เมนู

อรรถกถาอสีตินิบาต


อรรถกถาจุลลหังสชาดก


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ
การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า สุมุข ดังนี้.
ความพิสดารว่า บรรดาพวกนายขมังธนู ที่พระเทวทัตเสี้ยมสอนให้
ไปปลงพระชนม์พระตถาคตเจ้าเหล่านั้น คนที่ถูกส่งไปก่อนเขาทั้งหมดกลับมา
รายงานว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมไม่อาจที่จะปลงพระชนม์พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้เลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมี
ฤทธานุภาพใหญ่หลวงยิ่งนัก พระเทวทัตนั้นจึงกล่าวว่า เออช่างเถอะ เจ้าไม่
ต้องปลงพระชนม์พระสมณโคดมดอก เราจักปลงพระชนม์พระสมณโคดม
เอง เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ ร่มเงาเบื้องหลังแห่งภูเขาคิชฌกูฏ
ตนจึงขึ้นไปบนภูเขาคิชฌกูฏเอง แล้วกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ด้วยกำลังแห่งเครื่อง
ยนตร์ ด้วยคิดว่า เราจักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลาก้อนนี้. ในกาล
นั้น ยอดเขาสองยอดก็รับเอาศิลาที่กลิ้งตกลงไปนั้นไว้ได้. แต่สะเก็ดศิลาที่
กะเทาะจากศิลาก้อนนั้น กระเด็นไปต้องพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำพระ-
โลหิตให้ห้อขึ้นแล้ว เวทนามีกำลังเป็นไปทั่วแล้ว . หมอชีวกกระทำการผ่า
พระบาทของพระคถาคตเจ้าด้วยศัสตรา เอาเลือดร้ายออก นำเนื้อร้ายออกจน
หมด ชำระล้างแผลสะอาดแล้ว ใส่ยากระทำให้พระองค์หายจากพระโรค. พระ-
ศาสดาทรงหายเป็นปกติดีแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จ
เข้าไปยังพระนครด้วยพระพุทธลีลาใหญ่ทีเดียว.

ลำดับนั้น พระเทวทัตมองเห็นดังนั้น จึงคิดว่า ใคร ๆ เห็นพระสรีระ
อันถึงแล้ว ซึ่งส่วนอันเลิศด้วยพระรูปพระโฉมของพระสมณโคดม ถ้าเป็น
มนุษย์ ก็ไม่อาจที่จะเข้าไปทำร้ายได้ ก็ช้างของพระราชาชื่อว่า นาลาคิรี มีอยู่
ช้างนั้นเป็นช้างที่ดุร้ายกาจ ฆ่ามนุษย์ได้ เมื่อไม่รู้จักคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์ จักยังพระสมณโคดมนั้นให้ถึงความสิ้นชีวิตได้ เธอจึงไปทูลเนื้อ
ความนั้นแด่พระเจ้าอชาตศัตรูราช พระราชาทรงรับรองว่าดีละ ดังนี้แล้วรับสั่ง
ให้เรียกหานายหัตถาจารย์มาแล้ว ทรงพระบัญชาว่า แน่ะเจ้า พรุ่งนี้เจ้าจงมอม
ช้างนาลาคิรีให้มึนเมาแล้วจงปล่อยไปบนถนน ที่พระสมณโคดมเสด็จมา แต่
เช้าทีเดียว แม้พระเทวทัตก็ถามนายหัตถาจารย์นั้นว่า ในวันอื่น ๆ ช้างนาลาคิรี
ดื่มสุรากี่หม้อ เมื่อเขาบอกให้ทราบว่า 8 หม้อ พระคุณเจ้าผู้เจริญจึงกำชับว่า
พรุ่งนี้ท่านจงให้ช้างนั้นดื่มเพิ่มขึ้นเป็น 16 หม้อแล้ว พึงกระทำให้มีหน้าเฉพาะ
ในถนนที่พระสมณโคดมเสด็จผ่านมา. นายหัตถาจารย์นั้น ก็รับรองเป็นอันดี
พระราชาให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศไปทั่วพระนครว่า พรุ่งนี้นายหัตถา-
จารย์จักมอมช้างนาลาคิรีให้มึนเมาแล้ว จักปล่อยในนคร ชาวเมืองทั้งหลาย
พึงรีบกระทำกิจที่จำต้องกระทำเสียให้เสร็จแต่เช้าทีเดียว แล้วอย่าเดินระหว่าง
ถนน. แม้พระเทวทัตลงจากพระราชนิเวศน์แล้วก็ไปยังโรงช้าง เรียกคนเลี้ยง
ช้างมาสั่งว่า ดูก่อนพนายทั้งหลาย เราสามารถจะลดคนมีตำแหน่งสูงให้ต่ำและ
เลื่อนคนมีตำแหน่งต่ำให้สูงขึ้น ถ้าพวกเจ้าต้องการยศ พรุ่งนี้เช้า จงช่วยกัน
เอาเหล้าอย่างแรง กรอกช้างนาลาคิรีให้ได้ 16 หม้อ ถึงเวลาพระสมณโคดม
เสด็จมา จงช่วยกันแทงช้างด้วยปลายหอกซัด ยั่วยุให้มันอาละวาดให้ทำลายโรง
ช้าง ช่วยกันล่อให้หันหน้าตรงไปในถนนที่พระสมณโคดมเสด็จมา แล้วให้
พระสมณโคดมถึงความสิ้นชีวิต. พวกคนเลี้ยงช้างเหล่านั้น พากันรับรอง

เป็นอันดี. พฤติการณ์อันนั้นได้เซ็งแซ่ไปทั่วพระนคร. เหล่าอุบาสกผู้นับถือ
พระพุทธเจ้า. พระธรรม พระสงฆ์ ได้ทราบข่าวนั้น ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระ-
ศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัตสมคบกันกับพระเจ้า
อชาตศัตรูราช ให้ปล่อยช้างนาลาคิรีในหนทางที่พระองค์จะเสด็จไปในวันพรุ่ง
นี้ เพราะฉะนั้นในวันพรุ่งนี้ ขอพระองค์อย่าได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตเลย จง
ประทับอยู่ในที่นี้เถิด พวกข้าพระองค์ จักถวายภิกษา แก่ภิกษุสงฆ์มีพระ
พุทธองค์เป็นประมุขในวิหารนี้แล. พระศาสดามิได้ตรัสรับคำว่า พรุ่งนี้เราจัก
ไม่เข้าไปบิณฑบาต ทรงพระดำริว่า ในวันพรุ่งนี้ เราจักทรมานช้างนาลาคิรี
กระทำปาฏิหาริย์ทรมานพวกเดียรถีย์ จักเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์. มี
ภิกษุแวดล้อมเป็นบริวาร ออกจากพระนครไปยังพระเวฬุวันมหาวิหารทีเดียว.
พวกชนชาวเมืองราชคฤห์ จักถือเอาภาชนภัตเป็นอันมากมายังวิหารเวฬุวัน
เหมือนกัน พรุ่งนี้ โรงภัตจักมีในวิหารทีเดียว แล้วทรงรับอาราธนาแก่พวก
อุบาสกเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ พวกอุบาสกเหล่านั้นทราบความว่า ทรงรับอาราธนา
ของพระตถาคตเจ้าแล้ว จึงพากันกล่าวว่า พวกเราจักนำภาชนภัตมาถวายทาน
ในวิหารทีเดียว แล้วหลีกไป.
แม้พระศาสดาทรงแสดงธรรมในปฐมยาม ทรงแก้ปัญหาของเทวดา
ในมัชฌิมยาม ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ในส่วนแรกแห่งปัจฉิมยาม ทรงเข้าผล
สมาบัติในส่วนที่ 2 แห่งปัจฉิมยาม ในส่วนที่ 3 แห่งปัจฉิมยาม ทรงเข้า
พระกรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูเหล่าเวไนยสัตว์อันมีอุปนิสัยที่จะได้ตรัสรู้ธรรม
พิเศษ ทอดพระเนตรเห็นการตรัสรู้ธรรมของสัตว์ 8,400 ในเวลาการทรง
ทรมานช้างนาลาคิรี ครั้นราตรีกาลสว่างไสวแล้ว ก็ทรงกระทำการชำระพระ-
สรีระแล้ว ตรัสเรียกพระอานนท์ผู้มีอายุมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจง

บอกแก่ภิกษุแม้ทั้งหมดในมหาวิหาร 18 แห่ง อันตั้งเรียงรายอยู่ในเมือง
ราชคฤห์เพื่อให้เข้าไปในเมืองราชคฤห์พร้อมกันกับเรา. พระเถระได้กระทำตาม
พระพุทธฎีกาแล้ว. พวกภิกษุทั้งหมดมาประชุมกันในพระเวฬุวัน พระศาสดา
มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมืองราชคฤห์.
ลำดับนั้น พวกคนเลี้ยงช้างก็ปฏิบัติตามพระเทวทัตสั่ง. สมาคมใหญ่ได้มีแล้ว
พวกมนุษย์ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธากล่าวกันว่า ได้ยินว่า ในวันนี้ พระพุทธเจ้า
ผู้มหานาคกับช้างนาลาคิรีซึ่งเป็นสัตว์ดิรัจฉาน จักกระทำสงครามกัน พวกเรา
จักได้เห็นการทรมานช้างนาลาคิรีด้วยพุทธลีลา อันหาที่เปรียบมิได้ จึงพากัน
ขึ้นสู่ปราสาทห้องแถวและหลังคาเรือนแล้วยืนดู. ฝ่ายพวกมิจฉาทิฏฐิผู้หาศรัทธา
มิได้ก็พากันกล่าวว่า ช้างนาลาคิรีเชือกนี้ดุร้ายกาจ ฆ่ามนุษย์ได้ไม่รู้จักคุณ
แห่งพระพุทธเจ้าเช่นกัน วันนี้ช้างเชือกนั้น จักขยี้สรีระอันมีพรรณดุจทองคำ
ของพระโคดม จักให้ถึงความสิ้นชีวิต พวกเราจักได้เห็นหลังปัจจามิตรในวัน
นี้ทีเดียว แล้วได้พากันขึ้นไปยืนดูบนต้นไม้และปราสาทเช่นกัน . แม้ช้าง
นาลาคิรีพอเหลือบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา จึงยังมนุษย์ทั้งหลายให้สะดุ้ง
กลัว ทำลายบ้านเรือนเป็นอันมาก ขยี้บดเกวียนเสียแหลกละเอียดเป็นหลายเล่น
ยกงวงขึ้นชู มีหูกางหางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ประหนึ่งว่า
ภูเขาเอียงเข้าทับพระพุทธองค์ ฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงกราบทูล
เนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างนาลาคิรีเชือก
นี้ ดุร้ายกาจฆ่ามนุษย์ได้ วิ่งตรงมานี่ ก็ช้างนาลาคิรีนี้มิได้รู้จักพระพุทธคุณ
เป็นต้นแล ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จกลับเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตเจ้า
จงเสด็จกลับเสียเถิด. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่า
ได้กลัวไปเลย เรามีกำลังสามารถพอที่จะทรมานช้างนาลาคิรีเชือกนี้ได้.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ ทูลขอโอกาสกะพระศาสดาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่ากิจที่บังเกิดขึ้นแก่บิดา ย่อมเป็นภาระของ
บุตรคนโต ข้าพระองค์ผู้เดียวจะขอทรมานช้างเชือกนี้. ลำดับนั้น พระศาสดา
จึงตรัสห้ามพระสารีบุตรนั้น ว่าดูก่อนสารีบุตร ขึ้นชื่อว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้า
เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนกำลังของพวกสาวกเป็นอีกอย่างหนึ่ง เธอจงยับยั้งอยู่เถิด.
พระเถระผู้ใหญ่ 80 โดยมากต่างก็พากันทูลขอโอกาสอย่างนี้เหมือนกัน.
พระศาสดาตรัสห้ามพระมหาเถระเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. ลำดับนั้น ท่าน
พระอานนท์ ไม่สามารถจะทนดูอยู่ได้ ด้วยความรักมีกำลังในพระศาสดาจึง
คิดว่า ช้างเชือกนี้ จงฆ่าเราเสียก่อนเถิด ดังนี้แล้ว ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์
แก่พระตถาคตเจ้า ได้ออกไปยืนอยู่เบื้องพระพักตร์แห่งพระศาสดา. ลำดับนั้น
พระศาสดาจึงตรัสกะท่านว่า อานนท์ เธอจงหลีกไป อานนท์ เธอจงหลีกไป
เธออย่ามายืนขวางหน้าตถาคต. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ดุร้ายกาจ
ฆ่ามนุษย์ได้ เป็นเช่นกับไฟบรรลัยกัลป์ จงฆ่าข้าพระองค์เสียก่อนแล้ว จึงมา
ยังสำนักของพระองค์ในภายหลัง. พระอานนทเถระ แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้าม
อยู่ถึง 3 ครั้ง ก็ยังคงยืนอยู่อย่างนั้นทีเดียวมิได้ถอยกลับมา. ลำดับนั้น
พระศาสดาจึงให้พระอานนท์ถอยกลับมาด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ แล้วประทับยืนอยู่
ในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. ในขณะนั้น หญิงคนหนึ่งเห็นช้างนาลาคิรี มีความ
สะดุ้งกลัวย่อมรณภัย จึงวิ่งหนี ทิ้งทารกที่ตนอุ้มเข้าสะเอวไว้ในระหว่างกลาง
แห่งช้างและพระตถาคตเจ้า แล้ววิ่งหนีไป. ช้างวิ่งไล่ตามหญิงนั้นแล้วกลับมา
ยังที่ใกล้ทารก. ทารกจึงร้องเสียงดัง พระศาสดาทรงแผ่เมตตาไปยังช้างนาลาคิรี
ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะยิ่งนักดุจเสียงพรหม รับสั่งร้องเรียกว่า แน่ะ
เจ้าช้างนาลาคิรีที่เจริญ เขาให้เจ้าดื่มเหล้าถึง 16 หม้อ มอมเมาเสียจนมึนมัว

ใช่ว่าเขากระทำเจ้าด้วยประสงค์ว่า จักให้จับคนอื่นก็หาไม่ แต่เขากระทำด้วย
ประสงค์จะให้จับเรา เจ้าอย่าเที่ยวอาละวาดให้เมื่อยขาโดยใช่เหตุเลย จงมานี่เถิด
ช้างนาลาคิรีเชือกนั้น พอได้ยินพระดำรัสของพระศาสดา จึงลืมตาขึ้นดูพระรูป
อันเป็นสิริของพระผู้มีพระภาคเจ้า กลับได้ความสังเวชใจ หายเมาสุราด้วยเดช
แห่งพระพุทธเจ้า จึงห้อยงวงและลดหูทั้งสองข้าง ไปหมอบอยู่แทบพระบาท
ทั้งสองของพระตถาคตเจ้า.
ลำดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะช้างนาลาคิรีนั้นว่า ดูก่อนเจ้าช้าง
นาลาคิรี เจ้าเป็นช้างสัตว์ดิรัจฉาน เราเป็นพุทธะเหล่าช้างตัวประเสริฐ ตั้งแต่
นี้ไป เจ้าจงอย่าดุร้าย อย่าหยาบคาย อย่าฆ่ามนุษย์ จงได้เฉพาะจึงเมตตาจิต
ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกไปลูบที่กระพองแล้ว ตรัสพระคาถาว่า
เจ้าช้างมีงวง เจ้าอย่าเบียดเบียนช้างตัวประเสริฐ
(หมายถึงพระตถาคตเจ้า) แน่ะเจ้าช้างมีงวง เพราะว่า
การเบียดเบียนช้างตัวประเสริฐ เป็นเหตุนำความทุกข์
มาให้ แน่ะเจ้าช้างมีงวง ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาจนกาล
บัดนี้ ผู้ฆ่าช้างตัวประเสริฐ ย่อมไม่ได้พบสุคติเลย
เจ้าอย่าเมา เจ้าอย่าประมาท ด้วยว่าผู้ประมาทแล้ว
ย่อมไปสู่สุคติไม่ได้ เจ้าจงกระทำหนทางที่จะพาตัวเจ้า
ไปสู่สุคติเถิด.

พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยประการฉะนี้ สรีระทั้งสิ้นของช้างนั้น
ได้เป็นร่างกายมีปีติถูกต้องแล้วหาระหว่างคั่นมิได้. ถ้าไม่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ก็จักได้บรรลุโสดาปัตติผล. มนุษย์ทั้งหลายเห็นปาฏิหาริย์นั้น ต่างพากันส่งเสียง
ปรบมืออยู่อื้ออึง พวกที่เกิดความโสมนัสยินดีก็โยนเครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ ไป

เครื่องอาภรณ์เหล่านั้น ก็ไปปกคลุมสรีระของช้าง. ตั้งแต่วันนั้นมา ช้าง
นาลาคิรีก็ปรากฏนามว่า ธนปาลกะ ก็ในขณะนั้น สัตว์ 84,000 ในสมาคม
แห่งช้างธนปาลกะก็ได้ดื่มน้ำอมฤต. พระศาสดาทรงให้ช้างธนปาลกะตั้งอยู่ใน
ศีล 5 ประการ ช้างนั้นก็เอางวงดูดละอองธุลีพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วเอาโปรยลงบนหัวของตน ย่อตัวถอยหลังออกมายืนอยู่ในที่อุปจาร พอ
แลเห็นถวายบังคมพระทศพลกลับเข้าไปยังโรงช้าง. ตั้งแต่วันนั้นมา ช้าง
นาลาคิรีนั้น ก็กลายเป็นช้างที่ได้รับการฝึกแล้วเชือกหนึ่ง ในบรรดาช้างที่ได้
รับการฝึกแล้วทั้งหลายอย่างนี้ ไม่เคยเบียดเบียนใครให้เดือดร้อนอีกต่อไปเลย.
พระศาสดาทรงสำเร็จสมดังมโนรถแล้ว ทรงอธิษฐานว่า ทรัพย์สิ่งของอันใด
อันผู้ใดทิ้งไว้แล้ว ทรัพย์สิ่งของอันนั้นจงเป็นของผู้นั้นตามเดิม แล้วทรง
พระดำริว่า วันนี้เราได้กระทำปาฏิหาริย์อย่างใหญ่แล้ว การเที่ยวจาริกไปเพื่อ
บิณฑบาตในพระนครนี้ไม่สมควร ทรงทรมานพวกเดียรถีย์แล้ว มีภิกษุสงฆ์
แวดล้อมเป็นบริวาร ประดุจกษัตริย์ที่มีชัยชนะแล้วเสด็จออกจากพระนคร
ทรงดำเนินไปยังพระวิหารเวฬุวันทีเดียว. แม้พวกชนชาวเมืองก็พากันถือเอา
ข้าวน้ำและของเคี้ยวเป็นอันมากไปยังวิหาร ยังมหาทานให้เป็นไปทั่วแล้ว ใน
เวลาเย็นวันนั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันเต็มธรรมสภาสนทนากันว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย พระอานนทเถระเจ้าผู้มีอายุ ได้ยอมเสียสละชีวิตของท่านเพื่อ
ประโยชน์แก่พระตถาคตเจ้า ชื่อว่ากระทำกรรมที่กระทำได้ยาก ท่านเห็นช้าง
นาลาคิรีแล้ว แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง 3 ครั้ง ก็ยังไม่ถอยไป ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย น่าสรรเสริญพระอานนท์เถรเจ้าผู้มีอายุ กระทำสิ่งซึ่งยากที่จะ
กระทำได้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำสรรเสริญเกียรติคุณของ
พระอานนท์นั้น ด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ จึงทรงพระดำริว่า ถ้อยคำสรรเสริญ

เกียรติคุณของอานนท์กำลังเป็นไปอยู่ เราควรจะไปในที่นั้น จึงเสด็จออกจาก
พระคันธกุฎี เสด็จไปยังโรงธรรมสภาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันนี้
พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเล่าหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้
ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระพุทธเจ้าข้า จึงตรัสว่า ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่
ถึงเมื่อกาลก่อน ครั้งอานนท์เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็ได้เคยสละชีวิตเพื่อ
ประโยชน์แก่ (เรา) ตถาคตแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเฉยอยู่ เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา จึงได้ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า สาคละ
สวยราชสมบัติอยู่โดยธรรมในสาคลนคร ในแคว้นมหิสกะ. ในกาลนั้น ใน
หมู่บ้านนายพรานแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลจากพระนคร มีนายพรานคนหนึ่งเอา
บ่วงดักนกมาเที่ยวขายในพระนครเลี้ยงชีวิตอยู่. ก็ในที่ไม่ไกลจากพระนคร มี
สระบัวหลวงอยู่สระหนึ่งชื่อมานุสิยะ สระกว้างยาวประมาณ 12 โยชน์ สระนั้น
ดาดาษไปด้วยดอกบัว 5 ชนิด. มีหมู่นกต่างเพศต่างพรรณมาลงที่สระนั้น
นายพรานนั้นดักบ่วงไว้ โดยมิได้เลือกว่าเป็นนกชนิดไร. ในกาลนั้น พญาหงส์
ธตรฐ มีหงส์เก้าหมื่นหกพันตัวเป็นบริวารอาศัยอยู่ในถ้ำทองใกล้ภูเขาจิตตกูฏ.
มีหงส์ตัวหนึ่งชื่อ สุมุขะ ได้เป็นเสนาบดีของพญาหงส์นั้น กาลครั้งนั้น หงส์ทอง
2 - 3 ตัวจากฝูงหงส์นั้น บินไปยังมานุสิยสระ เที่ยวไปในสระนั้น ซึ่งมีที่หากิน
อย่างพอเพียงตามความสบาย แล้วกลับมายังภูเขาจิตตกูฏ บอกแก่พญาหงส์
ธตรฐว่า ข้าแต่มหาราช มีสระบัวแห่งหนึ่ง ชื่อมานุสิยะ อยู่ในถิ่นของมนุษย์
มีที่เที่ยวแสวงหาอาหารอย่างสมบูรณ์ พวกข้าพเจ้าจะไปหาอาหารในสระนั้น
พญาหงส์นั้นจึงห้ามว่า ขึ้นชื่อว่าถิ่นของมนุษย์ ย่อมเป็นที่น่ารังเกียจ มาก
ไปด้วยภัยเฉพาะหน้า อย่าได้ชอบใจแก่พวกเจ้าเลย ถูกหงส์เหล่านั้นรบเร้าอยู่

บ่อย ๆ จึงกล่าวว่า ถ้าสระนั้น ย่อมเป็นที่ถูกใจของพวกท่าน เราก็จะไป
ด้วยกัน จึงพร้อมด้วยบริวารได้ไปยังสระนั้น พญาหงส์ธตรฐนั้น พอร่อนลง
จากอากาศ ก็เอาเท้าถลำเข้าไปติดบ่วงอยู่ทีเดียว. ลำดับนั้น บ่วงของนายพราน
นั้น ก็รัดเท้าเอาไว้แน่น ดุจถูกรัดด้วยซี่เหล็กฉะนั้น. ลำดับนั้นพญาหงส์จึง
ฉุดบ่วงมาด้วยคิดว่า เราจักทำบ่วงให้ขาด ครั้งแรกหนึ่งถลอกปอกหมด
ครั้งที่สองเนื้อขาด ครั้งที่สามเอ็นขาด ในครั้งทีสี่บ่วงนั้นเข้าไปถึงกระดูก
โลหิตไหลนอง เวทนามีกำลังเป็นไปทั่วแล้ว. พญาหงส์นั้น จึงคิดว่า ถ้าเรา
ร้องว่าติดบ่วง พวกญาติของเราก็จะพากันสะดุ้งตกใจกลัว ไม่ทันได้กินอาหาร
ถูกความหิวแผดเผาแล้ว ก็จะหนีไปตกลงในมหาสมุทรเพราะหมดกำลัง.
พญาหงส์นั้นพยายามอดใจทนต่อทุกขเวทนา จนถึงเวลาพวกหงส์ที่เป็นญาติ
ทั้งหลายกินอาหารอิ่มแล้ว กำลังเล่นเพลินอยู่ จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า
ติดบ่วง. หงส์ทั้งหลายได้ยินเสียงดังนั้น มีความกลัวต่อมรณภัยเป็นกำลัง
ต่างก็คุมกันเป็นพวก ๆ บ่ายหน้าไปยังภูเขาจิตตกูฏบินไปโดยเร็ว เมื่อหงส์
เหล่านั้นพากันกลับไปหมดแล้ว สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดีคิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้น
แก่มหาราชของเราหรือไม่หนอ เราจักทราบถึงเรื่องนั้น จึงบินไปโดยเร็วไว
มองไม่เห็นพระมหาสัตว์ ในระหว่างหมู่หงส์ที่ไปอยู่ข้างหน้า จึงมาค้นดูฝูงกลาง
ก็มิได้เห็นพระมหาสัตว์แม้ในที่นั้น จึงตรวจค้นฝูงสุดท้ายก็มิได้เห็นพระ-
มหาสัตว์ แม้ในที่นั้นอีก จึงแน่ใจว่า ภัยนั้นบังเกิดขึ้นแก่พญาหงส์นั้น โดย
ไม่ต้องสงสัยทีเดียว จึงรีบกลับมายังที่เดิมเห็นพระมหาสัตว์ติดบ่วงยืนเกาะอยู่
บนหลังตม มีโลหิตไหลนองทนทุกขเวทนาอย่างสาหัส จึงบอกว่า ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์อย่าได้กลัวไปเลย แล้วกล่าวว่า ข้าพระองค์จักสละชีวิตของข้าพระองค์
จักยังพระองค์ให้หลุดจากบ่วง จึงบินร่อนลงมาปลอบพระมหาสัตว์เกาะอยู่บน

หลังตม. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทดลองใจสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าว
คาถาเป็นปฐมว่า
ดูก่อนสุมุขะ ฝูงหงส์พากันบินหนีไปไม่เหลียว-
หลัง แม้ท่านก็จงไปเสียเถิด อย่าหวังอยู่ในที่นี้เลย
ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วง ย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุวิจินนฺตา ได้แก่ ไม่ห่วงใยด้วย
ความรัก คือด้วยความอาลัย. บทว่า ปกฺกมนฺติ ความว่า พญาหงส์นั้น
กล่าวว่า ฝูงหงส์ทั้งหลายซึ่งล้วนเป็นหมู่ญาติของเรา เป็นจำนวนหงส์มีประมาณ
เก้าหมื่นหกพันตัวเหล่านั้น มิได้มองดูเราด้วยอำนาจความอาลัยรัก ทิ้งเราแล้ว
บินหนีไปหมด ถึงตัวท่านก็จงรีบหนีไปเสียเถิด อยู่หวังการอยู่ในที่นี้เลย
ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่า ความเป็นสหายในตัวเรา ย่อมไม่มีผลเพราะการติดบ่วงอย่างนี้
อธิบายว่า บัดนี้เราไม่อาจที่จะกระทำกิจด้วยความเป็นสหายสักน้อยหนึ่งแก่ท่าน
ได้เลย เราไม่สามารถจะกระทำอุปการะได้ จะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ท่าน
อย่าชักช้าเลย จงรีบบินหนีไปเสียเถิดนะ.
เบื้องหน้าแต่นั้น สุมุขหงส์กล่าวว่า
ข้าพระองค์จะพึงไปหรือไม่พึงไป ความไม่
ตายก็ไม่พึงมี เพราะการไปหรือการไม่ไปนั้น เมื่อ
พระองค์มีความสุขจึงอยู่ใกล้ เมื่อพระองค์ได้รับความ
ทุกข์จะพึงละไปอย่างไรได้ ความตายพร้อมกับพระองค์
หรือว่าความเป็นอยู่เว้นจากพระองค์ ความตายนั้นแล
ประเสริฐกว่า เว้นจากพระองค์แล้ว จะพึงเป็น
อยู่ประเสริฐอะไร ข้าแต่พระมหาราชจอมหงส์

ข้าพระองค์พึงละทิ้งพระองค์ซึ่งทรงถึงทุกข์อย่างนี้ ข้อ
นี้ไม่เป็นธรรมเลย คติของพระองค์ ข้าพระองค์ย่อม
ชอบใจ.

ในลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า
คติของเราผู้ติดบ่วงจะเป็นอื่นไปอย่างไรเล่า
นอกจากเข้าโรงครัวใหญ่ คตินั้นย่อมชอบใจ แก่
ท่านผู้มีความคิด ผู้พ้นแล้วอย่างไร ดูก่อนสุมุขหงส์
ท่านจะพึงเห็นประโยชน์อะไร ในการสิ้นชีวิตของเรา
และของท่านทั้งสอง หรือของพวกญาติที่เหลือ ดูก่อน
ท่านผู้มีปีกทั้งสองดังสีทอง เมื่อท่านยอมสละชีวิตใน
เพราะคุณอันไม่ประจักษ์ ดังคนตาบอดกระทำแล้วใน
ที่มืด จะพึงยังประโยชน์อะไรให้รุ่งเรืองได้.

สุมุขหงส์กล่าวตอบว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าฝูงหงส์ทั้งหลาย
ทำไมหนอ พระองค์จึงไม่ทรงรู้อรรถในธรรม
ธรรมอันบุคคลเคารพแล้ว ย่อมแสดงประโยชน์แก่
สัตว์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นั้นเพ่งเล็งอยู่ ซึ่งธรรมและ
ประโยชน์อันตั้งจากธรรม ทั้งเห็นพร้อมอยู่ ซึ่งความ
ภักดีในพระองค์ จึงมิได้เสียดายชีวิต ความที่มิตร เมื่อ
ระลึกถึงธรรม ไม่พึงทอดทิ้งมิตรในยามทุกข์ แม้
เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
โดยแท้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวว่า
ธรรมนี้นั้นท่านประพฤติแล้ว และความภักดี
ในเราก็ปรากฏแล้ว ท่านจงทำตามความปรารถนา
ของเรานี้เถิด ท่านเป็นอันเราอนุมัติแล้ว จงไปเสีย
เถิด ดูก่อนท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็แลเมื่อกาล
ล่วงไปอย่างนี้ คือ เมื่อเราติดบ่วงอยู่ในที่นี้ ท่านพึง
กลับไปปกครองหมู่ญาติทั้งหลายของเราให้จงดีเถิด.
เมื่อสุวรรณหงส์ตัวประเสริฐ ประพฤติธรรม
อันประเสริฐ กำลังโต้ตอบฉันอยู่ด้วยประการฉะนี้
นายพรานได้ปรากฏแล้ว เหมือนดังมัจจุราชปรากฏ
แก่บุคคลผู้ป่วยหนัก ฉะนั้น สุวรรณหงส์ทั้งสอง
เกื้อกูลกันมาสิ้นกาลนานนั้น เห็นศัตรูเดินมาแล้ว ก็
นิ่งเฉยมิได้เคลื่อนจากที่ ฝ่ายนายพราน ผู้เป็นศัตรู
ของพวกนก เห็นพญาหงส์ธตรฐจอมหงส์กำลัง
เดินส่ายไปมาแต่ที่นั้น ๆ จึงรีบเดินเข้าไป ก็นาย
พรานนั้นครั้นรีบเดินเข้าไปแล้ว เกิดความสงสัยขึ้นว่า
หงส์ทั้งสองนั้นติดบ่วงหรือไม่ จึงค่อยลดความเร็วลง
ค่อย ๆ เดินเข้าไปให้ใกล้สุวรรณหงส์ทั้งสอง ได้เห็น
ตัวหนึ่งติดบ่วง อีกตัวหนึ่งไม่ติดบ่วง แต่มายืนอยู่ใกล้
ตัวที่ติดบ่วง จึงเพ่งดูตัวที่ติดบ่วงที่เป็นโทษ ลำดับนั้น
นายพรานนั้นเป็นผู้มีความสงสัย จึงได้กล่าวถามสุมุข-
หงส์ตัวมีผิวพรรณเหลือง มีร่างกายใหญ่ เป็นใหญ่ใน

หมู่หงส์ ซึ่งยืนอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ พญาหงส์
ที่ติดบ่วงใหญ่ ย่อมไม่กระทำซึ่งทิศ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เพราะเหตุไร ท่านผู้ไม่ติดบ่วง เป็นผู้มีกำลัง จึงไม่บิน
หนีไป พญาหงส์นี้เป็นอะไรกับท่านหรือ ท่านพ้น
แล้วทำไมจึงยังเฝ้าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่ หงส์ทั้งหลายพา
กันละทิ้งหนีไปหมด เพราะเหตุไร ท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว.

สุมุขหงส์จึงกล่าวตอบว่า
ดูก่อนนายพรานนก พญาหงส์นั้นเป็นราชา
ของเรา ทั้งเป็นเพื่อนเสมอด้วยชีวิตของเราด้วย เรา
จึงไม่ละท่านไปจนกว่าจะถึงที่สุดแต่งกาละ

นายพราน จึงกล่าวว่า
ก็ไฉนพญาหงส์นี้ จึงไม่เห็นบ่วงที่ดักไว้
ความจริงการรู้อันตรายของตน เป็นเหตุของบุคคล
ผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ใหญ่เหล่านั้น
ควรรู้อันตราย.

สุมุขหงส์ จึงกล่าวตอบว่า
เมื่อใดมีความเสื่อม เมื่อนั้น สัตว์แม้เข้าไป
ในข่ายหรือบ่วงก็ไม่รู้สึก ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิต.

นายพราน จึงกล่าวว่า
ดูก่อนท่านผู้มีปัญญามาก ก็แลบ่วงทั้งหลาย
ที่เขาดักไว้มีมากอย่าง สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ามาติด
บ่วงที่เขาดักอำพรางไว้ ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิต
อย่างนี้.

เนื้อความแห่งคาถาเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในบท
บาลีทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คจฺเฉ วา ความว่า สุมุขหงส์นั้นกล่าวว่า
ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์พึงไปจากที่นี้หรือไม่ไปก็ตามเถิด แต่ที่ข้าพระองค์
จะพึงไม่ตายเพราะการไปหรือการไม่ไปนั้นไม่มีเลย เพราะว่าข้าพระองค์ ถึงจะ
ไปจากที่นี้หรือไม่ไปคงไม่พ้นจากความตายไปได้เป็นแน่แท้ ก็ในกาลก่อนแต่
นี้ พระองค์มีความสุข ข้าพระองค์ก็ได้อยู่ใกล้ชิด บัดนี้พระองค์กำลังได้รับทุกข์
ข้าพระองค์จะทอดทิ้งไปเสียอย่างไรได้. บทว่า มรณํ วา ความว่า เมื่อ
ข้าพระองค์ไม่ไป พึงตายเสียพร้อมกับพระองค์อย่างหนึ่ง หรือเมื่อข้าพระองค์
ไป แต่มีชีวิตอยู่เว้นจากพระองค์อย่างหนึ่ง ในสองอย่างนี้ การตายเสียพร้อม
กันกับพระองค์นั้นแล เป็นของประเสริฐของข้าพระองค์ยิ่งนัก ส่วนการที่
ข้าพระองค์จะพึงมีชีวิตอยู่เว้นเสียจากพระองค์นั้น ไม่เป็นของประเสริฐแก่ข้า-
พระองค์เลย. บทว่า รุจฺจเต ความว่า ความสำเร็จนั้นแล ย่อมเป็นที่ชอบใจ
ของข้าพระองค์. บทว่า สา กถํ ความว่า ดูก่อนสุมุขหงส์ผู้เป็นสหาย เมื่อ
เราติดบ่วงที่ทำด้วยหนังสัตว์ร้ายอย่างมั่นคงไปแล้วในมือของบุคคลอื่น คตินั้น
จึงเป็นที่ชอบใจก่อน แต่เมื่อท่านมีความคิดมีปัญญาพ้นจากบ่วงแล้ว ยังเป็น
ที่ชอบใจอยู่อย่างไร. บทว่า ปกฺขิมา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยขนปีก. บทว่า
อภินฺนํ ความว่า เมื่อเราแม้ทั้งสองสิ้นชีวิตไปแล้ว ท่านยังจะเห็นประโยชน์
อะไรของเรา ของท่านหรือของพวกญาติที่เหลือ. อักษร ในคำว่า ยนฺน นี้
ใช้ในความอุปมา. บทว่า กญฺจนเทปิจฺฉ ได้แก่ มีขนปีกทั้งสองประดุจสีทอง
อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน ความว่า มีปีกทั้งสองข้างเช่นกับทอง.
บทว่า ตมสา ได้แก่ ในความมืด อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
อักษร ข้างต้นเชื่อมความกับบทนี้. บทว่า กตํ ความว่า ประหนึ่งว่ากระทำ

แล้ว มีคำกล่าวอธิบายว่า เมื่อท่านจะยอมสละชีวิตก็ตาม ชีวิตของเราก็ไม่
รอดแน่ การสละชีวิตของท่านนั้น จึงชื่อว่าไม่ประจักษ์คุณเพราะไม่ได้รับ
ประโยชน์แม้สักน้อยหนึ่งเลย เปรียบเหมือนคนตาบอด กระทำในที่มืด. ท่าน
มายอมเสียสละชีวิตในการเสียสละอันไม่ประจักษ์คุณของท่านเช่นนี้ จะพึงยัง
ประโยชน์อะไรให้รุ่งเรืองได้. บทว่า ธมฺโม อปจิโต สนฺโต ความว่า ธรรม
ที่บุคคลบูชาแล้ว นับถือแล้ว เคารพแล้ว. บทว่า อตฺถํ ทสฺเสติ ได้แก่
แสดงถึงความเจริญ. บทว่า อเปกฺขาโน คือพิจารณาอยู่. บทว่า ธมฺมา จตฺถํ
ความว่า อนึ่งข้าพระองค์เห็นอยู่ ซึ่งประโยชน์อันตั้งขึ้นแล้วจากธรรม. บทว่า
ภตฺตึ คือความรักเยื่อใย. บทว่า สตํ ธมฺโม คือเป็นสภาวะของบัณฑิตทั้ง
หลาย. บทว่า โย มิตฺโต ความว่า มิตรใดไม่พึงทอดทิ้งมิตรในเวลาได้รับ
อันตราย ธรรมนี้แลชื่อว่าเป็นสภาพของมิตรผู้ไม่ทอดทิ้งอยู่นั้น ธรรมของ
สัตบุรุษทั้งหลายแจ่มแจ้งแล้ว คือปรากฏแล้วโดยแท้. บทว่า กามํ กรสฺสุ
ความว่า ท่านจงกระทำตามความปรารถนาของเรา คือตามถ้อยคำของเราที่
เราปรารถนาไว้นี้. บทว่า อปิเตฺววํ คเต กาเล ความว่า ก็แลเมื่อกาล
เวลาผ่านไปแล้วอย่างนี้ คือเมื่อเราติดบ่วงอยู่ในที่นี้. บทว่า ปรมสํวุตํ คือ
พึงระแวดระวังอย่างแข็งแรง.
บทว่า อิจฺเจวํ มนฺตยนฺตานํ ได้แก่ กำลังกล่าวขอร้องกันอยู่อย่างนี้
ว่า ท่านจงไป เราไม่ไป ดังนี้. บทว่า อริยานํ คือเป็นผู้ประเสริฐด้วยความ
ประพฤติ. บทว่า ปจฺจนิสฺสถ ความว่า นายพรานนุ่งผ้าย้อมฝาดประดับ
พวงมาลาสีแดง ถือค้อนกำลังเดินมาอยู่ทีเดียว ปรากฏขึ้นแก่หงส์ทั้ง 2. บทว่า
อาตุรานํ คือ ประดุจดังพระยามัจจุราชปรากฏแก่คนไข้ทั้งหลาย ฉะนั้น.
บทว่า อภิสิญฺจิกฺข ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุวรรณหงส์แม้ทั้งสอง

เหล่านั้นเห็นศัตรูเดินมาอยู่. บทว่า หิตา ได้แก่ เป็นผู้อุดหนุนกัน มีจิต
รักใคร่สนิทสนมซึ่งกันและกันมาเป็นเวลาช้านาน. บทว่า น จลญฺเจสุํ ได้แก่
มิได้เคลื่อนจากที่ คงเกาะอยู่ตามเดิมทีเดียว. ด้วยว่า สุมุขหงส์คิดว่า นายพราน
นี้มาแล้ว ถ้าต้องการประหารก็จงประหารเราก่อน จึงนั่งเกาะบังพระมหาสัตว์
ไว้เบื้องหลัง. บทว่า ธตรฏฺเฐ หมายเอาหมู่หงส์ธตรฐทั้งหลาย. บทว่า
สมุฑฺเฑนฺเต ความว่า นายพรานเห็นหงส์นั้นกำลังเดินกลับไปกลับมาข้างโน้น
ข้างนี้เพราะกลัวตาย. บทว่า อาสชฺช ได้แก่ เข้าไปจนใกล้หงส์ทั้งสองนอกนี้.
บทว่า ปจฺจกมฺปิตฺถ ได้แก่ นายพรานคิดใคร่ครวญอยู่ว่า หงส์นั้นติดบ่วง
หรือยังไม่ติด จึงค่อย ๆ ย่อง คือลดความเร็วเสียแล้วได้ค่อย ๆ เดินไป. บทว่า
อาสชฺช พนฺธํ ความว่า นายพรานเห็นสุมุขหงส์เกาะอยู่ใกล้พระมหาสัตว์
ซึ่งติดบ่วงอยู่. บทว่า อาทีนวํ ได้แก่ นายพรานเห็นพระมหาสัตว์ซึ่งเป็น
โทษทีเดียวมองดูอยู่. บทว่า วิมโต ความว่า นายพรานนั้นเกิดความสงสัย
ขึ้นว่า เหตุไรหนอ หงส์ตัวทีไม่ติดบ่วงจึงได้เกาะอยู่ใกล้ชิดกับตัวที่ติดบ่วง
เราจักถามดูให้รู้เหตุ. บทว่า ปณฺฑเร หมายเอาสุมุขหงส์นั้น อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า เป็นสัตว์บริสุทธิ์ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ มีสีเหมือนทองที่เขา
หลอมไว้ดีแล้ว. บทว่า ปวฑฺฒกาเย ได้แก่ มีร่างกายอันเติบโตแล้วมี
ร่างกายใหญ่โต. คำว่า ยนฺนู หมายเอาหงส์ตัวที่ติดบ่วงใหญ่นี้. บทว่า ทิสํ
น กุรุเต
อธิบายว่า ไม่ยอมคบแม้สักทิศหนึ่ง การกระทำดังนั้นเป็นการ
สมควรแล้ว. บทว่า พลี คือเป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลัง. นายพรานย่อมเรียก
หงส์นั้นว่า สัตว์มีปีก. บทว่า โอหาย คือทิ้งไปแล้ว. บทว่า ยนฺติ ความว่า
ฝูงหงส์ที่เหลือพากันบินไปหมด. บทว่า อวหียสิ แปลว่า เหลืออยู่. บทว่า
ทิชามิตฺต คือ ไม่เป็นมิตรแก่พวกนกทั้งหลาย. บทว่า ยาว กาลสฺส

ปริยายํ ได้แก่ จนกว่าวาระสุดท้ายแห่งความตายจะมาถึง. บทว่า กถํ ปนายํ
ความว่า ท่านกล่าวว่า พญาหงส์นั้นเป็นพระราชาของท่าน ธรรมดาว่าพระราชา
ทั้งหลายย่อมเป็นบัณฑิต ก็พระราชาของท่านเป็นบัณฑิต แม้ด้วยประการฉะนี้
เพราะเหตุไร จึงมิได้เห็นบ่วงที่ดักไว้ เพราะว่าธรรมดาอันนี้ ย่อมเป็นบท
อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า ความรู้สึกในอันตรายของตน ย่อมเป็นบท คือเป็นเหตุ
ของบุคคลทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ใหญ่ด้วยยศ หรือความเป็นผู้ใหญ่
ด้วยความรู้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้น จึงควรรู้ถึงอันตราย. บทว่า
ปราภโว คือ ความไม่เจริญ. บทว่า อาสชฺชาปิ คือ ถึงหากจะเข้าไปจน
ใกล้ชิดก็ไม่รู้สึกตัว. บทว่า ตตา คือ ล่อไว้ ซุ่มไว้. บทว่า คุยฺหมาสชฺช
ความว่า บรรดาบ่วงเหล่านั้น บ่วงใดที่อำพรางไว้คือลวงไว้ สัตว์ทั้งหลาย
เข้าใกล้บ่วงนั้น ย่อมถูกรัดรึง. บทว่า อเถวํ ความว่า เมื่อถึงคราวสิ้นชีวิต
อย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมถูกรึงรัดติดอยู่เป็นแน่แท้ทีเดียว.
สุมุขหงส์นั้น กระทำนายพรานให้เป็นผู้มีน้ำใจอ่อน ด้วยการเจรจา
ปราศรัยด้วยประการฉะนี้แล้ว เพื่อจะขอชีวิตของพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาว่า
เออก็การอยู่ร่วมกันกับท่านนี้ พึงมีสุขเป็นกำไร
หนอ และขอท่านอนุญาต แก่ข้าพเจ้าทั้งสองเถิด แล
ขอท่านพึงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ นายํ ตัดบทเป็น อปิ นุ อยํ.
บทว่า สุขุทฺรโย คือมีผลเป็นสุข. บทว่า อปิ โน อนุมญฺญาสิ ความว่า
ขอท่านพึงอนุญาตให้ข้าพเจ้าทั้งสองกลับไปยังภูเขาจิตตกุฏเพื่อเยี่ยมญาติทั้งหลาย
เถิด. บทว่า อปี รน ซีวิตํ ทเท ความว่า อนึ่ง ท่านมีความคุ้นเคยบังเกิด
แล้วด้วยถ้อยคำนี้ จึงอยู่พึงฆ่าข้าพเจ้าทั้งสองเสียเลย.

นายพรานถูกจรึงด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวานของสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าว
คาถาว่า
เรามิได้ผูกท่านไว้ และไม่ปรารถนาจะฆ่าท่าน
เชิญท่านรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา แล้วจงอยู่
เป็นสุขตลอดกาลนานเถิด.

ลำดับนั้น สุมุขหงส์จึงกล่าวคาถา 4 คาถาว่า
ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ โดยเว้นจาก
ชีวิตของพญาหงส์นี้ ถ้าท่านยินดีเพียงตัวเดียว ขอ
ให้ท่านปล่อยพญาหงส์นี้ และจงกินข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
ทั้งสองเป็นผู้เสมอกัน ด้วยรูปทรงสัณฐานและวัย
ท่านไม่เสื่อมแล้วจากลาก ขอท่านจงเปลี่ยนข้าพเจ้า
กับพญาหงส์นี้เถิด เชิญท่านพิจารณาดูในข้าพเจ้า
ทั้งสอง เมื่อท่านมีความปรารถนาเฉพาะตัวเดียว จง
เอาบ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน จงปล่อยพญาหงส์ใน
ภายหลัง ถ้าท่านทำตามที่ข้าพเจ้าขอร้อง ลาภของท่าน
ก็คงมีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน ทั้งท่านจะได้เป็น
มิตรกับฝูงหงส์ธตรฐจนตลอดชีวิตด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตํ ความว่า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาความ
เป็นอยู่ของข้าพเจ้าโดยปราศจากชีวิตของพญาหงส์นี้เลย. บทว่า ตุลฺยสฺมา
ได้แก่ ข้าพเจ้าทั้งสองย่อมเป็นผู้สม่ำเสมอกัน. บทว่า นิมินา ตุวํ คือ
ท่านจงแลกเปลี่ยนตัวกันเสียเถิด. บทว่า ตวสฺมสุ ความว่า สุมุขหงส์นั้น
กล่าวว่า ท่านมีความปรารถนาในข้าพเจ้าทั้งสอง ท่านจะประโยชน์อะไร

ด้วยพญาหงส์นี้ จงยังความโลภให้เกิดในข้าพเจ้า. บทว่า ตาวเทว คือ
เพียงเท่านั้นแล. บทว่า ยาจนาย จ ได้แก่ คำขอร้องของข้าพเจ้าอันใด
ขอท่านพึงกระทำตามคำขอร้องนั้นเถิด.
นายพรานก็มีใจอ่อนลงอีก เพราะการแสดงธรรมนั้น ประดุจปุยนุ่น
ที่เขาใส่ลงในน้ำมัน ฉะนั้น เมื่อจะยกพระมหาสัตว์ให้เป็นรางวัลแก่สุมุขหงส์
นั้น จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
มิตร อำมาตย์ ทาส ทาสี บุตร ภรรยา และ
พวกพ้องหมู่ใหญ่ทั้งหลาย จงดูพญาหงส์ธตรฐ
พ้นจากที่นี้ไปได้เพราะท่าน บรรดามิตรทั้งหลายเป็น
อันมาก มิตรเช่นท่านนั้นหามีในโลกนี้ เหมือนท่าน
ผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิต ของพญาหงส์ธตรฐไม่ เรา
ยอมปล่อยสหายของท่าน พญาหงส์จงบินตามท่าน
ไปเถิด ท่านทั้งสองจงรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา
จงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ตยา มุตฺตํ
ความว่า จริงอยู่ ท่านตัวเดียวชื่อว่า ย่อมปล่อยพญาหงส์นี้ เพราะฉะนั้น หมู่
ญาติอันใหญ่ทั้งหลาย และเป็นมิตรกันเหล่านั้น จงดูพญาหงส์นี้ที่ท่านปล่อย
แล้ว จึงไปสู่ภูเขาจิตตกูฏจากที่นี้. คำว่า พวกพ้อง ในคาถานี้ หมายเอา
บุคคลที่เกี่ยวข้องกันทางสายโลหิตอันเดียวกัน. บทว่า วิชฺชเร คือ ไม่เคยมี.
บทว่า ปาณสาธารโณ คือ มีชีวิตร่วมกัน มีชีวิตที่แยกออกจากกันไม่ได้.
อธิบายว่า ท่านเป็นสหายของพญาหงส์นี้ด้วยประการใด แม้ชนทั้งหลายมาก
ด้วยกันเหล่าอื่น ชนที่ชื่อว่าเป็นมิตรเช่นท่านนี้ ย่อมไม่มีด้วยประการนั้น.

บทว่า ตวานุโค ความว่า ท่านจงพาพญาหงส์ซึ่งกำลังได้รับความลำบากนี้
บินไปข้างหน้า พญาหงส์นี้จงบินติดตามท่านไปข้างหลังเถิด.
บุตรของนายพราน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเดินเข้าไปใกล้พระ-
มหาสัตว์ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา ตัดบ่วงออกแล้วสวมกอดอุ้มออกจาก
สระ ให้จับอยู่ที่พื้นหญ้าแพรกอ่อนใกล้ขอบสระ ค่อย ๆ แก้บ่วงที่รัดเท้าออก.
ด้วยจิตอันอ่อนโยน ขว้างทิ้งเสียในที่ไกล เกิดมีความรักใคร่ในพระมหาสัตว์
อย่างเหลือกำลัง จึงไปตักน้ำมาล้างเลือดให้แล้ว ลูบคลำอยู่บ่อย ๆ ด้วยเมตตา
จิต. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของบุตรนายพรานนั้น เอ็นกับเอ็น เนื้อกับเนื้อ
หนังกับหนังที่เท้าของพระโพธิสัตว์ก็ติดสนิทหายเป็นปกติดีอย่างเดิมในขณะนั้น
ทีเดียว ข้อเท้าของพระมหาสัตว์ก็งอกขึ้นเต็ม มีผิวงดงามผ่องใส มีขนงอกงาม
เกิดขึ้นเหมือนอย่างเดิมเหมือนกับเท้าไม่เคยถูกบ่วงรัดมาแต่ก่อนเลย. พระ-
โพธิสัตว์ได้รับความสุขอยู่โดยความเป็นปกติทีเดียว. ลำดับนั้น สุมุขหงส์ได้
ทราบว่า พระมหาสัตว์มีความสุขสบายเพราะอาศัยตน ก็เกิดความโสมนัสยินดี
ได้กระทำการชมเชยนายพรานแล้ว.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
สุมุขหงส์มีความเคารพนาย มีความปลื้มใจ
เพราะพญาหงส์เป็นนายหลุดพ้นจากบ่วง เมื่อจะ
กล่าววาจาอันรื่นหูได้กล่าวว่า ดูก่อนนายพราน ขอให้
ท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวงจงเบิกบานใจเหมือน
ข้าพเจ้าเบิกบานใจในวันนี้ เพราะได้เห็นพญาหงส์
พ้นจากบ่วง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วงฺกงฺโค ได้แก่ น้อมคอลงเคารพ.
บทว่า เอวํ ลุทฺทก ความว่า สุมุขหงส์กระทำความชมเชยนายพรานอย่างนี้
แล้ว ได้ทูลพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นายพรานนี้กระทำอุปการะ
อย่างใหญ่แก่เราทั้งสอง ด้วยว่า นายพรานนี้ไม่กระทำตามคำของข้าพระองค์แล้ว
กระทำเราทั้งสองไว้ในหงส์กีฬาแล้ว ให้แก่อิสรชนทั้งหลาย จึงจะพึงได้รับ
ทรัพย์เป็นอันมาก หรือว่าฆ่าเราทั้งสองเสียแล้วเอาเนื้อขาย ก็ย่อมได้รับทรัพย์
เป็นอันมากเหมือนกัน แต่ขามิได้เห็นแก่ชีวิตของตัว จึงได้กระทำตามคำของ
ข้าพระองค์ เราทั้งสองควรนำนายพรานไปยังสำนักของพระราชา แล้วกระทำ
ชีวิตของเขาให้เป็นสุข. พระมหาสัตว์ก็เห็นด้วย สุมุขหงส์ กล่าวกับพระมหา-
สัตว์ด้วยภาษาของตนแล้ว จึงเรียกบุตรนายพรานมาถามด้วยภาษาของมนุษย์อีก
ว่า แน่ะสหาย ท่านดักบ่วงเพื่ออะไร เมื่อได้รับคำตอบว่า เพื่อต้องการทรัพย์
จึงกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจงพาเราทั้งสองเข้าไปยังพระนครแล้วแสดง
แก่พระราชา ข้าพเจ้าทั้งสองจักยังพระราชาให้พระราชทานทรัพย์เป็นจำนวน
มากแก่ท่าน แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
เชิญท่านมานี่เถิด เราจักบอกท่านถึงวิธีที่ท่าน
จักได้ทรัพย์ เป็นลาภของท่าน พญาหงส์ธตรฐนี้
ย่อมไม่มุ่งร้ายอะไร ๆ ท่านจงรีบไปภายในบุรี จง
แสดงข้าพเจ้าทั้งสองซึ่งไม่ติดบ่วง เป็นอยู่ตามปกติ จับ
อยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้าง แก่พระราชาว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า หงส์ธตรฐทั้งสองนี้เป็นอธิบดีแห่งหงส์ทั้ง
หลาย เพราะว่าหงส์ตัวนี้เป็นราชาของหงส์ทั้งหลาย
ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี พระราชาจอม

ประชาชนทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว ก็จะ
ทรงปลาบปลื้มพระหฤทัย จักพระราชทานทรัพย์เป็น
อันมาก. แก่ท่านโดยไม่ต้องสงสัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสิกฺขามิ แปลว่า แนะนำ. บทว่า
ปาปํ คือ ลามก. บทว่า รญฺโญ ทสฺเสหิ โน อุโภ ความว่า ท่านจงแสดง
ข้าพเจ้าแม้ทั้งสองนี้แด่พระราชา. สุมุขหงส์กล่าวอย่างนี้ด้วยเหตุ 4 ประการ
คือ แสดงอานุภาพแห่งปัญญาพระโพธิสัตว์ 1 เพื่อยังมิตรธรรมของตนให้
ปรากฏแจ่มแจ้ง 1 เพื่อให้นายพรานได้ทรัพย์ 1 เพื่อยังพระราชาให้ตั้งอยู่ใน
ศีล 1. บทว่า ธตรฏฺฐา ความว่า ก็แลครั้นท่านนำข้าพเจ้าทั้งสองไปแล้ว
จงกราบทูลแด่พระราชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หงส์ตัวเป็นอธิบดีของ
หงส์ทั้งหลาย ทั้งสองนี้เกิดในตระกูลธตรฐ บรรดาหงส์ทั้งสองตัวเหล่านี้ ตัว
นี้เป็นพระราชา ตัวนอกนี้เป็นเสนาบดี ท่านจงยังพระราชานั้นให้สำเหนียกรู้
ด้วยประการฉะนั้น . คำแม้ทั้ง 3 มีคำว่า ปติโต ดังนี้เป็นต้น เป็นคำที่แสดง
อาการดีพระทัยทีเดียว.
เมื่อสุมุขหงส์กล่าวอย่างนี้แล้ว นายพรานจึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ท่าน
ทั้งสองอย่าได้ชอบใจการเข้าไปเฝ้าพระราชาเลย ธรรมดาว่า พระราชาทั้งหลาย
มีพระทัยกลับกลอก พึงกระทำท่านไว้ในหังสกีฬา หรือมิฉะนั้น ก็จะฆ่าท่านทั้ง
สองเสีย เมื่อสุมุขหงส์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านอย่ากลัวเลย แม้บุคคลที่มีน้ำใจ
เหี้ยมโหดเป็นนายพราน มีฝ่ามือเปื้อนเลือดเช่นอย่างท่าน ข้าพเจ้ายังทำให้ใจ
อ่อนลงแล้วหมอบอยู่แทบเท้าทั้ง 2 ของข้าพเจ้าได้ด้วยธรรมกถา ธรรมดาว่า
พระราชาทั้งหลาย เป็นผู้มีพระปัญญาและมีบุญย่อมทรงรู้จักด้วยถ้อยคำอันเป็น
พุทธภาษิต ขอท่านจงรีบนำข้าพเจ้าทั้งสองไปแสดงแก่พระราชาเถิด จึงกล่าว

ว่า ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งสองอย่าโกรธเรานะ เราจะนำไปตามความประสงค์ของ
ท่านทั้งสองเท่านั้น แล้วจึงอุ้มสุวรรณหงส์ทั้งสอง ใส่ลงในกระเช้านำไปยัง
ราชตระกูลแสดงแก่พระราชา เมื่อพระราชาตรัสถามก็กราบทูลเรื่องราวตาม
ความเป็นจริงให้ทรงทราบทุกประการ.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
นายพรานได้สดับคำของสุมุขหงส์ ดังนั้น
แล้ว จัดแจงการงานเสร็จแล้ว รีบเข้าไปภายใน
บุรี แสดงหงส์ทั้งสองที่มิได้ติดบ่วง เป็นอยู่ตามปกติ
จับ อยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้างแก่พระราชาว่า ข้าแต่มหา-
ราช หงส์ธตรฐทั้งสองนี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์ทั้งหลาย
เพราะว่าหงส์ตัวนี้เป็นราชาของหงส์ทั้งหลาย ส่วน
หงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี.

พระราชาทรงสดับคำนั้น จึงตรัสถามว่า
ก็หงส์ทั้งสองนี้มาอยู่ในเงื้อมมือของท่านได้
อย่างไร ท่านเป็นพรานนำหงส์ซึ่งเป็นใหญ่ แก่หงส์
ใหญ่ทั้งหลายมาในที่นั้นได้อย่างไร.

นายพราน จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระจอมประชากร ข้าพระองค์ดักบ่วง
เหล่านี้ไว้ที่เปือกตม ซึ่งเป็นที่ ๆ ข้าพระองค์เข้าใจว่า
จะกระทำความสิ้นชีวิตแก่นกทั้งหลายได้ พญาหงส์
ได้มาตดบ่วงเช่นนั้น ส่วนหงส์ตัวนั้นได้ติดบ่วงของ
ข้าพระองค์ แต่เข้ามาจับอยู่ใกล้ ๆ พญาหงส์นั้น ได้

กล่าวกะข้าพระองค์ หงส์นี้ประกอบแล้วด้วยธรรม ได้
กระทำกรรมอันแสนยากที่บุคคล ผู้มิใช่พระอริยจะพึง
ทำได้ ประกาศภาวะอันสูงสุดของตนพยายามใน
ประโยชน์ของนาย หงส์นี้ควรจะมีชีวิตอยู่ ยอมสละ
ชีวิตของตนมายืนสรรเสริญคุณของนาย ร้องขอชีวิต
ของนาย ข้าพระองค์ได้สดับคำของหงส์นี้แล้วเกิด
ความเลื่อมใส จึงปล่อยพญาหงส์นั้นจากบ่วง และ
อนุญาตให้กลับได้ตามสบาย สุมุขหงส์มีความเคารพ
นาย มีความปลื้มใจ เพราะพญาหงส์ตัวเป็นนายหลุด
พ้นจากบ่วง เมื่อจะกล่าววาจาอันรื่นหู ได้กล่าวว่า
ดูก่อนนายพราน ขอให้ท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวง
จงเบิกบานใจ เหมือนข้าพเจ้าเบิกบานใจในวันนี้
เพราะได้เห็นพญาหงส์พ้นจากบ่วง ฉะนั้น เชิญท่าน
มานี่ เราจักบอกท่าน ถึงวิธีที่ท่านจักได้ทรัพย์อันเป็น
ลาภของท่าน พญาหงส์ธตรฐนี้ ย่อมไม่มุ่งร้ายอะไร ๆ
ท่านจงรีบเข้าไปภายในบุรี จงแสดงข้าพเจ้าทั้งสองซึ่ง
ไม่ติดบ่วง เป็นอยู่ตามปกติ จับอยู่ที่กระเช้าทั้งสอง
ข้าง แก่พระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช หงส์ธตรฐทั้ง
สองนี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์ทั้งหลาย เพราะว่าหงส์ตัว
นี้เป็นราชของหงส์ทั้งหลาย ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัคร-
มหาเสนาบดี พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน ทอดพระ
เนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว จะทรงปราโมทย์ปลาบ-

ปลื้มพระหฤทัย จักพระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก
แก่ท่าน โดยไม่ต้องสงสัย ข้าพระองค์จึงนำหงส์
ทั้งสองนี้มา ตามคำของหงส์ตัวนี้อย่างนี้ และหงส์
ทั้งสองนี้ ข้าพระองค์อนุญาตให้ไปยังเขาจิตตกูฏ
นั้นแล้ว หงส์ตัวนี้ เป็นสัตว์ประกอบด้วยธรรมอย่างยิ่ง
ตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูอย่างนี้ ได้ทำให้นายพราน
เช่นกับข้าพระองค์เกิดความเป็นผู้มีใจอ่อนโยน ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่เคยเห็นเครื่อง
บรรณาการอย่างอื่นนอกจากนี้ ที่จะนำมาถวายแด่
พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ ขอพระองค์
ทรงทอดพระเนตรดูเครื่องบรรณาการการนั้น ณ บ้าน
พรานนกทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมุนา อุปทายิ ความว่า สุมุขหงส์
นั้นได้กล่าวคำใด นายพรานก็ได้กระทำตามคำนั้นให้สำเร็จด้วยกายกรรม. บทว่า
คนฺตฺวา อธิบายว่า นายพรานจัดแจงกระทำกระเช้าทางด้านที่พญาหงส์จับ
ให้สูง กระทำกระเช้าทางด้านที่หงส์ที่เป็นเสนาบดีจับให้ต่ำลงเล็กน้อยแล้ว อุ้ม
เอาหงส์ทั้งสองนั้นใส่ลงในกระเช้า ยังมหาชนให้แตกตื่นกันมาดูด้วยคำว่า
พญาหงส์และหงส์ที่เป็นเสนาบดีจะไปเฝ้าพระราชา ท่านทั้งหลายจงคอยดูเถิด
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายพากันร่าเริงอยู่ว่า พญาหงส์ตัวมีสีเหมือนทอง ถึงความเป็น
เลิศด้วยความงามเห็นปานนี้ พวกเรายังไม่เคยเห็นเลย ดังนี้ ก็รีบเข้าไปภาย
ในเมือง บทว่า อทสฺสยิ ความว่า นายพรานให้ราชบุรุษเข้าไปกราบทูล
แด่พระราชาว่า พญาหงส์นาเฝ้าพระองค์ เมื่อพระราชามีพระทัยยินดีตรัสสั่ง
ให้เรียกมาว่า จงเข้ามาเถิด จึงรีบนำเข้าไปแสดง. บทว่า หตฺถตฺถํ ท่าน

กล่าวอธิบายไว้ว่า มาแล้วคือถึงแล้วในมือ. บทว่า มหานฺตานํ ความว่า
พระราชาตรัสถามว่า ตัวท่านเป็นนายพราน ได้บรรลุถึงความเป็นนายผู้ใหญ่
ของเหล่าหงส์ธตรฐ ซึ่งมีผิวพรรณดังทอง ถึงแล้วซึ่งความเป็นใหญ่ด้วยยศ
ได้อย่างไร. พระบาลีว่า ท่านถึงความเป็นใหญ่ในที่นี้ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า
ท่านได้ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แก่หงส์ทั้งสองนี้ได้อย่างไร. บทว่า วิหิตา คือ
ประกอบแล้ว. บทว่า ยํ ยทายตนํ มญฺเญ ความว่า ข้าแต่มหาราช ข้า
พระองค์ย่อมสำคัญสถานที่อันเป็นที่ประชุมใด ๆ ซึ่งเป็นที่รัดรึงชีวิตแห่งนกทั้ง
หลาย คือเป็นที่กระทำความสิ้นไปแห่งชีวิตไว้ ข้าพระองค์ก็ดักบ่วงทั้งหลาย
ในเปือกตมทั้งหลายในที่นั้น ๆ. บทว่า ตาทิสํ ได้แก่ พญาหงส์นาติดเครื่อง
รัดรึงชีวิตอย่างนั้น ซึ่งข้าพระองค์ดักไว้ในสระชื่อมานุสิยะ. บทว่า ปาสํ คือ
บ่วงที่ผูกไว้ในสระนั้น. บทว่า อุปาสีโน คือมิได้คิดถึงชีวิตของตัวเข้าไปจับ
อยู่ใกล้ ๆ. บทว่า มมายํ ความว่า หงส์ที่เป็นเสนาบดีนี้ได้ปราศรัยกับข้า
พระองค์ คือได้กล่าวกับข้าพระองค์. บทว่า สุทุกฺกรํ ความว่า หงส์นี้ได้
กระทำกรรมที่บุคคลผู้มิใช่อริยะ เช่นพวกเรากระทำได้โดยแสนยาก. บทว่า
ทหเต ภาวมุตฺตมํ ความว่า หงส์นั้นย่อมประกาศ คือเปิดเผยอัธยาศัยอันสูง
สุดของตน. บทว่า อตฺตโนยํ ตัดบทเป็น อตฺตโน อยํ. บทว่า อนุตฺถุนนฺโต
ความว่า พรรณนาคุณของนายแล้วกล่าวอ้อนวอนข้าพระองค์ว่า ขอท่านจงให้
ชีวิตแก่พญาหงส์นี้เสียเถิด. บทว่า ตสฺส ความว่า เนื้อหงส์นั้นพูดอ้อน
วอนอยู่อย่างนี้ ข้าพระองค์ก็ได้อนุญาตว่า ท่านจงกลับไปยังภูเขาจิตตกูฏตาม
สบาย จงเห็นหมู่ญาติเถิด. บทว่า เอติเถว หิ ความว่า ก็หงส์ทั้งสองนี้ ข้า-
พระองค์ได้อนุญาตให้กลับไปยังภูเขาจิตตกูฏใกล้มานุสิยสระนี้ทีเดียว. บทว่า
เอวํ คโต คือตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูอย่างนี้. ชนเยยฺยาถ มทฺทวํ ความ
ว่า กระทำให้เกิดเมตตาจิตในตน. บทว่า อุปยานํ. ได้แก่ เครื่องบรรณาการ.

บทว่า สพฺพสากุณิกคาเม ความว่า ข้าพระองค์ไม่เห็นเครื่องบรรณาการ
อย่างอื่นในบ้านพรานนก แม้ทั้งหมด คือไม่เห็นเครื่องบรรณาการเห็นปานนี้
สำหรับพระองค์ คือยังไม่เห็นเครื่องบรรณาการที่นายพรานนกนั้น เคยนำมา
ถวายพระองค์. บทว่า ตํ ปสฺส ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์
เชิญพระองค์ทอดพระเนตรเครื่องบรรณาการ ที่ข้าพระองค์นำมาถวายนั้นเถิด.
นายพรานยืนกราบทูลสรรเสริญคุณของสุมุขหงส์อยู่ ด้วยประการฉะนี้
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสสั่งให้จัดอาสนะ มีราคาเป็นอันมาก ประทานแก่
พญาหงส์ และให้จัดตั่งอันเจริญ กระทำด้วยทองคำ ประทานแก่สุมุขหงส์
เมื่อหงส์ทั้งสองเกาะอยู่ในที่นั้นแล้ว จึงรับสั่งให้นำเอาภาชนะทองมาใส่ข้าวตอก
น้ำผึ้งและน้ำอ้อยปนกันประทาน เมื่อเสร็จกิจแห่งการบริโภคแล้ว ทรงประคอง
อัญชลีอาราธนา ให้พระมหาสัตว์แสดงธรรมกถาแล้ว ประทับนั่ง ณ ตั่งทองคำ.
พระมหาสัตว์นั้น เมื่อพระราชาตรัสอาราธนา จึงได้กระทำการปฏิสันถารแล้ว.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พญาหงส์เห็นพระราชาประทับนั่งบนตั่งทอง
อันงดงาม เมื่อจะกล่าววาจาอันรื่นหู จึงได้ทูลว่า
พระองค์ไม่มีโรคาพาธหรือ ทรงสุขสำราญดีอยู่หรือ
พระองค์ทรงปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้โดยธรรม
หรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า
ก่อนพญาหงส์ เราไม่มีโรคาพาธ เราสุข-
สำราญดี อนึ่ง เราปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้
โดยธรรม.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า
โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มีในหมู่อำมาตย์ของพระองค์
แลหรือ อำมาตย์เหล่านั้นย่อมไม่ห่วงใยชีวิต เพราะ
ประโยชน์ของพระองค์แลหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า
โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มีในหมู่อำมาตย์ของเรา
และอำมาตย์เหล่านั้น ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต เพราะ
ประโยชน์ของเรา.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า
พระอัครมเหสีของพระองค์ เป็นผู้มีพระชาติ
เสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มีปกติตรัสวาจาอันน่ารัก ทรง
ประกอบด้วยพระโอรส พระรูปโฉม และอิสริยยศ
ทรงคล้อยตามพระราชอัธยาศัย ของพระองค์แลหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า
พระอัครมเหสีของเรา เป็นผู้มีพระชาติเสมอกัน
ทรงเชื่อฟัง มีปกติตรัสวาจาอันน่ารัก ทรงประกอบ
ด้วยพระโอรส พระรูปโฉม และอิสริยยศ ทรงคล้อย
ตามอัธยาศัยของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชานํ ได้แก่ พระเจ้าสาคลราช. บทว่า
วงฺกงฺโค ได้แก่ พญาหงส์ธตรฐ. บทว่า ธมฺเมน มนุสาสสิ ความว่า
สั่งสอนโคตรรม. บทว่า โทโส ได้แก่ ความผิด. บทว่า ตวตฺเถสุ ได้แก่
ในประโยชน์ทั้งหลายมีการรบเป็นต้น ของพระองค์ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า

นาวกงฺขนฺติ ความว่า อำมาตย์เหล่านั้นให้ชีวิตเสียสละอยู่ ย่อมไม่ปรารถนา
ชีวิตของตนแม้น้อยหนึ่ง คือ สละชีวิตกระทำประโยชน์เพื่อพระองค์ผู้เดียว.
บทว่า สาทิสี ได้แก่ เป็นผู้มีชาติเสมอกัน. บทว่า อสฺสวา ได้แก่ เป็น
ผู้รับเอาซึ่งถ้อยคำ. บทว่า ปุตฺตรูปยสูเปตา ได้แก่ เป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วย
พระโอรสทั้งหลาย ด้วยพระรูปโฉมทั้งหลายและด้วยยศทั้งหลาย. บทว่า ตว
ฉนฺทวสานุคา
ความว่า พญาหงส์ทูลถามว่า พระเทวียังเป็นไปตาม
พระราชอัธยาศัยของพระองค์ คืออยู่ในอำนาจของพระองค์หรือ อธิบายว่า
ย่อมไม่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งจิตของตนหรือ.
เมื่อพระโพธิสัตว์กระทำปฏิสันถารด้วยประการฉะนี้แล้ว พระราชา
เมื่อจะตรัสถ้อยคำกับพญาหงส์นั้นอีก จึงตรัสว่า
ท่านตกอยู่ในเงื้อมมือของมหาศัตรู ได้รับทุกข์
ใหญ่หลวงในเบื้องต้น พึงได้รับทุกข์นั้นบ้างแลหรือ
นายพรานวิ่งเข้าไปโบยตีท่าน ด้วยท่อนไม้แลหรือ
เพราะว่าปกติของคนหยาบช้าเหล่านี้ ย่อมมีเป็นประจำ
อย่างนั้น.

พญาหงส์ทูลตอบว่า
ข้าแต่พระมหาราช ในยามมีทุกข์อย่างนี้ ต้อง
มีความปลอดโปร่งใจ จริงอยู่ นายพรานนี้มิได้ทำ
อะไร ๆ ในข้าพระองค์ทั้งสองเหมือนศัตรู นายพราน
ค่อย ๆ เดินเข้าไป และได้ปราศรัยขึ้นก่อน ในกาลนั้น
สุมุขหงส์บัณฑิตมิได้กล่าวตอบ นายพรานได้ฟังคำ
ของสุมุขหงส์นั้นแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส ปล่อยข้า-

พระองค์จากบ่วงนั้น และอนุญาตให้ข้าพระองค์กลับ
ได้ตามสบาย สุมุขหงส์ปรารถนาทรัพย์เพื่อนายพรานนี้
จึงคิดชวนกันมาในสำนักของพระองค์ เพื่อประโยชน์
แก่นายพรานนี้.

พระราชาจึงตรัสว่า
ก็การที่ท่านทั้งสองมาในที่นี้ เป็นการมาดีแล้ว
และเราก็มีความปราโมทย์ เพราะได้เห็นท่านทั้งสอง
แม้นายพรานนี้ก็จะได้ทรัพย์อันมากมายตามที่เขา
ปรารถนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาสตฺตุหตฺถตฺถตํ คโต ได้แก่
ไปแล้วในเงื้อมมือของศัตรูผู้ใหญ่. บทว่า อาปติตฺวาน ได้แก่ รีบวิ่งตรง
เข้าไป. บทว่า ปาติกํ ได้แก่ ตามธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็เป็นอย่างนี้
เหมือนกัน. มีคำกล่าวอธิบายว่า บุคคลผู้หยาบช้าเหล่านี้ ย่อมมีปกติเป็น
อย่างนี้เหมือนกันหมด เขาทุบตีนกทั้งหลายด้วยท่อนไม้ เขาทำให้ตายแล้ว
ก็ได้ค่าจ้าง. บทว่า กิญฺจิรสฺมาสุ ได้แก่ มิได้ล่วงเกินอะไร ๆ ในข้าพระองค์
ทั้งสอง. บทว่า สตฺตูว ได้แก่ ประหนึ่งว่าศัตรู. บทว่า ปจฺจกมฺปิตฺถ
ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นายพรานนี้เห็นข้าพระองค์แล้ว ย่องเข้าไป
หน่อยหนึ่งด้วยสำคัญว่าติดบ่วง. บทว่า ปุพฺเพว ได้แก่ นายพรานนี้แล
ได้ปราศรัยกะข้าพระองค์ก่อน. บทว่า ตทา ได้แก่ ในกาลนั้น. บทว่า
เอตทตฺถาย ได้แก่ คิดกันแล้วเพื่อประโยชน์แก่บุตรนายพรานนี้. บทว่า
ธนมิจฺฉตา ความว่า สุมุขหงส์นั้นปรารถนาอยู่ซึ่งทรัพย์เพื่อนายพรานนี้

จึงคิดชักชวนกันมายังสำนักของพระองค์. บทว่า สฺวาคตญฺเจวิทํ ความว่า
ท่านผู้เจริญทั้งสองอย่าคิดไปเลย การมาในที่นี้ของท่านผู้เจริญทั้งสองนี้ เป็น
การมาดีแล้ว. บทว่า ลภตํ แปลว่า จงได้.
ก็พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงมองดูอำมาตย์คนใดคนหนึ่ง
เมื่ออำมาตย์นั้นทูลว่า พระองค์จะต้องพระประสงค์อะไร พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า
เจ้าจงพานายพรานนี้ไปให้ช่างกัลบกตัดผม โกนหนวด ให้อาบน้ำลูบไล้ด้วย
ของหอมแล้ว ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เมื่ออำมาตย์นำนายพรานมา
จัดทำตามรับสั่งแล้ว พากลับมาเฝ้าแล้ว จึงทรงยกบ้านส่วย ซึ่งเก็บส่วยได้
แสนกหาปณะในปีหนึ่ง ประทานแก่เขาแล้ว ได้ประทานหญิง 2 คน เรือน
หลังใหญ่ รถอันประเสริฐและเงินทองอย่างอื่นอีกเป็นอันมาก.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระราชาผู้เป็นจอมมนุษย์ ทรงยังนายพรานให้
เอิบอิ่มด้วยโภคสมบัติทั้งหลาย พญาหงส์ได้กล่าว
วาจาอันรื่นหูอนุโนทนา.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงแสดงธรรมแก่พระราชา ท้าวเธอทรงสดับ
ธรรมกถาของพระมหาสัตว์นั้นแล้ว ก็ทรงดีพระทัย ทรงพระดำริว่า เราจัก
กระทำสักการะแก่พญาหงส์ผู้แสดงธรรม จึงทรงประทานเศวตฉัตรแก่
พญาหงส์นั้น เมื่อจะให้พญาหงส์รับราชสมบัติ จึงตรัสว่า
ได้ยินว่า อำนาจของเราผู้ทรงธรรม ย่อมเป็น
ไปในที่เท่าใด ที่เท่านั้นมีประมาณน้อย ความเป็น
ใหญ่ในที่ทั้งปวงจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงปกครองตาม

ปรารถนาเถิด ทานวัตถุก็ดี เครื่องอุปโภคก็ดี และสิ่ง.
อื่นใดที่เข้าไปสำเร็จประโยชน์ เราขอยกสิ่งนั้น ๆ ซึ่ง
ล้วนเป็นของปลื้มใจให้แก่ท่าน และขอสละความเป็น
ใหญ่ให้แก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วโส วตฺตติ ความว่า อำนาจของเรา
เป็นไปในสถานที่เท่าใด. บทว่า กิญฺจิ นํ คือ สถานที่นั้นมีประมาณเล็กน้อย
ยิ่งนัก. บทว่า สพฺพตฺถิสฺสริยํ ความว่า สมบัติทั้งหมดและความเป็นใหญ่
นั้นแล จงมีแก่ท่านเถิด. บทว่า ยญฺจญฺญมุปกปฺปติ ความว่า สิ่งของ
เครื่องบำเพ็ญทานเพราะความเป็นผู้ใคร่ในบุญก็ดี การยกเศวตฉัตรขึ้นเสวย
ราชสมบัติก็ดี หรือของสิ่งอื่นใด ย่อมเป็นที่ชอบใจแก่ท่าน ขอเชิญท่านจง
กระทำสิ่งนั้นเถิด. บทว่า เอตํ ททามิ โว วิตฺตํ ความว่า เราสละความ
เป็นใหญ่อันเป็นของของเราพร้อมด้วยเศวตฉัตรให้แก่ท่าน
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้มอบเศวตฉัตรที่พระราชาประทานให้แก่ตน
ถวายกลับคืนพระองค์อีกทีเดียว พระราชาทรงพระดำริว่า เราได้ฟังธรรมกถา
ของพญาหงส์ก่อนแล้ว ก็แต่ว่าบุตรของนายพรานสรรเสริญยกย่องสุมุขหงส์
นี้เป็นนักหนาว่า มีถ้อยคำไพเราะยิ่งนัก เราจักฟังธรรมกถาของสุมุขหงส์นี้
บ้าง ท้าวเธอเมื่อจะทรงสนทนากับสุมุขหงส์นั้น จึงตรัสคาถาอันเป็นลำดับ
ต่อไปว่า
ก็ถ้าว่า สุมุขหงส์บัณฑิตนี้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
พึงเจรจาแก่เราตามปรารถนา ข้อนั้นพึงเป็นที่รัก
อย่างยิ่งของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา แปลว่า ถ้าว่า. มีคำที่ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า ถ้าว่าสุมุขหงส์นั้นเป็นบัณฑิต ถึงพร้อมแล้วด้วยความรอบรู้
ก็พึงเจรจาแก่เราตามความปรารถนา คือตามความพอใจของตน ข้อนั้นจะพึง
เป็นที่รักอย่างยิ่งของเรา.
ลำดับนั้น สุมุขหงส์จึงทูลว่า
ข้าแต่มหาราช ได้ยินว่า ข้าพระองค์หาอาจจะ
พูดสอดขึ้นในระหว่าง เหมือนพญานาคเลื้อยเข้าไป
ภายในศิลา ฉะนั้นไม่ ข้อนั้นไม่เป็นวินัยของข้า-
พระองค์ พญาหงส์ประเสริฐกว่าข้าพระองค์ และ
พระองค์ก็สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
จอมมนุษย์ ทั้งสองพระองค์ควรแก่การบูชา ด้วยเหตุ
มากมาย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ เมื่อพระองค์
ทั้งสองกำลังตรัสกันอยู่ เมื่อการวินิจฉัยกำลังเป็นไปอยู่
ข้าพระองค์ผู้เป็นสาวก ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาคราชาริวนฺตรํ ได้แก่ ประหนึ่ง
พญานาคที่จะเลื้อยเข้าไปในระหว่างแห่งศิลา ฉะนั้น. บทว่า ปฏิวตฺถุํ
ความว่า ข้าพระองค์ไม่อาจที่จะพูดสอดขึ้นในระหว่างพระองค์ทั้งสองได้. บทว่า
น เม โส ความว่า ถ้าข้าพระองค์พึงกล่าวสอดขึ้นไซร้ การกระทำเช่นนั้น
มิใช่วินัยของข้าพระองค์เลย. บทว่า อมฺหากญฺเจว ได้แก่ พญาหงส์
ประเสริฐกว่าข้าพระองค์ และหงส์อีกเก้าหมื่นหกพัน. บทว่า อุตฺตมสตฺตโว
คือเป็นสัตว์ที่สูงสุด. บทว่า ปูชา ความว่า พระองค์ทั้งสองเป็นผู้ควรแก่การบูชา
และควรแก่การสรรเสริญของข้าพระองค์ด้วยเหตุมากมาย. บทว่า เปสฺเสน
คือเป็นเสวกผู้การทำการขวนขวาย.

พระราชาทรงสดับคำของสุมุขหงส์นั้น ก็ทรงเบิกบานพระทัยแล้ว
ตรัสว่า บุตรนายพรานกล่าวสรรเสริญท่านว่า บุคคลอื่นที่จะแสดงธรรมไพเราะ
เช่นกับท่านไม่พึงมี และได้ตรัสต่อไปว่า
ได้ยินว่า นายพรานกล่าวโดยความจริงว่า
สุมุขหงส์เป็นบัณฑิต เพราะว่านัยเช่นนี้ ไม่พึงมีแก่
บุคคลผู้ไม่ได้รับการอบรมเลย ความมีปกติอันเลิศ
และสัตว์อันอุดมอย่างนี้ มีเพียงเท่าที่เราเห็นแล้ว เรา
ไม่ได้เห็นผู้อื่นเป็นเช่นนี้ เราจึงยินดีด้วยปกติและ
วาจาอันไพเราะของท่านทั้งสอง ก็การที่เราพึงเห็น
ท่านทั้งสองได้นาน ๆ เช่นนี้ เป็นความพอใจของเรา
โดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน คือ โดยสภาพ โดยเหตุการณ์.
บทว่า อกตตฺตสฺส คือ บุคคลที่มีอัตภาพยังมิได้ปรับปรุง คือ ยังประทุษ-
ร้ายมิตร. บทว่า นโย หมายเอาปัญญา. บทว่า อคฺคปกติมา คือ มีสภาพ
อันเลิศ. บทว่า อุตฺตมสตฺตโว คือเป็นสัตว์ที่สูงสุด บทว่า ยาวตตฺถิ มยา
ได้แก่ ชื่อว่าที่เราเห็นแล้วมีอยู่ประมาณเท่าใด. บทว่า นาญฺญํ ความว่า
เราย่อมไม่เห็นคนอื่น แม้เห็นปานนี้ในสถานที่ที่เราเห็นแล้วนั้น. บทว่า
ตุฏฺโฐสฺมิ โว ปกติยา ความว่า ดูก่อนพญาหงส์ผู้เป็นสหาย เราดีใจ
เพราะได้เห็นท่านทั้งสองตามปกติก่อนทีเดียว. บทว่า วากฺเยน ความว่า แต่
บัดนี้เราได้ดีใจเพราะถ้อยคำอันไพเราะของเธอทั้งสอง. บทว่า จิรํ ปสฺเสยฺย
โว
ความว่า พระราชาตรัสว่า เราให้ท่านอยู่ในที่นี้แล ไม่อยากให้ท่านจากไป
แม้ชั่วครู่หนึ่ง จะได้เห็นท่านเป็นเวลานาน ๆ การเห็นนี้เป็นความพอใจของเรา
ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะสรรเสริญพระราชา จึงทูลว่า
กิจใดที่บุคคลพึงกระทำในมิตร กิจนั้นพระองค์
ทรงกระทำแล้วในข้าพระองค์ทั้งสอง ข้าพระองค์
ทั้งสอง ย่อมเป็นอันพระองค์ปล่อยด้วยความภักดีใน
ข้าพระองค์ทั้งสอง โดยไม่ต้องสงสัย ก็ความทุกข์
คงเกิดขึ้นในหมู่หงส์เป็นอันมากโน้น เพราะมิได้เห็น
ข้าพระองค์ทั้งสอง ในระหว่างญาติหมู่ใหญ่เป็นแน่
ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบปรามศัตรู ข้าพระองค์ทั้งสอง
อันพระองค์ทรงอนุญาต กระทำประทักษิณพระองค์
แล้ว พึงไปพบญาติทั้งหลาย เพื่อกำจัดความเศร้าโศก
ของหงส์เหล่านั้น ข้าพระองค์ย่อมจะได้ปีติอันไพบูลย์
เพราะได้มาเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงพระเจริญโดยแท้
การสงเคราะห์ญาตินี้เป็นประโยชน์อันใหญ่หลวงแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตรสฺมาสุ ได้แก่ พระองค์ได้กระทำกิจ
ทุกอย่างในข้าพระองค์. บทว่า จตฺตา นิสฺสํสยํ ตฺยมฺหา ได้แก่ ข้าพระองค์
ทั้งสองย่อมเป็นอันพระองค์ทรงปล่อยแล้วทีเดียว โดยมิต้องสงสัยเลย บทว่า
ภตฺติรสฺมาสุ ยา ตว ความว่า พระมหาสัตว์แสดงว่า ความภักดีในข้าพระองค์
ทั้งสองของพระองค์อันใด ข้าพระองค์ย่อมเป็นอันพระองค์ทรงปล่อยแล้ว
โดยไม่ต้องสงสัยเพราะความภักดีนั้น อนึ่ง ข้าพระองค์ทั้งสองพลัดพรากแล้ว
แม้อยู่ปราศแล้ว ชื่อว่าอยู่ร่วมกันก็หาไม่. บทว่า อสฺมากํ ความว่า
ความทุกข์บังเกิดขึ้นแล้วในหงส์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะไม่ได้เห็นข้า-
พระองค์ทั้งสอง. บทว่า ปสฺเสมุรินฺทม แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบข้าศึก

ให้ราบคาบ ข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้เห็น. บทว่า ภวตํ คือ ข้าพระองค์ได้
มาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงพระเจริญ. บทว่า เอโส วาปิ มหาอตฺโถ ความว่า
ความคุ้นเคยกับหมู่ญาติกล่าวคือการสงเคราะห์ญาตินี้ เป็นความประสงค์อย่าง
ใหญ่หลวงของข้าพระองค์อย่างแท้จริง.
เมื่อพระมหาสัตว์ทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาก็ได้ทรงอนุญาตให้หงส์
ทั้งสองนั้นกลับไป แม้พระมหาสัตว์ก็ทูลแสดงโทษในการประพฤติชั่ว 5 อย่าง
และแสดงอานิสงส์ในศีลแด่พระราชาแล้ว ถวายโอวาทว่า ขอพระองค์จงรักษา
ศีลนี้ จงเสวยราชสมบัติโดยธรรม จงสงเคราะห์มหาชนด้วยสังคหวัตถุ 4
ประการ แล้วได้ทูลลาบินกลับไปยังภูเขาจิตตกูฏ.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พญาหงส์ธตรฐ ครั้นกราบทูลพระเจ้าสาคล-
ราชผู้เป็นจอมประชาชนเช่นนี้แล้ว ได้เข้าไปหาหมู่
ญาติ เพราะอาศัยเชาวน์อันสูงสุด หงส์เหล่านั้นเห็น
หงส์ทั้งสอง ซึ่งยิ่งใหญ่มิได้ป่วยเจ็บกลับมา ต่างก็พา
กันส่งเสียงว่า เกเก เกิดเสียงอื้ออึงทั่วไป หงส์เคารพ
นายได้ที่พึงเหล่านั้น ต่างก็โสมนัสยินดี เพราะนาย
รอดพ้นภัย พากันห้อมล้อมนายโดยรอบ ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาคมุํ ความว่า พญาหงส์ธตรฐ
และสุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดีทั้งสองนั้น ครั้นได้เวลาอรุณขึ้นแล้ว ก็บริโภค
น้ำผึ้งข้าวตอกและน้ำอ้อยเป็นต้น อันพระราชาและพระเทวีทรงยกขึ้นด้วย
ใบตาลทองสองใบแล้ว กระทำสักการะด้วยของหอม และระเบียบดอกไม้
เป็นต้นแล้ว ลงจากใบตาลทองนั้น กระทำประทักษิณพระราชาบินขึ้นไปสู่

เวหาส เมื่อพระราชาทรงประคองอัญชลีตรัสว่า ดูก่อนนายเอ๋ย ท่านทั้งสอง
จงพากันไปดีเถิด จึงออกโดยสีหบัญชรบินไปหาหมู่ญาติของตน ด้วยความเร็ว
อันสูงสุด. บทว่า ปรเม แปลว่า สูงสุด. บทว่า เกเก ความว่า ได้ส่งเสียง
ร้องว่า เกเก ด้วยเสียงร้องตามสภาพของตน. บทว่า ภตฺตุนา ภตฺตุคารวา
ได้แก่ มีความเคารพนายเหล่านั้น. บทว่า ปริกรึสุ ความว่า หงส์ทั้งหลาย
ต่างก็พากันดีใจเพราะนายพ้นภัยกลับมา จึงพากันแวดล้อมอยู่รอบข้าง. บทว่า
ลทฺธปจฺจยา คือ เป็นผู้ได้ที่พึ่งพำนักแล้ว.
ครั้นหงส์เหล่านั้นเข้าล้อมหงส์ทั้งสองอย่างนี้แล้ว จึงทูลถามพญาหงส์
ว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์รอดพ้นมาได้อย่างไร พระมหาสัตว์จึงเล่าเรื่องที่ตน
รอดพ้นมาได้ เพราะอาศัยสุมุขหงส์ และกิจการที่พระเจ้าสาคลราชและบุตร
นายพรานกระทำ หมู่หงส์ทั้งหลายได้ยินดังนั้น ก็พากันดีใจกล่าวชมเชยให้
พรว่า ขอให้สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดี และบุตรนายพรานพร้อมทั้งพระราชา
จงมีความสุข ปราศจากทุกข์ จงมีชีวิตอยู่ตลอดกาลนาน.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ประโยชน์ทั้งปวง ของตนทั้งหลายผู้ถึงพร้อม
ด้วยกัลยาณมิตร ย่อมสำเร็จผลเป็นสุขเปรียบเหมือน
หงส์ธตรฐทั้งสอง ได้กลับมาอยู่ใกล้หมู่ญาติ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตวตํ ได้แก่ ถึงพร้อมแล้วด้วย
กัลยาณมิตร. บทว่า ปทกฺขิณา ได้แก่ สำเร็จเป็นความสุข ประกอบด้วย
ความเจริญ. บทว่า ธตรฏฺฐา ความว่า เหล่าหงส์ธตรฐ คือพญาหงส์
และสุมุขหงส์แม้ทั้งสองเหล่านั้น ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตรทั้งสอง คือ
พระราชาและบุตรนายพราน จึงเจริญด้วยความสุขอย่างนี้ ฉันใด. บทว่า

ญาติสงฺฆมุปาคมุํ ความว่า ประโยชน์ กล่าวคือการเข้าถึงหมู่แห่งญาติของ
เหล่าหงส์ธตรฐนั้น สำเร็จความสุขเกิดแล้ว ฉันใด ประโยชน์ทั้งหมดแม้ของ
ชนเหล่าอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร ย่อมสำเร็จผลเป็นสุขฉันนั้นเหมือน
กันแล.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงเมื่อกาลก่อน อานนท์นี้ก็ได้
สละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ตถาคตแล้วเหมือนกัน แล้วทรงประมวลชาดกว่า
นายพรานในครั้งนั้น ได้เป็นฉันนภิกษุในบัดนี้ พระราชานานว่า สาคละใน
ครั้งนั้น ได้เป็นสารีบุตร สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดี เป็นอานนท์ หมู่หงส์
เก้าหมื่นหกพันเป็นพุทธบริษัท พญาหงส์ธตรฐ เป็นเราตถาคตผู้โลกนาถ
เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจุลลหังสชาดก

2. มหาหังสชาดก


ว่าด้วยหงส์ชื่อสุมุขะ ไม่ละทิ้งพญาหงส์ติดบ่วง


[199] หงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อม
บินหนีไป ดูก่อนสุมขะ ผู้มีขนเหลือง มีผิวพรรณ
ดังทอง ท่านจงบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด
หมู่ญาติละทิ้งเราซึ่งตกอยู่ในอำนาจบ่วงตัวเดียว บิน
หนีไปไม่เหลียวหลังเลย ท่านจะอยู่ผู้เดียวทำไม ดูก่อน
สุมุขะผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ท่านจงกลับไป
เสียเถิด ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มี ท่าน
อย่าคลายความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ จงหนีไปเสีย
ตามความปรารถนาเถิด.

[200] ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์แม้
มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย
ความเป็นอยู่หรือความตายของข้าพระองค์ จักมีพร้อม
กับพระองค์ ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์
แม่มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย
พระองค์ไม่ควรจะชักชวนข้าพระองค์ให้ประกอบ ใน
กรรมอันประกอบด้วยความไม่ประเสริฐเลย ข้าแต่
พระองค์ผู้ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระ-
องค์เป็นสหายสหชาติของพระองค์ เป็นผู้ดำรงอยู่