มาก ประดับด้วยสรรพาภรณ์ อันหมู่เทพ
ธิดาแวดล้อมผลัดเปลี่ยนเวียนวนอยู่โดยรอบ ทั้ง 7
วิมาน ความปลื้มใจปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ

เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน
เทพบุตรนี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้ จึงได้ถึงสวรรค์
บันเทิงอยู่ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำตรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้
ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีชื่อโสณทินนะ
เป็นทานบดี ให้สร้างวิหาร 7 หลังอุทิศต่อบรรพชิต
ได้ปฏิบัติบำรุงภิกษุผู้อยู่ในวิหาร 7 หลังนั้นโดยเคารพ
ได้บริจาคผ้านุ่งผ้าห่มภัตตาหารเสนาสนะเครื่องประ-
ทีปในท่านผู้ซื่อตรงด้วยจิตเลื่อมใส รักษาอุโบสถศีลอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถีที่ 14 ที่ 15 ที่ 8 แห่งปักษ์
และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้
สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททฺทฬฺหมานา แปลว่า โชติช่วงอยู่.
บทว่า อาเภนฺติ ความว่า ส่องแสงสว่างดั่งควงอาทิตย์อ่อน ๆ. บทว่า ตตฺถ
ความว่า ในวิมาน 7 หลังที่ตั้งเรียงรายอยู่นั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อโสณ-
ทินนะ ข้าแต่มหาราชเจ้า เทพบุตรองค์นี้ เมื่อก่อน ในกาลแห่งพระกัสสป
ทศพล เป็นคฤหบดีมีนามว่า โสณทินนะ เป็นทานบดี ในนิคมแห่งหนึ่งใน
กาสิกรัฐ เขาให้สร้างกุฎีที่อยู่อุทิศบรรพชิตทั้งหลาย ปฏิบัติบำรุงภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ในวิหารกุฎีนั้น ๆ ด้วยปัจจัย 4 โดยเคารพ และเจ้าจำอุโบสถสำรวมใน
ศีลทั้งหลายเป็นนิตย์ ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว จึงอุบัติในวิมานนี้บันเทิงอยู่.

อนึ่ง บทว่า ปาฏิหาริยปกฺขญฺจ นี้ ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมาย
เอาดิถีที่ 7 และดิถีที่ 9 อันเป็นดิถีรับและส่งแห่งอัฏฐมีอุโบสถ และดิถีที่ 13
และปาฏิบทอันเป็นดิถีรับและส่งแห่งจาตุททสีอุโบสถและปัณณรสีอุโบสถ.
ครั้นกล่าวกรรมของโสณทินนเทพบุตรอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถี
ก็ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วผลึก วิมานแก้วผลึกนั้นสูง 250 โยชน์ ประกอบ
ด้วยเสาซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว 7 ประการหลายร้อยต้น ประดับด้วยอดหลายร้อย
ยอด ห้อยกระดิ่งเป็นแถวรอบ มีธงที่แล้วด้วยทองและเงินปักไสว ประดับด้วย
อุทยานและวนะวิจิตรด้วยบุปผชาตินานาชนิด ประกอบด้วยสระโบกขรณี
น่ายินดี มีไพทีที่น่ารื่นรมย์ เกลื่อนไปด้วยอัปสรผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง
และประโคม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานแก้วผลึกนั้น มีพระ-
หฤทัยยินดี ตรัสถามถึงกุศลกรรมแห่งอัปสรเหล่านั้น แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้
ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์
วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อน
ไปด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยยอดบริบูรณ์
ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง เปล่ง
แสงสว่างจากฝาแก้วผลึก ความปลื้มใจย่อมปรากฏ
แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลี-
เทพสารถี เราขอถามท่าน อัปสรเหล่ามิได้ทำกรรมดี
อะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม
ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา
ไม่ทรงทราบว่า อัปสรเหล่านั้นเมื่อยังอยู่ในมนุษย-

โลกเป็นอุบาสิกาผู้มีศีล ยินดีในทาน มีจิตเลื่อมใส
เป็นนิตย์ตั้งอยู่ในสัจจะ ไม่ประมาทในการรักษา
อุโบสถ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิง
อยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยมฺหํ แปลว่า วิมาน มีคำอธิบายว่า
ปราสาท. บทว่า ผลิกาสุ ได้แก่ ฝาแก้วผลึก คือฝาที่แล้วด้วยแก้วมณีขาว.
บทว่า นารีวรคณากิณฺณํ ได้แก่ เกลื่อนไปด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐ. บทว่า
กูฏาคารวิโรจิตํ ความว่า สะสม คือรวบรวม คือเจริญด้วยเรือนยอดอันประ-
เสริฐทั้งหลาย. บทว่า อุภยํ ความว่า งดงามด้วยการฟ้อนรำและการขับร้อง
ทั้งสองอย่าง. บทว่า ยา กาจิ นี้ ท่านกล่าวโดยไม่กำหนดก็จริง ถึงอย่างนั้น
ก็พึงทราบอัปสรเหล่านั้นว่า เป็นอุบาสิกาในกรุงพาราณสี ในกาลแห่งพระ-
กัสสปพุทธเจ้า ได้รวมกันเป็นคณะกระทำบุญทั้งหลาย ซึ่งมีประการดังกล่าว
แล้วในหนหลังเหล่านั้น จึงถึงสมบัตินั้น.
ลำดับนั้น มาตลีเทพสารถีนั้นขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วมณีวิมาน
หนึ่งแต่พระเจ้าเนมิราช วินานแก้วมณีนั้น ประดิษฐานอยู่ในภูมิภาคที่ราบเรียบ
สมบูรณ์ด้วยส่วนสูง เปล่งรัศมีดุจมณีบรรพต กึกก้องด้วยการฟ้อนรำขับร้อง
และประโคม เกลื่อนไปด้วยเทพบุตรเป็นอันมาก พระเจ้าเนมิราชทอด
พระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสถามถึงกุศลกรรมของเทพบุตรเหล่านั้น แม้มาตลี
เทพสารถีนอกนี้ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์
วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งแล้วนี้ ประกอบ
ด้วยภูมิภาคน่ารื่นรมย์ จัดสรรไว้เป็นส่วน ๆ เปล่ง
แสงสว่างออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ เสียงทิพย์ คือเสียง
เปิงมาง เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้อง และเสียง

ประโคมดนตรี ย่อมเปล่งออก น่าฟัง เป็นที่รื่นรมย์
ใจ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นหรือได้ฟังเสียงอันเป็นไป
อย่างนี้ อันไพเราะอย่างนี้ ในกาลก่อนเลย ความ
ปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไป
นั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่านเทพบุตร
เหล่านี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่
ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้ไม่
ทรงทราบว่า เทพบุตรเหล่านี้ เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
เป็นอุบาสกผู้มีศีล ได้ก่อสร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ
และสะพาน ได้ปฏิบัติพระอรหันต์ผู้เยือกเย็นโดย
เคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย และ
เสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรง ด้วยใจเลื่อมใส ได้รักษา
อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถีที่ 14 ที่ 15
ที่ 8 แห่งปักษ์และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมใน
ศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิง
อยู่ในวิมาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬฺริยาสุ ได้แก่ ฝาแก้วไพฑูรย์.
บทว่า อุเปตํ ภูมิภาเคหิ ความว่า ประกอบด้วยภูมิภาคน่ารื่นรมย์. บทว่า
อาลมฺพรา มุทิงฺคา จ ความว่า เครื่องดนตรีเหล่านั้น ย่อมเปล่งเสียงในวิมาน
นี้. บทว่า นจฺจคีตา สุวาทิตา ความว่า การฟ้อนรำและการขับร้องมี
ประการต่างๆ และการประโคมดนตรีแม้อื่น ๆ ย่อมเป็นไปในวิมานนี้. บท

ว่า เอวํ คตํ ได้แก่ ถึงภาวะที่รื่นรมย์ใจอย่างนี้. บทว่า เย เกจิ แม้นี้
ท่านกล่าวโดยไม่กำหนดก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พึงทราบเทพบุตรเหล่านั้นว่า
เป็นอุบาสกชาวพาราณสี ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รวมกัน
เป็นคณะทำบุญเหล่านี้ จึงถึงทิพยสมบัตินั้น. บทว่า ปฏิปาทยุํ ในคาถานั้น
ความว่า ให้ถึง คือได้ถวายแด่พระอรหันต์เหล่านั้น. บทว่า ปจฺจยํ ได้เก่
คิลานปัจจัย บทว่า อทํสุ ความว่า ได้ถวายทานมีประการต่าง ๆ อย่างนี้.
มาตลีเทพสารถีนั้นทูลบอกกรรมของเทพบุตรเหล่านั้น แด่พระเจ้า-
เนมิราชด้วยประการฉะนั้นแล้ว ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วผลึกอีกวิมานหนึ่ง
วิมานแก้วผลึกนั้น ประดับด้วยยอดมิใช่น้อย ประดับด้วยวนะรุ่น ซึ่งปกคลุม
ไปด้วยนานาบุปผชาติ แวดล้อมไปด้วยแม่น้ำมีน้ำใสสะอาด กึกก้องไปด้วย
ฝูงวิหคต่าง ๆ ส่งเสียงร้อง มีหมู่อัปสรแวดล้อม เป็นสถานที่อยู่ของเทพบุตร
ผู้มีบุญองค์หนึ่งนั้นนั่นเอง พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานนั้น มี
พระหฤทัยยินดี จึงตรัสถามถึงกุศลกรรมของเทพบุตรนั้น แม้มาตลีเทพสารถี
นอกนี้ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์
วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อนไป
ด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยเรือนยอดบริบูรณ์
ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ส่อง
แสงสว่างจากฝาแก้วผลึก มีแม่น้ำอันประกอบด้วย
ไม้ดอกต่าง ๆ ล้อมรอบ ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่
เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพ-
สารถี เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ได้ทำกรรมดีอะไร
ไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตาม
ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา
ผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดี ในกรุงมิถิลา
เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ และ
สะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันตทั้งหลายผู้เยือก
เย็นโดยธรรม ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย
และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรง ด้วยใจเลื่อมใส ได้
รักษาอุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถีที่ 14 ที่
15 ที่ 8 แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์เป็นผู้สำรวม
ในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงบันเทิง
อยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นชฺโช เป็นวจนะวิปลาส ความว่า
แม่น้ำสายหนึ่งไหลล้อมรอบวิมาน. บทว่า ทุมายุตา แม่น้ำนั้นประกอบด้วย
ต้นไม้มีดอกต่างๆ. บทว่า มิถิลายํ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เทพบุตรนี้
เป็นคฤหบดีคนหนึ่งในมิถิลานคร ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า ได้เป็น
ทานบดี เขากระทำกุศลกรรม มีปลูกอารามเป็นต้นเหล่านั้น จึงถึงทิพยสมบัตินี้.
ครั้นทูลบอกกรรมที่เทพบุตรนั้นกระทำ แด่พระเจ้าเนมิราชอย่างได้
แล้ว มาตลีเทพสารถีก็ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วผลึกแม้อีกวิมานหนึ่ง
วิมานนั้นประกอบด้วยกอวนะรุ่น ซึ่งปกคลุมไปด้วยไม้ดอกไม้ผลนานาชนิด
ยิ่งกว่าวิมานก่อน พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานนั้น จึงตรัสถาม
บุพกรรมของเทพบุตรผู้ประกอบด้วยสมบัตินั้น แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้
ทูลบอกแด่พระองค์

วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อน
ไปด้วยอัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยยอดบริบูรณ์ด้วย
ข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ส่องแสง
สว่างออกจากฝาแล้วผลึก มีแม่น้ำอันประกอบด้วย
ไม้ดอกต่าง ๆ ล้อมรอบ และมีไม้เกด ไม้มะขวิด
ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้ชมพู่ ไม้มะพลับ ไม้มะหาด
เป็นอันมาก มีผลเป็นนิตย์ ความปลื้มใจย่อมปรากฏ
แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก้อนมาตลี
เทพสารถี เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ทำกรรมดีอะไร
ไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้
ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีในกรุงมิถิลา
เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ และสะพาน
ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์ทั้งหลายผู้เยือกเย็นโดยเคารพ
ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย และเสนาสนะ
ในท่านผู้ซื่อตรงด้วยใจเลื่อมใส ได้รักษาอุโบสถลศีล
ประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถีที่ 14 ที่ 15 ที่ 8 แห่งปักษ์
และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้
สำรวมและจำแนกทาน จึงบันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นชฺโช ความว่า แม่น้ำสายหนึ่ง
ไหลล้อมรอบวิมานนั้น. บทว่า ทุมายุตา ความว่า แม่น้ำนั้นประกอบด้วย
ต้นไม้มีดอกต่าง ๆ. บทว่า มิถิลายํ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เทพบุตรนี้

เป็นคฤหบดีคนหนึ่งในมิถิลานคร วิเทหรัฐ ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า
ได้เป็นทานบดี เขาทำบุญกรรมเหล่านั้น จึงถึงทิพยสมบัตินี้.
ิ ครั้นทูลบอกกรรมที่เทพบุตรแม้นั้นกระทำ แด่พระเจ้าเนมิราชอย่างนี้
แล้ว มาตลีเทพสารถีก็ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วไพฑูรย์อีกวิมานหนึ่ง เช่น
กับวิมานก่อนนั่นแหละ พระเจ้าเนมิราชตรัสถามถึงกรรมที่เทพบุตรผู้เสวย
ทิพยสมบัติในวิมานนั้นกระทำ แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้ทูลบอกแด่
พระองค์
วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งแล้วนี้ ประกอบ
ด้วยภูมิภาคน่ารื่นรมย์ จัดสรรไว้เป็นส่วน ๆ เปล่งแสง
สว่างออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ เสียงทิพย์ คือเสียงเปิง
มาง เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้อง และเสียง
ประโคมดนตรี ย่อมเปล่งออก น่าฟัง เป็นที่รื่นรมย์ใจ
เราไม่รู้สึกที่ได้เห็นหรือได้ฟังเสียงอันเป็นไปอย่างนี้
อันไพเราะอย่างนี้ ในกาลก่อนเลย ความปลื้มใจย่อม
ปรากฏแก่เราเพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อน
มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ได้ทำ
กรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้
ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีในกรุงพาราณ-
สี เป็นทานบดี ได้ก่อสร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ
และสะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์ทั้งหลายผู้
เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลาน-

ปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรง ด้วยใจเลื่อมใส
ได้รักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถีที่
14 ที่ 15 ที่ 8 แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์ เป็น
ผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน
จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีนั้นทูลบอกกุศลกรรมแด่พระเจ้าเนมิราชอย่างนี้แล้ว
ขับรถต่อไป แสดงวิมานทองซึ่งมีรัศมีเหมือนดวงอาทิตย์อ่อน ๆ พระเจ้า
เนมิราชทอดพระเนตรเห็นสมบัติของเทพบุตรผู้อยู่ในวิมานทองนั้น มีพระ
หฤทัยยินดี จึงตรัสถามถึงกรรมที่เทพบุตรนั้นกระทำ แม้มาตลีเทพสารถีนอก
นี้ก็ทูลบอกแด่พระองค์
วิมานทองอันบุญญานุภาพตกแต่งดีนี้ สุกใสดุจ
ดวงอาทิตย์แรกอุทัยดวงใหญ่สีแดงฉะนั้น ความปลื้ม
ใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นวิมานทองนี้ดูก่อน
มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่านเทพบุตรนี้ได้ทำกรรม
ดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่
ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้
ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีอยู่ในกรุง
สาวัตถี เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ
และสะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์ทั้งหลายผู้
เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลาน-
ปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรงด้วยใจเลื่อมใส
ได้รักษาอุโบสถศีล ประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถีที่ 14

ที่ 15 ที่ 8 แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้
สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน
จึงบันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทยมาทิจฺโจ ได้แก่ ดวงอาทิตย์
แรกขึ้น. บทว่า สาวตฺถิยํ ความว่า เทพบุตรนั้นได้เป็นทานบดีในกรุงสาวัตถี
ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า.
ในเวลาที่มาตลีเทพสารถีทูลวิมาน 8 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ท้าว-
สักกเทวราชทรงดำริว่า มาตลีประพฤติช้าเกิน จึงส่งเทพบุตรผู้ว่องไวแม้อื่น
อีกไปด้วยเทวบัญชาว่า ท่านจงไปบอกแก่มาตลีว่า ท้าวสักกเทวราชเรียกหาท่าน
เทพบุตรนั้นไปโดยเร็ว แจ้งแก่มาตลีเทพให้ทราบ มาตลีเทพสารถีได้สดับ
คำแห่งเทพบุตรนั้น ดำริว่า บัดนี้เราไม่อาจจะชักช้า จึงแสดงวิมานเป็นอันมาก
พร้อมกันทีเดียว พระเจ้าเนมิราชตรัสถามถึงกรรมของเหล่าเทพบุตรผู้เสวย
ทิพยสมบัติในวิมานนั้น ๆ มาตลีเทพสารถีได้ทูลบอกแล้ว
วิมานทองเป็นอันมากเหล่านี้ อันบุญญานุภาพ
ตกแต่งดีแล้ว ลอยอยู่ในนภากาศ ไพโรจน์โชติช่วง
ดังสายฟ้าในระหว่างก้อนเมฆฉะนั้น เทพบุตรทั้งหลาย
ผู้มีฤทธิ์มาก ประดับสรรพากรณ์ อันหมู่อัปสรห้อม-
ล้อม ผลัดเปลี่ยนเวียนอยู่ในวิมานนั้น ๆ โดยรอบ
ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ
เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน
เทพบุตรเหล่ามิได้ทำความดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์
บันเทิงอยู่ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลายแด่พระราชาผู้ไม่
ทรงทราบว่า เทพบุตรเหล่านี้เป็นสาวกของพระสัม-
มาสัมพุทธเจ้า มีศรัทธาตั้งมั่นในพระสัทธรรมที่พระ-
พุทธเจ้าให้รู้แจ้งแล้ว ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ
พระศาสดา ข้าแต่พระราชา ขอเชิญพระองค์ทอด
พระเนตรสถานที่สถิตของเทพบุตรเหล่านั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวหายสาเม ความว่า วิมานเหล่านั้น
ลอยอยู่ในนภากาศ พระเจ้าเนมิราชตรัสว่า วิมานที่ตั้งอยู่ในอากาศเหล่านี้
ตั้งอยู่ด้วยดีในอากาศนั่นเอง. บทว่า วิชฺชุวพฺภฆนนฺตเร ความว่า ราวกะ
ว่าสายฟ้าที่เดินอยู่ในระหว่างก้อนเมฆ. บทว่า สุวินิฏฺฐาย ความว่า ตั้งมั่น
ด้วยดีเพราะมาด้วยมรรค มีคำอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช เทพบุตรเหล่านั้นบวช
ในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าซึ่งเป็นนิยยานิกธรรม ในกาลก่อน เป็นผู้มีศีล
บริสุทธิ์ บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ กระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ไม่อาจที่จะยัง
พระอรหัตให้บังเกิด จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในวิมานทองเหล่านี้ ข้าแต่
พระราชา สถานที่เหล่านั้นเป็นที่สถิตของสาวกของพระกัสสปพุทธเจ้าเหล่านั้น
ซึ่งพระองค์จะทอดพระเนตร ดังนั้น ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรเถิด
พระเจ้าข้า.
มาตลีเทพสารถีนั้นแสดงวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศ แต่พระเจ้าเนมิราช
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะกระทำอุตสาหะเพื่อเสด็จไปสำนักของท้าวสักกเทวราช
จึงทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า สถานที่อยู่ของผู้มีกรรมลามก
พระองค์ก็ทรงทราบแล้ว อนึ่ง สถานที่สถิตของผู้มี
กรรมอันงาม พระองค์ก็ทรงทราบแล้ว ข้าแต่พระราชา

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอเชิญพระองค์เสด็จขึ้นไป
ในสำนักของท่าวสักกเทวราช ในบัดนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาวาสํ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
พระองค์ทอดพระเนตรที่อยู่ของเหล่าสัตว์นรกก่อนแล้วทรงทราบสถานที่อยู่ของ
ผู้มีกรรมลามกทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรวิมานที่ลอยอยู่ใน
อากาศเหล่านี้ ก็ทรงทราบสถานที่อยู่ของผู้มีกรรมอันงามแล้ว ขอเชิญพระองค์
เสด็จขึ้นทอดพระเนครทิพยสมบัติในสำนักของท้าวสักกเทวราชในบัดนี้เถิด.
ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีก็ขับรถต่อไป แสดงสัตต-
ปริภัณฑบรรพต ซึ่งตั้งล้อมสิเนรุราชบรรพต พระศาสดาเมื่อจะตรัสการที่
พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นบรรพตเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามมาตลีเทพสารถี
ให้แจ้งชัด จึงตรัสว่า
พระเจ้าเนมิมหาราชประทับอยู่บนทิพยานอัน
เทียมม้าสินธพหนึ่งพันเสด็จไปอยู่ ได้ทอดพระเนตร
เห็นภูเขาทั้งหลายในระหว่างนทีสีทันดร ครั้นทอด
พระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสถามเทพทูตมาตลีว่า ภูเขา
เหล่านี้ชื่ออะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสยุตฺตํ ความว่า เทียมด้วยม้า
สินธพพันหนึ่ง. บทว่า หยวาหึ ความว่า อันม้าทั้งหลายนำไป. บทว่า
ทิพฺพยานมธิฏฺฐิโต ความว่า เป็นผู้ประทับอยู่บนทิพยานเสด็จไป. บทว่า
อทฺทา แปลว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว. บทว่า สีทนฺตเร ได้แก่
ในระหว่างมหาสมุทรสีทันดร เล่ากันว่า น้ำในมหาสมุทรนั้นละเอียด โดยที่สุด
เพียงแววหางนกยูงที่โยนลงไป ก็ไม่อาจลอยอยู่ได้ ย่อมจมลงทีเดียว ฉะนั้น

มหาสมุทรนั้น จึงเรียกกันว่า มหาสมุทรสีทันดร ในระหว่างแห่งมหาสมุทร
สีทันดรนั้น. บทว่า นเค ได้แก่ ภูเขา. บทว่า เก นาม ความว่า
ภูเขาเหล่านี้ชื่ออะไร.
มาตลีเทพบุตรถูกพระเจ้าเนมิราชตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงทูลตอบว่า
ภูเขาใหญ่ทั้ง 7 คือ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขากรวีกะ
ภูเขาอิสินธระ ภูเขายุคันธระ ภูเขาเนมินธระ ภูเขา
วินตกะ และภูเขาอัสสกัณณะ ภูเขาเหล่านี้สูงขึ้นไป
โดยลำดับ อยู่ในมหาสมุทรสีทันดร เป็นที่อยู่ของ
ท้าวจาตุมหาราช ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรเถิด
พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทสฺสโน ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ภูเขานี้ชื่อสุทัสสนบรรพต อยู่ภายนอกภูเขาเหล่านั้นทั้งหมด ถัดภูเขาสุทัสสนะ
นั้น ชื่อภูเขากรวีกะ ภูเขากรวีกะนั้น สูงกว่าภูเขาสุทัสสนะ อนึ่ง ทะเลชื่อ
สีทันดรอยู่ในระหว่าง 2 ภูเขานั้น ถัดภูเขากรวีกะ ชื่อภูเขาอิสินธระ ภูเขา
อิสินธระนั้นสูงกว่าภูเขากรวีกะ อนึ่ง ทะเลชื่อสีทันดรอยู่ในระหว่าง 2 ภูเขา
นั้น ถัดภูเขาอิสินธระ ชื่อภูเขายุคันธระ ภูเขายุคันธระนั้นสูงกว่าภูเขาอิสินธระ
ทะเลชื่อสีทันดรอยู่ในระหว่าง 2 ภูเขาแม้นั้น ถัดภูเขายุคันธระ ชื่อภูเขา
เนมินธระ ภูเขาเนนินธระนั้นสูงกว่าภูเขายุคันธระ ทะเลชื่อสีทันดรอยู่ในระหว่าง
2 ภูเขาแม้นั้น ถัดภูเขาเนมินธระ ชื่อภูเขาวินตกะ ภูเขาวินตกะนั้นสูงกว่า
ภูเขาเนมินธระ ทะเลชื่อสีทันดรอยู่ในระหว่าง 2 ภูเขาแม้นั้น ถัดภูเขาวินตกะ
ชื่อภูเขาอัลสกัณณะ ภูเขาอัสสกัณณะนั้นสูงกว่าภูเขาวินตกะ ทะเลชื่อสีทันดร
อยู่ในระหว่าง 2 ภูเขาแม้นั้น.

บทว่า อนุปุพฺพสมุคฺคตา ความว่า ภูเขาทั้ง 7 เหล่านั้นสูงขึ้นไป
โดยลำดับในทะเลสีทันดร ดุจคั่นบันไดตั้งอยู่. บทว่า ยานิ ความว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรภูเขาเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ
ท้าวจาตุมหาราช (เทวดาผู้รักษาโลกประจำทิศทั้ง 4 บางทีเรียกว่า ท้าวจตุ-
โลกบาล ได้แก่ ท้าวธตรฐ ประจำทิศบรูพา ท้าววิรุฬหก ประจำทิศทักษิณ
ท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศประจิม ท้าวกุเวร ประจำทิศอุดร).
มาตลีเทพสารถีแสดงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชแด่พระเจ้าเนมิราชอย่าง
นี้แล้ว ขับรถต่อไป แสดงรูปเปรียบพระอินทร์ ซึ่งประดิษฐานล้อมซุ้ม
ประตูจิตตกูฏ แห่งดาวดึงสพิภพ พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นทวารนั้น
แล้วตรัสถาม แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้ทูลบอกแต่พระองค์
ประตูมีรูปต่าง ๆ รุ่งเรืองวิจิตรต่าง ๆ อันรูป
เช่นรูปสักรินทรเทวราชแวดล้อมรักษาดีแล้ว ดุจป่า
อันเสือโคร่งทั้งหลายรักษาดีแล้วฉะนั้น ย่อมปรากฏ
ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เราเพราะได้เห็นประตูนี้
ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน ประตูนี้เขา
เรียกชื่อว่าอะไร เป็นประตูที่น่ารื่นรมย์ใจ เห็นได้
แต่ไกลทีเดียว.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม
ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้พำบุญทั้งหลาย แด่
พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า ประตูนี้เขาเรียกว่า จิตต-
กูฏ เป็นที่เสด็จเข้าออกของท้าวสักกเทวราช เพราะ
ประตูนี้เป็นประตูแห่งเทพนคร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา
สิเนรุราชอันงามน่าดูปรากฏอยู่ มีรูปต่าง ๆ รุ่งเรือง

วิจิตรต่าง ๆ อันรูปเช่นรูปสักรินทรเทวราชแวดล้อม
รักษาดีแล้ว ดุจป่าอันเสือโคร่งทั้งหลายรักษาดีแล้ว
ฉะนั้น ย่อมปรากฏ ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปทางประตูนี้ จง
ทรงเหยียบภูมิภาคอันราบรื่นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูปํ ได้แก่ มีชาติไม่น้อย. บทว่า
นานาจิตฺตํ ได้แก่ วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ. บทว่า ปกาสติ ความว่า
ประตูนี้ปรากฏว่าชื่ออะไร. บทว่า อากิณฺณํ ความว่า แวดล้อมแล้ว. บทว่า
พฺยคฺเฆเหว สุรกฺขิตํ ความว่า ป่าใหญ่อันเสือโคร่งหรือราชสีห์ทั้งหลาย
รักษาดีแล้ว ฉันใด ประตูนี้อันรูปเช่นรูปพระอินทร์นั่นแลรักษาดีแล้วฉันนั้น
ก็ความที่รูปเปรียบพระอินทร์เหล่านั้นเข้าตั้งไว้เพื่อประโยชน์ในการอารักขา
พึงกล่าวในกลาวกชาดกในเอกนิบาต. บทว่า กิมภญฺญมาหุ ความว่า เขาเรียก
ประตูนี้ว่าชื่ออะไร. บทว่า ปเวสนํ ความว่า สร้างไว้อย่างดีเพื่อประโยชน์.
เสด็จเข้าออก. บทว่า สุทสฺสนสฺส ความว่า เขาสิเนรุซึ่งงามน่าดู. บทว่า
ทฺวารํ เหตํ ความว่า ประตูนี้เป็นประตูของเทพนคร กว้างยาวหมื่นโยชน์
ซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดเขาสิเนรุ. บทว่า ปกาสติ ความว่า ซุ้มประตูย่อม
ปรากฏ. บทว่า ปวิเสเตน ความว่า ขอเชิญเสด็จเข้านครทางประตูนี้. บทว่า
อรุชํ ภูมิ ปกฺกม ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์ทรงเหยียบ
ทิพยภูมิภาคอันราบรื่นล้วนแล้วไปด้วยทองเงินและแก้วมณี มีบุปผชาตินานา-
ชนิดเกลื่อนกลาด ด้วยยานทิพย์
ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีได้เชิญพระเจ้าเนมิราชเสด็จ
เข้าเทพนคร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระเจ้าเนมิมหาราชประทับอยู่บนทิพยานอัน
เทียมม้าสินธพหนึ่งพันเสด็จไปอยู่ ได้ทอดพระเนตร
เห็นเทวสภานี้.

พระเจ้าเนมิราชนั้นประทับอยู่บนทิพยานเสด็จไป ได้ทอดพระเนตร
เห็นเทวสภาชื่อสุธรรมา จึงตรัสถามมาตลีเทพสารถี มาตลีเทพสารถีแม้นั้น
ก็ได้ทูลบอก
วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งแล้วนี้ ส่องแสง-
สว่างจากฝาแก้วไพฑูรย์ ราวกะอากาศส่องแสงเขียว
สดปรากฏในสรทกาล ฉะนั้น ความปลื้มใจย่อมปรากฏ
แต่เรา เพราะได้เห็นวิมานนี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี
เราขอถามท่าน วิมานนี้เขาเรียกชื่อว่าอะไร.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำตรัสถาม ตาม
ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา
ผู้ไม่ทรงทราบว่า วิมานนี้นั้นเป็นเทวสภา มีนาม
ปรากฏว่าสุธรรมา ตามที่เรียกกัน รุ่งเรืองด้วยแก้ว
ไพฑูรย์งามวิจิตร อันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้ว มีเสา
ทั้งหลาย 8 เหลี่ยมทำไว้ดีแล้ว ล้วนแล้วด้วยแก้ว
ไพฑูรย์ทุก ๆ เสา รองรับไว้ เป็นที่ซึ่งเทพเจ้าเหล่า
ดาวดึงส์ทั้งหมดมีพระอินทร์เป็นประมุข ประชุมกัน
คิดประโยชน์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าแต่
พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอเชิญพระองค์
เสด็จเข้าไปสู่ที่เป็นที่อนุโมทนาของเทวดาทั้งหลาย
โดยทางนี้.

ฝ่ายเทวดาทั้งหลายนั่งคอยพระเจ้าเนมิราชเสด็จมา เทวดาเหล่านั้นได้
ฟังว่า พระเจ้าเนมิราชเสด็จมาแล้ว ต่างก็ถือของหอมธูปเครื่องอบและดอกไม้
ทิพย์ ไปคอยอยู่ที่ทางจะเสด็จมา ตั้งแต่ซุ้มประตูจิตตกูฏ บูชาพระมหาสัตว์
ด้วยของหอมและบุปผชาติเป็นต้น นำเสด็จสู่เทวสภาชื่อสุธรรมา พระเจ้า
เนมิราชเสด็จลงจากรถเข้าสู่เทวสภา เทวดาทั้งหลายในที่นั้นเชิญเสด็จให้
ประทับนั่งบนทิพยอาสน์. ท้าวสักกเทวราชเชิญเสด็จให้ประทับนั่งบนทิพยอาสน์
และเสวยทิพยกามสุข.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเมื่อความนั้น จึงตรัสว่า
เทวดาทั้งหลายเห็นพระเจ้าเนมิราชเสด็จมาถึง
ก็พากันยินดีต้อนรับว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์
เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้
ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอเชิญ
ประทับนั่งในที่ใกล้ท้าวสักกเทวราช ณ บัดนี้เถิด
ท้าวสักกเทวราช ทรงยินดีต้อนรับ พระองค์ผู้เป็นพระ.
ราชาแห่งชาววิเทหรัฐ ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวกรุงมิถิลา
ท้าววาสวเทวราชทรงเชื้อเชิญให้เสวยทิพยกามารมณ์
เสด็จมาถึงทิพยสถาน อันเป็นที่อยู่ของเทวดาทั้งหลาย
ผู้ยังสิ่งที่ตนประสงค์ให้เป็นไปได้ตามอำนาจ ขอเชิญ
ประทับอยู่ในหมู่เทวดาผู้สำเร็จด้วยทิพยกามทั้งมวล
ขอเชิญเสวยทิพยกามารมณ์ในหมู่เทพเจ้าชาวดาวดึงส์
เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินนฺทึสุ ความว่า ร่วมกันประพฤติ
เป็นที่รัก คือ ต่างยินดีร่าเริงต้อนรับ. บทว่า สพฺพกามสนิทฺธิสุ ได้แก่
ผู้ประกอบด้วยความสำเร็จทิพยกามารมณ์ทั้งปวง.
ท้าวสักกเทวราชเชิญเสด็จพระมหาสัตว์ให้เสวยทิพยกามารมณ์และให้
ประทับบนทิพยอาสน์อย่างนี้ พระเจ้าเนมิราชทรงสดับดังนั้น เมื่อจะดำรัสห้าม
จึงตรัสว่า
สิ่งใดที่ได้มาเพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้นเปรียบเหมือน
ยวดยานหรือทรัพย์ที่ยืมเขามา ฉะนั้น หม่อมฉันไม่
ปรารถนาสิ่งซึ่งผู้อื่นให้ บุญทั้งหลายที่หม่อนฉันทำเอง
ย่อมเป็นทรัพย์ที่จะติดตามหม่อมฉันไป หม่อมฉันจัก
กลับ ไปทำกุศลให้มากในหมู่มนุษย์ ด้วยการบริจาค
ทาน การประพฤติสม่ำเสมอ ความสำรวม และการ
ฝึกอินทรีย์ ซึ่งทำไว้แล้วจะได้ความสุข และไม่
เดือดร้อนในภายหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ปรโต ทานปจฺจยา ความว่า สิ่งใด
ที่ได้มาเพราะการให้แต่ผู้อื่น คือของผู้อื่นนั้นเป็นปัจจัย คือเพราะผู้อื่น
นั้นให้ สิ่งนั้น ย่อมเป็นเช่นกับของที่ยืมเขามา ฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่
ปรารถนาสิ่งนั้น. บทว่า สยํ กตานิ ความว่า ก็บุญทั้งหลายเหล่าใดที่
หม่อมฉันกระทำไว้ด้วยตน การกระทำบุญเหล่านั้นของหม่อมฉันนั้นแหละ
ไม่สาธารณะแก่คนเหล่าอื่น. บทว่า อาเวนิยํ ธนํ ได้แก่ ทรัพย์ที่ติดตามไป.
บทว่า สมจริยาย ได้แก่ ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอทางไตรทวาร. บทว่า
สญฺญเมน ได้แก่ ด้วยการรักษาศีล. บทว่า ทเมน ได้แก่ ด้วยการฝึก
อินทรีย์.

พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรม ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะแก่เทวดา
ทั้งหลายอย่างนี้ เมื่อทรงแสดงประทับอยู่ 7 วัน โดยการนับในมนุษย์ ยังหมู่
เทพเจ้าให้ยินดีประทับอยู่ท่ามกลางหมู่เทวดานั่นเอง เมื่อจะทรงพรรณนาคุณ
แห่งมาตลีเทพสารถี จึงตรัสว่า
มาตลีเทพสารถีผู้เจริญ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่
หม่อมฉัน ได้แสดงสถานที่อยู่ของผู้มีธรรมอันงาม
และของผู้มีกรรมอันลามก แก่หม่อมฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เม กลฺยาณกมฺมานํ ปาปานํ
ปฏิทสฺสยิ
ความว่า มาตลีเทพสารถีนี้ได้แสดงสถานที่เป็นที่อยู่ของเทวดา
ทั้งหลายผู้มีกรรมอันงาม และสถานที่ของสัตว์นรกทั้งหลายผู้มีกรรมอันลามก
แก่หม่อมฉัน.
ลำดับนั้น พระเจ้าเนมิราชเชิญท้าวสักกเทวราชมาตรัสว่า ข้าแต่-
มหาราช หม่อมฉันปรารถนาเพื่อกลับไปมนุษยโลก ท้าวสักกเทวราชจึงมี
เทวโองการสั่งมาตลีเทพสารถีว่า ท่านจงนำพระเจ้าเนมิราชเสด็จกลับไปใน
กรุงมิถิลานั้นอีก มาตลีเทพสารถีรับเทวบัญชาแล้วได้จัดเทียมรถไว้ พระเจ้า
เนมิราชทรงบันเทิงกับหมู่เทวดาแล้วยังเหล่าเทวดาให้กลับ ตรัสอำลาแล้ว
เสด็จทรงรถ มาตลีเทพสารถีขับรถไปถึงกรุงมิถิลาทางทิศปราจีน มหาชนเห็น
ทิพยรถก็มีจิตบันเทิงว่า พระราชาของพวกเราเสด็จกลับแล้ว มาตลีเทพสารถี
ทำประทักษิณกรุงมิถิลา ยังพระมหาสัตว์ให้เสด็จลงที่สีหบัญชรนั้น แล้วทูลลา
กลับ ไปยังที่อยู่ของตนทีเดียว ฝ่ายมหาชนก็แวดล้อมพระราชาทูลถามว่า
เทวโลกเป็นเช่นไร พระเจ้า ข้าพระเจ้าเนมิราชทรงเล่าถึงสมบัติของเหล่าเทวดา
และของท้าวสักกเทวราชแล้วตรัสว่า แม้ท่านทั้งหลายก็จงทำบุญมีทานเป็นต้น
ก็จักบังเกิดในเทวโลกนั้นเหมือนกัน แล้วทรงแสดงธรรมแก่มหาชน.

ครั้นกาลต่อมา พระมหาสัตว์เนมิราชนั้น เมื่อภูษามาลากราบทูลความ
พี่พระเกศาหงอกเกิดขึ้น จึงทรงให้ถอนพระศกหงอกด้วยพระแหนบทองคำ
วางในพระหัตถ์ ทอดพระเนตรเห็นพระศกหงอกนั้นแล้วสลดพระหฤทัย
พระราชทานบ้านส่วยแก่ภูษามาลา มีพระราชประสงค์จะทรงผนวช จึงมอบ
ราชสมบัติแก่พระราชโอรส เมื่อพระราชโอรสทูลถามว่า พระองค์จักทรงผนวช
เพราะเหตุไร เมื่อจะตรัสบอกเหตุแก่พระราชโอรส จึงตรัสคาถาว่า
ผมหงอกที่งอกขึ้นบนเศียรของพ่อเหล่านี้ เกิด
แล้วก็นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว สมัย
นี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.

พระเจ้าเนมิราชตรัสคาถาแล้ว เป็นเหมือนพระราชาองค์ก่อน ๆ
ทรงผนวชแล้วประทับอยู่ ณ อัมพวันนั้นนั่นเอง เจริญพรหมวิหาร 4 มีฌาน
ไม่เสื่อม ได้เป็นผู้บังเกิดในพรหมโลก พระศาสดาเมื่อจะทรงทำให้แจ้งซึ่ง
ความที่พระเจ้าเนมิราชนั้นทรงผนวชแล้ว จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า
พระเจ้าเนมิราชราชาแห่งแคว้นวิเทหะ ผู้ทรง
อนุเคราะห์ชาวมิถิลา ตรัสคาถานี้แล้ว ทรงบูชายัญ
เป็นอันมาก ทรงเข้าถึงความเป็นผู้สำรวมแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ วตฺวา ความว่า ตรัสคาถานี้ว่า
อุตฺตมงฺครุหา มยฺหํ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ปุถุยญฺญํ ยชิตฺวาน ได้แก่
ถวายทานเป็นอันมาก. บทว่า สญฺญมํ อชฺฌุปาคมิ ความว่า ทรงเข้าถึง
ความสำรวมในศีล ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าเนมิราชนั้น มีพระนามว่า
กาลารัชชกะ ตัดวงศ์นั้น (คือเมื่อถึงคราวพระศกหงอกและทราบแล้วหาทรง
ผนวชไม่).

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์ แม้ในกาล
ก่อน ตถาคตก็ออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน ตรัสฉะนั้นแล้ว ทรงประกาศ
จตุราริยสัจ ประชุมชาดก ท้าวสักกเทวราช ในครั้งนั้น กลับชาติมาเกิดเป็น
ภิกษุชื่ออนุรุทธะในกาลนี้ มาตลีเทพสารถีเป็นภิกษุชื่ออานนท์ กษัตริย์
84,000 องค์ เป็นพุทธบริษัท ก็เนมิราช คือเราผู้สัมมาสัมพุทธะนี่เองแล.
จบ เนมิราชชาดก

5. มโหสถชาดก



ว่าด้วยพระมโหสถบัณฑิตทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี


[600] ดูก่อนพ่อมโหสถ พระเจ้าจุลนีพรหมทัต
เจ้ากรุงปัญจาละเสด็จยาตราทัพมาพร้อมด้วยกองทัพ
ทุกหมู่เหล่า กองทัพของพระเจ้ากรุงปัญจาละนี้นั้นพึง
ประมาณไม่ได้ มีกองช่างโยธา กองราบ ล้วนแต่
ฉลาดในสงความทั้งปวง สามารถจะนำข้าศึกมาได้
มีเสียงอื้ออึง ยังกันและกันให้รู้ด้วยเสียงกลอง และ
เสียงสังข์
มีวิทยาทางโลหธาตุ มีเครื่องประดับ มีธงเกลื่อน
กล่นด้วยช้างม้า สมบูรณ์ด้วยเหล่าคนมีศิลป์ ตั้งมั่น
ด้วยดีด้วยเหล่าทหารผู้แกล้วกล้า
กล่าวกันว่า ในกองทัพนี้ มีราชบุรุษ 10 คน
เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ประชุมปรึกษากันในที่ลับ
พระชนนีของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต เป็นที่ 11 ย่อม
ทรงสั่งสอนชาวปัญจาละนครที่นั้น บรรดาชนเหล่านี้
พระราชาร้อยเอ็ดผู้เรืองยศ ตามเสด็จพระเจ้าปัญจาล-
ราช ถูกชิงแว่นแคว้น กลัวมรณภัย ตกอยู่ในอำนาจ
ของชาวปัญจลนคร เป็นผู้ทำตามพระราชกระแสที่
ดำรัส ไม่มีความปรารถนาก็จำต้องกล่าวเป็นที่รักตาม
เสด็จพระเจ้าปัญจาลราช เป็นผู้มีอำนาจมาก่อน ไม่มี
ความปรารถนาก็ต้องอยู่ในอำนาจของพระเจ้าปัญจาล-