เมนู

3. มหาโพธิชาดก


ว่าด้วยปฏิปทาของผู้นำ


[52] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ
ท่านจึงรีบร้อนถือเอาไม้เท้า หนังสือ ร่ม รองเท้า
ไม้ขอ บาตร และผ้าพาด ท่านปรารถนาจะไปยังทิศ
ไหนหนอ.

[53] ตลอดเวลา 12 ปีที่อาตมภาพอยู่ในสำนัก
ของมหาบพิตรนี้ อาตมภาพไม่เคยรู้จักเสียงที่สุนัข สี่
เหลืองมันคำรามด้วยหูเลย สุนัขมันแยกเขี้ยวขาวเห่า
อยู่ คล้ายกับว่าไม่เคยรู้จักกัน เพราะมันได้ยินถ้อยคำ
ของมหาบพิตรกับพระชายาผู้ศรัทธาจึงกล่าวกะอาตม-
ภาพอย่างนี้.

[54] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ โทษที่ข้าพเจ้าทำ
แล้วนั้น จริงตามที่ท่านกล่าว ข้าพเจ้านี้ย่อมเลื่อมใส
ยิ่งนัก ขอท่านจงอยู่เถิด อย่าเพิงไปเสียเลย ท่าน
พราหมณ์.

[55] เมื่อก่อนข้าวสุกขาวล้วน ภายหลังก็มีสิ่ง
อื่นเจือปน บัดนี้แดงล้วน เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่
อาตภาพจะหลีกไป อนึ่ง เมื่อก่อนอาสนะมีในภายใน

ต่อมามีในท่ามกลาง ต่อมามีข้างนอก ต่อมาก็ถูกขับ
ไล่ออกจากพระราชนิเวศน์ อาตมภาพจะของดเสียเอง
ละ บุคคลไม่ควรคบหาคนที่ปราศจากศรัทธาเหมือน
บ่อที่ไม่มีน้ำ ฉะนั้น ถ้าแม้บุคคลจะพึงขุดบ่อน้ำนั้น
บ่อนั้นก็จะมีน้ำที่มีกลิ่นโคลนตม บุคคลควรคบคนที่
เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นคนที่ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไป
นั่งใกล้คนที่เลื่อมใส เหมือนคนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหา
ห้วงน้ำ ฉะนั้น ควรคบคนผู้คบด้วย ไม่ควรคบคนผู้ไม่
คบด้วย ผู้ใดไม่คบคนผู้คบด้วย ผู้นั้นชื่อว่ามีธรรมของ
อสัตบุรุษ ผู้ใดไม่คบคนผู้คบด้วย ไม่ซ่องเสพคนผู้
ซ่องเสพด้วย ผู้นั้นแล เป็นมนุษย์ชั่วช้าที่สุด เหมือน
ลิง ฉะนั้น มิตรทั้งหลายย่อมแหนงหน่ายกันด้วยเหตุ
3 ประการนี้ คือ ด้วยการคลุกคลีกันเกินไป 1 ด้วย
การไม่ไปมาหากัน 1 ด้วยการขอในเวลาไม่สมควร 1
เพราะฉะนั้น บุคคล จึงไม่ควรไปมาหากันให้พร่ำ
เพรื่อนัก ไม่ควรเหินห่างไปให้เนิ่นนาน และควรขอ
สิ่งที่ควรขอตามเหตุกาลที่สมควร ด้วยอาการอย่างนี้
มิตรทั้งหลายจึงจะไม่แหนงหน่ายกัน คนที่รักกันย่อม
ไม่เป็นที่รักกันได้เพราะการอยู่ร่วมกันนานเกินควร
อาตมภาพมิได้เป็นที่รักของมหาบพิตรมาก่อน เพราะ
ฉะนั้น อาตมภาพจึงขอลาไปก่อนละ.

[56] ถ้าพระคุณเจ้าไม่รับทราบอัญชลี ของ
สัตว์ผู้เป็นบริวารมาอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ไม่กระทำตาม
คำขอร้องของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวิงวอนพระคุณเจ้าถึง
เพียงนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดกลับมาเยี่ยมอีก.

[57] ดูก่อนมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ อันตรายจักไม่
มี แม้ไฉนเราทั้งหลายพึงเห็นการล่วงไปแห่งวันและ
คืนของมหาบพิตรและของอาตมภาพ.

[58] ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นไปตามคติที่ดีและ
ตามสภาพ สัตว์กระทำกรรมที่ไม่ควรทำบ้าง ที่ควร
ทำบ้าง เพราะความไม่ใคร่ในกรรมที่สัตว์กระทำ
สัตว์อะไรในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาปเล่าถ้าเนื้อความ
แห่งภาษิตของท่านนั้นเป็นอรรถเป็นธรรมและเป็น
ถ้อยคำงาม ไม่ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นความจริง
ลิงก็เป็นอันเราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้ความผิดแห่งวาทะ
ของตน ก็จะไม่พึงติเตียนเราเลย เพราะว่าวาทะของ
ท่านเป็นเช่นนั้น.

[59] ถ้าว่าพระเป็นเจ้าสร้างชีวิต สร้างฤทธิ์
สร้างความพินาศ สร้างกรรมดีและกรรมชั่ว ให้แก่
โลกทั้งหมดไซร้ บุรุษผู้กระทำตามคำสั่งของพระเป็น
เจ้า ก็ย่อมทำบาปได้ พระเป็นเจ้าย่อมเปื้อนด้วยบาป
นั้นเอง ถ้าเนื้อควานแห่งภาษิตของท่านเป็นอรรถเป็น
ธรรม...เพราะว่าวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

[60] ถ้าสัตว์ย่อมเข้าถึงสุขและทุกข์ เพราะเหตุ
แห่งกรรมที่กระทำไว้แล้วในปางก่อน กรรมเก่าที่กระ-
ทำไว้แล้ว เขาย่อมเปลื้องหนี้นั้นได้ ทางพ้นจากหนี้
เก่ามีอยู่ ใครเล่าในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป ถ้าเนื้อ
ความแห่งภาษิตของท่าน เป็นอรรถเป็นธรรม...เพราะ
ว่าวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

[61] รูปของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่ได้เพราะ
อาศัยธาตุ 4 เท่านั้น ก็รูปเกิดจากสิ่งใด ย่อมเข้าถึง
ในสิ่งนั้นอย่างเดิม ชีพย่อมเป็นอยู่ในโลกนี้เท่านั้น ละ
ไปแล้วย่อมพินาศในโลกหน้า โลกนี้ขาดสูญ เมื่อโลก
ขาดสูญอยู่อย่างนี้ ชนเหล่าใด ทั้งที่เป็นพาลทั้งที่เป็น
บัณฑิต ชนเหล่านั้นย่อมขาดสูญทั้งหมด ใครเล่าใน
โลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป ถ้าเนื้อความแห่งภาษิตของ
ท่านเป็นอรรถเป็นธรรม...เพราะว่าวาทะของท่านเป็น
เช่นนั้น.

[62] อาจารย์ทั้งหลายผู้มีวาทะว่า การฆ่ามารดา
บิดา เป็นกิจที่ควรทำ ได้กล่าวไว้แล้วในโลก พวกคน
พาลผู้สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต พึงฆ่ามารดา บิดา พึงฆ่า
พี่ ฆ่าน้อง ฆ่าบุตรและภรรยา ถ้าประโยชน์เช่นนั้น
พึงมี.

[63] บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มไม้ใด ไม่ควร
หักกิ่งไม้นั้น เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลว-

ทราม ถ้าเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็ควรถอนไปแม้
ทั้งราก แม้ประโยชน์ที่จะมีต่อเรามาก วานรเป็นอัน
เราฆ่าดีแล้ว ถ้าเนื้อความแห่งภาษิตของท่านเป็นอรรถ
เป็นธรรม เพราะวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

[64] บุรุษผู้มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ 1 ผู้มีวาทะ
ว่าพระเจ้าสร้างโลก 1 ผู้มีวาทะว่าสุขและทุกข์เกิด
เพราะกรรมที่ทำมาก่อน 1 ผู้มีวาทะว่าขาดสูญ 1 คน
ที่มีวาทะว่าฆ่าบิดามารดาเป็นกิจที่ควรทำ 1 ทั้ง 5 คนนี้
เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความสำคัญว่าตนเป็น
บัณฑิตในโลก คนเช่นนั้นพึงกระทำบาปเองก็ได้ พึง
ชักชวนผู้อื่นให้กระทำก็ได้ ความคลุกคลีด้วยอสัตบุรุษ
มีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ดร้อนเป็นกำไร.

[65] ในปางก่อน นกยางตัวหนึ่งมีรูปเหมือน
แกะ พวกแกะไม่รังเกียจ เข้าไปยังฝูงแกะ ฆ่าแกะ
ทั้งตัวเมียตัวผู้ ครั้นฆ่าแล้ว ก็บินหนีไปด้วยอาการ
อย่างใด สมณพราหมณ์บางพวกก็มีอาการเหมือนอย่าง
นั้น กระทำการปิดบังตัว เที่ยวหลอกลวงพวกมนุษย์
บางพวกประพฤติไม่กินอาหาร บางพวกนอนบนแผ่น
ดิน บางพวกทำกิริยาขัดถูธุลีในตัว บางพวกตั้งความ
เพียรเดินกระโหย่งเท้า บางพวกงดกินอาหารชั่วคราว
บางพวกไม่ดื่มน้ำ เป็นผู้มีอาจาระเลวทราม เที่ยวพูด
อวดว่าเป็นพระอรหันต์ คนเหล่านี้เป็นอสัตบุรุษ เป็น

คนพาลแต่มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต คนเช่นนั้น
พึงกระทำบาปเองก็ได้ พึงชักชวนผู้อื่นให้กระทำก็ได้
ความคลุกคลีด้วยอสัตบุรุษ มีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ด
ร้อนเป็นกำไร.

พวกคนที่กล่าวว่าความเพียรไม่มี และพวกที่
กล่าวหาเหตุติเตียนการกระทำของผู้อื่นบ้าง กล่าว
สรรเสริญการกระทำของตนบ้าง และพูดเปล่า ๆ บ้าง
คนเหล่านี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความ
สำคัญตนว่า เป็นบัณฑิต คนเช่นนั้นพึงกระทำบาป
เองก็ได้ พึงชักชวนให้ผู้อื่นกระทำก็ได้ ความคลุกคลี
ด้วยอสัตบุรุษมีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ดร้อนเป็นกำไร
ก็ถ้าความเพียรไม่พึงมี กรรมดีกรรมชั่วไม่มีไซร้
พระราชาก็จะไม่ทรงชุบเลี้ยงพวกช่างไม้ แม้นายช่าง
ก็ไม่พึงกระทำยนต์ทั้งหลาย แต่เพราะความเพียรมีอยู่
กรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ ฉะนั้น นายช่างกระทำยนต์ทั้ง
หลายให้สำเร็จ พระราชาจึงทรงชุบเลี้ยงนายช่างไม้ไว้
ถ้าฝนไม่ตก น้ำค้างไม่ตกตลอดร้อยปี โลกนี้ก็พึงขาด
สูญ หมู่สัตว์ก็พึงพินาศ แต่เพราะฝนก็ตกและน้ำค้าง
ก็ยังโปรยอยู่ ฉะนั้น ข้าวกล้าจึงสุกและเลี้ยงชาวเมือง
ให้ดำรงอยู่ได้นาน ถ้าเมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ โคผู้นำ
ฝูงไปคด เมื่อมีโคผู้นำฝูงไปคด โคเหล่านั้นทั้งหมด
ก็ย่อมไปคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ผู้ใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ถ้าผู้นั้นประ-

พฤติไม่เป็นธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนนอก
นี้ ชาวเมืองทั้งปวงย่อมอยู่เป็นทุกข์ ถ้าพระราชาไม่
ทรงดำรงอยู่ในธรรม ถ้าเมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ โค
ผู้นำฝูงไปตรง เมื่อมีโคผู้นำฝูงไปตรง โคเหล่านั้น
ทั้งหมดก็ย่อมไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ถ้า
แม้ผู้นั้นประพฤติเป็นธรรมไม่จำต้องกล่าวถึงประชาชน
นอกนี้ ชาวเมืองทั้งปวงย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระราชา
ทรงดำรงอยู่ในธรรม เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บ
ผลดิบมา ผู้นั้นย่อมไม่รู้รสแห่งผลไม้นั้น ทั้งพืชพันธุ์
แห่งต้นไม้นั้นก็ย่อมพินาศ รัฐเปรียบด้วยต้นไม่ใหญ่
พระราชาใดทรงปกครองโดยไม่เป็นธรรม พระราชา
นั้นย่อมไม่รู้จักรสแห่งรัฐนั้น และรัฐของพระราชานั้น
ก็ย่อมพินาศ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บเอาผลสุก ๆ
มา ผู้นั้นย่อมรู้รสแห่งผลไม้นั้น และพืชพันธุ์แห่ง
ต้นไม้นั้นก็ไม่พินาศ รัฐเปรียบด้วยต้นไม่ใหญ่ พระ-
ราชาใดปกครองโดยธรรม พระราชานั้นย่อมทรงทราบ
รสแห่งรัฐนั้น และรัฐของพระราชานั้นก็ไม่พินาศ.

อนึ่ง ขัตติยราชพระองค์ใด ทรงปกครองชนบท
โดยไม่เป็นธรรม ขัตติยราชพระองค์นั้น ย่อมทรงคลาด
จากพระโอสถทั้งปวง อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด ทรง
เบียดเบียนชาวนิคมผู้ประกอบการซื้อขาย กระทำการ
ถวายโอชะและพลีกรรม พระราชาพระองค์นั้นย่อม

คลาดจากส่วนพระราชทรัพย์ พระราชาพระองค์ใด
ทรงเบียดเบียนนายพรานผู้รู้เขตแห่งการประหารอย่าง
ดี และเบียดเบียนทหารผู้กระทำความชอบในสงคราม
เบียดเบียนอำมาตย์ผู้รุ่งเรือง พระราชาพระองค์นั้น
ย่อมคลาดจากพลนิกาย อนึ่ง กษัตริย์ผู้ไม่ประพฤติ
ธรรม เบียดเบียนบรรพชิตผู้แสวงหาคุณ ผู้สำรวม
ประพฤติพรหมจรรย์ กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมคลาด
จากสวรรค์ อนึ่ง พระราชาผู้ไม่ดำรงอยู่ในธรรม ฆ่า
พระชายาผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อมได้ประสบเหตุแห่งทุกข์
อย่างหนัก และย่อมผิดพลาดด้วยพระราชบุตรทั้งหลาย
พระราชาพึงประพฤติธรรมในชาวชนบท ชาวนิคม
พลนิกาย ไม่พึงเบียดเบียนบรรพชิต พึงประพฤติ
สม่ำเสมอในพระโอรสและพระชายา พระราชาผู้เป็น
ภูมิบดีเช่นนั้น เป็นผู้ปกครองบ้านเมือง ไม่ทรงพิโรธ
ย่อมทรงทำให้ผู้อยู่ใกล้เคียงหวั่นไหว เหมือนพระ-
อินทร์ผู้เป็นเจ้าแห่งอสูร ฉะนั้น.

จบมหาโพธิชาดกที่ 3
จบปัญญาสนิบาต

อรรกถามหาโพธิชาดก


พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺนุ
ทณฺฑํ กิมาชินํ
ดังนี้.
เนื้อเรื่องนี้ จักมีแจ่มแจ้งในมหาอุมมังคชาดกข้างหน้า.
ก็ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในกาล
บัดนี้เท่านั้น ถึงในกาลก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญาสามารถย่ำยีวาทะของคนอื่น
ได้เหมือนกัน ดังนี้ จึงทรงนำเอาอดีตนิทานมาตรัสดังนี้ว่า
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงเสวยราชสมบัติ ในเมือง
พาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลผู้สูงสุด มีทรัพย์
สมบัติประมาณได้ 80 โกฏิ ในแคว้นกาสี. มารดาบิดาทำการตั้งชื่อพระโพธิสัตว์
นั้นว่า โพธิกุมาร. โพธิกุหารนั้นเมื่อเจริญวัยเติบโต ได้ศึกษาเล่าเรียน
ศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลาจนจบ แล้วกลับมาตรอบครองเรือนอยู่ ในกาล
ต่อมา ได้ละความสุขอันเกิดแต่กามเสียแล้วเข้าไปยังหิมวันตประเทศ บวช
เป็นปริพาชก มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่านั้นนั่นเองเป็นอาหาร อยู่ได้เป็นเวลานาน
พอถึงเวลาฤดูฝน จึงออกจากป่าหิมพานต์แล้ว เที่ยวจาริกไปจนได้ถึงกรุง
พาราณสีโดยลำดับ เข้าไปอยู่ในพระราชอุทยาน ในวันรุ่งขึ้นเที่ยวไปภิกขาจาร
ในพระนคร โดยความเหมาะสมแก่ปริพาชก จนถึงประตูพระราชนิเวศน์.
พระราชาประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์นั้น ทรง
เลื่อมใสในกิริยาอันสงบเสงี่ยมของท่านรูปนั้น จึงตรัสสั่งให้ราชบุรุษไปนิมนต์
ท่านเข้ามายังที่ประทับของพระองค์ ทรงกระทำปฏิสันถาร ได้ทรงสดับ