เมนู

สัฏฐินิบาตชาดก


1. โสณกชาดก


ว่าด้วยพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร


[66] เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใคร ๆ ผู้ได้
ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา ไตรพบโสณกะผู้สหายเคย
เล่นมาด้วยกันแล้วบอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่ง
แก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น ลำดับนั้น มาณพน้อยมีผม
ห้าแหยมได้กราบทูลพระราชาว่า พระองค์จงทรง
ประทานทรัพย์ร้อยหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยินข่าว
แล้วมากราบทูล ข้าพระองค์พบโสณกะพระสหายเคย
เล่นมาด้วยกันแล้ว จึงกราบทูลแด่พระองค์ ขอ
พระองค์จงทรงประทานทรัพย์พันหนึ่งแก่ข้าพระองค์
ผู้พบโสณกะ.

[67] โสณกกุมารนั้นอยู่ในชนบท แว่นแคว้น
หรือนิคมไหนท่านได้พบโสณกกุมาร ณ ที่ไหน เรา
ถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา.

[68] ขอเดชะ ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลำต้นตรง
มีสีเขียวเหมือนเมฆ เป็นที่ชอบใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัย
กันและกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยานใน
แว่นแคว้นของพระองค์นั้นเอง พระโสณกะเมื่อ

สัตวโลกมีความยึดมั่น เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตวโลก
ถูกไฟเผา เป็นคู่ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ที่โคนแห่งต้นรัง
เหล่านั้น.

[69] ลำดับนั้นแล พระราชาตรัสสั่งให้ทำทาง
ให้ราบเรียบแล้ว เสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณกะ
พร้อมด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จประพาสไปใน
ไพรวันก็เสด็จถึงภูมิภาคแห่งอุทยาน ได้ทอดพระเนตร
เห็นพระโสณกะ ผู้นั่งอยู่เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา เป็น
ผู้ดับแล้ว.

[70] ภิกษุนี้เป็นคนกำพร้าหนอ ศีรษะโล้น
ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา นั่งเข้าฌาน
อยู่ที่โคนต้นไม้.

[71] พระโสณกะได้ฟังพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้
ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลผู้ถูกต้องธรรมด้วย
นามกาย ไม่ชื่อว่าเป็นคนกำพร่า ผู้ใดในโลกนี้นำเสีย
ซึ่งธรรม ประพฤติตามอธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคน
กำพร้า เป็นคนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ขอถวายพระพร.

[72] มหาชนรู้จักนามของข้าพเจ้าว่า อรินทมะ
และรู้จักข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากาสี ดูก่อนท่านโสณกะ
การอยู่เป็นสุข ย่อมมีแก่ท่านผู้อยู่ในที่นี้แลหรือ.

[73] ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่
มีเรือนทุกเมื่อ (คือ) ทรัพย์และข้าวเปลือก ย่อมไม่เข้า
ไปในฉาง ในหม้อและในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาอาหารอันสำเร็จแล้ว มีวัตร
อันงาม เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้น
ข้อที่ 2 ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มี
เรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาต ที่ไม่มีโทษ
และกิเลสอะไร ๆ ย่อมไม่ประทุษร้าย ข้อที่ 3 ความ
เจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุ
พึงบริโภคบิณฑบาตอันดับแล้ว และกิเลสอะไรย่อม
ไม่ประทุษร้าย ข้อที่ 4 ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้
ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวไปใน
แว่นแคว้น ไม่มีความข้อง ข้อที่ 5 ความเจริญย่อม
มีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อไฟไหม้
พระนครอยู่ อะไร ๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นย่อม
ไม่ไหม้ ข้อที่ 6 ความเจริญย่อมมี แก่ภิกษุผู้ไม่มี
ทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อโจรปล้นแว่นแคว้นอะไร ๆ
สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นก็ไม่หาย ข้อที่ 7 ความ
เจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุ
ผู้มีวัตรงามถือบาตรและจีวร ไปสู่หนทางที่พวกโจร
รักษาหรือไปสู่หนทางที่มีอันตรายอื่น ๆ ย่อมไปได้

โดยสวัสดี ข้อที่ 8 ความเจริญย่อมมีแก้ภิกษุผู้ไม่มี
ทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุจะหลีกไปยังทิศใด ๆ
ก็ไม่มีห่วงใยไปยังทิศนั้น ๆ.

[74] ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญ
เป็นอันมากของภิกษุเหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้ายังกำหนัด
ในกามทั้งหลาย จะกระทำอย่างไร กามทั้งหลายทั้งที่
เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์เป็นที่รักของข้าพเจ้า
เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจะได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไร
หนอ.

[75] นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม
หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้วย่อมเข้าถึง
ทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายออกไปแล้ว
เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหน ๆ บรรลุความที่จิตมีอารมณ์เป็น
หนึ่งเกิดขึ้น นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ดูก่อน
พระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดงอุปมาถวาย
มหาบพิตร ขอมหาบพิตรจงทรงสดับข้ออุปมานั้น
บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยข้ออุปมา
มีกาตัวหนึ่งเป็นสัตว์มีปัญญาน้อยไม่มีความคิด เห็น
ซากศพช้างลอยอยู่ในห่วงน้ำใหญ่ในแม่น้ำคงคา จึง
คิดว่า เราได้ยานนี้แล้วหนอ และซากศพช้างนี้จักเป็น
อาหารจำนวนมิใช่น้อย ใจของกาตัวนั้นยินดีแล้วใน
ซากศพช้างนั้น ตลอดคืนและวัน เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง

ดื่มน้ำมีรสเหมาะส่วน เห็นต้นไม้อันใหญ่ในป่า ก็ไม่
ยอมบินไป แม่น้ำคงคามีปกติไหลลงสู่มหาสมุทร
พัดเอากาตัวนั้นซึ่งประมาทยินดีในซากศพข้างไปสู่
มหาสมุทร ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย กานั้น
มีอาหารหมดแล้ว ตกลงในน้ำ ไปข้างหลัง ข้างหน้า
ข้างเหนือ ข้างใต้ไม่ได้ ไปไม่ถึงเกาะ สิ้นกำลังจมลง
ในท่ามกลางสมุทร อันเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย
ฝูงปลา จระเข้ มังกร และปลาร้าย ที่เกิดในมหาสมุทร
ก็ข่มเหง ฮุบกินกานั้นตัวมีปีกฉิบหายดิ้นรนอยู่ ดูก่อน
มหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล พระองค์ก็ดี ชน-
เหล่าอื่นผู้ยังบริโภคกามก็ดี ถ้ายังกำหนัดในกามอยู่
ไม่ละทิ้งกามเสีย นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ว่า ชนเหล่านั้น
มีปัญญาเสมอกับกา ดูก่อนมหาบพิตร อุปมานี้แสดง
อรรถอย่างชัดแจ้ง อาตมภาพแสดงถวายมหาบพิตร
แล้ว จักทรงทำหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุนั้น.

[76] บุคคลผู้อนุเคราะห์พึงกล่าวตำหนึ่งหรือ
สองคำ ไม่พึงกล่าวยิ่งไปกว่านั้น เปรียบเหมือนทาสใน
สำนักแห่งนาย.

[77] พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาอัน
บุคคลนับไม่ได้ ครั้นทูลดังนี้ แล้วพร่ำสอนบรมกษัตริย์
ในอากาศแล้วหลีกไป.

[78] บุคคลผู้อภิเษกท่านผู้สมควรให้เป็น
กษัตริย์ เป็นรัชทายาท และบุคคลผู้ถึงความฉลาด

เหล่านี้อยู่ที่ไหน เราจักมอบราชสมบัติ เราไม่ต้องการ
ด้วยราชสมบัติ เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึง
รู้ความตายในวันพรุ่งนี้ เราจะไม่โง่เขลา ตกอยู่ใน
อำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.

[79] พระโอรสหนุ่มของพระองค์ ทรงพระนาม
ว่าทีฆาวุ จะทรงบำรุงรัฐให้เจริญได้มีอยู่ ขอพระองค์
ทรงอภิเษกพระโอรสนั้นไว้ในพระราชสมบัติ พระ-
ราชโอรสจักเป็นพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย.

[80] ท่านทั้งหลาย จงรีบเชิญทีฆาวุกุมารผู้
บำรุงรัฐให้เจริญมาเถิด เราจักอภิเษกเธอไว้ในราช
สมบัติ เธอจักเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย.

[81] ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ได้ไปเชิญทีฆาวุ
ราชกุมารผู้บำรุงรัฐให้เจริญมาเฝ้า พระราชาทอด
พระเนตรเห็นเอกอัครโอรสผู้น่าปลื้มพระทัยนั้น จึง
ตรัสว่า ลูกรักเอ๋ย คามเขตหกหมื่นบริบูรณ์โดย
ประการทั้งปวง ลูกจงบำรุงเขา พ่อขอมอบราชสมบัติ
ให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความ
ตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่
ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา ช้างหกหมื่น
เชือกประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีสายรัดล้วน
ทองคำ เป็นช้างใหญ่มีร่างกายปกปิด ด้วยเครื่องคลุม
ล้วนทองคำ อันนายควาญช้างผู้ถือโตมรและขอขึ้น

กำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงช้างเหล่านั้น พ่อขอมอบ
ราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่า
จะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคน
โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา ม้า
หกหมื่นตัว ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็น
ม้าสินธพอาชาไนยโดยกำเนิด เป็นพาหนะเร็ว อัน
นายสารถีผู้ถือแส้และธนู ขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจง
บำรุงม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อ
จักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวัน
พรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจ
แห่งกามทั้งหลายเหมือนกา รถหกหมื่นคัน หุ้มเกราะ
ไว้ดีแล้ว มีธงอันยกขึ้นแล้ว หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง
ก็มี หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งก็มี ประดับด้วยเครื่อง
อลังการทั้งปวง อันนายสารถีถือแล่งธนูสวมเกราะขึ้น
ประจำ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงรถเหล่านั้น พ่อขอมอบ
ราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่า
จะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่
เขลาตกอยู่ในอำนาจ แห่งกามทั้งหลาย เหมือนกา
โคนมหกหมื่นตัวมีสีแดง ประกอบด้วยโคจ่าฝูงตัว
ประเสริฐ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงโคเหล่านั้น พ่อขอ
มอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใคร
เล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็น
คนโง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา
สตรีหมื่นหกพันนางประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง

มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี ลูกรัก
เอ๋ย ลูกจงบำรุงสตรีเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติ
ให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้
ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจักไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา
ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.

[82] ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันได้สดับว่า
เมื่อหม่อมฉันเป็นเด็ก ๆ พระชนนีทิวงคต หม่อมฉัน
ไม่อาจจะเป็นอยู่ห่างพระบิดาได้ ลูกช้างย่อมติดตาม
หลังช้างป่าตัวเที่ยวอยู่ในที่มีภูเขาเดินลำบาก เสมอบ้าง
ไม่เสมอบ้าง ฉันใด หม่อมฉันจะอุ้มบุตรธิดาติดตาม
พระบิดาไปข้างหลัง จักเป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงง่าย
จักไม่เป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงยาก ฉันนั้น.

[83] อันตรายทำเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทร
ของพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ให้จมลงในมหาสมุทร
นั้น พวกพ่อค้าพึงถึงความพินาศ ฉันใด ลูกรักเอ๋ย
เจ้านี้เป็นผู้กระทำอันตรายให้แก่พ่อฉันนั้นเหมือนกัน.

[84] ท่านทั้งหลาย จงพาราชกุมารนี้ไปให้ถึง
ปราสาทอันยังความยินดีให้เจริญเถิด พวกนางกัญญา
ผู้มีมือประดับด้วยทองคำ จักยังกุมารให้รื่นรมย์ใน
ปราสาทนั้น เหมือนนางเทพอัปสร ยังท้าวสักกะให้
รื่นรมย์ ฉะนั้น และกุมารนี้จักรื่นรมย์ด้วยนางกัญญา
เหล่านั้น.

[85] ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญพระ-
ราชกุมารไปยังปราสาท อันยังความยินดีให้เจริญ

พวกนางกัญญาเห็นทีฆาวุกุมารผู้ยังรัฐให้เจริญนั้นแล้ว
จึงพากันทูลว่า พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือ
ว่าเป็นท้าวสักกปุรินททะ พระองค์เป็นใครหรือเป็น
โอรสของใคร หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์
ได้อย่างไร.

[86] เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่
ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี
ชื่อทีฆาวุผู้ยังรัฐให้เจริญ เธอทั้งหลายจงบำเรอเรา
ขอความเจริญจงมีแก่เธอทั้งหลาย เราจะเป็นสามีของ
เธอทั้งหลาย.

[87] พวกนางกัญญาในปราสาทนั้น ได้ทูลถาม
พระเจ้าทีฆาวุผู้บำรุงรัฐนั้นว่า พระราชาเสด็จไปถึง
ไหนแล้ว พระราชาเสด็จจากที่นี้ไปไหนแล้ว.

[88] พระราชาทรงก้าวล่วงเสียซึ่งเปือกตม
ประดิษฐานอยู่บนบก เสด็จดำเนินไปสู่ทางใหญ่อัน
ไม่มีหนาม ไม่มีรกชัฏ ส่วนเรายังเป็นผู้ดำเนินไปสู้
ทางอันให้ถึงทุคติ มีหนาม รกชัฏ เป็นเครื่องไปสู่
ทุคติแห่งชนทั้งหลาย
.
[89] ข้าแต่พระราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว
ดุจราชสีห์มาสู่ถ้ำ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงทรงอนุศาสน์พวกหม่อมฉัน ขอพระ-
องค์ทรงเป็นอิสราธิบดีของพวกหม่อมฉันทั้งปวงเถิด.

จบโสณกชาดกที่ 1

อรรถกถาสัฏฐินิบาต


อรรถกถาโสณกชาดก


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภถึงเนกขัมมบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กสฺส
สุตฺวา สตํ ทมฺมิ
ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในท่ามกลาง
แห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้กำลังพรรณนาถึงเนกขัมมบารมี ณ โรงธรรมสภา ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ในกาลนี้เท่านั้นก็หาไม่
แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว
จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า
ในอดีตกาล พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นมคธ ทรงครอบครองราชสมบัติ
อยู่ ณ กรุงราชคฤห์. พระโพธิสัตว์ บังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสี
ของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นแล้ว. ก็ในวันที่จะขนานพระนาม พระชนก
และพระชนนี ได้ทรงขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า อรินทมกุมาร. แม้
บุตรของท่านปุโรหิต ก็ได้คลอดในวันที่พระราชกุมารนั้นประสูติแล้วเหมือนกัน
มารดาบิดาได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า โสณกกุมาร. พระราชกุมารและกุมารทั้งสองนั้น
เจริญวัยขึ้นด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ครั้นเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีรูปร่าง
อันสง่างดงาม เป็นผู้พิเศษด้วยรูป ได้ไปเมืองตักกศิลาเล่าเรียนศิลปศาสตร์
จนจบสิ้น แล้วออกจากเมืองตักกศิลานั้น พากันคิดว่า เราทั้งสองจักศึกษา
ให้รู้ถึงศิลปะในลัทธิทั้งหมด และการเที่ยวจาริกไปในประเทศ ดังนี้แล้ว จึงพา