เมนู

5. มหาสุตโสมชาดก


ว่าด้วยพระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท


[315] ดูก่อนพ่อครัว เพราะเหตุไรจึงทำกรรม
อันร้ายกาจเช่นนี้ ท่านเป็นคนหลง ฆ่าหญิงและชาย
ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งเนื้อหรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์.

[316] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่ง
ตน ทรัพย์ ลูกเมีย สหายและญาติ แต่พระจอมภูมิบาล
ผู้เป็นนายข้าพเจ้า พระองค์เสวยมังสะเช่นนี้.

[317] ถ้าท่านขวนขวายในกิจของเจ้านาย ทำ
กรรมอันร้ายกาจเช่นนี้ เวลาเช้าท่านเข้าไปถึงภายใน
พระราชวังแล้ว พึงแถลงเหตุนั้น แก่เราเฉพาะ
พระพักตร์พระราชา.

[318] ข้าแต่ท่านกาฬหัตถี ข้าพเจ้าจักกระทำ
ตามที่ท่านสั่ง เวลาเช้าข้าพเจ้าเข้าไปถึงภายในพระ
ราชวังแล้ว จะแถลงเหตุนั้น แก่ท่านเฉพาะพระพักตร์
พระราชา.

[319] ครั้นราตรีสว่างแล้ว พระอาทิตย์อุทัย
กาฬหัตถีเสนาบดีได้พาคนทำเครื่องต้นเข้าเฝ้าพระราชา
แล้ว ได้ทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ได้ทราบ
ด้วยเกล้าว่า พระองค์ทรงใช้พนักงานวิเศษให้ฆ่าหญิง

และชาย พระองค์เสวยเนื้อมนุษย์เป็นความจริงหรือ
พระเจ้าข้า.

[320] จริงอย่างนั้นแหละ ท่านกาฬหัตถี เรา
ใช้พนักงานวิเศษ เมื่อเขาทำกิจเพื่อเรา ท่านบริภาษเขา
ทำใน.

[321] ปลาอานนท์ซึ่งติดอยู่ในรสของปลา
ทุกชนิด กินปลาจนหมด เมื่อบริษัทหมดไป กิน
ตัวเองตาย พระองค์เป็นผู้ประมาทแล้ว ยินดีหนักใน
รส ถ้ายังเป็นพาลไม่ทรงรู้สึกต่อไป จำจะต้องละทิ้ง
พระโอรส พระมเหสี และพระประยูรญาติ กับเสวย
พระองค์เอง เหมือนปลาอานนท์ฉะนั้น เพราะได้
ทรงสดับเรื่องนี้ ขอความพอพระทัยของพระองค์จง
คลายไป ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ว่ามนุษย์ อย่า
ได้โปรดเสวยเนื้อมนุษย์เลย อย่าได้ทรงทำแว่นแคว้น
นี้ให้ว่างเปล่าเหมือนปลาฉะนั้นเลย.

[322] กุฎุมพีนามว่าสุชาต โอรสผู้เกิดแต่ตน
ของเขาไม่ได้ชื่นชมพู่ เขาตายเพราะชิ้นชมพู่สินไป
ฉันใด ดูก่อนท่านกาฬหัตถี เราก็ฉันนั้น ได้บริโภค
อาหารอันมีรสสูงสุดแล้ว ไม่ได้เนื้อมนุษย์ เห็นจัก
ต้องละชีวิตเป็นแน่.

[323] ดูก่อนมาณพ เจ้าเป็นผู้มีรูปงาม เกิด
ในตระกูลพราหมณ์โสตถิยะ เจ้าไม่ควรกินสิ่งที่ไม่
ควรกินนะพ่อ.

[324] บรรดารสทั้งหลาย ปานะนี้ก็เป็นรส
อย่างหนึ่ง เพราะเหตุไร คุณพ่อจึงห้ามผม ผมจักไป
ในสถานที่ที่ผมจักได้รสเช่นนี้ ผมจักออกไปจักไม่อยู่
ในสำนักของคุณพ่อ เพราะผมเป็นผู้ที่คุณพ่อไม่ยินดี
จะเห็นหน้า.

[325] ดูก่อนมาณพ ข้าจักได้บุตรที่เป็นทายาท
แม้เหล่าอื่นเป็นแน่ แน่ะเจ้าคนต่ำทราม เจ้าจงพินาศ
เจ้าจงไปเสียในสถานที่ที่ข้าจะไม่พึงได้ยิน.

[326] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน
พระองค์ก็เหมือนกัน ขอเชิญสดับถ้อยคำของข้า.
พระองค์ เขาจักเนรเทศพระองค์เสีย จากแว่นแคว้น
เหมือนอย่างมาณพนักดื่มสุราฉะนั้น.

[327] สาวกของพวกฤาษีผู้มีตนอันอบรมแล้ว
นามว่าสุชาต เขาปรารถนานางอัปสรจนไม่กินไม่ดื่ม
กามของมนุษย์ในสำนักถามอันเป็นทิพย์ เท่ากับเอา
ปลายหญ้าคาจุ่มน้ำมาเทียบกับน้ำในมหาสมุทร ดูก่อน
ท่านกาฬหัตถี เราได้บริโภคของกินที่มีรสอย่างสูงสุด
แล้ว ไม่ได้เนื้อมนุษย์ เห็นจักต้องละทิ้งชีวิตไปฉะนั้น.

[328] เปรียบเหมือนพวกหงส์ธตรฐสัญจรไป
ทางอากาศ ถึงความตายทั้งหมดเพราะบริโภคอาหาร
ที่ไม่ควร ฉันใด ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน
พระองค์ก็ฉันนั้นแลโปรดทรงสดับถ้อยคำของข้า

พระองค์ พระองค์เสวยมังสะที่ไม่ควร เหตุนั้นเขา
จัดเนรเทศพระองค์.

[329] ท่านอันเราห้ามว่าจงหยุด ก็เดินไม่
เหลียวหลัง ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ท่าน
ไม่ได้หยุด แต่กล่าวว่าหยุด ดูก่อนสมณะ นี้ควร
แก่ท่านหรือ ท่านสำคัญดาบของเราว่า เป็นขนปีกนก
ตะกรุมหรือ.

[330] ดูก่อนพระราชา อาตมาเป็นผู้หยุดแล้ว
ในธรรมของตน ไม่ได้เปลี่ยนนามและโคตร ส่วน
โจรบัณฑิตกล่าวว่าไม่หยุดในโลก เคลื่อนจากโลกนี้
แล้วต้องเกิดในอบายหรือนรก ดูก่อนพระราชา ถ้า
มหาบพิตรทรงเชื่ออาตมา มหาบพิตรจงจับพระเจ้า
สุตโสมผู้เป็นกษัตริย์ มหาบพิตรทรงบูชายัญด้วย
พระเจ้าสุตโสมนั้น จักเสด็จไปสวรรค์ ด้วยประการ
อย่างนี้.

[331] ชาติภูมิของท่านอยู่ถึงในแคว้นไหน
ท่านมาถึงในพระนครนี้ด้วยประโยชน์อะไร ดูก่อน
ท่านพราหมณ์ ขอท่านจงบอกประโยชน์นั้นแก่ข้าพเจ้า
ท่านปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจะให้ตามที่ท่านปรารถนา
ในวันนี้.

[332] ข้าแต่พระจอมธรณี คาถา 4 คาถา มี
อรรถอันลึกประเสริฐนัก เปรียบด้วยสาคร หม่อมฉัน

มาในพระนครนี้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ขอพระองค์
โปรด ทรงสดับ คาถาอันประกอบด้วยประโยชน์อย่าง
ยอดเยี่ยมเถิด.

[333] ชนเหล่าใดมีความรู้ มีปัญญา เป็น
พหูสูต คิดเหตุการณ์ได้มาก ชนเหล่านั้น ย่อมไม่
ร้องไห้ การที่บัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้บรรเทาความ
เศร้าโศก ดูก่อนได้นี้แหละ เป็นที่พึ่งอย่างยอดเยี่ยมของ
นรชน ดูก่อนท่านสุตโสม พระองค์ทรงเศร้าโศกถึง
อะไร พระองค์เอง พระประยูรญาติ พระโอรส
พระมเหสี ข้าวเปลือก ทรัพย์ หรือเงินทอง ดูก่อน
ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด หม่อมฉันขอฟังพระดำรัส
ของพระองค์.

[334] หม่อมฉันมิได้เศร้าโศกถึงตน โอรส
มเหสี ทรัพย์และแว่นแคว้น แต่ธรรมของสัตบุรุษที่
ประพฤติมาแต่เก่าก่อน หม่อมฉันผัดเพี้ยนไว้ต่อ
พราหมณ์ หม่อมฉันเศร้าโศกถึงการผัดเพี้ยนนั้น
หม่อมฉันดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ในแว่นแคว้นของ
ตน ได้ทำการผัดเพี้ยนไว้กับพราหมณ์ (ถ้าพระองค์
ทรงปล่อยหม่อมฉัน ไป หม่อมฉันได้ฟังธรรมนั้นแล้ว)
จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

[335] คนมีความสุขหลุดพ้นจากปากของ
มฤตยูแล้ว จะพึงกลับมาสู่เงื้อมมือของศัตรูอีก ข้อนี้

หม่อมฉันยังไม่เชื่อ ดูก่อนท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด
พระองค์จะไม่เสด็จเข้าใกล้หม่อมฉันละซิ พระองค์
ทรงพ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท เสด็จไปถึงพระราช
มณเฑียรของพระองค์แล้ว จะมัวทรงเพลิดเพลินกาม
คุณารมณ์ ทรงได้พระชนมชีพอันเป็นที่รักแสนหวาน
ที่ไหนจักเสด็จกลับมายังสำนักของหม่อมฉันเล่า.

[336] ผู้มีศีลบริสุทธิ์พึงปรารถนาความตาย ผู้
มีธรรมลามก ที่นักปราชญ์ติเตียน ไม่พึงปรารถนาชีวิต
นรชนใดพึงกล่าวเท็จ เพราะเหตุเพื่อประโยชน์แก่คน
ใด เหตุเพื่อประโยชน์แก่ตนนั้น ย่อมไม่รักษานรชน
นั้นจากทุคติได้เลย ถ้าแม้ลมจะพึงพัดเอาภูเขามาได้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงตกลงมา ณ แผ่นดิน
ได้ และแม่น้ำทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสได้ถึงอย่าง
นั้น หม่อมฉันก็ไม่พึงพูดเท็จเลยพระราชา.

[337] ฟ้าพึงแตกได้ ทะเลพึงแห้งได้ แผ่นดิน
อันทรงไว้ซึ่งภูติพึงพลิกได้ เมรุบรรพตจะพึงเพิกถอน
ได้พร้อมทั้งราก ถึงอย่างนั้น หย่อมฉันก็จะไม่กล่าว
เท็จเลย.

[338] ดูก่อนพระสหาย หม่อมฉันจะจับดาบ
และหอกจะทำแม้การสาบานแก่พระองค์ก็ได้ หม่อม
ฉันอันพระองค์ทรงปล่อยแล้ว เป็นผู้ใช้หนี้หมดแล้ว
จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

[339] การผัดเพี้ยนอันใด อันพระองค์ทรง
ดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ ในแว่นแคว้นของพระองค์
ทรงทำไว้กับพราหมณ์ การผัดเพี้ยนนั้นต่อพราหมณ์
ผู้ประเสริฐ พระองค์จงทรงรักษาความสัตย์เสด็จกลับ
มา.

[340] การผัดเพี้ยนอันใด อันหม่อมฉันผู้ดำรง
อยู่ในความเป็นใหญ่ ในแว่นแคว้นของตน ได้ทำไว้
กับพราหมณ์ การผัดเพี้ยนนั้น ต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ
หม่อมฉันจักรักษาความสัตย์กลับมา.

[341] ก็พระเจ้าสุตโสมนั้น ทรงพ้นจาก
เงื้อมมือของเจ้าโปริสาทแล้ว ได้เสด็จไปตรัสกะ
พราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอฟัง
สตารหาคาถาซึ่งได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ข้าพเจ้า.

[342] ข้าแต่ท่านสุตโสม การสมาคมกับสัต-
บุรุษคราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้นั้น
ไว้ การสมาคมกับอสัตบุรุษ แม้มากครั้งก็รักษาไม่ได้
พึงอยู่ร่วมกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับ
สัตบุรุษ เพราะรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีแต่
ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม ราชรถอันวิจิตรตระการตา
ยังคร่ำคร่าได้ และแม่สรีระก็เข้าถึงชราโดยแต่ ส่วน
ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษ

กับสัตบุรุษเท่านั้นรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่ง
ข้างโน้นของมหาสมุทรเขากล่าวกันว่าไกล ข้าแต่พระ
ราชา ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นัก-
ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลยิ่งกว่านั้น.

[343] คาถาเหล่านี้ชื่อสาหัสสิยา ควรพัน มิใช่
ชื่อสตารหา ควรร้อย ดูก่อนพราหมณ์ เชิญท่านรีบมา
รับเอาทรัพย์สี่พันเถิด.

[344] คาถาควรแปดสิบและควรเก้าสิบ แม้
ควรร้อยก็มี ดูก่อนพ่อสุตโสม พ่อจงรู้ด้วยตนเอง
คาถาชื่อสาหัสสิยา ควรพันมีที่ไหน.

[345] หม่อมฉันปรารถนาความเจริญทางศึกษา
ของตน สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบพึงคบหาหม่อมฉัน ข้า
แต่ทูลกระหม่อม หม่อมฉันไม่อิ่มด้วยสุภาษิต เหมือน
ดังมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยแม่น้ำฉะนั้น ข้าแต่พระราชา
ผู้ประเสริฐสุด ไฟไหม้หญ้าและไม้ย่อมไม่อิ่ม เเละ
สาครก็ไม่อิ่มด้วยแม่น้ำทั้งหลาย ฉันใด แม่บัณฑิต
เหล่านั้นฉันนั้น ได้ฟังคำสุภาษิตแล้ว ย่อมไม่อิ่ม
ด้วยสุภาษิต ข้าแต่พระทูลกระหม่อมจอมประชาชน
เมื่อใดหม่อมฉันฟังคาถาทีมีประโยชน์ต่อทาสของตน
เมื่อนั้น หม่อมฉันย่อมตั้งใจฟังคาถานั้นโดยเคารพ ข้า-
แต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันไม่มีความอิ่มในธรรม
เลย.

[346] รัฐมณฑลของทูลกระหม่อมนี้ บริบูรณ์
ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่างพร้อมทั้งทรัพย์ ยวดยาน
และพระธำมรงค์ ทูลกระหม่อมทรงบริภาษหม่อมฉัน
เพราะเหตุแห่งถามทำไม หม่อมฉันขอทูลลาไปใน
สำนักโปริสาท ณ บัดนี้.

[347] กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ
และกองราบ ล้วนแต่เชี่ยวชาญการธนูพอที่จะรักษา
ตัวได้ เราจะยกทัพไปจับศัตรูฆ่าเสีย.

[348] โปริสาทได้ทำกิจที่ทำได้แสนยาก จับ
หม่อมฉันได้ทั้งเป็นแล้วปล่อยมา หม่อมฉันระลึกถึง
บุรพกิจเช่นนั้นอยู่ ข้าแต่พระทูลกระหม่อมจอมประ-
ชาชน หม่อมฉันจะประทุษร้ายต่อโปริสาทนั้นได้
อย่างไร.

[349] พระเจ้าสุตโสมถวายบังคมพระราชบิดา
และพระราชมารดาทรงอนุศาสน์พร่ำสอนชาวนิคม
และพลนิกรแล้ว เป็นผู้ตรัสคำสัตย์ ทรงรักษาความ
สัตย์ ได้เสด็จไปในสำนักของโปริสาท.

[350] หม่อมฉันผู้ดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ใน
แว่นแคว้นของตน ได้ทำการผัดเพี้ยนไว้กับพราหมณ์
การผัดเพี้ยนนั้น ต่อพราหมณ์ผู้ประเสร็ฐ หม่อมฉัน
เป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมาแล้ว ดูก่อนท่านโปริสาท
เชิญท่านบูชายัญกินเราเถิด.

[351] การกินของหม่อมฉัน ย่อมไม่หายไปใน
ภายหลัง จิตกาธารนี้ก็ยังมีควันอยู่ เนื้อที่สุกบนถ่าน
อันไม่มีควัน ชื่อว่าสุกดีแล้ว หม่อมฉันจะขอฟังสตาร-
หาคาถาเสียก่อน.

[352] ดูก่อนท่านโปริสาท พระองค์เป็นผู้ทรง
ประพฤติไม่ชอบธรรม ต้องพลัดพรากจากรัฐมณฑล
เพราะเหตุแห่งท้อง ส่วนคาถานี้ย่อมกล่าวสรรเสริญ
ธรรม ธรรมและอธรรมจะลงรอยกันได้ที่ไหน คนผู้
ประพฤติไม่ชอบธรรม หยาบช้า มีฝ้ามือชุ่มด้วยเลือด
เป็นนิตย์ย่อมไม่มีสัจจะ ธรรมจักมีแต่ที่ไหน พระองค์
จักทรงทำประโยชน์อะไรด้วยการสดับเล่า.

[353] ผู้ใดเที่ยวล่าเนื้อเพราะเหตุแห่งมังสะ
หรือผู้ใดฆ่าคนเพราะเหตุแห่งตน แม้คนทั้งสองนั้น
ย่อมเสมอกันในโลกเบื้องหน้า เพราะเหตุไรหนอพระ
องค์จึงประณามเฉพาะหม่อมฉันว่า ประพฤติไม่ชอบ
ธรรม.

[354] เนื้อสัตว์ 10 ชนิด อันกษัตริย์ผู้รู้ขัตติย-
ธรรมไม่ควรเสวย ดูก่อนพระราชา พระองค์เสวยเนื้อ
มนุษย์ซึ่งเป็นเนื้อที่ไม่ควรเสวยเพราะฉะนั้น พระองค์
จึงชื่อว่าประพฤติไม่ชอบธรรม.

[355] พระองค์พ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท
เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์แล้ว ทรง


เพลิดเพลินในกามคุณารมฌ์ ยังเสด็จกลับมาสู่เงื้อมมือ
ของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก พระองค์เป็นผู้ไม่ฉลาด
ในขัตติยธรรมเลยนะ พระราชา.

[356] ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในขัตติยธรรม
ชนเหล่านั้นต้องตกนรกโดยมาก พระฉะนั้นหม่อม
ฉันจึงละขัตติยธรรมเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา ดู-
ก่อนท่านโปริสาท เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉัน
เถิด.

[357] ปราสาทราชมณเฑียร แผ่นดิน โค
ม้า หญิงที่น่ารักใคร่ ผ่าแคว้นกาสี และแก่นจันทน์
พระองค์ทรงได้ทุกสิ่งทุกอย่างในพระนครนั้น เพราะ
พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเห็นอานิสงส์อะไร
ด้วยความสัตย์.

[358] รสเหล่าใดมีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะเป็น
รสที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสเหล่านั้น เพราะว่า
สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะย่อมข้ามพ้นฝั่งแห่งชาติ
และมรณะได้.

[359] พระองค์พ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท
เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์แล้ว ทรง
เพลิดเพลินในกามคุณารมณ์ยังเสด็จกลับ มาสู่เงื้อมมือ
ของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก ข้าแต่พระจอมประชาชน
พระองค์ไม่ทรงกลัวความตายแน่ละหรือ พระองค์ผู้
ตรัสคำสัตย์ไม่มีพระทัยท้อแต่ละหรือ

[360] หม่อมฉันได้ทำกัลยาณธรรมหลายอย่าง
ได้บูชายัญอันไพบูลย์ที่บัณฑิตสรรเสริญ ได้ชำระทาง
ปรโลกบริสุทธิแล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัว
ตาย หม่อมฉันได้ทำกัลยาณธรรมหลายอย่าง ได้บูชา
ยัญอันไพบูลย์ที่บัณฑิตสรรเสริญ หม่อมฉันไม่เดือด-
ร้อนที่จักไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญพระ-
องค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉันได้บำรุงพระชนกและพระชนนีแล้ว
ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ชำระทางปรโลก
บริสุทธิ์แล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวตาย
หม่อมฉัน ได้บำรุงพระชนกและพระชนนีแล้ว ได้
ปกครองราชสมบัติโดยธรรม จึงไม่เดือดร้อนที่จัก
ไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญพระองค์
บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉัน ได้กระทำอุปการกิจในพระประยูรญาติ
และมิตร แล้วได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้
ชำระทางปรโลกบริสุทธิแล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่า
จะกลัวตาย หม่อมฉันกระทำอุปการกิจในพระประยูร
ญาติและมิตรแล้ว ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม
จึงไม่เดือดร้อนที่จักไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท
เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉันได้ให้ทานโดยอาการเป็นอันมาก แก่ชน
เป็นอันมาก ได้อุปถัมภ์สมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ

ได้ชำระทางปรโลกให้บริสุทธิ์ ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใคร
เล่าจะกลัวตาย หม่อมฉันได้ให้ทานโดยอาการเป็นอัน
มาก แก่ชนเป็นอันมาก ได้อุปถัมภ์สมณพราหมณ์ ให้
อิ่มหนำสำราญ จึงไม่เดือดร้อนที่จักไปยังปรโลก ดู
ก่อนโปริสาท เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

[361] บุรุษรู้อยู่จะพึงกินยาพิษ หรือจับอสร-
พิษที่มีฤทธิ์ร้ายแรง มีเดชกล้าได้หรือ ผู้ได้พึงกินคน
ผู้กล่าวคำสัตย์เช่นพระองค์ ศีรษะของผู้นั้นพึงแตก
7 เสี่ยง.

[362] นรชนได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมรู้แจ้งบุญ
และบาป ใจของหม่อมฉันจะยินดีในธรรม เพราะได้
ฟังคาถาบ้างกระมัง.

[363] ดูก่อนมหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษ
แม้คราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้นั้นไว้
การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้ง ก็รักษาไม่ได้ พึง
อยู่ร่วมกับสัตบุรุษ. พึงกระทำความสนิทสนมกับสัต-
บุรุษ เพราะรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีแต่
ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม ราชรถอันวิจิตรตระการตา
ยังคร่ำคร่าได้ และแม้สรีระก็เข้าถึงชราโดยแท้ ส่วน
ธรรมของสัตบุรุษุ ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษ
เท่านั้น ย่อมรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้าง
โน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวกันว่าไกลกัน ธรรม

ของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้ง-
หลายกล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น.

[364] ดูก่อนพระสหายผู้จอมประชาชน คาถา
เหล่านี้มีอรรถมีพยัญชนะดี พระองค์ตรัสไพเราะ
หม่อมฉันได้สดับแล้ว เพลิดเพลินปลื้มใจ ชื่นใจ
อิ่มใจ หม่อมฉันขอถวายพร 4 ประการแก่พระองค์.

[365] ดูก่อนท่านผู้มีธรรมอันลามก พระองค์
ไม่รู้สึกความตายของพระองค์ ไม่รู้สึกประโยชน์และ
มิใช่ประโยชน์ นรกและสวรรค์ เป็นผู้คิดในรส ตั้งมั่น
ในทุจริต จะให้พรอะไร หม่อมฉันพึงทูลพระองค์ว่า
ขอให้ทรงประทานพร แม้พระองค์ประทานแล้ว จะ
กลับไม่ประทานก็ได้ ความทะเลาะวิวาทนี้ อันพระ-
องค์จะพึงเห็นเอง ใครจะเข้ามาเป็นบัณฑิตวินิจฉัย
ความทะเลาะวิวาทนี้.

[366] คนเราให้พรใดแล้วจะกลับไม่ให้ ย่อม
ไม่ควรให้พรนั้น ดูก่อนพระสหาย ขอพระองค์จง
ทรงมั่นพระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิตหม่อมฉัน ก็จะสละ
ถวายได้.

[367] ศักดิ์ของพระอริยะย่อมเสมอกับศักดิ์
พระอริยะ ศักดิ์ของผู้มีปัญญาย่อมเสมอกับศักดิ์ผู้มี
ปัญญา หม่อมฉันพึงเห็นพระองค์เป็นผู้หาโรคมิได้
ตลอด 100 ปี นี้เป็นพรข้อที่ 1 หม่อมฉันปรารถนา.

[368] ศักดิ์ของพระอริยะ ย่อมเสมอกับศักดิ์
พระอริยะ ศักดิ์ของผู้มีปัญญา ย่อมเสมอกับศักดิ์ผู้มี
ปัญญา พระองค์พึงเห็นหม่อมฉันผู้หาโรคมิได้ตลอด
100 ปี นี้เป็นพรที่ 1 หม่อมฉันขอถวาย.

[369] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นาม
บัญญัติว่ามูรธาภิสิตเหล่าใด ในชมพูทวีปนี้ พระองค์
อย่าได้เสวยพระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี้เป็นพรข้อที่ 2
หม่อมฉันปรารถนา.

[370] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นาม
บัญญัติว่ามูรธาภิสิตเหล่าใด ในชมพูทวีปนี้ หม่อมฉัน
จะไม่กินพระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี้เป็นพรข้อที่ 2
หม่อมฉันขอถวาย.

[371] กษัตริย์ร้อยเอ็ดพระองค์ ที่พระองค์
ทรงจับร้อยพระหัตถ์ไว้ทรงกันแสง พระพักตร์ชุ่ม
ด้วยพระอัสสุชล ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยกษัตริย์
เหล่านั้น ให้กลับไปในแคว้นของตน ๆ นี้เป็นพรข้อ
ที่ 3 หม่อมฉันปรารถนา.

[372] กษัตริย์ร้อยเอ็ดพระองค์ ที่หม่อมฉัน
ทรงจับร้อยพระหัตถ์ไว้ทรงกันแสง พระพักตร์ชุ่ม
พระอัสสุชล หม่อมฉันจะปล่อยกษัตริย์เหล่านั้น ให้
กลับไปยังแว่นแคว้นของตน ๆ นี้เป็นพรข้อที่ 3
หม่อมฉันขอถวาย.

[373] รัฐมณฑลของพระองค์เป็นช่อง เพราะ
นรชนเป็นอันมากหวาดเสียวเพราะความกลัว หนีเข้า
หาที่ซ่อนเร้น ขอพระองค์โปรดทรงงดเว้นเนื้อมนุษย์
เถิดพระราชา นี้เป็นพรข้อที่ 4 หม่อมฉันปรารถนา.

[374] นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉัน
มานานแล้ว หม่อมฉันเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งอาหารนี้
หม่อมฉันจะพึงงดอาหารนี้ได้อย่างไร ขอพระองค์
ทรงเลือกพรข้อที่ 4 อย่างอื่นเถิด.

[375] ดูก่อนพระจอมประชาชน คนเช่น
พระองค์มัวพะวงอยู่ว่า นี้เป็นที่รักของเรา ทำตนให้
เหินห่างจากความดี ย่อมไม่ได้ประสบสิ่งที่รักทั้งหลาย
ตนแลประเสริฐที่สุด ประเสริฐอย่างยอดเยี่ยม ด้วยว่า
ผู้มีตนอันอบรมแล้วจะพึงได้สิ่งที่รักในภายหลัง.

[376] เนื้อมนุษย์เป็นที่รักของหม่อมฉัน ดูก่อน
พระเจ้าสุตโสม โปรดทรงทราบอย่างนี้ หม่อมฉันไม่
สามารถจะงดเว้นได้ เชิญพระองค์ทรงเลือกพรอย่างอื่น
เถิด พระสหาย.

[377] ผู้ใดแล มัวรักษาของรักว่า นี่เป็นของ
รักของเรา ทำตนให้เหินห่างจากความดี เสพของรัก
ทั้งหลายอยู่ เหมือนนักเลงสุราดื่มสุราเจือยาพิษฉะนั้น
ผู้นั้นย่อมได้รับทุกข์ในโลกหน้า เพราะกรรมอันลามก
นั้น ส่วนผู้ใดในโลกนี้ พิจารณาแล้วละของรักได้

เสพอริยธรรมทั้งหลายแม้ด้วยความยาก เหมือนคน
เป็นไข้ดื่มยาฉะนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับความสุขในโลกหน้า
เพราะกัลยาณกรรมนั้น.

[378] หม่อมฉันสู้ละทิ้งพระชนก และพระ
ชนนี ตลอดทั้งเบญจกามคุณที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ
เข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งเนื้อมนุษย์ หม่อมฉันจะถวาย
พรข้อนั้นแก่พระองค์ได้อย่างไร.

[379] บัณฑิตทั้งหลายไม่กล่าววาจาเป็นสอง
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมมีปฏิญาณเป็นสัตย์โดยแท้ พระ-
องค์ได้ตรัสกะหม่อมฉันว่า เชิญรับพรเถิดพระสหาย
พระองค์ได้ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระดำรัสที่
พระองค์ตรัสย่อมไม่สมกัน.

[380] หม่อมฉันเข้าถึงการได้บาป ความเสื่อม
ยศ เสื่อมเกียรติ บาป ทุจริต ความเศร้าหมองเป็น
อันมาก เพราะเนื้อมนุษย์เป็นเหตุ หม่อมฉันจะพึง
ถวายพรนั้น แก่พระองค์ได้อย่างไร.

[381] คนเราให้พรใดแล้ว จะกลับไม่ให้ ย่อม
ไม่ควรให้พรนั้น ดูก่อนพระสหาย ขอพระองค์ทรงมั่น
พระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิตของหม่อมฉันก็ยอมสละ
ถวายได้.

[382] การสละชีวิตได้นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมมีปฏิญาณเป็นสัจจะโดยแท้

พรที่พระองค์ได้ประทานไว้แล้ว ขอได้โปรดประทาน
เสียโดยพลันเถิด ดูก่อนพระราชาผู้ประเสริฐสุด
พระองค์จงทรงสมบูรณ์ด้วยธรรมข้อนั้นเถิด นรชนพึง
สละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประเสริฐ เมื่อจะ
รักษาชีวิตไว้ พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรม พึง
สละทั้งอวัยวะ ทั้งทรัพย์ และแม้ชีวิตทั้งหมด.

[383] บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจากผู้ใด และชน
เหล่าใด เป็นสัตบุรุษกำจัดความสงสัยของบุรุษนั้นได้
ข้อนั้น เป็นที่พึงที่พำนักของบุรุษนั้น ผู้มีปัญญาไม่พึง
ทำลายไมตรีจากบุคคลนั้น.

[384] นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉัน
มานานแล้ว หม่อมฉันข้าพเจ้าก็เพราะเหตุแห่งอาหารนี้
ดูก่อนพระสหาย ถ้าหาก พระองค์ตรัสขอเรื่องนี้
กะหม่อมฉัน หม่อมฉันยอมถวายพรข้อนี้แด่พระองค์.

[385] พระองค์เป็นศาสดาของหม่อมฉัน และ
เป็นพระสหายของหม่อมฉันด้วย ดูก่อนพระสหาย
หม่อมฉันได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ แม้
พระองค์ก็ขอได้ทรงโปรดกระทำตามคำของหม่อมฉัน
เราทั้งสองจะไปปลดปล่อยด้วยกัน.

[386] หม่อมฉัน เป็นศาสดาของพระองค์ และ
เป็นพระสหายของพระองค์ด้วย ดูก่อนพระสหาย
พระองค์ได้ทรงกระทำตามคำของหม่อมฉัน แม้หม่อม

ฉันก็จะทำตามพระดำรัสของพระองค์ เราทั้งสองจะ
ไปปลดปล่อยด้วยกัน.

[387] พระองค์ทั้งหลาย ไม่พึงประทุษร้ายแก่
พระราชานี้ ด้วยความแค้นว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถูก
เจ้ากัมมาสบาท ผู้มีเท้าด่างเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือ
ร้องไห้หน้าชุ่มด้วยน้ำตา ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรง
รับสัจจปฏิญาณต่อหม่อมฉัน.

[388] หม่อมฉันทั้งหลายจะไม่ประทุษร้ายแก่
พระราชานี้ ด้วยความแค้นว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถูก
เจ้ากัมมาสบาทเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือร่องไห้หน้าชุ่ม
ด้วยน้ำตา หม่อมฉันทั้งหลายขอรับสัจจปฏิญาณต่อ
พระองค์.

[389] บิดาหรือมารดาเป็นผู้มีความกรุณา
ปรารถนาประโยชน์แก่บุตร ฉันใด แม่พระราชา
พระองค์นี้ก็จงเป็นเหมือนพระชนกชนนีของท่าน
ทั้งหลาย และท่านทั้งหลายก็จงเป็นเหมือนโอรส
ฉันนั้น.

[390] บิดาหรือมารดาเป็นผู้มีความกรุณา
ปรารถนาประโยชน์แก่บุตร ฉันใด แม่พระราชา
พระองค์นี้ ขอจงเป็นเหมือนพระชนกชนนีของหม่อม
ฉันทั้งหลาย แม่หม่อมฉันทั้งหลายก็จะเป็นเหมือน
โอรส ฉันนั้น.

[391] พระองค์เคยเสวยกระยาหารอันโอชารส
ล้วนแต่เนื้อสัตว์ 4 เท้าและนก ที่พวกวิเศษปรุงให้
สำเร็จเป็นอย่างดี ดังท้าวสักกรินท์เทวราชเสวยสุธา-
โภชน์ฉะนั้น ไฉนจะทรงละไป ยินดีอยู่ในป่าแต่
พระองค์เดียวเล่า นางกษัตริย์เหล่านั้น ล้วนแต่เอวบาง
ร่างเล็กสะโอดสะองประดับประดาแล้ว แวดล้อม
บำเรอพระองค์ให้เบิกบานพระทัย ดังเทพอัปสร
แวดล้อมพระอินทร์ในทิพยสถานฉะนั้น ไฉนจะทรง
ละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า พระแท่น
บรรทมพนักแดง โดยมากปูลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ล้วน
ลาดด้วยเครื่องลาดอันงดงาม ประดับด้วยเครื่อง
อลังการอันวิจิตร พระองค์เคยทรงบรรทมสำราญ
พระทัยบนท่ามกลางพระแท่นบรรทมเช่นนั้น ไฉนจะ
ทรงละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า เวลา
พลบค่ำมีการฟ้อนรำส่งสำเนียงเสียงตะโพนสำทับ
ดนตรี รับประสานเสียงล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปน
การขับและการประโคมก็ล้วนแต่ไพเราะ ไฉนจะทรง
ละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า พระราช
อุทยานนามว่า มิคชินวัน บริบูรณ์ด้วยบุบผชาติเป็น
อันมาก พระนครของพระองค์ประกอบด้วยพระราช
อุทยานเช่นนี้ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจยิงนัก ทั้งสมบูรณ์
ด้วยม้า รถและคชสาร ไฉนจะทรงละไปยินดีอยู่ในป่า
แต่พระองค์เดียวเล่า.

[392] ในกาฬปักษ์ พระจันทร์ย่อมเสื่อมลง
ทุกวัน ๆ ฉันใด ดูก่อนพระราชา การคบอสัตบุรุษ
ย่อมเปรียบเหมือนกาฬปักษ์ฉะนั้น หม่อมฉันก็เหมือน
กัน อาศัยคนครัวเครื่องต้นเป็นคนชั่วเลวทราม ได้ทำ
บาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ ในศุกลปักษ์
พระจันทร์ย่อมเจริญขึ้น ทุกวัน ๆ ฉันใด การคบ
สัตบุรุษย่อมเปรียบเหมือนศุกลปักษ์ฉะนั้น ข้าแต่
พระเจ้าสุตโสม ขอจงทรงทราบว่า หม่อมฉันก็เหมือน
กัน อาศัยพระองค์จักกระทำกุศลกรรมอันเป็นเหตุให้
ไปสู่สุคติ ข้าแต่พระจอมประชาชน น้ำฝนตกลงใน
ที่ดอนย่อมไม่คงที่ ไม่ขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม้การ
คบอสัตบุรุษของหม่อมฉันก็ย่อมไม่คงที่ เหมือนน้ำใน
ที่ดอนฉันนั้น ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้เป็นนระ
ผู้กล้าหาญอย่างประเสริฐสุด น้ำฝนตกลงในสระย่อม
ขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม่การสมาคมกับสัตบุรุษของ
หม่อมฉัน ก็ย่อมตั้งอยู่ได้นานเหมือนน้ำในสระ
ฉันนั้น การสมาคมกับสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักเสื่อม ย่อม
เป็นอยู่อย่างนั้น แม้ตลอดเวลาที่ชีวิตยังตั้งอยู่ ส่วน
การสมาคมกับอสัตบุรุษย่อมเสื่อมเร็ว เพราะเหตุนั้น
ธรรมของสัตบุรุษย่อมไกลจากอสัตบุรุษ.

[393] พระราชาใดชนะคนที่ไม่ควรชนะ
พระราชานั้นไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา ผู้ใดเอาชนะเพื่อน


ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นเพื่อน ภรรยาใดย่อมไม่กลัวเกรง
สามี ภรรยานั้นไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา บุตรเหล่าใดไม่
เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่แล้ว บุตรเหล่านั้น ไม่ชื่อว่าเป็น
บุตร ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่
ชื่อว่าสภา ชนเหล่าใดไม่พูดเป็นธรรม ชนเหล่านั้น
ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ คนผู้ละราคะ โทสะ โมหะ
ได้แล้วพูดเป็นธรรมนั้นแล ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษบัณฑิต
ผู้อยู่ปะปนกับคนพาล เมื่อไม่พูดใคร ๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็น
บัณฑิต แต่ว่าบัณฑิตเมื่อพูดแสดงอมตธรรม ใคร ๆ
จึงจะรู้ว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงกล่าว
ธรรมให้กระจ่าง พึงยกธงของพวกฤๅษี ฤๅษีทั้งหลาย
มีคำสุภาษิตเป็นธง ธรรมแลเป็นธงของฤๅษีทั้งหลาย.

จบมหาสุตโสมชาดกที่ 5
จบอสีตินิบาต

อรรถกถามหาสุตโสมชาดก



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ
พระอังคุลิมาลเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กสฺมา ตุวํ รสก
อีทิสานิ
ดังนี้.
การบังเกิดและการบรรพชาของพระอังคุลิมาลเถระนั้น บัณฑิตพึง
ทราบโดยพิสดาร ตามนัยที่ท่านพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถา
อังคุลิมาลสูตร ในเรื่องนี้จะได้กล่าวความตั้งแต่พระอังคุลิมาลเถระนั้น ได้กระทำ
ความสวัสดีแก่หญิงผู้มีครรภ์หลงด้วยทำความสัตย์แล้ว จำเดิมแต่นั้นมาก็ได้
อาหารสะดวกขึ้นเจริญวิเวกอยู่ ในกาลต่อมาก็ได้บรรลุพระอรหัน เป็นพระ
อรหันต์มีชื่อปรากฏนับเข้าในภายในพระมหาเถระ 80 องค์ ในกาลนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์
จริง ๆ หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานพระองคุลิมาล ผู้เป็นมหาโจร
มีฝ่ามืออันชุ่มด้วยเลือดร้ายกาจเห็นปานนั้น โดยไม่ต้องใช้ทัณฑะหรือศัสตรา
ทำให้หมดพยศได้ ทรงกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้กระทำกิจที่ทำได้ยากอย่างน่าอัศจรรย์ พระศาสดาประทับ
อยู่ในพระคันธกุฎี ได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น ด้วยทิพโสดก็ทรง
ทราบว่า เราไปวันนี้จักมีอุปการะมาก พระธรรมเทศนาจักเป็นไปอย่างใหญ่
หลวงดังนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จไปยังธรรมสภาด้วยพุทธลีลา
อันหาที่เปรียบมิได้ ประทับนั่งบนอาสนะอันประเสริฐ ที่พวกภิกษุจัดไว้ถวาย
แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย